onsdag 25 maj 2022

“ผู้ว่าฯ ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี” กับงานสำคัญลำดับแรกเรื่องน้ำท่วม การจราจร และฝุ่นควัน ปัญหากวนใจคน กทม.

บีบีซีไทย - BBC Thai

1 h 
 
ชัชชาติวาดฝัน หรือทำได้จริง ?
วันนี้เวลาประมาณ 2 ทุ่ม บีบีซีไทย ไลฟ์สดพูดคุยกับชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ หลังชนะเลือกตั้งถล่มทลาย ได้คะแนนสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ติดตามรับชมได้ทั้งทางเฟซบุ๊กและยูทิวบ์ งานสำคัญลำดับแรกของ “ผู้ว่าฯ ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี” คืออะไร จะเห็นวิโรจน์ ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกลมานั่งตำแหน่งรองผู้ว่าฯ หรือไม่ นโยบายกว่า 200 ข้อ จะนำไปปฏิบัติได้จริงแค่ไหน แล้วเตรียมรับมือกับปัญหากวนใจคน กทม. อย่างไร ทั้งเรื่องน้ำท่วม การจราจร และฝุ่นควัน
 
May be a closeup of 1 person and text that says 'Reuters' 
 
1 h 
แอมเนสตี้เปิดรายงานโทษประหารชีวิตปี 2564 พบการสังหารตามคำสั่งรัฐเพิ่มขึ้น
.
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลแถลง “รายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตในปี 2564” พบว่า เป็นปีที่มีการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นและมีจำนวนการตัดสินให้ประหารชีวิตที่น่ากังวล หลังจากประเทศที่มีการประหารชีวิตมากสุดในระดับโลก ได้หวนกลับมาใช้วิธีการเช่นนี้อีก และในขณะที่ศาลเริ่มเปิดทำการ หลังปลอดจากมาตรการควบคุมโรคโควิด-19
.
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ได้บันทึกการประหารชีวิตในปี 2564 พบว่า มีข้อมูลการประหารชีวิตอย่างน้อย 579 ครั้งใน 18 ประเทศ ซึ่งเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับจำนวนที่บันทึกได้ในปี 2563 อิหร่านยังคงเป็นประเทศที่มีการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นสูงสุด โดยมีการประหารชีวิตบุคคลอย่างน้อย 314 คน (เพิ่มจากอย่างน้อย 246 คนในปี 2563) โดยเป็นจำนวนการประหารชีวิตสูงสุดนับแต่ปี 2560 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการประหารชีวิตในคดียาเสพติดที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก นับเป็นการละเมิดอย่างชัดเจนต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งห้ามการใช้โทษประหารชีวิตกับความผิดอื่น ยกเว้นความผิดเกี่ยวกับการฆ่าคนตายโดยเจตนา ในเวลาเดียวกัน จำนวนการประหารชีวิตในซาอุดีอาระเบีย เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า ซึ่งเป็นแนวโน้มที่น่ากังวลอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปี 2565 ที่มีการประหารชีวิตบุคคล 81 คนในวันเดียวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
.
ในขณะที่เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ซึ่งเคยเป็นเหตุให้มีการชะลอกระบวนการยุติธรรมออกไปอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วโลก ในปี 2564 ผู้พิพากษาได้สั่งประหารชีวิตอย่างน้อย 2,052 ครั้งใน 56 ประเทศ เพิ่มขึ้นเกือบ 40% เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในหลายประเทศ อย่างเช่น บังกลาเทศ (อย่างน้อย 181 ครั้ง จากอย่างน้อย 113 ครั้ง), อินเดีย (144 ครั้ง จาก 77 ครั้ง) และปากีสถาน (อย่างน้อย 129 ครั้ง จากอย่างน้อย 49 ครั้ง)
.
แม้จะมีความถดถอยเช่นนี้ แต่ตัวเลขรวมของการประหารชีวิตที่บันทึกได้ในปี 2564 ยังคงเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดเป็นอันดับสองรองจากปี 2563 เท่าที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเคยบันทึกข้อมูลได้อย่างน้อยตั้งแต่ปี 2553[i]
.
เช่นเดียวกับปีก่อนหน้านี้ จำนวนคำตัดสินให้ประหารชีวิตและการประหารชีวิตทั่วโลกนี้ ไม่ครอบคลุมจำนวนประชาชนหลายพันคน ซึ่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่าถูกสั่งประหารและถูกประหารชีวิตในจีน รวมทั้งจำนวนการประหารชีวิตที่สูงมากซึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นในเกาหลีเหนือและเวียดนาม ความลับด้านข้อมูลและการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลในทั้งสามประเทศ ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการติดตามข้อมูลการประหารชีวิตอย่างถูกต้อง ในขณะที่สำหรับอีกหลายประเทศ ตัวเลขที่บันทึกได้อาจต้องถือว่าเป็นตัวเลขเพียงขั้นต่ำเท่านั้น
.
“จีน เกาหลีเหนือ และเวียดนามยังคงปิดบังการใช้โทษประหารชีวิตไว้เป็นความลับหลายชั้น แต่ดังเช่นที่ผ่านมา แม้ตัวเลขเพียงเล็กน้อยที่เราเห็น ก็ทำให้เกิดความตื่นตระหนกได้แล้ว” แอกเนส คาลามาร์ดกล่าว
.
ภายในสิ้นปี 2564 มี 108 ประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุกกรณี และมี 144 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติแล้ว
.
สำหรับประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศนั้น กัมพูชาและฟิลิปปินส์ ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท ส่วนลาว พม่า และบรูไน ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ คือยังคงโทษประหารชีวิตอยู่ตามกฎหมายสำหรับอาชญากรรมทั่วไป แต่ได้มีการระงับการประหารชีวิตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาหรือมากกว่านั้น ส่วนประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนาม ยังคงเป็นหนึ่งในจำนวน 55 ประเทศที่มีและใช้โทษประหารชีวิตอยู่
.
“ประเทศส่วนน้อยในโลกที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต โปรดรับรู้ไว้ว่า โลกที่ปราศจากการสังหารโดยรัฐ ไม่เพียงแต่จะจินตนาการได้เท่านั้น แต่ยังอยู่ใกล้แค่เอื้อมและเราจะยังคงต่อสู้เพื่อให้เกิดโลกเช่นนี้ เราจะยังคงเปิดโปงการใช้โดยพลการ การเลือกปฏิบัติ และความโหดร้ายของการลงโทษนี้ต่อไป จนกว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ใต้เงามืดของบทลงโทษนี้ ถึงเวลาแล้วเราจะต้องทำให้การลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีมากสุดจะกลายเป็นอดีตไป” แอกเนสกล่าว
.
ย้อนอ่าน เรื่องโทษประหารยังมีความจำเป็นในไทยหรือไม่ https://bbc.in/3LM2psQ
Kan vara en bild av 1 person och text där det står ”โทษประหารชีวิตในอาเซียน มีอยู่ 1. ไทย 2. อินโดนีเซีย 3. มาเลเซีย 4. สิงคโปร์ 5. เวียดนาม ยกเลิก 1. กัมพูชา 2. ฟิลิปปินส์ มีแต่ไม่ใช้ 1. ลาว 2. เมียนมา 3. บรูไน NEWS ไทย ที่มา: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล GETTY IMAGES”

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar