จากกรณีราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยตัวเลขผู้ป่วยเด็กจากการบริโภคกัญชาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น บีบีซีไทย ได้สอบถาม รศ.นพ สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม และกุมารแพทย์ ถึงผลกระทบของการเปิดกัญชาเสรีต่อเด็กและวัยรุ่น
.
ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์วัยรุ่นมองว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง และอนาคตผู้ป่วยเด็กจากกัญชาจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
.
"เข้าใจว่าเขา (รัฐบาล) ไม่ได้ตั้งใจให้เด็กเข้าถึงกัญชา แต่เขาไม่ได้ปกป้องเด็กและเยาวชน...ผู้ใหญ่กำลังทำอะไรกับเด็ก ๆ" รศ.นพ. สุริยเดว กล่าวกับบีบีซีไทย
.
เด็กและเยาวชนไม่ควรรับประทานกัญชาเลย ไม่ว่าจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเพียงเพราะความบังเอิญ เพราะจะส่งผลกระทบต่อเด็กในระยะยาว
.
ประการแรก เซลล์สมองของเด็กและวัยรุ่นไวต่อสิ่งเร้า หากบริโภคกัญชาแม้เพียงเล็กน้อย จะบ่มเพาะสมอง จนสุ่มเสี่ยงทำให้เข้าสู่วงจรของการติดยาเสพติดได้
.
ประการที่สอง การบริโภคกัญชาจะกระทบต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดอาการแพ้ และเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอากาศ รวมถึงส่งผลในมิติการตัดสินใจ และการดำเนินชีวิตของเยาวชนได้
.
ดังนั้น รศ.นพ. สุริยเดว มองว่า การโฆษณา การกล่าวถึงสรรพคุณต่าง ๆ ของกัญชา ยิ่งเป็นการเชื้อเชิญให้เยาวชน "อยากรู้-อยากลอง"
.
และแม้จะมีประกาศ สธ. ออกมาห้ามการจัดจำหน่าย แต่ รศ.นพ. สุริยเดว ชี้ว่า นี่เป็นคำสั่งเชิงระบบ มีผลกับคนที่อยู่ในระบบ "แล้วมีประชากรแค่ไหนที่อยู่นอกระบบ?"
.
อ่านบทสัมภาษณ์ รศ.นพ. สุริยเดว และกุมารแพทย์อีกหลายคนถึงกรณีกัญชาเสรีกับเด็กเล็ก-วัยรุ่น ทางนี้
5 h
จับตารัฐสภาพลิกโหวตสูตรปาร์ตี้ลิสต์ หลังนายกฯ หนุน หาร 500
.
ที่ประชุมร่วมรัฐสภาจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ในวาระ 2-3 ต่อในวันนี้ (6 ก.ค.) หลังจากองค์ประชุม “ขาดอีกกว่า 100 คนเท่านั้น” จนนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา ต้องสั่งปิดการประชุมในเวลา 19.22 น. ของวานนี้ (5 ก.ค.)
.
ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฉบับคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายลูกทั้งสองฉบับ พิจารณาแล้วเสร็จ เพิ่งผ่านการพิจารณาสมาชิกรัฐสภาไปถึงมาตรา 6/1 เท่านั้น จากเนื้อหาทั้งหมด 32 มาตรา
.
ประเด็นสำคัญที่ก่อให้เกิดข้อถกเถียงในหมู่นักเลือกตั้งอาชีพ หนีไม่พ้น สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) ซึ่งอยู่ในมาตรา 23 ของร่างกฎหมายนี้ว่าใช้การหารด้วย 100 ตามมติ กมธ.เสียงข้างมาก หรือพลิกกลับไปใช้สูตรหารด้วย 500 ตามที่พรรคการเมืองขนาดเล็กต้องการ และล่าสุดยังได้รับการสนับสนุนจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ด้วย ทำให้มีการคาดหมายกันว่าจะเกิดเหตุพลิกโหวตกลางสภา
.
สื่อมวลชนหลายสำนัก อาทิ ไทยรัฐ, มติชน, ไทยโพสต์ รายงานตรงกันโดยอ้างแหล่งข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 5 ก.ค. ว่า ในระหว่างช่วงพักเบรกการประชุม ครม. นายกฯ ได้เรียกแกนนำรัฐบาลอย่างน้อย 11 คนเข้าหารือเกี่ยวกับสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยได้สอบถามความเห็นรายบุคคลว่าสนับสนุนสูตรหาร 100 หรือหาร 500
.
แกนนำรัฐบาลให้ความเห็นไว้ ดังนี้
- พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ : “เอาหาร 100” (ก่อนปรับท่าทีใหม่หลังทราบความเห็นของคนอื่น ๆ โดยบอกว่า “จะเอาอย่างไรก็ว่ากัน”)
- นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย : “เอาหาร 500”
- นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ : “ส่วนตัวเห็นด้วยกับสูตรหาร 500 แต่ในพรรคบางส่วนยังเห็นแตกต่างกัน พรรคอาจจะต้องฟรีโหวต”
- พล.อ. ประยุทธ์ : “ส่วนตัวเห็นด้วยกับสูตรหาร 500 อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะออกเป็นสูตรไหน เราก็ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอยู่ดี ก็ขอให้คุยกันมาแล้วกัน”
.
ด้าน นพ. ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ กล่าวว่า มีแนวโน้มที่ดีในการหาร 500 แต่วันนี้ไม่ใช่ตนจะแถลงประกาศชัยชนะ เพราะต้องรอให้ผ่านการโหวตวาระ 3 ก่อน เพราะมีเกมการเมืองที่จะไม่ให้มาตรา 23 เข้าสู่การพิจารณาในรัฐสภาในวันนี้
.
“หากหาร 500 ชนะ การเมืองก็จะพลิกโฉม หากหาร 100 ชนะ กระแสแลนสไลด์จะสูงขึ้น และรัฐบาลก็จะอ่อนลง” นพ. ระวีกล่าวและย้ำว่า หากหาร 500 ชนะ คือการส่งสัญญาณว่าพรรคร่วมรัฐบาลเอาจริง และ พปชร. จะมีความมั่นคง รวมถึงเป็นการแสดงความสามัคคีของ 3 ป. ด้วย
.
ทำไมผู้นำรัฐบาลและแกนนำพรรคร่วมฯ ของเขาถึงสนับสนุนสูตรหาร 500 บีบีซีไทยสรุปมาให้อ่านที่นี่https://bbc.in/3Ii14tS
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar