Update ว่าด้วยประเด็น "ทหารมีไว้ทำไม?" "สถาบันกษัตริย์มีไว้ทำไม?
พูดถึงประเด็น "ทหารมีไว้ทำไม?" "สถาบันกษัตริย์มีไว้ทำไม?" ที่ผมพูดถึงในกระทู้ก่อนหน้านี้
ความ irony หรือตลกร้ายอย่างหนึ่งเกี่ยวกับบทความของนิธิที่เป็นที่ฮือฮากันคือ ถ้าพูดกันจริงๆ ในภาวะที่โลกยังเต็มไปด้วยรัฐประชาชาติ (nation state) แบบนี้ ทหารคงจะจำเป็นต้องมีอยู่ แม้ในกรณีประเทศไทยเอง เพียงแต่ต้องไม่ใช่ในแบบนี้ (เช่นต้องเลิกเกณฑ์ ต้องลดกำลังคน และต้องเลิกอัตราพวกนายทหารระดับสูง - จำนวนนายพลเป็นต้น - ลงอย่างชนิดมโหฬารจากที่เป็นอยู่) คือ "คำตอบ" ของนิธิในลักษณะที่มีนัยยะว่า ไม่จำเป็นต้องมีทหาร ไม่ว่าของไทยหรือของโลก เป็นอะไรที่ไม่ถึงกับเป็นจริงนัก (หลายคนอาจจะไม่ตระหนักว่า บทความนิธิ ไม่ได้เขียนถึงไทยโดยเฉพาะ รวมทั้งคำถาม "ทหารมีไว้ทำไม" ด้วย แต่ครอบคลุมสำหรับทั้งโลกเลย)
แต่ถ้าถามถึงประเด็นว่า "สถาบันกษัตริย์ไทยมีไว้ทำไม?" อันนี้พูดได้ว่า เอาเข้าจริง ไม่ได้มีความจำเป็นอะไรเลย
ถ้าพูดแบบง่ายๆเปรียบเทียบใน ๒ ประเด็นนี้ คือ ทหารยังไงคงต้องมี แต่สถาบันกษัตริย์ ไม่มีก็ได้
(ในกรณีไทย การไม่มีสถาบันกษัตริย์ จะมีผลต่อทหารที่สำคัญมากๆด้วย คือ
ทหารไม่มีข้ออ้างในการเข้าแทรกแซง มีอำนาจทางการเมืองอีกต่อไป)
ถ้าใครตามการดีเบตในอังกฤษ ประเด็นเรื่องสถาบันกษัตริย์มีประโยชน์อะไร
เหตุผลใหญ่อันหนึ่งของคนที่เชียร์ให้มี คือ สถาบันกษัตริย์อังกฤษ ความจริง
"นำเงินเข้าประเทศ" ปีละหลายร้อยล้าน
เพราะสถาบันกษัตริย์เป็นอะไรที่เรียกว่าเป็น tourist attraction
(สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว) ที่สำคัญมากๆ ไม่ได้หมายถึงตัววังนะครับ
เพราะไม่มีกษัตริย์ วังก็เป็นที่ท่องเที่ยวได้ เหมือนในประเทศยุโรปอื่น
(เช่นกรณีไทย ถ้าไม่มีสถาบันกษัตริย์ วังก็ยังเป็นที่ท่องเที่ยวได้
จริงๆจะมีวังเปิดให้เป็นที่ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น)
แต่กรณีอังกฤษที่ว่าสถาบันฯเป็นสิ่งดึงดูดใจเรื่องคนท่องเที่ยว
หมายถึงบรรดาเจ้าอังกฤษนี่เหมือนเป็น "ดารา" เลย
คือนอกจากมีคนหล่อคนสวยหลายคนในครอบครัว
เรื่องราวต่างๆของพวกเขายังมีลักษณะเหมือน soap opera หรือ fairly tale
ด้วย คือก็เหมือนกับเรื่องดารานั่นแหละ มีการลุ้นจีบกัน (ตอนเป็นโสด)
มีงานแต่งงานสวยๆ (เหมือนพวกดารา) แล้วบางทีก็มีเรื่องทะเลาะกัน มีชู้ ฯลฯ
.... พูดง่ายๆคือ
เจ้าอังกฤษเหมือนดาราดังครอบครัวใหญ่ทั้งครอบครัวที่ดึงดูดให้คนสนใจ
แม้แต่พวกทหารรักษาพระองค์แต่งตัวแปลกๆ ก็มีให้ทัวริสต์ดูเล่น ถ่ายรูปเล่น
เหมือนดูขบวนดารา หรือหนังคอสตูมอะไรแบบนั้น
แต่กรณีเจ้าไทย จะอ้างเรื่องนี้ก็ไม่ได้ เพราะนอกจากไม่มีเจ้าไทยที่หล่อหรือสวยจริงๆแล้ว ที่สำคัญ ความคอนเซอเวทีฟของเจ้าไทย เข้มงวดเรื่องที่ใครจะพูดถึง ยังไม่ทำให้เกิด "เสน่ห์" ของการชวนติดตามแบบกรณีอังกฤษด้วย เอาเข้าจริง ทัวริสต์ที่มาเที่ยวไทย จะได้รับการเตือนเสมอว่า อยู่ในไทยต้องระวังมากๆเรื่องเจ้า .. พูดอีกอย่างคือ เรื่องเจ้าทำให้ทัวริสต์เครียดเสียมากกว่าจะเป็นความบันเทิงที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวแบบอังกฤษ
ทีนี้ "เหตุผล" ของการต้องมีสถาบันกษัตริย์ในแง่อื่นมีอะไร?
แต่กรณีเจ้าไทย จะอ้างเรื่องนี้ก็ไม่ได้ เพราะนอกจากไม่มีเจ้าไทยที่หล่อหรือสวยจริงๆแล้ว ที่สำคัญ ความคอนเซอเวทีฟของเจ้าไทย เข้มงวดเรื่องที่ใครจะพูดถึง ยังไม่ทำให้เกิด "เสน่ห์" ของการชวนติดตามแบบกรณีอังกฤษด้วย เอาเข้าจริง ทัวริสต์ที่มาเที่ยวไทย จะได้รับการเตือนเสมอว่า อยู่ในไทยต้องระวังมากๆเรื่องเจ้า .. พูดอีกอย่างคือ เรื่องเจ้าทำให้ทัวริสต์เครียดเสียมากกว่าจะเป็นความบันเทิงที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวแบบอังกฤษ
ทีนี้ "เหตุผล" ของการต้องมีสถาบันกษัตริย์ในแง่อื่นมีอะไร?
ประเด็นใหญ่ที่คนรักเจ้าหรือรัฐไทยมักจะยกกันขึ้นมาคือ "เป็นศูนย์รวมจิตใจ" .. ต่อให้เราไม่เถียงกันว่า ในอดีตเคยเป็นจริงไหม แต่ว่า วิกฤติปัจจุบันทีกินเวลา ๑๐ ปีเต็มๆ และสังคมไทยที่ตอนนี้แตกแยกกันชนิดสุดๆ ลงไปถึงระดับประชาชนธรรมดาๆ เรียกว่าถึงระดับที่ (ผมยืมคำมาจากคอมเม้นท์อันนึงในกระทู้หลายสัปดาห์ก่อนของผม) "อยากจะฟาดปากกันเต็มที" อะไรแบบนั้น .. สิ่งนี้เป็นข้อพิสูจน์อย่างดีว่า
"เหตุผล" เรื่อง "เป็นศูนย์รวมจิตใจ" มันไม่เวิร์คเลย เรียกว่าล้มเหลวสุดๆแล้ว (และคงไม่มีใครคิดว่า พระบรมฯที่ขึ้นมาแทน จะสามารถเป็น "ศูนย์รวมจิตใจ" ได้) - ประเด็นสำคัญมากที่คนรักเจ้าไม่เข้าใจเกี่ยวกับการทีมี "คดีหมิ่นฯ" เป็นร้อยๆคดีและมีการเอาคนเข้าคุกกันเป็นเบือในช่วงวิกฤติ ๑๐ ปีนี้ คือ มันสะท้อนความเสื่อมของสถาบันฯอย่างที่เป็นอยู่ขนาดไหน คือเงื่อนไขสำคัญของการเป็น "ศูนย์รวมจิตใจ" ได้ คือจะต้องมีภาวะที่ไม่ได้มีการจับคนเข้าคุกเป็นระนาวด้วยเรื่องหมิ่นฯแบบนี้ คือจะต้องมีภาพที่ "คนไทยทุกคน" ยึดถือเอาสถาบันฯเป็น "เครื่องยึดเหนี่ยว" ยิ่งจับก็ยิ่งทำให้ "ภาพมายา" เรื่อง "ศูนย์รวมจิตใจ" กลวงไร้ความหมาย
สรุปแล้ว "ฟังชั่น" หรือเหตุผล (raison d'être) การดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์ไทยว่า "มีไว้ทำไม" มาถึงจุดนี้ ต้องบอกว่า มองไม่ออกว่าเหลืออะไรแล้ว ...
.................................................................
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar