“ก็จะฟ้องเขาล่ะ สื่ออวตารพวกนี้มาจากนอกประเทศทั้งนั้น”
ธรรมนัส ย้ำความบริสุทธิ์ เตรียมฟ้องสื่อออสเตรเลียหลังรายงานว่าติดคุก 4 ปี เพราะลักลอบนำเฮโรอีนเข้าซิดนีย์
ร.อ. ธรรมนัส
พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ
แกนนำคนสำคัญของพรรคพลังประชารัฐ ย้ำความบริสุทธิ์
เตรียมฟ้องสื่อออสเตรเลียหลังรายงานว่า ติดคุก 4 ปี
เพราะลักลอบนำเฮโรอีนเข้าซิดนีย์
ชี้รายงานของสื่อออสเตรเลียเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการนอกประเทศที่ต้องการจะ
"ล้ม" เขา
ร.อ. ธรรมนัส
ยืนยันความบริสุทธิ์ของเขาในการให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทย
หลังเครือสื่อยักษ์ใหญ่ของออสเตรเลีย คือ
หนังสือพิมพ์ซิดนีย์มอร์นิงเฮรัลด์ (Sydney Morning Herald)
และหนังสือพิมพ์ดิเอจ (The Age) ตีพิมพ์รายงานสืบสวนสอบสวน
อ้างบันทึกคดีของตำรวจออสเตรเลียและศาลว่า ร.อ. ธรรมนัส
เคยรับโทษจำคุกเป็นเวลา 4 ปีในเรือนจำออสเตรเลียจริง ก่อนถูกเนรเทศในปี
พ.ศ. 2540
เนื่องจากความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดกับแก๊งอาชญากรลักลอบนำเข้าและค้าเฮโรอีน
3.2 กิโลกรัม"นักข่าวที่ชื่อ 'ไมเคิล' โทรมาหาผม บอกว่า อยากขอคำอธิบาย ผมบอกว่า ผมชี้แจงไปหมดแล้ว ทำไมต้องมาอธิบายกับคุณอีก เขาไม่เข้าใจระบบด้วยซ้ำ ที่เขาเอามาลงมันเป็น pre-sentence (บันทึกปากคำก่อนมีคำพิพากษาศาล) ซึ่งก็ตรงกับสิ่งที่ผมแถลงไปทั้งหมด" รมช. เกษตรและสหกรณ์ กล่าวให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
- ธรรมนัส พรหมเผ่า : การกลับมาของตระกูลการเมือง "ผู้มีอิทธิพล" และ "เจ้าพ่อ" ใน ครม.ประยุทธ์ 2/1
- ตรวจชื่อ-พลิกประวัติฉบับย่อ ครม. โควต้า พปชร.
บทความในหนังสือพิมพ์ของออสเตรเลียดังกล่าวมีชื่อว่า "จากอาชญากรสู่รัฐมนตรี: เปิดโปงกรณีนักการเมืองต้องโทษจำคุกในคดีค้ายาเสพติด" (From sinister to minister: politician's drug trafficking jail time revealed) โดยนายไมเคิล รัฟเฟิลส์ ผู้สื่อข่าว และนายไมเคิล อีแวนส์ บรรณาธิการข่าวสืบสวนสอบสวนของ หนังสือพิมพ์ซิดนีย์มอร์นิงเฮรัลด์ ได้ติดตามสืบค้นจนพบเอกสารที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาคดีของศาลแขวงรัฐนิวเซาท์เวลส์เมื่อกว่า 25 ปีก่อน ซึ่งยืนยันว่า ร.อ. ธรรมนัสเคยต้องโทษจำคุกและถูกเนรเทศในคดีค้ายาเสพติดจริง
- ธรรมนัส เมีย 2 ลูก 7 รวยทะลุ 929 ล้าน และสมบัติอื่น ๆ ของ 21 รมต.
- งบประมาณ 2563 : เตรียมเพิ่มงบส่วนราชการในพระองค์ 13.02% กลาโหม 2.74%
คำบรรยายภาพ
ในการแถลงเมื่อเดือน ก.ค. ร.อ. ธรรมนัส ปฏิเสธว่า
ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติด
แต่ถูกจับกุมเพราะความเข้าใจผิดเนื่องจากเข้าไปอยู่ "ผิดที่ ผิดเวลา"
จนทำให้ทางการออสเตรเลียสั่งควบคุมตัวเป็นเวลา 8 เดือน
และในที่สุดศาลตัดสินให้มีความผิดลหุโทษฐานไม่แจ้งเบาะแสการค้ายาเสพติดกับเจ้าหน้าที่เท่านั้น
บทความในหนังสือพิมพ์ของออสเตรเลียอ้างบันทึกที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาคดีของศาล ระบุถึงขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดของออสเตรเลียติดตามแกะรอย แก๊งอาชญากร ที่ ร.อ. ธรรมนัสมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงกรณีที่เขาให้การรับสารภาพต่อศาลว่า มีส่วนสมรู้ร่วมคิดในแผนการลักลอบขนยาเสพติดปริมาณมาก เข้าออสเตรเลียเพื่อการค้าโดยเฉพาะ
เฮโรอีนน้ำหนัก 3.2 กิโลกรัม ที่ ร.อ. ธรรมนัส และพวกนำเข้ามายังออสเตรเลียนั้น ทางการออสเตรเลียประเมินว่า อาจมีมูลค่าสูงสุดในท้องตลาดได้สูงถึง 4.1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือราว 86 ล้านบาท
ในการชี้แจงกับบีบีซีไทย ร.อ. ธรรมนัส ถูกถามถึงการรายงานข่าวโดยอ้างหลักฐานจากเอกสารของศาลและกฤตภาคข่าวที่บันทึกไว้ว่า ร.อ. ธรรมมนัส หรือชื่อ มนัส ในเวลานั้น ถูกตั้งข้อหานำเข้าและมีเฮโรอีนในครอบครองร่วมกับชาวออสเตรเลีย 2 คน และชาวไทยอีก 1 คนนั้น ร.อ. ธรรมนัสย้ำคำเดิมว่า "ไม่มีอะไรต่างจากที่ผมเปิดแถลงข่าวเลย... มันเป็นการ bargain (ต่อรอง) คือลองเคาะดูว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ จะเป็นอย่างไร ซึ่งผมก็อยู่ตรงนั้น (ถูกคุมขัง) 8 เดือนก่อนได้รับการปล่อยออกมาข้างนอก ก็ไม่เห็นมีอะไร"
บีบีซีไทย ติดต่อไปที่ ซิดนีย์มอร์นิงเฮรัลด์ เพื่อให้ชี้แจงถึงข้อวิจารณ์ของ ร.อ. ธรรมนัส ว่า รายงานข่าวที่ออกมา ไม่ถูกต้อง และขู่ว่าจะดำเนินคดีทางกฎมาย ลิซ่า เดวีส์ บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ ตอบสั้น ๆ ว่า "เรายืนยันความถูกต้องของเรื่องที่ตีพิมพ์ออกไปแล้ว"
สื่อออสเตรเลียรายงานอะไรจากบันทึกของตำรวจและศาล และคำแถลงของ รมช.
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 หลัง ร.อ. ธรรมนัสเดินทางมาถึงนครซิดนีย์ได้ไม่กี่ชั่วโมง เขาเข้าพักที่ห้องของเพื่อนในโรงแรมแห่งหนึ่งหน้าชายหาดบอนได สถานตากอากาศยอดนิยม ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนับสิบนายจะกรูกันเข้ามาจับกุมเขาและเพื่อนถึงในห้อง
ในขณะนั้น ร.อ. ธรรมนัสยังมียศเป็นร้อยตรี และใช้ชื่อในหนังสือเดินทางว่า Manat Bophlom ซึ่งแตกต่างจากชื่อสกุลที่ใช้ในปัจจุบัน
หลายปีต่อมา ก่อนที่ ร.อ. ธรรมนัสจะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีเพียงหนึ่งวัน เขาได้ยืนกรานหนักแน่นว่า "ไม่ได้เป็นผู้ผลิต นำเข้า หรือค้าเฮโรอีน" ซึ่งเป็นความผิดที่จะทำให้ขาดคุณสมบัติในการเป็นรัฐมนตรี
"คดีเกิดขึ้นกับผมช่วงที่ไปท่องเที่ยวที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ผมเดินทางเข้าประเทศผ่านกองตรวจคนเข้าเมืองอย่างถูกต้อง แต่ผมมีความโชคร้าย เพราะคนที่ถูกจับนั้นกลับอยู่ที่เดียวกับที่ผมอยู่ด้วย ผมจึงโดนข้อหารู้ว่า มียาเสพติด แต่ไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรับทราบ"
รมช. เกษตรและสหกรณ์ ยังยืนยันว่า เขาถูกควบคุมตัวไว้สอบสวนเพียงไม่กี่เดือน ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวมาประกอบอาชีพเป็นผู้จำหน่ายกระดาษชำระในออสเตรเลียอยู่หลายปี และตัดสินใจเดิน
ทางกลับไทยในเวลาต่อมา เนื่องจากนโยบายต่อต้านการประกอบอาชีพของคนต่างชาติ ไม่ใช่เพราะถูกเนรเทศด้วยความผิดฐานค้ายาเสพติดแต่อย่างใด
ถึงกระนั้นก็ตาม เอกสารจากแฟ้มของศาลแขวงรัฐนิวเซาท์เวลส์กลับระบุชัดว่า ร.อ. ธรรมนัสมีบทบาทเป็นผู้บงการคนสำคัญในการลักลอบขนยาเสพติดครั้งนี้ โดยก่อนที่เขาจะเดินทางมาออสเตรเลีย ร.อ. ธรรมนัสได้นัดพบทำข้อตกลงกับ "เจ้าพ่อมาเฟีย" แห่งโลกธุรกิจใต้ดินชาวไทย และผู้ร่วมขบวนการชาวออสเตรเลียอีกคนที่กรุงเทพฯ เขายังเป็นคนช่วยเดินเรื่องทำวีซ่าและซื้อตั๋วเครื่องบินให้หญิงไทยที่เป็นผู้รับขนยาเสพติด พร้อมทั้งจัดการบรรจุเก็บซ่อน "สินค้า" ในกระเป๋าสัมภาระของหญิงคนดังกล่าวที่เมืองไทย ก่อนจะนำมันไปส่งให้ลูกค้าที่หาดบอนไดด้วยตนเอง
ขณะที่ ร.อ. ธรรมนัสถูกควบคุมตัวในเรือนจำเมืองพาร์รามัททา เพื่อรอคำตัดสินของศาลอยู่นั้น เขาได้ให้ปากคำกับตำรวจว่า เคยทำหน้าที่ราชองครักษ์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นพระราชอิสริยยศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบันในขณะนั้น ทั้งยังเคยเป็นสมาชิกหน่วยสืบราชการลับของกองทัพ โดยใช้นามแฝงว่า "ยุทธภูมิ" อีกด้วย นอกจากนี้ เขายังอ้างว่า มีธุรกิจส่วนตัวและเคยเป็นผู้ช่วยคนสนิทของนายพลระดับสูงหลายคน
ร.อ. ธรรมนัสบอกกับเจ้าหน้าที่สืบสวนของออสเตรเลียว่า จะยอมเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแก๊งค้ายาเสพติด เพื่อแลกกับการที่ศาลจะช่วยลดหย่อนผ่อนโทษของเขาลงบ้าง โดยเขาบอกว่า อดีตนายทหารชื่อ วีระ มานพ และ พิศาล มีส่วนพัวพันในคดีนี้ด้วยอย่างมากเช่นกัน
ย้อนไปเมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2535 ร.อ. ธรรมนัสและนายศรศาสตร์ เทียมทัศน์ พี่ชายต่างมารดา ซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดของสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ได้หารือกันเรื่องจัดส่งคนไปออสเตรเลียเพื่อช่วยนายศรศาสตร์ทำธุรกิจนำเข้ามะพร้าวอ่อน ซึ่งต่อมานายศรศาสตร์ได้ขอให้ ร.อ. ธรรมนัสเดินเรื่องทำวีซ่าเข้าออสเตรเลียให้กับหญิงไทยคนหนึ่ง ซึ่งในเอกสารภาษาอังกฤษระบุว่า เธอชื่อ "Pa"
ทั้งสองได้นัดพบกับ "Pa" และชายชื่อพิศาล ที่ร้านคิงส์คอฟฟีช็อปหน้าสถานทูตออสเตรเลียเก่า และมีการยื่นคำร้องของวีซ่าในวันนั้น ต่อมาในวันรุ่งขึ้น นายศรศาสตร์มอบตั๋วโดยสารเครื่องบินของสายการบินควอนตัสให้กับ "Pa" โดยเป็นตั๋วที่ ร.อ. ธรรมนัสเป็นผู้จ่ายเงินซื้อให้
ในเดือน ก.พ. 2536 เพื่อนของ ร.อ. ธรรมนัสสองคนพร้อมด้วยนายศรศาสตร์ ได้ไปพบกับเจ้าพ่อมาเฟียชื่อวีระที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ โดยวีระแนะนำ "ฝรั่ง" ชาวออสเตรเลียสองคนให้พวกเขาได้รู้จัก ร.อ. ธรรมนัสบอกว่า ฝรั่งคนหนึ่งร่างสูงและหน้าตาดี "เหมือนแรมโบ้" ส่วนอีกคน "อ้วน มีหนวดเครา และฟันหลอ" คนทั้งสองนี้ก็คือนายแซม คาลาบรีส และนายมาริโอ คอนสแตนติโน ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมด้วยกันที่ออสเตรเลียในเวลาต่อมา
นายศรศาสตร์นัดพบกับชาวออสเตรเลียทั้งสองอีกหลายครั้ง ในช่วงหลายสัปดาห์ต่อมา ซึ่งเรื่องนี้ ร.อ. ธรรมนัสให้การว่า "ถึงศรศาสตร์จะไม่ได้บอกผมตรง ๆ ว่า มันคือเฮโรอีน แต่ผมสงสัยแต่แรกแล้วว่า สินค้าที่เขาจะส่งไปออสเตรเลียเป็นของผิดกฎหมาย ส่วนวีระนั้นผมรู้อยู่แล้วว่า เขาเป็นพวกลอบขนของหนีภาษีที่ค้ายาเสพติดด้วย"
นายศรศาสตร์เดินทางไปถึงนครซิดนีย์ก่อน และเช็กอินเข้าพักที่โรงแรมปาลาจโฮเทลบอนได ห้อง 1101 โดยสองวันหลังจากนั้น "Pa" ก็เดินทางตามไปยังจุดหมายปลายทางเดียวกัน ตำรวจออสเตรเลียมีหลักฐานเป็นเทปบันทึกเสียงสนทนาทางโทรศัพท์ที่ ร.อ. ธรรมนัสบอกกับนายศรศาสตร์ว่า เขาอยู่กับ "Pa" ในบ้านพักแห่งหนึ่งที่เมืองไทย ในคืนก่อนจะออกเดินทางไปออสเตรเลีย
ร.อ. ธรรมนัสยังให้การต่อหน่วยปฏิบัติการโดรเวอร์ (Operation Drover) ของสำนักงานตำรวจกลางออสเตรเลีย (AFP) เพิ่มเติมว่า "คืนนั้นเราไม่ปล่อยให้เธอคลาดสายตาไปได้ เราจับตาดูเธอตลอดเวลาตั้งแต่ทุ่มหนึ่งถึงตีห้าครึ่ง"
เทปบันทึกเสียงสนทนาทางโทรศัพท์ยังเผยว่า นายศรศาสตร์บอกว่า "Pa" เล่าให้เขาฟังถึงเรื่องที่ ร.อ. ธรรมนัสพาเธอมาที่บ้านหลังดังกล่าว และในขณะที่เธออาบน้ำอยู่มีการนำของบางอย่างใส่เข้าไปในกระเป๋าสัมภาระของเธอ ร.อ. ธรรมนัสยังกล่าวย้ำอีกครั้งกับนายศรศาสตร์ว่า เขาอยู่กับ "Pa" ในตอนนั้นจริง ๆ
เมื่อนายศรศาสตร์และนายคอนสแตนติโนเดินทางไปรับหญิงมือขนยาเสพติดที่สนามบินนครซิดนีย์ พวกเขาพบว่า เธอหายไปอย่างไร้ร่องรอย ทำให้พวกเขาตื่นตระหนกและมีการโทรศัพท์ติดต่อกันวุ่นวายกับทางเมืองไทย ร.อ. ธรรมนัสโกรธมากเมื่อได้ทราบเรื่อง และตำหนินายศรศาสตร์ว่า "ทำงานไม่สำเร็จตามที่ผมต้องการ"
หลังจากพยายามพูดปลอบให้นายคาลาบรีสคลายกังวลลงแล้ว นายศรศาสตร์และผู้ร่วมแก๊งทั้งหมดที่ออสเตรเลียพากันออกตามหา "Pa" ไปทั่วนครซิดนีย์และเขตชานเมือง ซึ่งในที่สุดก็พบว่า เธอเข้าเช็กอินที่โรงแรมกาซีโบในย่านคิงส์ครอสส์ แต่ก่อนหน้านั้นได้ทิ้งกระเป๋าที่มีเฮโรอีนไว้ในห้อง 713 ของโรงแรมพาร์กรอยัลในย่านดาร์ลิงฮาร์เบอร์
เธอมอบกุญแจห้อง 713 และกล่องไม้ขีดไฟซึ่งมีที่อยู่ของโรงแรมพาร์กรอยัลให้กับนายศรศาสตร์ แต่พวกเขาหารู้ไม่ว่า ในระหว่างนั้นตำรวจที่แกะรอยติดตามมา ได้สับเปลี่ยนเอาเฮโรอีนของกลางออกจากกระเป๋าไปแล้ว ทั้งยังมีเวลาติดตั้งเครื่องดักฟังไว้รอท่าพวกเขาที่ห้องดังกล่าวอีกด้วย
ตำรวจยังได้สะกดรอยตาม ร.อ. ธรรมนัส ซึ่งเดินทางมาถึงสนามบินนครซิดนีย์ในวันที่ 14 เม.ย. ตั้งแต่ตอนเช้า โดยไม่พบว่า มีนายมานพซึ่งเป็นผู้ร่วมขบวนการที่สำคัญอีกคนหนึ่งเดินทางมาด้วย ร.อ. ธรรมนัสได้ไปพบนายศรศาสตร์ที่โรงแรมปาลาจโฮเทลบอนได ก่อนจะพากันเรียกแท็กซี่เพื่อไปเอากระเป๋าใส่เฮโรอีนที่โรงแรมพาร์กรอยัล
ร.อ. ธรรมนัสเป็นคนเข้าไปเอากระเป๋าใบดังกล่าวซึ่งถูกซ่อนไว้ใต้เตียง ในขณะที่นายศรศาสตร์รออยู่อีกห้องหนึ่ง พวกเขานำห่อยาเสพติดสีน้ำตาลใส่กระเป๋าสีดำใบใหม่ ก่อนจะมุ่งหน้ากลับไปยังโรงแรมเดิมและแวะรับประทานอาหารกลางทาง ร.อ. ธรรมนัสยังบอกกับนายศรศาสตร์ว่า ไม่ใช่เรื่องดีที่จะเก็บสินค้าไว้กับตัวนานจนเกินไป
ในช่วงก่อนเที่ยงคืนของวันนั้น นายคอนสแตนติโนและนายคาลาบรีสมาหาชาวไทยทั้งสองที่ห้องพัก นายคอนสแตนติโนซึ่งมาถึงก่อนทำท่าเหมือนสวดภาวนาและหัวเราะออกมาอย่างโล่งใจเมื่อเห็นกระเป๋าใส่สินค้าอยู่ครบ แต่หลังจากนั้นไม่กี่อึดใจ ตำรวจได้จู่โจมเข้าจับกุมผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ในข้อหาสมรู้ร่วมคิดกันลักลอบขนเฮโรอีนเข้าประเทศ พวกเขาถูกควบคุมตัวในเรือนจำระหว่างการสอบสวน โดยศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวออกไปแม้แต่คนเดียว
คำบรรยายภาพ
บทความในหนังสือพิมพ์ของออสเตรเลียอ้างบันทึกที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาคดีของศาล ระบุถึงขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดของออสเตรเลียติดตามแกะรอย แก๊งอาชญากร ที่ ร.อ. ธรรมนัสมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงกรณีที่เขาให้การรับสารภาพต่อศาลว่า มีส่วนสมรู้ร่วมคิดในแผนการลักลอบขนยาเสพติดปริมาณมาก เข้าออสเตรเลียเพื่อการค้าโดยเฉพาะ
เฮโรอีนน้ำหนัก 3.2 กิโลกรัม ที่ ร.อ. ธรรมนัส และพวกนำเข้ามายังออสเตรเลียนั้น ทางการออสเตรเลียประเมินว่า อาจมีมูลค่าสูงสุดในท้องตลาดได้สูงถึง 4.1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือราว 86 ล้านบาท
ในการชี้แจงกับบีบีซีไทย ร.อ. ธรรมนัส ถูกถามถึงการรายงานข่าวโดยอ้างหลักฐานจากเอกสารของศาลและกฤตภาคข่าวที่บันทึกไว้ว่า ร.อ. ธรรมมนัส หรือชื่อ มนัส ในเวลานั้น ถูกตั้งข้อหานำเข้าและมีเฮโรอีนในครอบครองร่วมกับชาวออสเตรเลีย 2 คน และชาวไทยอีก 1 คนนั้น ร.อ. ธรรมนัสย้ำคำเดิมว่า "ไม่มีอะไรต่างจากที่ผมเปิดแถลงข่าวเลย... มันเป็นการ bargain (ต่อรอง) คือลองเคาะดูว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ จะเป็นอย่างไร ซึ่งผมก็อยู่ตรงนั้น (ถูกคุมขัง) 8 เดือนก่อนได้รับการปล่อยออกมาข้างนอก ก็ไม่เห็นมีอะไร"
บีบีซีไทย ติดต่อไปที่ ซิดนีย์มอร์นิงเฮรัลด์ เพื่อให้ชี้แจงถึงข้อวิจารณ์ของ ร.อ. ธรรมนัส ว่า รายงานข่าวที่ออกมา ไม่ถูกต้อง และขู่ว่าจะดำเนินคดีทางกฎมาย ลิซ่า เดวีส์ บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ ตอบสั้น ๆ ว่า "เรายืนยันความถูกต้องของเรื่องที่ตีพิมพ์ออกไปแล้ว"
สื่อออสเตรเลียรายงานอะไรจากบันทึกของตำรวจและศาล และคำแถลงของ รมช.
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 หลัง ร.อ. ธรรมนัสเดินทางมาถึงนครซิดนีย์ได้ไม่กี่ชั่วโมง เขาเข้าพักที่ห้องของเพื่อนในโรงแรมแห่งหนึ่งหน้าชายหาดบอนได สถานตากอากาศยอดนิยม ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนับสิบนายจะกรูกันเข้ามาจับกุมเขาและเพื่อนถึงในห้อง
ในขณะนั้น ร.อ. ธรรมนัสยังมียศเป็นร้อยตรี และใช้ชื่อในหนังสือเดินทางว่า Manat Bophlom ซึ่งแตกต่างจากชื่อสกุลที่ใช้ในปัจจุบัน
หลายปีต่อมา ก่อนที่ ร.อ. ธรรมนัสจะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีเพียงหนึ่งวัน เขาได้ยืนกรานหนักแน่นว่า "ไม่ได้เป็นผู้ผลิต นำเข้า หรือค้าเฮโรอีน" ซึ่งเป็นความผิดที่จะทำให้ขาดคุณสมบัติในการเป็นรัฐมนตรี
"คดีเกิดขึ้นกับผมช่วงที่ไปท่องเที่ยวที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ผมเดินทางเข้าประเทศผ่านกองตรวจคนเข้าเมืองอย่างถูกต้อง แต่ผมมีความโชคร้าย เพราะคนที่ถูกจับนั้นกลับอยู่ที่เดียวกับที่ผมอยู่ด้วย ผมจึงโดนข้อหารู้ว่า มียาเสพติด แต่ไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรับทราบ"
รมช. เกษตรและสหกรณ์ ยังยืนยันว่า เขาถูกควบคุมตัวไว้สอบสวนเพียงไม่กี่เดือน ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวมาประกอบอาชีพเป็นผู้จำหน่ายกระดาษชำระในออสเตรเลียอยู่หลายปี และตัดสินใจเดิน
ทางกลับไทยในเวลาต่อมา เนื่องจากนโยบายต่อต้านการประกอบอาชีพของคนต่างชาติ ไม่ใช่เพราะถูกเนรเทศด้วยความผิดฐานค้ายาเสพติดแต่อย่างใด
ถึงกระนั้นก็ตาม เอกสารจากแฟ้มของศาลแขวงรัฐนิวเซาท์เวลส์กลับระบุชัดว่า ร.อ. ธรรมนัสมีบทบาทเป็นผู้บงการคนสำคัญในการลักลอบขนยาเสพติดครั้งนี้ โดยก่อนที่เขาจะเดินทางมาออสเตรเลีย ร.อ. ธรรมนัสได้นัดพบทำข้อตกลงกับ "เจ้าพ่อมาเฟีย" แห่งโลกธุรกิจใต้ดินชาวไทย และผู้ร่วมขบวนการชาวออสเตรเลียอีกคนที่กรุงเทพฯ เขายังเป็นคนช่วยเดินเรื่องทำวีซ่าและซื้อตั๋วเครื่องบินให้หญิงไทยที่เป็นผู้รับขนยาเสพติด พร้อมทั้งจัดการบรรจุเก็บซ่อน "สินค้า" ในกระเป๋าสัมภาระของหญิงคนดังกล่าวที่เมืองไทย ก่อนจะนำมันไปส่งให้ลูกค้าที่หาดบอนไดด้วยตนเอง
ขณะที่ ร.อ. ธรรมนัสถูกควบคุมตัวในเรือนจำเมืองพาร์รามัททา เพื่อรอคำตัดสินของศาลอยู่นั้น เขาได้ให้ปากคำกับตำรวจว่า เคยทำหน้าที่ราชองครักษ์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นพระราชอิสริยยศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบันในขณะนั้น ทั้งยังเคยเป็นสมาชิกหน่วยสืบราชการลับของกองทัพ โดยใช้นามแฝงว่า "ยุทธภูมิ" อีกด้วย นอกจากนี้ เขายังอ้างว่า มีธุรกิจส่วนตัวและเคยเป็นผู้ช่วยคนสนิทของนายพลระดับสูงหลายคน
ร.อ. ธรรมนัสบอกกับเจ้าหน้าที่สืบสวนของออสเตรเลียว่า จะยอมเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแก๊งค้ายาเสพติด เพื่อแลกกับการที่ศาลจะช่วยลดหย่อนผ่อนโทษของเขาลงบ้าง โดยเขาบอกว่า อดีตนายทหารชื่อ วีระ มานพ และ พิศาล มีส่วนพัวพันในคดีนี้ด้วยอย่างมากเช่นกัน
ย้อนไปเมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2535 ร.อ. ธรรมนัสและนายศรศาสตร์ เทียมทัศน์ พี่ชายต่างมารดา ซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดของสถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ได้หารือกันเรื่องจัดส่งคนไปออสเตรเลียเพื่อช่วยนายศรศาสตร์ทำธุรกิจนำเข้ามะพร้าวอ่อน ซึ่งต่อมานายศรศาสตร์ได้ขอให้ ร.อ. ธรรมนัสเดินเรื่องทำวีซ่าเข้าออสเตรเลียให้กับหญิงไทยคนหนึ่ง ซึ่งในเอกสารภาษาอังกฤษระบุว่า เธอชื่อ "Pa"
ทั้งสองได้นัดพบกับ "Pa" และชายชื่อพิศาล ที่ร้านคิงส์คอฟฟีช็อปหน้าสถานทูตออสเตรเลียเก่า และมีการยื่นคำร้องของวีซ่าในวันนั้น ต่อมาในวันรุ่งขึ้น นายศรศาสตร์มอบตั๋วโดยสารเครื่องบินของสายการบินควอนตัสให้กับ "Pa" โดยเป็นตั๋วที่ ร.อ. ธรรมนัสเป็นผู้จ่ายเงินซื้อให้
ในเดือน ก.พ. 2536 เพื่อนของ ร.อ. ธรรมนัสสองคนพร้อมด้วยนายศรศาสตร์ ได้ไปพบกับเจ้าพ่อมาเฟียชื่อวีระที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ โดยวีระแนะนำ "ฝรั่ง" ชาวออสเตรเลียสองคนให้พวกเขาได้รู้จัก ร.อ. ธรรมนัสบอกว่า ฝรั่งคนหนึ่งร่างสูงและหน้าตาดี "เหมือนแรมโบ้" ส่วนอีกคน "อ้วน มีหนวดเครา และฟันหลอ" คนทั้งสองนี้ก็คือนายแซม คาลาบรีส และนายมาริโอ คอนสแตนติโน ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมด้วยกันที่ออสเตรเลียในเวลาต่อมา
นายศรศาสตร์นัดพบกับชาวออสเตรเลียทั้งสองอีกหลายครั้ง ในช่วงหลายสัปดาห์ต่อมา ซึ่งเรื่องนี้ ร.อ. ธรรมนัสให้การว่า "ถึงศรศาสตร์จะไม่ได้บอกผมตรง ๆ ว่า มันคือเฮโรอีน แต่ผมสงสัยแต่แรกแล้วว่า สินค้าที่เขาจะส่งไปออสเตรเลียเป็นของผิดกฎหมาย ส่วนวีระนั้นผมรู้อยู่แล้วว่า เขาเป็นพวกลอบขนของหนีภาษีที่ค้ายาเสพติดด้วย"
นายศรศาสตร์เดินทางไปถึงนครซิดนีย์ก่อน และเช็กอินเข้าพักที่โรงแรมปาลาจโฮเทลบอนได ห้อง 1101 โดยสองวันหลังจากนั้น "Pa" ก็เดินทางตามไปยังจุดหมายปลายทางเดียวกัน ตำรวจออสเตรเลียมีหลักฐานเป็นเทปบันทึกเสียงสนทนาทางโทรศัพท์ที่ ร.อ. ธรรมนัสบอกกับนายศรศาสตร์ว่า เขาอยู่กับ "Pa" ในบ้านพักแห่งหนึ่งที่เมืองไทย ในคืนก่อนจะออกเดินทางไปออสเตรเลีย
ร.อ. ธรรมนัสยังให้การต่อหน่วยปฏิบัติการโดรเวอร์ (Operation Drover) ของสำนักงานตำรวจกลางออสเตรเลีย (AFP) เพิ่มเติมว่า "คืนนั้นเราไม่ปล่อยให้เธอคลาดสายตาไปได้ เราจับตาดูเธอตลอดเวลาตั้งแต่ทุ่มหนึ่งถึงตีห้าครึ่ง"
เทปบันทึกเสียงสนทนาทางโทรศัพท์ยังเผยว่า นายศรศาสตร์บอกว่า "Pa" เล่าให้เขาฟังถึงเรื่องที่ ร.อ. ธรรมนัสพาเธอมาที่บ้านหลังดังกล่าว และในขณะที่เธออาบน้ำอยู่มีการนำของบางอย่างใส่เข้าไปในกระเป๋าสัมภาระของเธอ ร.อ. ธรรมนัสยังกล่าวย้ำอีกครั้งกับนายศรศาสตร์ว่า เขาอยู่กับ "Pa" ในตอนนั้นจริง ๆ
เมื่อนายศรศาสตร์และนายคอนสแตนติโนเดินทางไปรับหญิงมือขนยาเสพติดที่สนามบินนครซิดนีย์ พวกเขาพบว่า เธอหายไปอย่างไร้ร่องรอย ทำให้พวกเขาตื่นตระหนกและมีการโทรศัพท์ติดต่อกันวุ่นวายกับทางเมืองไทย ร.อ. ธรรมนัสโกรธมากเมื่อได้ทราบเรื่อง และตำหนินายศรศาสตร์ว่า "ทำงานไม่สำเร็จตามที่ผมต้องการ"
หลังจากพยายามพูดปลอบให้นายคาลาบรีสคลายกังวลลงแล้ว นายศรศาสตร์และผู้ร่วมแก๊งทั้งหมดที่ออสเตรเลียพากันออกตามหา "Pa" ไปทั่วนครซิดนีย์และเขตชานเมือง ซึ่งในที่สุดก็พบว่า เธอเข้าเช็กอินที่โรงแรมกาซีโบในย่านคิงส์ครอสส์ แต่ก่อนหน้านั้นได้ทิ้งกระเป๋าที่มีเฮโรอีนไว้ในห้อง 713 ของโรงแรมพาร์กรอยัลในย่านดาร์ลิงฮาร์เบอร์
เธอมอบกุญแจห้อง 713 และกล่องไม้ขีดไฟซึ่งมีที่อยู่ของโรงแรมพาร์กรอยัลให้กับนายศรศาสตร์ แต่พวกเขาหารู้ไม่ว่า ในระหว่างนั้นตำรวจที่แกะรอยติดตามมา ได้สับเปลี่ยนเอาเฮโรอีนของกลางออกจากกระเป๋าไปแล้ว ทั้งยังมีเวลาติดตั้งเครื่องดักฟังไว้รอท่าพวกเขาที่ห้องดังกล่าวอีกด้วย
ตำรวจยังได้สะกดรอยตาม ร.อ. ธรรมนัส ซึ่งเดินทางมาถึงสนามบินนครซิดนีย์ในวันที่ 14 เม.ย. ตั้งแต่ตอนเช้า โดยไม่พบว่า มีนายมานพซึ่งเป็นผู้ร่วมขบวนการที่สำคัญอีกคนหนึ่งเดินทางมาด้วย ร.อ. ธรรมนัสได้ไปพบนายศรศาสตร์ที่โรงแรมปาลาจโฮเทลบอนได ก่อนจะพากันเรียกแท็กซี่เพื่อไปเอากระเป๋าใส่เฮโรอีนที่โรงแรมพาร์กรอยัล
ร.อ. ธรรมนัสเป็นคนเข้าไปเอากระเป๋าใบดังกล่าวซึ่งถูกซ่อนไว้ใต้เตียง ในขณะที่นายศรศาสตร์รออยู่อีกห้องหนึ่ง พวกเขานำห่อยาเสพติดสีน้ำตาลใส่กระเป๋าสีดำใบใหม่ ก่อนจะมุ่งหน้ากลับไปยังโรงแรมเดิมและแวะรับประทานอาหารกลางทาง ร.อ. ธรรมนัสยังบอกกับนายศรศาสตร์ว่า ไม่ใช่เรื่องดีที่จะเก็บสินค้าไว้กับตัวนานจนเกินไป
ในช่วงก่อนเที่ยงคืนของวันนั้น นายคอนสแตนติโนและนายคาลาบรีสมาหาชาวไทยทั้งสองที่ห้องพัก นายคอนสแตนติโนซึ่งมาถึงก่อนทำท่าเหมือนสวดภาวนาและหัวเราะออกมาอย่างโล่งใจเมื่อเห็นกระเป๋าใส่สินค้าอยู่ครบ แต่หลังจากนั้นไม่กี่อึดใจ ตำรวจได้จู่โจมเข้าจับกุมผู้ต้องหาทั้ง 4 คน ในข้อหาสมรู้ร่วมคิดกันลักลอบขนเฮโรอีนเข้าประเทศ พวกเขาถูกควบคุมตัวในเรือนจำระหว่างการสอบสวน โดยศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวออกไปแม้แต่คนเดียว
คำบรรยายภาพ
นายศรศาสตร์ยอมรับสารภาพเป็นคนแรกในเดือน พ.ย.
ของปีนั้น ในขณะที่ ร.อ. ธรรมนัสต้องเข้ารับการพิจารณาคดีในศาลก่อนคนอื่น
เมื่อได้ยินว่า เขาอาจต้องรับโทษจำคุก 9 ปี ร.อ.
ธรรมนัสจึงเริ่มให้ความร่วมมือกับตำรวจและยอมรับสารภาพโดยดี
ในการให้ปากคำครั้งหนึ่งเขาสัญญาว่า "ผมจะบอกความจริงทั้งหมดเรื่องวีระ"
ซึ่งเขาเผยว่า อดีตทหารผู้นี้เคยสั่งฆ่าคนด้วย
ในที่สุดศาลมีคำพิพากษาให้นายศรศาสตร์และ ร.อ. ธรรมนัส รับโทษจำคุกคนละ 6 ปี โดยจะสามารถยื่นคำร้องขอทำทัณฑ์บนได้หลังรับโทษครบ 4 ปี ศาลยังพิจารณายกฟ้องนายคาลาบรีส และให้นายคอนสแตนตินรับโทษจำคุกสถานเบาที่สุดเพียงสองปีครึ่ง
จำเลยชาวไทยทั้งสองพยายามขอลดหย่อนผ่อนโทษลงไปอีก โดย ร.อ. ธรรมนัสได้ยื่นหนังสือรับรองความประพฤติจากผู้พิพากษาและนายพันตำรวจโทชาวไทยผู้หนึ่ง ซึ่งระบุว่า เขาเป็นคน "มีความประพฤติดี ซื่อสัตย์ และไว้วางใจได้" แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ศาลอุทธรณ์คดีอาญาของออสเตรเลียได้ปฏิเสธคำร้องขอลดโทษนี้ด้วยคะแนนเสียงของผู้พิพากษาที่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมองว่า หลักฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่มหาศาล มัดตัวจำเลยในฐานะผู้บงการค้ายาเสพติดไว้อย่างแน่นหนา
หลังจากรับโทษจำคุกครบ 4 ปี ร.อ. ธรรมนัสและนายศรศาสตร์ได้รับการปล่อยตัว โดยศาลมีคำสั่งเนรเทศกลับไปยังประเทศไทยในทันที แต่เมื่อพวกเขาได้กลับถึงแผ่นดินเกิด ชีวิตภายในวงการมาเฟียแบบเดิม ๆ ก็เริ่มหวนกลับคืนมา ร.อ. ธรรมนัสได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งโดยเปลี่ยนชื่อเป็น "พัชระ พรหมเผ่า" ก่อนจะได้เลื่อนยศในปีต่อมา หลังจากนั้นไม่นานเขาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "ธรรมนัส" โดยอ้างว่า เป็นการเปลี่ยนชื่อตามความเชื่อโชคลางและแก้กรรม
ร.อ. ธรรมนัสเริ่มประสบความสำเร็จในทางธุรกิจและการเมือง แต่ก็ต้องถูกดำเนินคดีอีกครั้ง เมื่อมีการกล่าวหาว่า เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการข่มขืนและสังหารนักวิชาการชายรักเพศเดียวกันในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งทำให้เขาต้องโทษจำคุกในไทยอีก 3 ปี ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งยกฟ้องในปี 2547
อย่างไรก็ตาม พล.อ. มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในยุคนั้นแสดงความเห็นต่อสื่อมวลชนว่า การบังคับใช้กฎระเบียบของกองทัพไทยนั้นหย่อนยาน จนปล่อยให้คนอย่าง ร.อ. ธรรมนัส ซึ่งมีประวัติอาชญากรรมร้ายแรงกลับเข้ารับราชการได้อย่างง่ายดาย
หลังจากได้รับการล้างมลทินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ร.อ. ธรรมนัสเริ่มมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้บัญชาการระดับสูงในกองทัพหลายคน ภาพลักษณ์แบบ "นักเลงมาเฟีย" ของเขาเริ่มเป็นที่คุ้นตาของสื่อมวลชน แม้เขาจะพยายามปฏิเสธว่า ตนเองไม่ใช่คนแบบนั้นก็ตาม
"สำหรับตัวผมแล้ว คำว่านักเลงมาเฟียไม่ได้มีความหมายในทางลบหรือชั่วร้ายแบบที่คนคิดกัน นักเลงคือผู้มีบารมี คือผู้กว้างขวางที่รู้จักคนมากมายและใช้สายสัมพันธ์นั้นช่วยเหลือผู้คนได้ นักเลงเป็นคนรักษาคำพูด" ร.อ. ธรรมนัสกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
ปัจจุบัน ร.อ. ธรรมนัสมีอำนาจทางการเมือง และมีฐานะมั่งคั่งยิ่งขึ้นกว่าเดิมอย่างมหาศาล โดยในการยื่นบัญชีทรัพย์สินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด ร.อ. ธรรมนัสระบุว่า ตนเองมีภรรยา 2 คน และบุตรอีก 7 คน มีทรัพย์สินรวมมูลค่าทั้งสิ้นถึงกว่า 800 ล้านบาท มีรถยนต์หรูหลายคัน รวมทั้งกระเป๋ากับนาฬิกาข้อมือแบรนด์เนม และพระเครื่องหายากอีกจำนวนมาก
ในการแถลงข่าวก่อนเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ร.อ. ธรรมนัสยังคงยืนยันว่า ไม่เคยต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 4 ปี หรือถูกเนรเทศเพราะความผิดฐานค้ายาเสพติดที่ประเทศออสเตรเลีย โดยมีนายศรศาสตร์ร่วมยืนยันด้วยอีกเสียงว่า สิ่งที่ ร.อ. ธรรมนัสพูดเป็นความจริงทุกประการ
"ผมใช้ชีวิตแบบคนธรรมดาทั่วไปที่ออสเตรเลียเป็นเวลา 4 ปีเต็ม คุณไปถามกับศาลที่นครซิดนีย์ดูก็ได้ว่า เรื่องที่ผมพูดมันจริงหรือไม่จริง" ร.อ. ธรรมนัสกล่าว
ในที่สุดศาลมีคำพิพากษาให้นายศรศาสตร์และ ร.อ. ธรรมนัส รับโทษจำคุกคนละ 6 ปี โดยจะสามารถยื่นคำร้องขอทำทัณฑ์บนได้หลังรับโทษครบ 4 ปี ศาลยังพิจารณายกฟ้องนายคาลาบรีส และให้นายคอนสแตนตินรับโทษจำคุกสถานเบาที่สุดเพียงสองปีครึ่ง
จำเลยชาวไทยทั้งสองพยายามขอลดหย่อนผ่อนโทษลงไปอีก โดย ร.อ. ธรรมนัสได้ยื่นหนังสือรับรองความประพฤติจากผู้พิพากษาและนายพันตำรวจโทชาวไทยผู้หนึ่ง ซึ่งระบุว่า เขาเป็นคน "มีความประพฤติดี ซื่อสัตย์ และไว้วางใจได้" แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ศาลอุทธรณ์คดีอาญาของออสเตรเลียได้ปฏิเสธคำร้องขอลดโทษนี้ด้วยคะแนนเสียงของผู้พิพากษาที่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมองว่า หลักฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่มหาศาล มัดตัวจำเลยในฐานะผู้บงการค้ายาเสพติดไว้อย่างแน่นหนา
หลังจากรับโทษจำคุกครบ 4 ปี ร.อ. ธรรมนัสและนายศรศาสตร์ได้รับการปล่อยตัว โดยศาลมีคำสั่งเนรเทศกลับไปยังประเทศไทยในทันที แต่เมื่อพวกเขาได้กลับถึงแผ่นดินเกิด ชีวิตภายในวงการมาเฟียแบบเดิม ๆ ก็เริ่มหวนกลับคืนมา ร.อ. ธรรมนัสได้กลับเข้ารับราชการอีกครั้งโดยเปลี่ยนชื่อเป็น "พัชระ พรหมเผ่า" ก่อนจะได้เลื่อนยศในปีต่อมา หลังจากนั้นไม่นานเขาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "ธรรมนัส" โดยอ้างว่า เป็นการเปลี่ยนชื่อตามความเชื่อโชคลางและแก้กรรม
ร.อ. ธรรมนัสเริ่มประสบความสำเร็จในทางธุรกิจและการเมือง แต่ก็ต้องถูกดำเนินคดีอีกครั้ง เมื่อมีการกล่าวหาว่า เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการข่มขืนและสังหารนักวิชาการชายรักเพศเดียวกันในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งทำให้เขาต้องโทษจำคุกในไทยอีก 3 ปี ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งยกฟ้องในปี 2547
อย่างไรก็ตาม พล.อ. มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในยุคนั้นแสดงความเห็นต่อสื่อมวลชนว่า การบังคับใช้กฎระเบียบของกองทัพไทยนั้นหย่อนยาน จนปล่อยให้คนอย่าง ร.อ. ธรรมนัส ซึ่งมีประวัติอาชญากรรมร้ายแรงกลับเข้ารับราชการได้อย่างง่ายดาย
หลังจากได้รับการล้างมลทินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ร.อ. ธรรมนัสเริ่มมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้บัญชาการระดับสูงในกองทัพหลายคน ภาพลักษณ์แบบ "นักเลงมาเฟีย" ของเขาเริ่มเป็นที่คุ้นตาของสื่อมวลชน แม้เขาจะพยายามปฏิเสธว่า ตนเองไม่ใช่คนแบบนั้นก็ตาม
"สำหรับตัวผมแล้ว คำว่านักเลงมาเฟียไม่ได้มีความหมายในทางลบหรือชั่วร้ายแบบที่คนคิดกัน นักเลงคือผู้มีบารมี คือผู้กว้างขวางที่รู้จักคนมากมายและใช้สายสัมพันธ์นั้นช่วยเหลือผู้คนได้ นักเลงเป็นคนรักษาคำพูด" ร.อ. ธรรมนัสกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
ปัจจุบัน ร.อ. ธรรมนัสมีอำนาจทางการเมือง และมีฐานะมั่งคั่งยิ่งขึ้นกว่าเดิมอย่างมหาศาล โดยในการยื่นบัญชีทรัพย์สินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด ร.อ. ธรรมนัสระบุว่า ตนเองมีภรรยา 2 คน และบุตรอีก 7 คน มีทรัพย์สินรวมมูลค่าทั้งสิ้นถึงกว่า 800 ล้านบาท มีรถยนต์หรูหลายคัน รวมทั้งกระเป๋ากับนาฬิกาข้อมือแบรนด์เนม และพระเครื่องหายากอีกจำนวนมาก
ในการแถลงข่าวก่อนเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ร.อ. ธรรมนัสยังคงยืนยันว่า ไม่เคยต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 4 ปี หรือถูกเนรเทศเพราะความผิดฐานค้ายาเสพติดที่ประเทศออสเตรเลีย โดยมีนายศรศาสตร์ร่วมยืนยันด้วยอีกเสียงว่า สิ่งที่ ร.อ. ธรรมนัสพูดเป็นความจริงทุกประการ
"ผมใช้ชีวิตแบบคนธรรมดาทั่วไปที่ออสเตรเลียเป็นเวลา 4 ปีเต็ม คุณไปถามกับศาลที่นครซิดนีย์ดูก็ได้ว่า เรื่องที่ผมพูดมันจริงหรือไม่จริง" ร.อ. ธรรมนัสกล่าว
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar