måndag 10 oktober 2022

“ICC กับความยุติธรรมที่ยังเอื้อมไม่ถึง”

ประชาไท Prachatai

5 ชม. 
 
เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2565 ผ่านมาที่แกลอรี่ กินใจ คอนเทมโพราลี่ ในงานนิทรรศการ “6 ตุลาฯ เผชิญหน้าปิศาจ” มีเสวนาเปิดนิทรรศการในหัวข้อ “ICC กับความยุติธรรมที่ยังเอื้อมไม่ถึง” ที่ได้กล่าวย้อนถึงปัญหา ข้อติดขัดที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อนที่ไทยไม่สามารถนำเรื่องการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 โดยรัฐบาลอภิสิทธิ์เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศหรือInternational Criminal Court (ICC) ได้
.
วงเสวนาสะท้อนปัญหาที่ไทยยังไม่ได้เข้าร่วม ICC ว่าเป็นเพราะฝ่ายไทยมัวแต่กังวลว่าธรรมนูญกรุงโรมจะกระทบกับการคุ้มกันประมุขของประเทศตามรัฐธรรมนูญ ทั้งที่หลายประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์เหมือนกันและมีการคุ้มกันในลักษณะเดียวกันด้วยกฎหมายภายในก็ยังเข้าร่วมเป็นภาคี เนื่องจากการบริหารประเทศและผู้ที่มีอำนาจสั่งการจริงๆ เป็นของรัฐบาล
.
อย่างไรก็ตามถึงจะไม่ได้เข้าร่วมกับ ICC แต่ก็ยังสามารถใช้ข้อ 12(3) ของธรรมนูญกรุงโรมเพื่อยื่นเรื่องต่อ ICC เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณีเช่นส่งเพียงคดีที่เกี่ยวกับการสลายการชุมนุมปี 53 อย่างเดียวก็ได้โดยไม่ต้องรับข้อ 27 ของธรรมนูญกรุงโรมที่ถอนการคุ้มกันประมุขของประเทศในรัฐธรรมนูญ อีกทั้งการสั่งการต่างๆ และผู้ลงนามในประกาศและคำสั่งที่ใช้ในการสลายการชุมนุมเวลานั้นก็มีเพียงอภิสิทธิ์และสุเทพเท่านั้น
.
แต่ที่ผ่านมาการพยายามผลักดันเพื่อให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันในธรรมนูญกรุงโรมก็กลายเป็นประเด็นที่ใช้กล่าวหาผู้ผลักดันว่าต้องการล้มสถาบันฯ แม้ว่าการผลักดันเหล่านี้จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันการลอยนวลพ้นผิดจากการก่ออาชญากรรมของรัฐไม่ว่าจะเป็นการสลายการชุมนุม ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้หรือแม้กระทั่งสงครามยาเสพติด
.
อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาลอยนวลพ้นผิดแม้จะต้องอาศัยเวลาในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่การผลักดันประเด็นการนำตัวคนผิดมาลงโทษก็ไม่จำเป็นต้องเริ่มหลังผู้มีอำนาจยอมปล่อยมือหรือต้องนิรโทษกรรมกันก่อน อีกทั้งการปล่อยให้ผู้มีอำนาจที่ก่ออาชญากรรมเหล่านี้ไว้โดยไม่ทำอะไรอาจทำให้พวเขากลับมาสู่วงจรอำนาจอีกครั้ง เช่น ที่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์
 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar