ความอยุติธรรม อำมหิตเหล่านี้เกิดจากใคร ...? ทุกอย่างมีต้นกำเนิดมาจากกษัตริย์วชิราลงกรณ์คนเดียวที่ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ของการเป็นกษัตริย์ เพราะท่านมีอำนาจทุกอย่าง เป็นเจ้าของศ่าล เป็นเจ้าของรัฐบาลเป็นเจ้าของกองทัพ มีอำนาจแต่งตั้งผู้พิพากษาตุลาการทั่วประเทศเป็นจอมทัพสูงสุดของทั้งสามเหล่าทัพ ถ้ากษ้ตริย์มีความรับผิดชอบก็สามารถสั่งศาลให้ปล่อยเยาวชนและบุคคลต่างๆที่ได้รับความเดือดร้อนจากการกลั่นแกล้งของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์นั้นได้ทันทีถ้าท่านมีความรับผิดชอบ.
ความอยุติธรรม อำมหิตเหล่านี้เกิดจากใคร ...? ทุกอย่างมีต้นกำเนิดมาจากกษัตริย์วชิราลงกรณ์คนเดียวที่ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ของการเป็นกษัตริย์ เพราะท่านมีอำนาจทุกอย่าง เป็นเจ้าของศ่าล เป็นเจ้าของรัฐบาลเป็นเจ้าของกองทัพ มีอำนาจแต่งตั้งผู้พิพากษาตุลาการทั่วประเทศเป็นจอมทัพสูงสุดของทั้งสามเหล่าทัพ ถ้ากษ้ตริย์มีความรับผิดชอบก็สามารถสั่งศาลให้ปล่อยเยาวชนและบุคคลต่างๆที่ได้รับความเดือดร้อนจากการกลั่นแกล้งของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์นั้นได้ทันทีถ้าท่านมีความรับผิดชอบ.
ความอยุติธรรม อำมหิต บุ้งและใบปอ ได้ถูกนำตัวจากศาลอาญากรุงเทพใต้ มาที่ รพ.เลิดสิน หลังทนายเห็นสภาพบุ้ง - ใบปอไม่สู้ดี
TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
@TLHR2014
13.00 น. ทนายความยื่นประกันตัว บุ้ง-ใบปอ ครั้งที่ 7 คดี ม.112 กรณีทำโพลขบวนเสด็จ วางหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 200,000 บาท . ระบุ ทั้งสองมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ เป็นเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ศาลต้องปล่อยตัวเพื่อให้ไปรักษาตัวที่รพ.(ขณะนี้รอฟังคำสั่ง)
ภาพจาก ไข่แมวชีส
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
9h
18 ก.ค. 2565 เวลา 09.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ทนายความได้ขอเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐาน 8 นักกิจกรรมในคดีมาตรา 112 และ 116 จากกรณีทำโพลขบวนเสด็จที่ห้างสรรพสินค้าพารากอน เมื่อวันที่ 8 ก.พ 2565 ที่ผ่านมา หลังบุ้งและใบปอเกิดอาการเจ็บป่วยกระทันหันในระหว่างพิจารณาคดี จนไม่สามารถรับฟังการพิจารณาใดๆ ในวันนี้ได้
.
ในคดีนี้ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ได้ยื่นฟ้องคดี เมื่อวันที่ 30 พ.ค. ที่ผ่านมา จากนั้น ศาลมีคำสั่งให้ประกันจำเลย 6 คนระหว่างพิจารณาคดี ได้แก่ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์, ฐากูร (สงวนนามสกุล), วรเวช (สงวนนามสกุล), “บีม” ณัฐกรณ์ (สงวนนามสกุล), “นุ้ย” (นามสมมติ) และ “แบม” (นามสมมติ) โดยกำหนดเงื่อนไข ติดกำไล EM ห้ามทำกิจกรรมหรือกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกับที่ถูกฟ้อง อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
.
ในส่วนของจำเลยอีก 2 ราย คือ “ใบปอ” และ “บุ้ง” เนติพร (สงวนนามสกุล) ศาลยังคงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว ระบุเหตุผลว่าจำเลยทั้งสองเคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไปแล้ว แต่ผิดเงื่อนไขประกันหากปล่อยตัวไปเกรงว่าจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
.
ก่อนการพิจารณาคดี — ทนายขอเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐาน หลังเห็นสภาพบุ้ง - ใบปอไม่สู้ดี
.
09.12 น. บรรยากาศภายในห้องพิจารณาคดี 404 เต็มไปด้วยกลุ่มประชาชน เพื่อนและครอบครัวของจำเลยทั้ง 8 ราย โดยมีนุ้ย จำเลยที่ 4 และวรเวช จำเลยที่ 6 ได้เดินทางมาถึงห้องพิจารณาก่อนเป็นสองคนแรก และในวันนี้ได้มีตัวแทนนักศึกษาจากองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางมาเข้าร่วมสังเกตการณ์คดี เพื่อให้กำลังใจใบปอ ในฐานะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเดียวกันอีกด้วย
ต่อมา 09.34 น. บุ้งและใบปอ ถูกนำตัวมาถึงห้องพิจารณาคดี โดยใบปอมีสภาพอิดโรย ไร้เรี่ยวแรงจนต้องนั่งวีลแชร์ ซึ่งมีบุ้งเป็นผู้เข็นรถวีลแชร์ของใบปอเข้ามาในห้อง
.
ในระหว่างที่รอการพิจารณาคดี ทนายความได้เข้าสอบถามกับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ผู้ดูแลจำเลยทั้งสองคนว่า ในวันนี้ได้มีแพทย์หรือพยาบาลติดตามมาเพื่อดูแลอาการป่วยของจำเลยทั้งสองคนหรือไม่ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ตอบว่าไม่ได้มีหน่วยแพทย์หรือพยาบาลติดตามมาด้วยในวันนี้ เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์ของราชทัณฑ์ไม่ได้มีเพียงพอที่จะตามมาดูแลอาการจำเลยทั้งสองคนในชั้นศาลได้
.
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2565 ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวจำเลยทั้งสอง เป็นครั้งที่ 6 โดยให้เหตุผลว่าข้อเท็จจริงเรื่องอาการทรุดหนักที่พี่สาวของบุ้งได้เบิกความต่อศาลนั้นไม่เพียงพอ และเชื่อมั่นว่าราชทัณฑ์มีทรัพยากรในการรักษาอาการป่วยของจำเลยทั้งสองได้ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้เบิกความว่าทั้งสองคนยังสามารถใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำได้ปกติ และสดใสร่าเริง
.
อ่านบันทึกการไต่สวนพยานและไม่ให้ประกันตัวครั้งที่ 6 >>> https://tlhr2014.com/archives/45759
.
09.56 น. ตะวัน แบม และบีมได้เดินทางมาถึงห้องพิจารณาคดีพร้อมกัน โดยทั้งหมดได้ตรงเข้าไปถามไถ่อาการของบุ้งและใบปอ พบว่าใบปอแทบจะสื่อสารอะไรไม่ได้ อยู่ในสภาพแน่นิ่งและนั่งเอาศีรษะพิงบุ้งอยู่ตลอดเวลา ส่วนบุ้งก็ดูอ่อนแรง ไม่ได้แจ่มใสหรือมีอาการเป็นปกติแต่อย่างใด ตลอดจนสภาพของจำเลยทั้งสองยังไม่สามารถลงลายมือชื่อในคำให้การตามที่ทนายร้องขอได้อีกด้วย
.
ในเวลา 10.12 น. ศาลนั่งพิจารณาคดี โดยทนายความได้แถลงต่อศาลว่าขอเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานในวันนี้ออกไปก่อน เนื่องจากอาการของจำเลยที่ 2 และ 3 ไม่สู้ดี และไม่สามารถที่จะรับฟังการพิจารณาคดีใดๆ ในวันนี้ได้
ทั้งนี้ อัยการโจทก์ได้แถลงต่อศาลว่าได้เตรียมพยานเอกสารและภาพถ่ายมาเสนอต่อศาล จำนวน 41 อันดับ และประสงค์ที่จะขอนัดสืบพยานจำนวน 19 ปาก ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4-5 นัดในการสืบพยาน
.
ทนายความจำเลยทั้งหมด ได้แถลงร่วมกันว่าในการสืบพยานจำเลยที่ 1 - 8 จะมีทั้งหมด 34 ปาก โดยเป็นตัวจำเลยที่ 1 - 8 จำนวน 8 ปาก และพยานที่เหลืออีก 26 ปาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกคือนักวิชาการที่จะมาให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในคดีนี้ กลุ่มที่สองคือพยานผู้อยู่ในเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ และกลุ่มสุดท้ายคือผู้ที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในแบบสำรวจทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
นอกจากนี้ ทนายความได้แถลงต่อศาลเพิ่มเติมว่าขอเวลาในการศึกษาพยานหลักฐานที่โจทก์อ้างก่อน อีกทั้งยังย้ำถึงเรื่องอาการป่วยของบุ้งและใบปอว่า ในวันนี้ทั้งสองคงไม่สามารถเข้าร่วมการพิจารณาคดีได้ เนื่องจากไม่มีแพทย์และพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด เกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตของทั้งสองคน
.
บุ้ง จำเลยที่ 3 ปวดท้องรุนแรง ส่วนใบปอ จำเลยที่ 2 มีอาการคล้ายหมดสติ ขณะอยู่ในห้องพิจารณาคดี จำเลยที่เหลือจึงร้องต่อศาลให้นำตัวทั้งคู่ส่งโรงพยาบาลด่วน
10.42 น. บุ้งเกิดอาการปวดท้องรุนแรงกระทันหันในระหว่างที่ทนายความกำลังเจรจากับศาลให้เลื่อนการนัดตรวจพยานหลักฐานในวันนี้ออกไปก่อน ตะวันและจำเลยทั้งหมดได้สังเกตเห็นอาการไม่สู้ดีของบุ้ง จึงได้ร้องต่อศาลขอให้บุ้งและใบปอได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
.
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้เดินไปแถลงต่อศาลถึงหน้าบัลลังก์ว่า หากต้องนำตัวจำเลยทั้งสองไปรับการรักษาพยาบาล ขอให้ทั้งคู่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์เท่านั้น
.
ทนายความได้แถลงต่อศาล โดยยืนยันว่าอาการเจ็บป่วยของทั้งสองในขณะนี้ ไม่ควรรีรอให้ต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ในเมื่อมีโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ศาลที่พร้อมจะตรวจดูอาการฉุกเฉินของจำเลยทั้งสองคนได้
.
หรือหากมีสถานพยาบาลที่ศาลแห่งนี้ ก็ควรให้จำเลยทั้งสองได้เข้ารับการดูแลจากแพทย์โดยเร็วที่สุด ซึ่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของศาลได้บอกกับทนายว่า ที่ศาลไม่ได้มีสถานพยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์คอยให้บริการ จึงไม่สามารถดูแลรักษาอาการป่วยของจำเลยทั้งสองได้
ความวุ่นวายเริ่มเกิดขึ้น
.
ศาลจึงขอให้บุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเป็นคู่ความกับจำเลยทั้งหมดในคดีนี้ ออกไปจากห้องพิจารณา ก่อนสั่งให้เรียกเจ้าหน้าที่อาสาพยาบาลประจำศาล เข้ามาประเมินอาการบุ้งและใบปอที่อยู่ในห้องพิจารณาคดี
.
เจ้าหน้าที่อาสาพยาบาลประจำศาลได้เข้ามาประเมินอาการทั้งคู่ พบว่าอาการไม่สู้ดีและควรนำตัวส่งแพทย์โดยเร็วที่สุด ซึ่งศาลได้เห็นสมควร จึงสั่งให้นำตัวบุ้งและใบปอไปโรงพยาบาลเลิดสินในทันที
.
ต่อมา ศาลได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณาคดี มีข้อความระบุว่า ‘พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 2 และ 3 มีอาการเจ็บป่วยกระทันหันไม่อยู่ในภาวะที่จะดำเนินกระบวนการพิจารณาได้ กรณีมีเหตุจำเป็นจึงให้เลื่อนคดีไปนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยทั้ง 8 คน และตรวจพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่าย และกำหนดวันนัดสืบพยานของคู่ความทั้งสองฝ่ายใหม่เป็นวันที่ 29 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น.’
.
นอกจากนี้ ศาลยังได้มีคำสั่งให้มีหนังสือแจ้งกรมราชทัณฑ์ให้ประสานจัดแพทย์และพยาบาลเพื่อมาดูแลบุ้งและใบปอที่จะถูกเบิกตัวมาขึ้นศาล ในวันนัดครั้งถัดไปอีกด้วย
.
หลังการพิจารณาคดี — ทนายความติดตามไปที่โรงพยาบาล พบว่าบุ้งและใบปอถูกนำตัวส่งเข้าห้องฉุกเฉินทันที
.
เวลาประมาณ 11.00 น. ทนายความได้เดินทางไปที่โรงพยาบาลเลิดสิน พบว่าอาการปวดท้องรุนแรงของบุ้งในห้องพิจารณาคดี อาจเกิดจากกระเพาะอักเสบหรือตับอ่อนอักเสบ ซึ่งแพทย์ได้ลงความเห็นว่าควรส่งตัวกลับไปตรวจอย่างละเอียดที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์
.
ทั้งนี้ แพทย์ฉุกเฉินได้แจ้งเพิ่มเติมว่า ในการตรวจอาการเบื้องต้น ยังไม่เข้าข่ายต้องให้จำเลยทั้งสองแอดมิท และหากต้องการตรวจอย่างละเอียดจำเป็นที่จะต้องมีแพทย์นิติเวชด้วย ซึ่งที่โรงพยาบาลดังกล่าวไม่ได้มีแพทย์นิติเวชประจำการ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ก็แจ้งว่าที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ก็ไม่ได้มีแพทย์นิติเวชเช่นเดียวกัน
.
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้กล่าวว่าหากได้นำตัวจำเลยทั้งสองกลับไปโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เจ้าหน้าที่สามารถประสานขอแพทย์นิติเวชจากโรงพยาบาลตำรวจมาตรวจอาการบุ้งและใบปอให้ได้
.
ต่อมาเวลา 14.00 น. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ยืนยันที่จะนำตัวบุ้งและใบปอกลับไปรักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ โดยได้นำส่งขึ้นรถโรงพยาบาล ก่อนจะตรงไปโรงพยาบาลราชทัณฑ์ในทันที
.
ทนายความยื่นคำร้องขอประกันตัว บุ้ง — ใบปอ เป็นครั้งที่ 7
เวลา 13.00 น. ทนายความยังได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวบุ้งและใบปอ เป็นครั้งที่ 7 ซึ่งวางหลักทรัพย์เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ โดยมีใจความสำคัญระบุว่า
.
1. ในคดีนี้ จำเลยที่ 2 และ 3 มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิตได้ ทั้งนี้ โดยในระหว่างการพิจารณาของศาลในวันนี้ ปรากฏเหตุจำเลยที่ 2 และ 3 ล้มป่วยด้วยอาการปวดท้อง หน้ามืด วิงเวียนเป็นลม
.
ศาลได้กรุณาเรียกหน่วยฉุกเฉินทางการแพทย์จากภายนอกมาตรวจในห้องพิจารณา เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉินได้แจ้งต่อศาลว่า จำเป็นที่จะต้องนำจำเลยทั้งสองไปพบแพทย์โดยด่วน ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยทั้งสอง ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดคือ โรงพยาบาลเลิดสิน
.
กรณีดังกล่าวจึงเป็นเหตุจำเป็นอันเร่งด่วนที่ชี้ให้เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปล่อยตัวจำเลยทั้งสองชั่วคราว เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลให้พ้นจากภัยอันตรายที่อาจถึงแก่ชีวิต
.
2. สำหรับใบปอ หรือ จำเลยที่ 2 เนื่องจากในขณะนี้จำเลยที่ 2 เป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 และมีความจำเป็นที่จะต้องลงทะเบียนเรียนในการเปิดภาคเรียนในระหว่างวันที่ 8 - 21 สิงหาคม 2565 จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เพื่อไปดำเนินการตามที่เรียนไว้ข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งอนาคตทางการศึกษาของจำเลยที่ 2
.
3. นอกจากนี้ ทางองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีคำร้องขอให้ศาลได้พิจารณาให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 2 ด้วย
ด้วยเหตุจำเป็น ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นใหม่ จึงขอให้ศาลได้โปรดอนุญาตมีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 2 และ 3 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลได้โปรดอนุญาต
.
ต่อมา 17.45 น. ศาลได้มีคำสั่งให้รอฟังผลประกันของบุ้งและใบปอในวันที่ 19 ก.ค. 2565 เวลา 15.00 น. โดยมีคำสั่งระบุว่า ‘เหตุที่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ถูกเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากได้กระทำการอันเป็นการละเมิดข้อกำหนดของศาล และคำร้องก็ไม่ได้กล่าวถึงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะดำเนินการในคำร้องดังกล่าวอย่างไร
.
อ้างเพียงเหตุเจ็บป่วยร้ายแรงถึงแก่ชีวิต ซึ่งศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปโรงพยาบาลเลิดสินจากนั้นส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์
.
ขอให้ส่งผลตรวจของโรงพยาบาลทั้งสอง แต่ศาลยังไม่ได้รับผลตรวจจึงให้ประสานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ขอให้ส่งผลตรวจของโรงพยาบาลเลิดสินและโรงพยาบาลราชทัณฑ์มาเพื่อพิจารณาต่อไป
.
ให้นัดฟังคำสั่งในวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 15.00 น.’
.
ลงนามคำสั่งโดย สันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้
.
นอกจากนี้ ในเวลา 15.30 น. อัยการได้ยื่นฟ้องอีกหนึ่งคดีของ บุ้ง — เนติพร (สงวนนามสกุล) จากกรณีบุกรุกสถานที่ราชการยามวิกาลและทำให้เสียทรัพย์ ที่กระทรวงสาธารณสุข โดยศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เกรงว่าจะหลบหนี โดยมีนัดสอบคำให้การที่ศาลจังหวัดนนทบุรี ในวันที่ 27 ก.ค. 2565 เวลา 09.00 น.
ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค. 2565 จนถึงวันนี้ (18 ก.ค. 2565) บุ้งและใบปอถูกคุมขังอยู่ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร มาเป็นระยะเวลา 77 วัน และได้อดอาหารเพื่อทวงคืนสิทธิประกันตัวมาเป็นระยะเวลากว่า 47 วันแล้ว
.
.
อ่านบนเว็บไซต์ https://tlhr2014.com/archives/46118
รายชื่อ ผู้ที่ถูกคุมขังในเรือนจำ
วชิราลงกรณ์ หน้าที่ของการเป็นกษัตริย์คืออะไร ? ต้องปกครองประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองให้ประชาชนได้กินดีอยู่ดีสังคมมีความยุติธรรมเหมือนกับในนาๆอาระยะประเทศไม่ใช่หรือ ? คุณเห็นประชาชนเขาออกมาประท้วงหรือเปล่า ? มันไม่ใช่หน้าที่ของกษัตริย์ที่สั่งให้จับคนในชาติของตัวเองที่เขาเสียภาษีเลี้ยงดูคุณและครองครัวของคุณไปเข้าคุกโดยไม่มีความผิด เพียงแต่พวกเขาออกมาเรียกร้องหาสิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรมในสังคมแค่นั้น ฉนั้นถ้ากษัตริย์ที่ดีก็ต้องทำหน้าที่ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมของตนอย่างน้อยก็ควรให้ความยุติธรรมแก่บุคคลเหล่านั้นที่ถูกกลั่นแกล้งจับกุมคุมขังโดยปราศจากความผิดและไม่ให้ประกันตัวตามกฏหมาย ถ้ามีกษัตริย์ที่ไม่รู้จักหน้าที่ของความเป็นกษัตริย์ เราก็ไม่ควรมีกษัตริย์ให้สิ้นเปลืองเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อไปเลี้ยงดูกษัตริย์และครอบครัวปีละหลายหมื่นล้านบาทอีกต่อไป
สำนักข่าวราษฎร - Ratsadon News
7h
นักกิจกรรมฯ โผล่ชูป้าย “ปล่อยเพื่อนเรา” กลางงานดนตรีที่สยามสแควร์ หวังคนในคุก ได้มีโอกาสมาชมดนตรี เหมือนกันคนอื่น
วันนี้ (16 กรกฎาคม 2565) เวลาราว 19.00 น. บริเวณพื้นที่ลานกิจกรรมแสดงดนตรี สยามแสควร์ กลุ่มนักกิจกรรมอิสระมีการชูป้ายข้อความขนาดใหญ่ ด้วยข้อความ ‘ปล่อนเพื่อนเรา’ ทั้งยังปรากฏการชูป้ายข้อความเขียนถึง ผู้ต้องหาที่กำลังอดอาหารประท้วงอยู่ในเรือนจำมานานกว่า 30 วัน ระหว่างการแสดงดนตรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การชูป้ายผ้าดังกล่าว ทำไปเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เรียกร้องการปล่อยตัวผู้ต้องหาทางการเมือง พร้อมทั้งข้อความที่แสดงความหวัง อยากให้ผู้ต้องหาทางการเมืองได้ออกมาใช้ชีวิต ชมดนตรีที่ลานกิจกรรมสยามแสควร์เหมือนเพื่อนวัยเดียวกันคนอื่น ๆ
ทั้งนี้ในระหว่างการชูป้าย มีกลุ่มผู้คนบางส่วนให้ความสนใจ ร่วมชู 3 นิ้ว และถ่ายรูปป้ายกิจกรรมดังกล่าว
สำหรับยอดผู้ที่ถูกคุมขังทางการเมืองจากการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ข้อมูลของทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่ามีผู้ต้องขังทางการเมือง 23 คน โดยมี 3 คนกำลังอดอาหารประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัวได้แก่ใบปอ ผักบุ้ง สมชิกกลุ่มทะลุวัง และ คิม กลุ่มทะลุแก๊ส
#สำนักข่าวราษฎร #RatsadonNews #ปล่อยเพื่อนเรา #สยามสแควร์ #ดนตรี
รายชื่อ ผู้ที่ถูกคุมขังในเรือนจำ
1. คุณอัญชัญ2. เอกชัย หงส์กังวาน
3. สมบัติ ทองย้อย
4. คงเพชร (เพชร)
5. คทาธร (ต๊ะ)
6.รพจน์ แจ้งกระจ่าง (พี่เพชร)
7. ณัฐนิช (ใบปอ)
8. เนติพร (บุ้ง)
9. วัชรพล (อาร์ม)
10. จตุพล (ต้อม)
11. ณัฐพล (แบงค์)
12. พลพล (เก่ง)
13. พุฒิพงศ์ (บอล)
14. ศศลักษณ์ (ภูมิ)
15. พิชัย (ใหญ่)
16. ใบบุญ (โอม)
18. สมชาย (ดิว)
19. อัครพล (หยก)
20. ธีรวิทย์ (คิม)
21. หนึ่ง
22. วรวุฒิ (หิน)
23. ร็อก
24. พรชัย ยวนยี (แซม)
อ้างอิง : https://www.facebook.com/100061863948793/posts/417435453661916/?d=
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar