måndag 9 november 2015

เลือกตั้งเมียนมาร์...เรียกได้ว่าระบอบประชาธิปไตย เริ่มผลิดอก ออกผล ถึงเป็น “ประชาธิปไตยแบบมีวินัย” แต่ให้สิทธิให้เสียงประชาชน นับว่าดีกว่า"ไทยแลนด์แดนเผด็จการ" ที่วุ่นวายไร้รัฐธรรมนูญปกครองประเทศ คิดแล้วเศร้าใจกับพี่น้องประชาชนไทยเพื่อนร่วมชาติที่ถูกจับเป็นตัวประกัน ไร้สิทธิไร้เสียงไร้อนาคต ได้แต่ตั้งตารอๆๆร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยเผด็จการ...ที่ไม่มีกำหนดวันคลอด? น่าอนาถกับประเทศไทยที่มีคนจิตใจมืดบอดยึดติดกับอำนาจ"วงจรอุบาทว์ "

ข่าวบีบีซีไทย - BBC Thai
รูปภาพของ บีบีซีไทย - BBC Thai

ความเป็นไปได้ 4 ประการในการเลือกตั้งเมียนมาร์
เมียนมาร์จัดการเลือกตั้งที่ถือได้ว่ามีความเป็นเสรีครั้งแรกในรอบ 25 ปี ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของนางออง ซาน ซู จี จะชนะการเลือกตั้งครองที่นั่งส่วนใหญ่ในรัฐสภา แต่โจนาห์ ฟิชเชอร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซี ระบุว่านั่นไม่ใช่บทสรุปของการเลือกตั้งครั้งนี้ ทว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้มีแนวโน้มความเป็นไปได้หลายประการด้วยกัน
ผู้สื่อข่าวบีบีซี บอกว่า รัฐธรรมนูญของเมียนมาร์ถูกออกแบบมาให้ควบคุมผลการเลือกตั้ง...
ความเป็นไปได้ 4 ประการในการเลือกตั้งเมียนมาร์
เมียนมาร์จัดการเลือกตั้งที่ถือได้ว่ามีความเป็นเสรีครั้งแรกในรอบ 25 ปี ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของนางออง ซาน ซู จี จะชนะการเลือกตั้งครองที่นั่งส่วนใหญ่ในรัฐสภา แต่โจนาห์ ฟิชเชอร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซี ระบุว่านั่นไม่ใช่บทสรุปของการเลือกตั้งครั้งนี้ ทว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้มีแนวโน้มความเป็นไปได้หลายประการด้วยกัน
ผู้สื่อข่าวบีบีซี บอกว่า รัฐธรรมนูญของเมียนมาร์ถูกออกแบบมาให้ควบคุมผลการเลือกตั้ง ซึ่งกองทัพเมียนมาร์เรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบมีวินัย” เนื่องจากรัฐธรรมนูญบัญญัติให้สงวนที่นั่ง 25% ในรัฐสภาไว้ให้ผู้แทนจากกองทัพ และกระทรวงสำคัญด้านความมั่นคงจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจของผู้บัญชาการทหารสูงสุดไม่ใช่ประธานาธิบดี ดังนั้นไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาในรูปไหน กองทัพก็ยังคงเป็นสถาบันที่ทรงอิทธิพลอย่างมาก และนางออง ซาน ซู จี ก็ถูกกีดกันไม่ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ อันที่จริงแล้วคาดว่าเราไม่น่าจะทราบว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของเมียนมาร์จนกว่าจะถึงเดือน ก.พ.ปีหน้า
การเลือกประธานาธิบดีเมียนมาร์ มาจากกระบวนการสรรหาทางอ้อมของรัฐสภา ซึ่งทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องสรรหาประธานาธิบดีจากผู้ถูกเสนอชื่อ 3 คน ซึ่งพรรคที่ชนะจะต้องได้รับคะแนนเสียงราวกึ่งหนึ่งในรัฐสภา และจากการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติมิให้ผู้ที่มีบุตรเป็นชาวต่างชาติดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ก็เป็นการปิดทางไม่ให้นางออง ซาน ซู จี ขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ของเมียนมาร์ อย่างไรก็ตาม การที่พรรคเอ็นแอลดีมีแนวโน้มชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายก็ทำให้ผลการเลือกตั้งครั้งนี้มีความเป็นไปได้หลายประการ
ความเป็นไปได้ประการแรกคือ การที่พรรคเอ็นแอลดีชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นจนทำให้นางออง ซาน ซู จี มีอำนาจควบคุมตำแหน่งประธานาธิบดี แต่เนื่องจากนางไม่สามารถเป็นประธานาธิบดีได้ ก็คาดว่าจะมีการเสนอชื่อตัวแทนขึ้นมา แต่นางจะยังคงเป็นผู้นำรัฐบาลและอาจไปรับตำแหน่งประธานรัฐสภา ผู้สื่อข่าวบีบีซี บอกว่า แนวทางนี้มีความเป็นไปได้สูง แต่ขณะเดียวกันก็อาจเกิดปัญหา เพราะหลายฝ่ายอาจมองว่าการที่นางออง ซาน ซู จี มีอำนาจควบคุมประธานาธิบดีหุ่นเชิดอย่างเปิดเผยนั้นเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่า นางออง ซาน ซู จี อาจผลักดันให้มีการปฏิรูปและแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก็คาดว่าจะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากับกองทัพได้อย่างรวดเร็ว
ความเป็นไปได้ประการที่ 2 คือ การที่นางออง ซาน ซู จี ชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้ครองเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของรัฐสภา ซึ่งนั่นจะทำให้พรรคเอ็นแอลดี ต้องหาพันธมิตรจากพรรคกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และให้พรรคเหล่านี้สนับสนุนผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเอ็นแอลดี ซึ่งถือเป็นการเดินเกมการเมืองอย่างตรงไปตรงมา แม้ช่วงหลังความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองเหล่านี้จะตึงเครียดจากการที่พรรคเอ็นแอลดีส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่ของชนกลุ่มชาติพันธุ์
ความเป็นไปได้ประการที่ 3 คือ การที่นางออง ซาน ซู จี ชนะการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมาก แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนเพียงพอ ซึ่งนี่ถือเป็นสถานการณ์ที่ซับซ้อนที่สุด เพราะแม้พรรคเอ็นแอลดีจะครองที่นั่งส่วนใหญ่ในรัฐสภา แต่หากพรรคยูเอสดีพี ฝ่ายรัฐบาลปัจจุบัน ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตร เช่น พรรคจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และทหารซึ่งมีที่นั่ง 25% ในสภาก็ทำให้ผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากกองทัพสามารถขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ของประเทศได้ ซึ่งจะทำให้ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ได้อยู่ในตำแหน่งต่อเป็นสมัยที่ 2 แม้ว่าพรรคยูเอสดีพี จะมีที่นั่งในสภาเพียง 15%
อย่างไรก็ตาม แนวทางความเป็นไปได้นี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างนางออง ซาน ซู จี และนายเต็ง เส่ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางคนคิดว่าทั้งสองคนอาจทำข้อตกลงกันไปแล้ว โดยบางคนเชื่อว่า นางออง ซาน ซู จี จะยอมให้นายเต็ง เส่ง นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีระยะหนึ่ง คือ ราว 2 ปี แลกเปลี่ยนกับคำมั่นที่จะปฏิรูปรัฐธรรมนูญ
ส่วนความเป็นไปได้ประการที่ 4 คือ การที่พรรคยูเอสดีพี ครองที่นั่งทั้งหมดในรัฐสภา แต่ผู้สื่อข่าวบีบีซี คิดว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด อีกทั้งจะทำให้มีการคาดคะเนในทันทีว่ามีการโกงการเลือกตั้ง และคาดว่าพรรคเอ็นแอลดีจะคว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้ ‪#‎MyanmarElection


รูปภาพของ บีบีซีไทย - BBC Thaiรูปภาพของ บีบีซีไทย - BBC Thai

รูปภาพของ บีบีซีไทย - BBC Thai


Inga kommentarer:

Skicka en kommentar