*14.30 น. คืบหน้าเพิ่มเติม วราวุธ รมว.ทส. แถลงหลังตรวจสอบ พบน้ำมันดิบรั่วเหลืออยู่ 20,000 ลิตร ลอยเหนือผิวน้ำทะเล เร่งโปรยสารกำจัด
.
บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นื่ง จำกัด (มหาชน) เผยแพร่แถลงการณ์ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. ที่ผ่านมาว่า ทางบริษัท พบน้ำมันดิบรั่วไหล บริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึก หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SPM) ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง โดยตรวจเมื่อเวลา 21.06 น. หลังเกิดเหตุบริษัทชี้แจงว่า ได้ระดมทีมเพื่อควบคุมสถานการณ์ตามแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน
.
ต่อมาได้มีแถลงอีกฉบับ เมื่อเวลา 04.02 น. วันนี้ (26 ม.ค.) ทีมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินสามารถควบคุมสถานการณ์และหยุดการรั่วไหลได้ตั้งแต่เวลา 00.18 น. วันนี้ และได้ดำเนินการใช้เรือฉีดพ่นน้ำยาขจัดคราบน้ำมัน โดยจะสำรวจบริเวณที่เกิดเหตุในเช้าวันนี้เพื่อประเมินสถานการณืต่อไป ส่วนการดำเนินงานของโรงกลั่นน้ำมัน บริษัทสามารถเดินเครื่องได้ตามปกติโดไม่มีผลกระทบจากอุบัติการณ์ดังกล่าว
.
ด้านกรมควบคุมมลพิษได้รับการประสานจากบริษัทว่า เหตุเกิดเมื่อเวลา 00.10 น. วันที่ 26 มกราคม มีน้ำมันดิบรั่วไหลจำนวน 400,000 ลิตร จากท่อใต้ทะเลของทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเล บริเวณมาบตาพุด นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้รับการประสานจากบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำเป็นต้องยับยั้งไม่ให้น้ำมันเคลื่อนที่เข้าสู่ฝั่ง เนื่องจากลมมีทิศพัดขึ้นไปทางด้านเหนือ อาจจะมีผลกระทบต่อบริเวณ จ.ระยองได้
.
ทางกรมควบคุมมลพิษ จึงได้ใช้แบบจำลอง OilMap แสดงให้เห็นว่า กลุ่มน้ำมันดังกล่าวอาจเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งทะเลบริเวณหาดแม่รำพึง จนถึงบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ในวันที่ 28 มกราคม เวลาประมาณ 17.00 น. ในปริมาณ 180,000 ลิตร
.
ความคืบหน้าล่าสุด นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แถลงเมื่อเวลา 13.55 น. ว่า สถานการณ์เบื้องต้นที่ทางบริษัทได้แถลงข่าวว่ามี ปริมาณน้ำมันรั่วไหลออกมา 2-4 แสนลิตรนั้น ภายหลังจากเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องนำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง และอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ได้ขึ้นเรือ และเฮลิคอปเตอร์ ไปดูที่จุดเกิดเหตุ พบว่าปริมาณน้ำมันวันนี้มีอยู่ไม่ถึง 4 แสนลิตร แต่มีอยู่ประมาณ 20,000 ลิตร ซึ่งเป็นข่าวที่ไม่ได้เลวร้ายเท่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก
.
"น้ำมัน 20,000 ลิตร นี้เป็นฟิล์มบาง ๆ อยู่ที่ผิวน้ำ ตอนแรกเกรงว่าจะพัดมาเข้าฝั่ง แต่หลังจากดูทิศทางการไหลของน้ำและกระแสน้ำทะเลแล้ว น่าจะวางใจได้ว่า ปริมาณน้ำมัน 20,000 ลิตรที่ลอยอยู่นั้น ไม่น่าจะเข้าฝั่ง"
.
ขั้นตอนที่ทำในขณะนี้ คือ กำลังใช้เครื่องบินโปรยสารที่ทำให้น้ำมันดิบเหล่านี้สลายตัว การสลายตัวนี้น้ำมันที่ลอยอยู่เป็นแพจะรวมเป็นก้อนและจมลง ดังนั้น การที่จะมีน้ำมันไปทำความเสียหายให้เกิดกับชายฝั่งหรือว่าพี่น้องประชาชนได้นั้น น่าจะป้องกันได้ไม่มีปัญหา แต่ในระยะยาวต้องศึกษาว่าน้ำมันที่จมลงใต้ทะเลจะมีผลกระทบต่อปะการัง สิ่งแวดล้อมอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ทางบริษัทต้องมีกองทุนรับผิดชอบในระยะยาวด้วย
.
"ไม่ใช่เพียงแค่กำจัดน้ำมันออกจากสายตาพี่้น้องประชาชนในขณะนี้แล้วปัญหาจะจบไป... ต้องมองด้วยว่าในระยะยาวแล้วสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ระบบนิเวศ จะได้รับผลกระทบอย่างไร" นายวราวุธ กล่าว
นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ชี้แจงกรณี "ฮอสพิเทล"
.
ภายหลังนักข่าวอังกฤษเขียนบทความตีแผ่เรื่องปัญหาของระบบ "ฮอสพิเทล" หรือการกักตัวชาวต่างชาติผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ในโรงแรมของไทย โดยเปรียบเปรยว่าเป็นเสมือน "การใช้ชีวิตเยี่ยงนักโทษที่ต้องจ่ายเงินขังตัวเอง" นายก้องศักดิ์ คู่พงศกร นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า หากโรงแรมดังกล่าวที่มีการพูดถึง ปล่อยปละละเลยให้ผู้เข้าพักที่ต้องกักตัวออกมานอกห้องพักและสังสรรค์กันได้ โรงแรมจะต้องถูกสอบสวนอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าโรงแรมดังกล่าวคือโรงแรมใด
.
"ตามข่าวที่เขาเอารูปคนที่ถือขวดกินเบียร์กินเหล้าเนี่ย มันเป็นภาพจริงหรือเปล่า แต่ถ้าเป็นภาพจริง สาธารณสุขก็ต้องไปตรวจสอบ เพราะในฮอสพิเทลไม่ให้ดื่มแอลกอฮอล์ แล้วก็อยู่ห้องใครห้องมัน ห้ามออกมานอกห้อง จะมาว่ายน้ำมาเดินเล่นไม่ได้"
.
ในเรื่องของราคาห้องพักสำหรับการกักตัวนั้น นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายด้านการจัดการและการแพทย์มีส่วนทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติอย่างแน่นอน เพราะอาจไม่มีโรงแรมใดอยากใช้พื้นที่ของตนเองเป็นพื้นที่กักเชื้อ
.
อ่านคำสัมภาษณ์เพิ่มเติม และที่มาของเรื่องที่ https://bbc.in/3G2DJK3
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar