torsdag 28 juli 2022

รวมพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่10

2 h 
รวมพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 ก.ค. 2565
.
อ่านพระบรมราโชวาทฉบับเต็มได้ทางนี้ https://bbc.in/3PF9deF

 Kan vara en bild av 1 person och text där det står ”รวมพระบรมราโชวาท ในหลวงรัชกาลที่ 10 ต่อข้าราชการ อัยการ ผู้พิพากษา และถึงโควิด ช่วง ปีที่ผ่านมา "กฎหมายเป็นเครื่องมีอสำคัญ สำหรับ รักษาความยุติธรรมก็จริง แต่ต้องอาศัย ดุลยพินิจที่ถูกต้องด้วย" (24 มี.ค. 2564) "ความสงบสุขของประเท...อย่ท่เม่ เกิดความขัดแย้งขึ้นคราวใด ก็สามารถ คลื่คลายลงได้ด้วยความยุติธรรม" (20 พ.ย. 2564) "ข้าราชการ คือ ผู้ที่ทำงานเพื่อ ผลประโยชน์ของประชาชน" (1 เม.ย. 2565) "โรคมาได้ โรคก็ไปได้ แต่โรคจะไม่ไป ถ้าเราไม่แก้ไขปัญหา ไม่แก้ให้ถูกจุด" (6 เม.ย. 2563) NEWS ไทย ไทย ที่มา: บีบีซีไทยรวบรวม BBC Thai” 

.............................................................................

Affreux, sale, méchant... et roi.
แปลเป็นอังกฤษ ประมาณว่า "Ugly, dirty, bad ... and king."

Ingen fotobeskrivning tillgänglig.


"น่าเกลียด, สกปรก, เลวร้าย... และเป็นกษัตริย์"
พาดหัวรายงานเรื่องวชิราลงกรณ์ของ "เลอ มง" ฉบับตีพิมพ์กระดาษ "ดุ" มาก
(ขอบคุณ "มิตรสหายท่านหนึ่ง" อย่างสูงที่ช่วยแจ้งและจัดหาไฟล์อิเล็คโทรนิคให้)
ผมก็เพิ่งรู้ว่า รายงานของ "เลอ มง" เรื่องวชิราลงกรณ์ที่ผมโพสต์เมื่อเช้ามืดวันนี้(เวลาไทย) - ดูกระทู้ที่แล้ว https://t.co/uMma0dPTr5
ในฉบับพิมพ์กระดาษ พาดหัว "ดุ" กว่าฉบับทางเว็บเสียอีก
Affreux, sale, méchant... et roi.
แปลเป็นอังกฤษ ประมาณว่า "Ugly, dirty, bad ... and king."
หรือเป็นไทย ทำนองที่จั่วเป็นหัวกระทู้ข้างบนแหละ
ฉบับพิมพ์นี้ อยู่ใน "แม็กกาซีน" ซึ่งแถมมากับฉบับวันเสาร์เมื่อวาน

รามา 10: กษัตริย์องค์ใหม่ของไทยผู้มีพฤติกรรมที่ชวนให้น่ากังวล

เมื่อวานนี้ นสพ. "เลอ มง" ของฝรั่งเศส ได้ตีพิมพ์รายงานขนาดยาวเกี่ยวกับวชิราลงกรณ์ของคุณ อาโรลด์ ทิโบต์ (Harold Thibault) - ภายใต้ชื่อเรื่องข้างต้น
ตัวรายงานจริง อยู่ที่นี่ อ่านได้เฉพาะผู้เป็นสมาชิก https://goo.gl/SKJFpD
แต่คุณ Andrew MacGregor Marshall ได้นำออกเผยแพร่ อ่านได้ที่นี่ (เป็นภาษาฝรั่งเศส มีคำนำภาษาอังกฤษของคุณแอนดรูสั้นๆ และตอนท้ายคุณแอนดรูได้โพสต์ฉบับแปลภาษาอังกฤษที่ใช้ Google Translate ไว้ด้วย) https://goo.gl/W5NMc3
ข้างล่างนี้ ผมสรุปเนื้อหาของรายงาน
...............

- วชิราลงกรณ์เป็นคนเจ้าอารมณ์ที่คาดเดายากว่าจะทำอะไร เขาชอบใช้ชีวิตในบาวาเรีย รัชสมัยของเขาสามารถเป็นรัชสมัยที่โหด

- คนเยอรมันไม่ได้สนใจวชิราลงกรณ์จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม 2016 เมื่อ Build ตีพิมพ์ภาพของเขาที่สนามบินมิวนิค ในชุดคร้อปท็อปโชว์พุง และลายแท็ตทูกลางหลัง

- เขาใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในบาวาเรียในปีหลังๆนี้ ในขณะที่พระราชบิดานอนป่วย

- วันที่ 13 ตุลาคม 2016 กษัตริย์ภูมิพลสวรรคต วชิราลงกรณ์บินกลับไทย แต่อยู่ได้ราวสองสัปดาห์ก็กลับเยอรมันอีก เขาได้รับประกาศเป็นกษัตริย์วันที่ 1 ธันวา แต่พิธีราชาภิเษกยังไม่แน่ว่าจะมีเมื่อไร เดิมวิษณุ เครืองามบอกว่าสิ้นปี 2017 แต่ก็ผ่านไป ขณะนี้ มีการพูดกันว่า อาจจะในเดือนมีนาคม 2018 [ดังที่ผมเคยเล่าไปว่า ผมได้ยินว่า อาจจะเป็นเมษายน ช่วงวันจักรีหรือใกล้ๆกัน แต่เรื่องนี้ก็ยืนยันไม่ได้ - สศจ.]

- บุคลิกของวชิราลงกรณ์เป็นเรื่องอ่อนไหวในไทย ทุกคนรู้ลักษณะนิสัยเขา ความเป็นคนโมโหง่าย เอาแต่ใจ การมีสนมหลายคน แต่เรื่องพวกนี้เป็นสิ่งต้องห้ามที่จะพูด ถ้าใครพูดจะผิดกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีบทลงโทษหนักสำหรับใครที่แม้แต่จะพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับราชวงศ์ ในปี 2015 เคยมีคนถูกจับเพียงเพราะพูดประชดเสียดสีสุนัขทรงเลี้ยง

- พวกชนชั้นนำความจริงต้องการจะให้น้องสาววชิราลงกรณ์ ฟ้าหญิงสิรินธร ผู้ได้รับความนิยม ขึ้นครองราชย์มากกว่า

- ความพิลึกของกษัตริย์องค์ใหม่เป็นที่รู้กันทั่ว ในปี 2010 อีริค จี จอห์น เอกอัครรัฐทูตอเมริกัน ถาม พล.อ.เปรม ประธานองคมนตรีว่า วชิราลงกรณ์อยู่ที่ไหน เปรมตอบว่า "คุณก็รู้ไลฟ์สไตล์ของเขา รู้ว่าเขาเป็นคนยังไง..." ในโทรเลขการทูตของสหรัฐที่เปิดเผยโดยวิกิลีกส์อีกฉบับหนึ่ง ลาฟ บอยซ์ ทูตอเมริกันอีกคนหนึ่ง เล่าถึงดินเนอร์ที่มีแขกเหรื่อ 600 คน แล้วฟูฟู สุนัขของวชิราลงกรณ์ ที่เขาตั้งให้เป็นพลอากาศเอก และถูกจับแต่งตัวในชุดทหารตามยศ กระโดดขึ้นโต๊ะอาหาร และกินน้ำในแก้วของแขก รวมทั้งของทูต

- ชนชั้นนำไทย ความจริงอยากให้ฟ้าหญิงสิรินธรขึ้นครองราชย์มากกว่า แต่เป็นไปไม่ได้ เพราะเธอไม่ได้แต่งงาน ไม่มีลูก และกษัตริย์ภูมิพลได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 1972 ให้วชิราลงกรณ์เป็นรัชทายาท

- เมื่อ 2 ปีก่อน ขณะที่พระราชบิดากำลังใกล้สวรรคต วชิราลงกรณ์ซื้อบ้าน 2 หลังริมทะเลสาบ สตรานเบิร์ก ในบาวาเรีย ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม

- บ้านในตุสซิงที่เขาซื้อ ราคาประมาณ 12 ล้านยูโร นายกิลโด ไลน์เนอร์ (Guido Lindner) ผู้จัดการโรงแรม Hotel du Lac ที่อยู่ใกล้ๆบ้านนั้น ให้สัมภาษณ์ว่า "วชิราลงกรณ์ได้รับการปฏิบัติจากพวกบริพาร ราวกับเป็นพระพุทธเจ้าที่มีชีวิต" นายกิลโดเล่าว่าคณะผู้ติดตามของวชิราลงกรณ์เคยเสนอขอซื้อโรงแรมเขา [เข้าใจว่า เพื่อเคลียร์บริเวณนั้นให้มีความไพรเวทมากขึ้น จากแขกโรงแรม - สศจ.] แต่เขาไม่ขาย วชิราลงกรณ์ยังได้ซื้อบ้านอีกแห่งที่ฟิลดาฟิ้ง ที่ห่างออกไปไม่กี่กิโลเมตร เพื่อเขาจะได้มีที่อยู่กับคู่ควงแต่ละคน แยกกัน และกับลูกชาย

- ย่านทะเลสาบ สตรานเบิร์ก ที่วชิราลงกรณ์อยู่เป็นย่านที่พวกนักธุรกิจรวยๆหรือศิลปินไปพักอาศัย มีความสงบมากกว่าโรงแรมฮิลตันใกล้สนามบินมิวนิค ซึ่งวชิราลงกรณ์เคยอยู่ประจำก่อนจะมาซื้อบ้าน แต่วชิราลงกรณ์ก็ยังไปพักที่ฮิวตันบ้างเป็นบางครั้ง

- วชิราลงกรณ์ชอบขับเครื่องบิน (บทรายงานเล่าถึงกรณีที่วชิราลงกรณ์ขับเครื่องบินขวางเครื่องบินของนายกฯญี่ปุ่น ที่พอล แฮนด์ลี่ย์ เล่าไว้ใน The King Never Smiles)

- โรงแรมฮิลตัน เดิมเป็นโรงแรมเคมปินสกี้ ซึ่งราชวงศ์ไทยถือหุ้นใหญ่ ก่อนจะขายให้ฮิลตัน อดีตพนักงานโรงแรมผู้หนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า สมัยที่วชิราลงกรณ์ไปพักประจำที่นั่น สร้างความยุ่งเหยิงให้ทางโรงแรม วชิราลงกรณ์กับคณะจะมาพักครั้งละ 2-3 เดือน หลายครั้งต่อปี บางครั้งสถานทูตไทยในเบอร์ลินแจ้งต่อโรงแรมล่วงหน้าเพียงแค่ไม่กี่วัน ว่าวชิราลงกรณ์จะมาพัก ครั้งหนึ่ง ในช่วงต้นทศวรรษ 2010s ทางโรงแรมต้องย้ายการประชุมคอนเฟอเรนซ์ที่จัดโดยลูกค้าสำคัญของโรงแรม คือบริษัทประกันภัย Allianz ที่มีผู้เข้าร่วมประชุมนับร้อย ออกไปจัดที่อื่น เพราะวชิราลงกรณ์กับคณะมาพักโรงแรมกระทันหัน

- การมาพักแต่ละครั้งของวชิราลงกรณ์จะมาพร้อมกับกระเป๋าข้าวของหนักเป็นตันๆ ทางโรงแรมต้องจัดการเคลียร์ชั้นโรงแรมเป็นชั้นๆ หรือปีกบางปีกของโรงแรม โดยเฉพาะเมื่อวชิราลงกรณ์พาคู่ควงมามากกว่าหนึ่งคน [เพื่อให้แยกกันอยู่คนละชั้นคนละปีก - สศจ.] ทีมบริพารของวชิราลงกรณ์เคยพยายามจะบังคัับให้พนักงานชาวเยอรมันของโรงแรมต้องหมอบคลานต่อหน้าวชิราลงกรณ์ แต่ทางฝ่ายจัดการของโรงแรมไม่ยอม ทางทีมบริพารเลยขอให้พนักงานห้ามมองสบตาหรือพูดกับวชิราลงกรณ์. ในห้องพักของวชิราลงกรณ์จะมีการประดับภาพพวกรถยนต์เก่าที่เขาสะสม
 
- อดีตพนักงานโรงแรมคนเดียวกันเล่าว่า วันหนึ่ง พนักงานหญิงทำความสะอาด (เมด) พบว่า ทีมบริพารของวชิราลงกรณ์ได้แขวนรูปฮิตเล่อร์ไว้บนผนัง อดีตพนักงานที่ให้สัมภาษณ์บอกว่า ไม่แน่ใจว่าเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างประหลาดหรือเพราะความนิยมชมชอบฮิตเล่อร์กันแน่ ทางฝ่ายจัดการโรงแรมต้องบอกอย่างเข้มงวดต่อเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยให้เอาภาพนั้นออก
...............
[รายงานยังไม่จบ - ถ้ามีเวลา ผมจะมาแปลสรุปที่เหลือต่อ กระทู้นี้ยาวมากแล้ว และตอนนี้เป็นเวลาดึกมากของที่นี่]

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar