söndag 2 januari 2022

พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล มือขวาวชิราลงกรณ์ (กษัตริย์มีคนไว้ใจได้มากๆคนเดียวนี่แหละ ให้เป็นสารพัดตำแหน่งเลย)

ในรอบปี 2564 ชื่อของบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ในฐานะผู้ผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ให้แก่ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด แห่งจากสหราชอาณาจักร ตกเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง ประธานกรรมการของสยามไบโอไซเอนซ์ ก็คือ พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ที่มีอายุครบ 73 ปี ในวันที่ 2 ม.ค. 2565
.
พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ เป็นหนึ่งในข้าราชบริพารอาวุโสที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทในหลวงรัชกาลที่ 10 มาตั้งแต่ครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จนทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น เลขาธิการพระราชวัง ประธานคณะกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และยังเป็นผู้แทนพระองค์ในโอกาสต่าง ๆ


Somsak Jeamteerasakul

พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ขึ้นเป็นมือขวาของกษัตริย์วชิราลงกรณ์เต็มตัวมากขึ้น (กษัตริย์มีคนไว้ใจได้มากๆคนเดียวนี่แหละ ให้เป็นสารพัดตำแหน่งเลย)

เพิ่งมีประกาศแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ (ดูรายงานจากมติชน ที่นี่ https://goo.gl/VO9YUO ดูภาพแค็พ จะเห็นว่า มติชนดันพาดหัวชื่อคุณ "สถิตย์พงษ์"​ ผิด เหลือเพียง "สถิตย์"​ ผมอ่านพาดหัว งงเลย "สถิตย์"​ ไหน คนสนิทกษัตริย์ไม่มีใครชื่อนี้ แต่เดี๋ยวเขาอาจจะแก้ก็ได้หลังจากผมโพสต์กระทู้นี้)
ที่น่าสนใจที่สุด คือการโปรโมท พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์​ จาก "รองเลขาธิการพระราชวัง"​ ให้เป็น "ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ 11 เทียบเท่าเลขาธิการพระราชวัง ตำแหน่งหมายเลข 1 และเป็นประธานข้าราชบริพารในพระองค์"

ในขณะที่ จิรายุ ที่กษัตริย์องค์นี้ตั้งแต่ยังเป็นพระบรมฯเคยให้เป็น "เลขาธิการพระราชวัง"​ ซึ่งมีผลทำให้จิรายุ ต้องละการบริหารสำนักงานทรัพย์สินฯ​ แม้ตำแหน่งทางการจะยังเป็นผู้อำนวยการสำนักงานฯอยู่ (ดูกระทู้เก่าของผม https://goo.gl/PxjnF8 และ https://goo.gl/upsiBF) จากประกาศนี้ได้รับการแต่งตั้งเป็น "เลขาธิการพระราชวัง ระดับ 11 ตำแหน่งหมายเลข 2"​ นั่นคือ แม้จะยังมีตำแหน่งเป็น "เลขาธิการพระราชวัง"​ เหมือนเดิม แต่เป็น "ตำแหน่งหมายเลข 2" แล้ว
และที่สำคัญ สถิตพงษ์ได้รับแต่งตั้ง ตำแหน่งใหม่เอี่ยม "ประธานข้าราชบริพารในพระองค์" คือมีอำนาจเหนือข้าราชบริพารในพระองค์ทั้งหมด

ตำแหน่งและชื่อเรียกตำแหน่งเหล่านี้ ไม่เคยมีมาก่อน ("ตำแหน่งหมายเลข..." "ประธานข้าราชบริพาร") และไม่เคยมีมาก่อน ที่จะมีตำแหน่ง "เลขาธิการพระราชวัง" 2 คน ผมคิดว่า เรื่องนี้มาจากว่า กษัตริย์ใหม่จะให้สถิตพงษ์เป็นนั่นแหละ แต่ก็ยังเกรงใจ จะลดตำแแหน่ง "เลขาธิการพระราชวัง"​ ของจิรายุ ให้เป็นแค่รองฯแทน ก็กระไรอยู่ เลยใช้วิธี "ตำแหน่งหมายเลข..."​ แทน
และที่ไม่ควรลืมอีกเรื่องคือ ก่อนหน้านี้ กษัตริย์องค์นี้ได้ตั้งให้สถิตย์พงษ์​เป็นผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ด้วย (ดูกระทู้เก่าของผม https://goo.gl/b53Csi)

คือถึงตอนนี้ สถิตย์พงษ์​เป็นทั้ง "ราชเลขานุการในพระองค์" "เลขาธิการพระราชวัง ตำแหน่งหมายเลข 1" "ประธานข้าราชบริพารในพระองค์"​ "ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์"
ถ้าเป็นสมัยในหลวงองค์ก่อน ตำแหน่งและหน้าที่เหล่านี้ จะมีคนดูแลแยกกันไป (ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์,​ ราชเลขานุการ,​ เลขาธิการพระราชวัง) นี่สถิตย์พงษ์เป็นหมด และยังมีตำแหน่งอื่นที่ตั้งเพิ่มให้ด้วย
ผมคิดว่าเรื่องนี้สะท้อนว่า กษัตริย์ใหม่หาคนไว้วางใจมากพอไม่ได้ ไม่เหมือนพ่อ ที่มีคนใกล้ชิด ไว้ใจ ให้ทำงานได้มากพอจะตั้งแยกกันไป แต่กษัตริย์องค์นี้ มีแค่สถิตย์พงษ์เท่านี้แหละ
ตอนนี้ จริงๆก็เหลือเพียง "ผู้อำนายการสำนักงานทรัพย์สินฯ" ที่จิรายุยังเป็นอยู่โดยทางการ แต่ไม่ได้บริหารแล้ว ว่ากษัตริย์ใหม่จะตั้งให้ใครเป็น

แหะๆ ผม "ตก" ตำแหน่งคุณ สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ไปตำแหน่งหนึ่ง (และอัพเดตข้อมูลประวัติส่วนบุคคลของคุณสถิตย์พงษ์)
ตำแหน่งเขาเยอะเหลือเกินน่ะครับ เมื่อวานรวบรวมแล้ว ก็ยังอุตส่าห์ "ตก" ไปได้ เมื่อวานลิสต์ไป 5
ตำแหน่ง : ประธานข้าราชบริพารในพระองค์, เลขาธิการพระราชวัง, ราชเลขานุการในพระองค์, ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์, ผู้อำนวยการทรัยพ์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ดูกระทู้เมื่อวาน https://t.co/4fSmYmz761)
ลืมไปสนิทว่า เดือนกรกฎาคมปีกลาย ตอนวชิราลงกรณ์ออก พรบ.ทรัพย์สินกษัตริย์ฉบับใหม่ ได้มีการตั้ง "คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ใหม่ด้วย โดยให้ สถิตย์พงษ์ เป็นประธานคณะกรรมการ (ดูภาพประกอบซึ่งเป็นตัวคำสั่งแต่งตั้ง และดูรายงานข่าวทาง บีบีซี ไทย ได้ที่นี่ https://goo.gl/JDq3ZN)
ตำแหน่ง "ประธาณคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" นี้ คือตำแหน่งที่เดิม "รมต.คลัง" เป็นโดยตำแหน่ง แต่จริงๆอย่างที่ผมชี้ให้เห็นโดยมีหลักฐานโดยตลอดว่า กระทรวงการคลังไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สินส่วนกษัตริย์เลยตลอด 70 ปีที่ผ่านมา (หลังรัฐบาลรอยัลลิสต์ออก พรบ.มาในปี 2491) ในทางการบริหาร สนง.ทรัพย์สินฯ ตัวกรรมการและประธานคณะกรรมการฯ ก็ไม่มีบทบาทอะไร บทบาททั้งหมดอยู่กับ "ผู้อำนวยการ" ซึ่งคุณจิรายุเป็นมาตั้งแต่ปี 2530 พอวชิราลงกรณ์ออก พรบ.ทรัพย์สินฯใหม่ปีกลาย ก็ตัดเรื่องที่แม้จะเป็นเพียง formal หรือ "โดยตำแหน่ง" นี้ออกไปเลย
การที่เมื่อวาน วชิราลงกรณ์ฯตั้งสถิตพงษ์ที่เป็นประธานกรรมการทรัพย์สินฯอยู่แล้ว ให้เป็นผู้อำนวยการฯ ก็เพราะความที่ตัวประธานไม่ใช่ตำแหน่งที่มีบทบาทในการบริหาร สนง.ทรัพย์สินฯดังกล่าว (การทำธุรกรรม เซ็นสัญญา ฯลฯ เป็นของผู้อำนวยการฯ)
ทีนี้ การที่วชิราลงกรณ์ตั้งสถิตย์พงษ์เป็น "ผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" เมื่อวาน เท่ากับว่า ตอนนี้คุณสถิตย์พงษ์ เป็นทั้ง "ประธาน" และ "ผู้อำนวยการ" ของ คณะกรรมการทรัพย์สินฯพร้อมๆกันไป ถ้าเอาตามตัวบท พรบ.ทรัพย์สินฯที่วชิราลงกรณ์ออกปีกลาย "ทรงแต่งตั้่งกรรมการ..คนหนึ่ง เป็นผู้อำนวยการ...ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ" (มาตรา ๘ ดูตัวบทจริงได้ที่นี่ https://goo.gl/turvVN) ความจริง ก็ควรต้องมีการตั้งใครสักคนมาเป็น "ประธาน" แทนสถิตพงษ์ด้วย เพราะไม่เช่นนั้น จะเท่ากับสถิตย์พงษ์เป็นทั้ง "ประธาน" และ "ผู้อำนวยการ" และต้อง "ทำหน้าที่..เลขานุการ" ไปด้วยพร้อมๆกัน แต่ก็ไม่แน่ เขาอาจจะปล่อยไว้แบบนี้ก็ได้ เพราะอย่างที่บอกว่าตัว "คณะกรรมการ" นี้ ไม่ได้มีบทบาทอะไรในการบริหารทรัพย์สินฯมาแต่ไหนแต่ไร อยู่ที่ผู้อำนวยการฯเท่านั้น ซึ่งสถิตย์พงษ์ก็ได้เป็นจากการตั้งเมื่อวานแล้ว
สรุปตำแหน่งทั้งหมดของสถิตพงษ์ ณ ขณะนี้ 6 ตำแหน่ง :
- ประธานข้าราชบริพารในพระองค์
- เลขาธิการพระราชวัง
- ราชเลขานุการในพระองค์
- ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์
- ประธานคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
- ผู้อำนวยการทรัยพ์สินส่วนพระมหากษัตริย์
.....................
ถ้าใครเช็ค "วิกิพีเดียไทย" จะพบว่า ไม่มีประวัติส่วนตัวอะไรของคุณสถิตย์พงษ์เลย ไม่มีวันเดือนปีเกิดหรือประวัติการศึกษา ซึ่งต้องนับว่าแปลกดี ในแง่ที่เป็นคนซึ่งมีอำนาจและบทบาทกับวังมากขนาดนี้ (ดู https://goo.gl/mhk38G ผมเอารูปคุณสถิตย์พงษ์มาจากที่นั่น ขอบคุณ)
ผมเลยพยายามเสิร์ชหาเอง ก็ได้มาส่วนหนึ่ง นับว่ายังน้อยมาก แต่ขอมาเล่าต่อ ดังนี้
คุณสถิตย์พงษ์ ขณะนี้ อายุ 69 ปี นี่คือข้อมูลล่าสุดตอนต้นปีนี้เอง เพราะมีการเพิ่มคุณสถิตย์พงษ์เข้าไปเป็นกรรมการบอร์ด "เครือซีเมนต์ไทย" เลยมีประวัติอยู่ในรายงานสำหรับการประชุมผู้ถือหุ้นต้น (https://goo.gl/1enzUN) หมายความว่า เขาน่าจะเกิดในปี 2492 (?)* คือเป็นคน "รุ่นเดียวกัน" กับวชิราลงกรณ์และทักษิณ แก่กว่าวชิราลงกรณ์ประมาณ 3-4 ปี (วชิราลงกรณ์เกิด 2495 ทักษิณ 2492) หรือถ้าเทียบกว้างออกไป คือเป็นคน "รุ่น 14 ตุลา" (จรัล 2490, เสกสรรค์ 2492 ธีรยุทธ 2493)
*(ปีเกิดนี้ยังไม่แน่นอน เพราะในรายงานของการบินไทยต่อตลาดหลักทรัพย์ตอนสิ้นปี 2554 https://goo.gl/hcm3Bq บอกว่าเขาอายุ 61 ปี ซึ่งทำให้เขาน่าจะเกิดปี 2493 และถ้านับจากตอนนั้นมาถึงสิ้นปีกลายหรือต้นปีนี้ เขาก็น่าจะอายุ 67 หรือ 68?)
สถิตย์พงษ์ เข้าเรีียนมัธยมที่สวนกุหลาบ เป็นรุ่นที่ 82 คือเข้าเรียนปี 2506 รุ่นเดียวกับ จุมพล มั่นหมาย (จุมพลเกิดปี 2493) - ขอบคุณท่านที่บอกมาหลังตั้งกระทู้
จบปริญญาตรีศิลปศาสตร์บัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - นั่นคือ เขาไม่ได้จบทหาร ไม่ได้เป็นทหารมาก่อน
ในประวัติเขา(จากข้อมูลข้างต้น) บอกว่า
- ศิษย์การบินรุ่น น.54-16-3โรงเรียนการบินกําแพงแสน
- โรงเรียนนายทหารชั้นบังคับฝูง รุ่นที่ 43
- โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่น 29
- วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 27
ไม่มีข้อมูลว่าเขาเปลี่ยนเป็นทหารตั้งแต่เมื่อไร
โรงเรียนการบิน ผมเข้าใจว่า พลเรือนก็เรียนได้
แต่ "โรงเรียนนายทหารชั้นบังคับฝูง" เป็นของกองทัพอากาศ สำหรับนายทหาร ผมลองเช็คเว็บไซต์ของโรงเรียน ดูเหมือน "รุ่นที่ 43" น่าจะเป็นปี 2526 (ไม่ชัวร์นะครับ)
เขาเป็นราชเลขานุการในพระองค์พระบรม ปี 2548
เป็นบอร์ดการบินไทย 2552-2556
(และอย่างที่บอกข้างบน เขาเริ่มเป็นบอร์ดเครือซีเมนต์ไทยปีนี้)
เขาไปรู้จักกับพระบรมฯได้ยังไง และทำไมจึงได้รับความไว้วางใจมากมายขนาดนี้ อันนี้ผมไม่ทราบ มีบางคนพูดทำนองว่า เขาเคยทำการบินไทยตั้งแต่ก่อนจะเป็นบอร์ด และสมัยที่พระบรมฯไปขับเครื่องการบินของการบินไทยบ่อยๆ ก็เลยได้รู้จัก (ช่วงที่ได้ไปรู้จัก "คุณนุ้ย" ด้วยอะไรแบบนั้น)

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar