fredag 1 juli 2022

ล้อเลียน ‘เทวดา’ผิด112 ??? ศาลหัวดอ..อ้าง"เทวดา"ย่อมหมายถึงร.9 (ฆาตกรฆ่าพี่ชายรัชกาลที่.8)เปรียบเทียบเท่า"สมมุติเทพ"ได้อย่างไร ???

Thai E-News

ศาลอุทธรณ์ย้ำความผิด ๑๑๒ ต่อ ‘รุ่งศิลา’ ล้อเลียน ‘เทวดา’ ย่อมหมายถึงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งเปรียบเทียบเท่า ‘สมมุติเทพ’ 

 

คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนความผิด ม.๑๑๒ ของ รุ่งศิลาลงภาพการ์ตูนล้อเลียน เทวดา ย่อมหมายถึงรัชกาลที่ ๙ ซึ่งเปรียบเทียบเท่า สมมุติเทพนั้น เป็นการยืนยัน ศรัทธาบอด’ ในหมู่มุขอำมาตย์ ผู้มีอำนาจของสังคมไทย รวมทั้งศาล

“ภาพการ์ตูนล้อเลียน จึงไม่จำเป็นต้องมีหน้าตาและการแต่งกายให้เหมือนจริงเสียทีเดียว แต่หากจะเป็นการสื่อถึงบุคคลตามฟ้องก็เป็นความผิดแล้ว” คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตอนหนึ่งซึ่งให้ยืนการลงโทษจำคุก ๔ ปี ๖ เดือนเอาไว้

จำเลยไม่ต้องถูกคุมขังอีก เนื่องจากหลังคำตัดสินศาลชั้นต้นดังกล่าว เขาได้ถูกจำคุกมาแล้วทั้งสิ้น ๔ ๑๑ เดือน ๒๒ วัน จากการกักกันโดย คสช.เพราะเขาไม่ไปรายงานตัวต่อคณะยึดอำนาจ เรื่อยมากระทั่งคดีโอนไปศาลอาญา แล้วมีคำพิพากษาเมื่อกลางมกราคม ๒๕๖๔

ข้อน่าสนใจอยู่ที่รุ่งศิลา หรือสิรภพยืนยงอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งที่เขาได้ติดคุกมาเกินพอล้ว เพราะเขามุ่งมั่นว่า ม.๑๑๒ “เป็นเหมือนล็อคที่เอาไว้จัดการกับคนที่มีพฤติกรรมขัดขืนเขา” ทั้งๆ ที่ศาลเองเห็นว่าข้อความในการกระทำผิด

“ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยต้องการสื่อถึงบุคคลใด จึงเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอยๆ ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง แม้การกระทำของจำเลยจะไม่เกิดผลเพราะไม่มีใครเชื่อก็ตาม” ก็ยังถือว่ากระทำผิด ตาม กม.อาญา ม.๑๑๒ และมาตรา ๑๔(๓) พรบ.คอมพิวเตอร์

นี่เป็นการทำให้มาตรา ๑๑๒ และ มาตรา ๑๔(๓) เป็นกฎหมายที่อยู่เหนือสิ่งใดๆ ในสากลโลก กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นกฎหมายที่ศักดิ์สิทธิ์เสียยิ่งกว่า ตัวของเทวดาเอง ซึ่งตามภาพ “สวมแว่นตาดำ มือข้างซ้ายกำด้ามขวานลายสีธงชาติไทย”

ตัวการ์ตูนสวมชฎา ห้อยกระบี่ด้านซ้าย “ไม่จำเป็นต้องมีหน้าตาและการแต่งกายให้เหมือนจริงเสียทีเดียว แต่หากจะเป็นการสื่อถึงบุคคลตามฟ้องก็เป็นความผิดแล้ว” เป็นการเหมารวมและครอบคลุมในวงกว้างอย่างมหาศาล

เป็นการนำกฎหมายมาใช้เพื่อมุ่งหมายเอาผิด กับผู้ที่มีความเห็นไม่ตรงกับความเชื่ออย่างงมงายของพวกตน เช่นนี้มิใช่หนทางสร้างความเลื่อมใสศรัทธา ต่อวัตถุในนิยามของกฎหมายที่ศาลอ้างว่าปกป้อง ทั้งนี้กลับก่อเกิดการชิงชังต่อพฤติกรรมของศาลยิ่งกว่า

ขณะนี้ไม่ทราบว่ารุ่งศิลาจะทำการฎีกาคดีของตนให้ถึงที่สุดหรือไม่ ทว่าการนำคดีเช่นนี้สู่สาธารณะอีกกี่ครั้ง ในโลกแห่งความจริงที่เปลี่ยนไปตามพลวัตของสังคมสมัยใหม่ เทวดาที่โหดร้ายและคร่ำครึ รังแต่จะกลายเป็นวัสดุแห่งการล้อเลียน

(https://tlhr2014.com/archives/45488?fbclid=IwARSk-Y)

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar