lördag 4 oktober 2014

นักกฎหมายคนเก่งเด็กดีของป๋า.??..คนบ้านเดี๋ยวกันจัดให้ได้ทุกอย่าง เขียนรัฐธรรมนูญเผด็จการชั่วคราวเพื่อปฎิรูปประเทศแบบเบ็ดเสร็จไม่ให้มีการเลือกตั้ง...สมใจป๋าเพื่อให้ป๋าเป็นผู้สำเร็จแทนพระองค์..แค่นั้นเอง..จบ.



นายวิษณุ เครืองาม  ชี้อนาคตประเทศต่อจากนี้ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 36 คน คาดได้ สปช.กลางเดือนตุลาคมนี้ พร้อมฝาก สปช.พิจารณากฎหมายลูกไปพร้อมกับการร่างรัฐธรรมนูญ
 
รายงานข่าวแจ้งว่า ค่ำที่ผ่านมา ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย เป็นองค์ปาถกในงานมอบรางวัลศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ดีเด่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง ครั้งที่ 3 ประจำปี 2557 ในหัวข้อ ′การเมืองการปกครองของไทยหลังรัฐธรรมนูญใหม่′ โดยกล่าว หัวข้อนี้เป็นการมองไปสู่อนาคต ไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ฉบับถาวรที่คาดไว้ว่าจะให้มีความยาว ที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมา 82 ปี แต่มีรัฐธรรมนูญถึง 19 ฉบับ ซึ่งหากมองประเทศอิตาลีอาจเรียกได้ว่ามีรัฐธรรมนูญที่คล้ายคลึงกัน
 
สำหรับสาเหตุการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย 1 การเข้ารักษาความสงบแห่งชาติ หรือการยึดอำนาจ รัฐประหาร 2 การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญชั่วคราวไปเป็นฉบับถาวร 3 การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่ได้เกี่ยวกับการยึดอำนาจ อาจเกิดจากความล้าสมัย ไม่เป็นธรรม
 
 วันนี้เราอยู่ในช่วงการใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 และอีกไม่กี่วันจะมีการโปรดเกล้า สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. จำนวน 250 คน จากผู้แทนจังหวัด 77 คน และผู้แทน 11 ด้าน อีก 173 คน ซึ่งการคัดเลือกจะเรียงตามคะแนนที่ได้ และอายุ ที่อยู่ ความสามารถ เพศ อาชีพ แต่ความเป็นจริงตัวเลือกมีน้อย ทั้งนี้คณะกรรมการสรรหาอยากได้สมาชิกพรรคการเมืองเข้ามาเป็นตัวแทนมาก แม้บางพรรคจะส่งตัวแทนมากลับไม่ใช่คนที่เป็นดาวเด่นของพรรคทำให้เป็นที่น่าเสียดายและไม่ได้รับเลือก

 
โดย สปช.จะต้องเข้ารายงานตัวและเปิดประชุมโดยไม่ต้องเสด็จพระราชดำเนิน คาดว่าจะเริ่มประชุมได้กลางเดือนนี้ เพื่อเลือกประธานและรองประธาน 2 คน ก่อนแบ่งเป็นกลุ่มย่อย และตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ 36 คน ที่จะร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20
 
 
สำหรับ 36 คน มากจาก สปช. 20 คน สนช. 5 คน ครม. 5 คน โดยมีข้อกำหนดห้ามเลือกรัฐมนตรี และ อีก 5 คน จาก คสช. นอกจากนี้ คสช.จะต้องเลือกประธานเข้ามา 1 คน ซึ่งทั้ง 36 คนนี้จะต้องมีขึ้นภายใน 15 วันหลังเกิด สปช.ขึ้น และภายใน 60 วัน หรือ 2 เดือนสปช.จะต้องให้การบ้านคณะกรรมการธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
 
 
และหลังจากนั้น 4 เดือน คณะกรรมการยกร่างฯจะต้องร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ ซึ่งหากไม่เสร็จตามกำหนดให้ยุบกรรมาธิการนี้ทิ้ง แต่หากแล้วเสร็จให้ส่ง สปช. พิจารณา และให้เวลาแก้ไขภายใน 1 เดือน และเมื่อ สปช.ไม่ต้องการแก้ไข ให้ กรรมาธิการตรวจสอบอีก 2 เดือน รวมแล้ว 10 เดือน ส่งกลับไปยัง สปช.ให้พิจารณาภายใน 1 เดือน โดยไม่มีการแก้ไข ทำได้แค่รับหรือไม่รับ รัฐธรรมนูญ และหาก สปช. ไม่รับถือว่ารัฐธรรมนูญ คณะกรรมการยกร่าง และ สปช.ต้องยุบทั้งหมด และเลือก สปช.ใหม่ทั้งหมด
 
 
แต่หากรับก็นำขึ้นทูลเกล้า ซึ่งใช้เวลาในการร่างรัฐธรรมนูญ 12 เดือน อย่างไรก็ตามการมีรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นการยืนยันว่า จะมีการเลือกตั้งจะมีการหาเสียงแล้ว เพราะต้องมีกฎหมายลูก อาทิ กฎหมายการเลือกตั้งด้วย ซึ่งหาก สปช.และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญไปพร้อมกันการเลือกตั้งจะเกิดเร็วขึ้น โดยระหว่างนั้นจะต้องเปิดให้จดทะเบียนตั้งพรรค
 
 
ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ใกล้ๆมาตราสุดท้ายจะระบุว่าเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้แล้วจะต้องกำหนดไว้ว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งภายในกี่วัน
 
 
ส่วนการเมืองการปกครองในรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่คาดเดาได้ว่า การเมืองหลังรัฐธรรมนูญจะประกอบด้วย
 
1 มาตรา 35 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับที่ 19 จะต้องห้ามเปลี่ยนแปลง และได้กำหนดบัญญัติ 10 ประการที่จะต้องมีใน รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 หากไม่มีจะถือว่าผิดกติกา (ไทยปกครองด้วยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข/ไทยเป็นประชาธิปไตย/ป้องกันประชานิยมในทางที่ผิด/หาทางไม่ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันและป้องกันการโกงเลือกตั้ง) ซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2 ปีภายหลังการร่างรัฐธรรมนูญ/พิจารณาองค์กรอิสระที่มีอยู่)
 
2 รัฐธรรมนูญจะต้องตอบโจทย์ บัญญัติ 10 ประการ
 
3 ออกกฎหมายลูก และเลือกตั้ง ซึ่งภายหลังการเลือกตั้งเชื่อว่าความขัดแย้งน่าจะมีอยู่ แต่เป็นความขัดแย้งใหม่ จากรัฐธรรมนูญใหม่หากร่างออกมาไม่ดีและไม่เป็นที่ปรารถนาของประชาชน แต่เชื่อว่าบางส่วนจะได้รับการแก้ไข จากรัฐบาล สนช. และ สปช. ที่เสนอแนวทางปฏิรูปออกมา
 
4 เชื่อว่าจะมีรัฐบาลที่เข้มแข็ง แยกออกมาจากรัฐสภา
 
5 กระแสปฏิรูปที่รุนแรงมากขึ้น เพราะเชื่อว่าระยะเวลาภายใน 1 ปีอาจไม่ทัน จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ที่จะต้องดำเนินการต่อจากปัจจุบันและเชื่อว่า รัฐธรรมนูญใหม่จะสร้างสภาปฏิรูปใหม่มาเพื่อทำงานไปพร้อมกับรัฐสภา
กลุ่มกฎหมาย 4 กลุ่ม คือ ที่เราจะต้องนำเข้าที่ประชุม สนช. ได้แก่ กฎหมายที่มีพันธะกรณีกับต่างประเทศ    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประชาชน อาทิ ร่างพ.ร.บ.อำนวยความสะดวกในการอนุมัติ  กฎหมายปฏิรูป และ กฎหมายแก้ข้อขัดข้องของกระทรวงต่างๆ
 
ทั้งนี้ภายหลังจบการปาฐกถา ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มอบโล่ และเกียรติบัตร ให้แก่ศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ดีเด่นที่ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ อาทิ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยมีผู้บริหารมหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะกรรมการศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหารกรมประชาสัมพันธ์พร้อมด้วยผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยเป็นเกียรติและสักขีพยานการมอบรางวัลดังกล่าวด้วย
 
อย่างไรก็ตามภายในงานมีบุคคลสำคัญอาทิ นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และผู้แทนองค์ การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) / นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร  รัฐมนตรีท่องเที่ยวและกีฬา เดินทางมาร่วมด้วย
..................................
ประชาชนอย่าหลงทาง..มุ่งเดินหน้าปลดปล่อยตัวเองออกจากระบอบอำมาตย์เผด็จการทรราชราชาธิปไตย


โดย  อินทรีย์


ไม่ใช่ความตั้งใจอย่างที่ไอ้วิษณุมันอ้างอย่างแน่นอน
แต่เป็นเพราะความหลงลืม หรือนึกไม่ถึงต่างหาก
จึงทำให้นักกฏหมายอย่างไอ้วิษณุมันพลาดอย่างรุนแรง
ที่ไม่บัญญัติให้สนช. มีอำนาจถอดถอนเอาไว้ด้วย
เมื่อไม่มีข้อความใดใน รธน.โจร ให้อำนาจถอดถอนไว้
ก็กำลังตะแบงไปเทียบเคียงอำนาจของ สว.ตามรธน.50 ที่พวกมันฉีกไปแล้ว ตามแบบศรีธนนชัย
โดยจะให้ ศาลรธน. เข้ามารับใช้เหมือนเดิม

มันได้รับมอบหมายให้มาร่าง โดยไม่ต้องให้ประชาชนคนไหนรับรู้
แต่ก็พลาดอย่างแรง เพราะลืมใส่อำนาจถอดถอนไว้ใน รธน.
เมื่อรู้ตัว ก็ตะลีตะเหลือก จะประชุมเพิ่มข้อความ ก็ทำไม่ได้
นอกจากนี้ จะไปถอดถอน สส.สว.เดิมที่แก้รธน.50 ก็ยิ่งทำไม่ได้ เพราะหัวหน้ามันเป็นคนฉีกไปเองกับมือตอนนี้กำลังตะแบง จะให้พวกตลก. เป็นคนเพิ่มข้อความเหมือนเดิม
ในทางกฏหมาย กฏหมายใดยกเลิกไปแล้วและมีกฏหมายใหม่ไม่บัญญัติความผิดไว้ ต้องใช้เป็นคุณเท่านั้นยกตัวอย่างเช่น ถ้ายกเลิกกฏหมายยาเสพติด พวกที่อยู่ในคุกคดียาเสพติด ต้องปล่อยหมดครับ

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar