tisdag 17 december 2019

updated สถิตพงษ์ สุขวิมล (มือขวาวชิราลงกรณ์)



Somsak Jeamteerasakul

พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ขึ้นเป็นมือขวาของกษัตริย์วชิราลงกรณ์เต็มตัวมากขึ้น (กษัตริย์มีคนไว้ใจได้มากๆคนเดียวนี่แหละ ให้เป็นสารพัดตำแหน่งเลย)

เพิ่งมีประกาศแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ (ดูรายงานจากมติชน ที่นี่ https://goo.gl/VO9YUO ดูภาพแค็พ จะเห็นว่า มติชนดันพาดหัวชื่อคุณ "สถิตย์พงษ์"​ ผิด เหลือเพียง "สถิตย์"​ ผมอ่านพาดหัว งงเลย "สถิตย์"​ ไหน คนสนิทกษัตริย์ไม่มีใครชื่อนี้ แต่เดี๋ยวเขาอาจจะแก้ก็ได้หลังจากผมโพสต์กระทู้นี้)
ที่น่าสนใจที่สุด คือการโปรโมท พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์​ จาก "รองเลขาธิการพระราชวัง"​ ให้เป็น "ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 11 เทียบเท่าเลขาธิการพระราชวัง ตำแหน่งหมายเลข 1 และเป็นประธานข้าราชบริพารในพระองค์"

ในขณะที่ จิรายุ ที่กษัตริย์องค์นี้ตั้งแต่ยังเป็นพระบรมฯเคยให้เป็น "เลขาธิการพระราชวัง"​ ซึ่งมีผลทำให้จิรายุ ต้องละการบริหารสำนักงานทรัพย์สินฯ​ แม้ตำแหน่งทางการจะยังเป็นผู้อำนวยการสำนักงานฯอยู่ (ดูกระทู้เก่าของผม https://goo.gl/PxjnF8 และ https://goo.gl/upsiBF) จากประกาศนี้ได้รับการแต่งตั้งเป็น "เลขาธิการพระราชวัง ระดับ 11 ตำแหน่งหมายเลข 2"​ นั่นคือ แม้จะยังมีตำแหน่งเป็น "เลขาธิการพระราชวัง"​ เหมือนเดิม แต่เป็น "ตำแหน่งหมายเลข 2" แล้ว
และที่สำคัญ สถิตพงษ์ได้รับแต่งตั้ง ตำแหน่งใหม่เอี่ยม "ประธานข้าราชบริพารในพระองค์" คือมีอำนาจเหนือข้าราชบริพารในพระองค์ทั้งหมด

ตำแหน่งและชื่อเรียกตำแหน่งเหล่านี้ ไม่เคยมีมาก่อน ("ตำแหน่งหมายเลข..." "ประธานข้าราชบริพาร") และไม่เคยมีมาก่อน ที่จะมีตำแหน่ง "เลขาธิการพระราชวัง" 2 คน ผมคิดว่า เรื่องนี้มาจากว่า กษัตริย์ใหม่จะให้สถิตพงษ์เป็นนั่นแหละ แต่ก็ยังเกรงใจ จะลดตำแแหน่ง "เลขาธิการพระราชวัง"​ ของจิรายุ ให้เป็นแค่รองฯแทน ก็กระไรอยู่ เลยใช้วิธี "ตำแหน่งหมายเลข..."​ แทน
และที่ไม่ควรลืมอีกเรื่องคือ ก่อนหน้านี้ กษัตริย์องค์นี้ได้ตั้งให้สถิตย์พงษ์​เป็นผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ด้วย (ดูกระทู้เก่าของผม https://goo.gl/b53Csi)

คือถึงตอนนี้ สถิตย์พงษ์​เป็นทั้ง "ราชเลขานุการในพระองค์" "เลขาธิการพระราชวัง ตำแหน่งหมายเลข 1" "ประธานข้าราชบริพารในพระองค์"​ "ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์"
ถ้าเป็นสมัยในหลวงองค์ก่อน ตำแหน่งและหน้าที่เหล่านี้ จะมีคนดูแลแยกกันไป (ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์,​ ราชเลขานุการ,​ เลขาธิการพระราชวัง) นี่สถิตย์พงษ์เป็นหมด และยังมีตำแหน่งอื่นที่ตั้งเพิ่มให้ด้วย
ผมคิดว่าเรื่องนี้สะท้อนว่า กษัตริย์ใหม่หาคนไว้วางใจมากพอไม่ได้ ไม่เหมือนพ่อ ที่มีคนใกล้ชิด ไว้ใจ ให้ทำงานได้มากพอจะตั้งแยกกันไป แต่กษัตริย์องค์นี้ มีแค่สถิตย์พงษ์เท่านี้แหละ
ตอนนี้ จริงๆก็เหลือเพียง "ผู้อำนายการสำนักงานทรัพย์สินฯ" ที่จิรายุยังเป็นอยู่โดยทางการ แต่ไม่ได้บริหารแล้ว ว่ากษัตริย์ใหม่จะตั้งให้ใครเป็น
No photo description available.
แหะๆ ผม "ตก" ตำแหน่งคุณ สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ไปตำแหน่งหนึ่ง (และอัพเดตข้อมูลประวัติส่วนบุคคลของคุณสถิตย์พงษ์)
ตำแหน่งเขาเยอะเหลือเกินน่ะครับ เมื่อวานรวบรวมแล้ว ก็ยังอุตส่าห์ "ตก" ไปได้ เมื่อวานลิสต์ไป 5 ตำแหน่ง : ประธานข้าราชบริพารในพระองค์, เลขาธิการพระราชวัง, ราชเลขานุการในพระองค์, ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์, ผู้อำนวยการทรัยพ์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ดูกระทู้เมื่อวาน https://t.co/4fSmYmz761)
ลืมไปสนิทว่า เดือนกรกฎาคมปีกลาย ตอนวชิราลงกรณ์ออก พรบ.ทรัพย์สินกษัตริย์ฉบับใหม่ ได้มีการตั้ง "คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ใหม่ด้วย โดยให้ สถิตย์พงษ์ เป็นประธานคณะกรรมการ (ดูภาพประกอบซึ่งเป็นตัวคำสั่งแต่งตั้ง และดูรายงานข่าวทาง บีบีซี ไทย ได้ที่นี่ https://goo.gl/JDq3ZN)
ตำแหน่ง "ประธาณคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" นี้ คือตำแหน่งที่เดิม "รมต.คลัง" เป็นโดยตำแหน่ง แต่จริงๆอย่างที่ผมชี้ให้เห็นโดยมีหลักฐานโดยตลอดว่า กระทรวงการคลังไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สินส่วนกษัตริย์เลยตลอด 70 ปีที่ผ่านมา (หลังรัฐบาลรอยัลลิสต์ออก พรบ.มาในปี 2491) ในทางการบริหาร สนง.ทรัพย์สินฯ ตัวกรรมการและประธานคณะกรรมการฯ ก็ไม่มีบทบาทอะไร บทบาททั้งหมดอยู่กับ "ผู้อำนวยการ" ซึ่งคุณจิรายุเป็นมาตั้งแต่ปี 2530 พอวชิราลงกรณ์ออก พรบ.ทรัพย์สินฯใหม่ปีกลาย ก็ตัดเรื่องที่แม้จะเป็นเพียง formal หรือ "โดยตำแหน่ง" นี้ออกไปเลย
การที่เมื่อวาน วชิราลงกรณ์ฯตั้งสถิตพงษ์ที่เป็นประธานกรรมการทรัพย์สินฯอยู่แล้ว ให้เป็นผู้อำนวยการฯ ก็เพราะความที่ตัวประธานไม่ใช่ตำแหน่งที่มีบทบาทในการบริหาร สนง.ทรัพย์สินฯดังกล่าว (การทำธุรกรรม เซ็นสัญญา ฯลฯ เป็นของผู้อำนวยการฯ)
ทีนี้ การที่วชิราลงกรณ์ตั้งสถิตย์พงษ์เป็น "ผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" เมื่อวาน เท่ากับว่า ตอนนี้คุณสถิตย์พงษ์ เป็นทั้ง "ประธาน" และ "ผู้อำนวยการ" ของ คณะกรรมการทรัพย์สินฯพร้อมๆกันไป ถ้าเอาตามตัวบท พรบ.ทรัพย์สินฯที่วชิราลงกรณ์ออกปีกลาย "ทรงแต่งตั้่งกรรมการ..คนหนึ่ง เป็นผู้อำนวยการ...ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ" (มาตรา ๘ ดูตัวบทจริงได้ที่นี่ https://goo.gl/turvVN) ความจริง ก็ควรต้องมีการตั้งใครสักคนมาเป็น "ประธาน" แทนสถิตพงษ์ด้วย เพราะไม่เช่นนั้น จะเท่ากับสถิตย์พงษ์เป็นทั้ง "ประธาน" และ "ผู้อำนวยการ" และต้อง "ทำหน้าที่..เลขานุการ" ไปด้วยพร้อมๆกัน แต่ก็ไม่แน่ เขาอาจจะปล่อยไว้แบบนี้ก็ได้ เพราะอย่างที่บอกว่าตัว "คณะกรรมการ" นี้ ไม่ได้มีบทบาทอะไรในการบริหารทรัพย์สินฯมาแต่ไหนแต่ไร อยู่ที่ผู้อำนวยการฯเท่านั้น ซึ่งสถิตย์พงษ์ก็ได้เป็นจากการตั้งเมื่อวานแล้ว
สรุปตำแหน่งทั้งหมดของสถิตพงษ์ ณ ขณะนี้ 6 ตำแหน่ง :
- ประธานข้าราชบริพารในพระองค์
- เลขาธิการพระราชวัง
- ราชเลขานุการในพระองค์
- ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์
- ประธานคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
- ผู้อำนวยการทรัยพ์สินส่วนพระมหากษัตริย์
.....................
ถ้าใครเช็ค "วิกิพีเดียไทย" จะพบว่า ไม่มีประวัติส่วนตัวอะไรของคุณสถิตย์พงษ์เลย ไม่มีวันเดือนปีเกิดหรือประวัติการศึกษา ซึ่งต้องนับว่าแปลกดี ในแง่ที่เป็นคนซึ่งมีอำนาจและบทบาทกับวังมากขนาดนี้ (ดู https://goo.gl/mhk38G ผมเอารูปคุณสถิตย์พงษ์มาจากที่นั่น ขอบคุณ)
ผมเลยพยายามเสิร์ชหาเอง ก็ได้มาส่วนหนึ่ง นับว่ายังน้อยมาก แต่ขอมาเล่าต่อ ดังนี้
คุณสถิตย์พงษ์ ขณะนี้ อายุ 69 ปี นี่คือข้อมูลล่าสุดตอนต้นปีนี้เอง เพราะมีการเพิ่มคุณสถิตย์พงษ์เข้าไปเป็นกรรมการบอร์ด "เครือซีเมนต์ไทย" เลยมีประวัติอยู่ในรายงานสำหรับการประชุมผู้ถือหุ้นต้น (https://goo.gl/1enzUN) หมายความว่า เขาน่าจะเกิดในปี 2492 (?)* คือเป็นคน "รุ่นเดียวกัน" กับวชิราลงกรณ์และทักษิณ แก่กว่าวชิราลงกรณ์ประมาณ 3-4 ปี (วชิราลงกรณ์เกิด 2495 ทักษิณ 2492) หรือถ้าเทียบกว้างออกไป คือเป็นคน "รุ่น 14 ตุลา" (จรัล 2490, เสกสรรค์ 2492 ธีรยุทธ 2493)
*(ปีเกิดนี้ยังไม่แน่นอน เพราะในรายงานของการบินไทยต่อตลาดหลักทรัพย์ตอนสิ้นปี 2554 https://goo.gl/hcm3Bq บอกว่าเขาอายุ 61 ปี ซึ่งทำให้เขาน่าจะเกิดปี 2493 และถ้านับจากตอนนั้นมาถึงสิ้นปีกลายหรือต้นปีนี้ เขาก็น่าจะอายุ 67 หรือ 68?)
สถิตย์พงษ์ เข้าเรีียนมัธยมที่สวนกุหลาบ เป็นรุ่นที่ 82 คือเข้าเรียนปี 2506 รุ่นเดียวกับ จุมพล มั่นหมาย (จุมพลเกิดปี 2493) - ขอบคุณท่านที่บอกมาหลังตั้งกระทู้
จบปริญญาตรีศิลปศาสตร์บัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - นั่นคือ เขาไม่ได้จบทหาร ไม่ได้เป็นทหารมาก่อน
ในประวัติเขา(จากข้อมูลข้างต้น) บอกว่า
- ศิษย์การบินรุ่น น.54-16-3โรงเรียนการบินกําแพงแสน
- โรงเรียนนายทหารชั้นบังคับฝูง รุ่นที่ 43
- โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่น 29
- วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 27
ไม่มีข้อมูลว่าเขาเปลี่ยนเป็นทหารตั้งแต่เมื่อไร
โรงเรียนการบิน ผมเข้าใจว่า พลเรือนก็เรียนได้
แต่ "โรงเรียนนายทหารชั้นบังคับฝูง" เป็นของกองทัพอากาศ สำหรับนายทหาร ผมลองเช็คเว็บไซต์ของโรงเรียน ดูเหมือน "รุ่นที่ 43" น่าจะเป็นปี 2526 (ไม่ชัวร์นะครับ)
เขาเป็นราชเลขานุการในพระองค์พระบรม ปี 2548
เป็นบอร์ดการบินไทย 2552-2556
(และอย่างที่บอกข้างบน เขาเริ่มเป็นบอร์ดเครือซีเมนต์ไทยปีนี้)
เขาไปรู้จักกับพระบรมฯได้ยังไง และทำไมจึงได้รับความไว้วางใจมากมายขนาดนี้ อันนี้ผมไม่ทราบ มีบางคนพูดทำนองว่า เขาเคยทำการบินไทยตั้งแต่ก่อนจะเป็นบอร์ด และสมัยที่พระบรมฯไปขับเครื่องการบินของการบินไทยบ่อยๆ ก็เลยได้รู้จัก (ช่วงที่ได้ไปรู้จัก "คุณนุ้ย" ด้วยอะไรแบบนั้น)
No photo description available.

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar