2 ปี เครือซีพี ปิด 2 ดีลยักษ์
.
นับตั้งแต่ 2563 เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ เครือซีพี
ประสบความสำเร็จในการควบรวมกิจการในกลุ่มธุรกิจการค้าขนาดใหญ่ถึง 2 ธุรกิจ
ขณะที่สังคมตั้งข้อสังเกตว่าการรุกคืบดังกล่าวจะนำไปสู่การสร้างอำนาจเหนือตลาดหรือไม่
.
ย้อนเมื่อเดือน พ.ย. ปีที่ผ่านมา ธุรกิจค้าปลีกในเครือซีพี
ได้รับความสนใจในสังคมอย่างมากจากการควบรวมกิจการกับเทสโก้โลตัส
ทำให้ในส่วนธุรกิจค้าปลีกของเครือซีพีครอบคลุมธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น
ซึ่งเดิมมี ซีพี ออลล์ ที่บริหารร้านสะดวกซื้อ "เซเว่นอีเลฟเว่น" และ สยามแม็คโคร ผู้บริหารห้างค้าส่งรายใหญ่อยู่แล้ว
.
หากพิจารณารายได้รวมจาก 3 บริษัทดังกล่าวในปีที่แล้ว
ค้าปลีกเครือซีพีมีมูลค่าธุรกิจรวมเป็น 953,308 ล้านบาท
(รายได้นี้ยังไม่รวมกับรายได้จากร้านค้าซีพี เฟรซมาร์ท 360 สาขา)
.
ปัจจุบัน ธุรกิจค้าปลีกในเครือซีพีมีอะไรบ้าง
.
- เซเว่นอีเลฟเว่น 12,432 สาขา รายได้รวมปี 2563 มูลค่า 546,590 ล้านบาท
- แม็คโคร 138 สาขา รายได้รวมปี 2563 มูลค่า 218,760 ล้านบาท
- เทสโก้ โลตัส 2,164 สาขา รายได้รวมในปี 2563 มูลค่า 187,958 ล้านบาท
ล่าสุด บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น
ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมในเครือซีพีได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 8/2564
เมื่อวันที่ 20 พ.ย.
ได้มีมติเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการควบบริษัทกับ บมจ. โทเทิ่ล
แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค
พร้อมกับการเสนอซื้อหุ้นโดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไข
.
ด้านสฤณี
อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์
ติดตามกระแสข่าวเรื่องเทเลนอร์มีแผนการจะถอนการลงทุนจากไทย
รวมทั้งการซื้อขายกิจการของทรูและดีแทคมาตั้งแต่ปี 2563 วิเคราะห์ว่า
หากพิจารณาจากตัวเลขผู้ใช้บริการและส่วนแบ่งการตลาดของเอไอเอส ทรู
และดีแทคที่ปรากฏต่อสาธารณะ เป็นที่ชัดเจนว่าถ้าทรูซื้อดีแทค
บริษัทที่เกิดจากการรวมกิจการนี้จะกลายเป็นเจ้าตลาดรายใหม่และเป็นรายใหญ่อันดับ
1 แซงหน้าเอไอเอส และตลาดผู้ให้บริการมือถือและอินเทอร์เน็ตจะเหลือแค่ 2
เจ้า คือ เอไอเอสกับทรู-ดีแทค ซึ่งทำให้การแข่งขันในตลาดลดลงอย่างชัดเจน
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar