torsdag 25 november 2021

ปกป้องจงรักภักดีหรือทำลายสถาบัน???กลุ่ม“แรมโบ้”, “ประชาชนปกป้องสถาบัน”, "อาชีวะปกป้องสถาบัน", "ศรีสุริโยทัยปกป้องสถาบัน" และ "ประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน" “ประชาชนปกป้องสถาบัน” ขับไล่แอมเนสตี้ฯ พ้นไทย

การเปิดปราศรัยโจมตีแอมเนสตี้ฯ เกิดขึ้นภายในพื้นที่ของรัฐ (สำนักงาน ก.พ. เดิม ฝั่งตรงข้ามทำเนียบฯ) โดยระหว่างนั้น พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ก็ปฏิบัติภารกิจอยู่ภายในทำเนียบฯ ด้วย และถูกผู้สื่อข่าวตั้งคำถามในประเด็นนี้
.
ผู้สื่อข่าว: เป็นห่วงหรือไม่ว่าเรื่องนี้จะลุกลาม ทำให้ความขัดแย้งบานปลาย
.
นายกฯ: ใครขัดแย้ง ถ้าขัดแย้งก็อย่าเสนอให้ขัดแย้งสิ ความคิดของคน

แอมเนสตี้ฯ : “แรมโบ้” เดิมพันตำแหน่ง-ล่าล้านชื่อ “ประชาชนปกป้องสถาบัน” ขับไล่แอมเนสตี้ฯ พ้นไทย

ประชาชนปกป้องสถาบันฯ อย่างน้อย 6 เครือข่าย เข้ายื่นหนังสือถึงนายกฯ ขอให้ขับแอมเนสตี้ฯ พ้นจากประเทศไทย

ที่มาของภาพ,

คำบรรยายภาพ,

ประชาชนปกป้องสถาบันฯ อย่างน้อย 6 เครือข่าย เข้ายื่นหนังสือถึงนายกฯ ขอให้ขับแอมเนสตี้ฯ พ้นจากประเทศไทย

กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีเปิดแคมเปญแข่ง ประกาศล่าล้านรายชื่อประชาชนปกป้องสถาบันฯ ขับไล่แอมเนสตี้ฯ พ้นไทย พร้อมกล่าวหาสร้างความแตกแยก-ละเมิดจาบจ้วงสถาบันฯ

"ไล่ตะเพิด Amnesty ออกจากประเทศไทย"

"ถ้ามึงไม่ชั่ว ก็ไม่ต้องกลัว ม.112"

"ไม่เคยเป็นกลาง ขออยู่ข้างในหลวง"

คือข้อความบางส่วนที่ปรากฏบนป้ายกระดาษและฟิวเจอร์บอร์ดของประชาชนที่สวมใส่เสื้อสีเหลืองและสีน้ำเงิน ในระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมขับไล่องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (Amnesty International Thailand) ออกจากประเทศไทย

เครือข่ายประชาชนหลากหลายกลุ่ม อาทิ กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน" (ศ.ป.ป.ส.), "อาชีวะปกป้องสถาบัน", "ศรีสุริโยทัยปกป้องสถาบัน" และ "ประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน" ได้เดินทางไปยังศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ช่วงเช้าวันนี้ (25 พ.ย.) เพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ขับไล่แอมเนสตี้ฯ ออกจากประเทศไทย โดยมีนายเสกสกล อัตถาวงษ์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรับเรื่อง

yellow shirt
royalist

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

แกนนำกลุ่มต่าง ๆ สลับกันขึ้นปราศรัยโจมตีบทบาทของแอมเนสตี้ฯ และกดดันรัฐบาลให้ดำเนินการกับ "คนไทยหัวใจต่างชาติ" โดยระบุว่าคนไทยหลาย 10 ล้านคนไม่พอใจแอมเนสตี้ฯ

ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมบางส่วนแสดงตัวว่าเป็น "พสกนิกร" เดินทางมาจาก จ.ต่าง ๆ อาทิ นครราชสีมา, พระนครศรีอยุธยา และสมุทรสาคร และร่วมกันส่งตะโกน "แอมเนสตี้ฯ ออกไป" "เก็ตเอาท์" (Get Out) และ "กูเกลียดมึง" ตามการนำของต้นเสียง

ความเคลื่อนไหวในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดตัวแคมเปญ "Write for Rights" หรือ "เขียน เปลี่ยน โลก" เชิญชวนประชาชนทั่วโลกเขียนจดหมายหลายล้านฉบับให้กำลังใจผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือครอบครัวโดยตรง และเขียนจดหมายถึงผู้มีอำนาจเรียกร้องให้ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนและนำความยุติธรรมมาสู่ผู้ได้รับผลกระทบ

ในปีนี้ กรณี น.ส. ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง แกนนำกลุ่ม "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" และแกนนำ "ราษฎร" ซึ่งตกเป็นจำเลยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาอื่น ๆ จากการจัดกิจกรรมชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยและให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ปี 2563-2564 และถูกคุมขังในเรือนจำระหว่างการพิจารณา ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญด้วย

น.ส. ปนัสยา สิทธิจิรวัฒกุล แถลงคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 10 พ.ย. 

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

น.ส. ปนัสยา สิทธิจิรวัฒกุล แถลงคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 10 พ.ย.

แคมเปญ "เขียน เปลี่ยน โลก" จัดขึ้นมากว่า 20 ปีแล้ว โดยมีจุดเริ่มต้นจากนักกิจกรรมการเมืองในประเทศโปแลนด์ ซึ่งแอมเนสตี้ฯ ให้ข้อมูลว่าจากจดหมาย 2,326 ฉบับในปี 2544 กลายเป็น 4.5 ล้านฉบับในปี 2563 โดยผู้สนับสนุนแคมเปญได้ใช้พลังที่จะส่งเสียงของพวกเขาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ร่วมกันเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนมากกว่า 100 คน ปลดปล่อยพวกเขาจากการถูกทรมาน การล่วงละเมิด หรือจับกุมการคุมขังอย่างไม่เป็นธรรม

อย่างไรก็ตามประชาชนฝ่ายปกป้องสถาบันฯ วิจารณ์ว่าการรณรงค์ให้เขียนจดหมายล้านฉบับถึงทั่วโลกจี้ทางการไทยให้หยุดดำเนินคดีกับ รุ้ง ปนัสยา เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของไทย และจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของไทย เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร อีกทั้งยังมองว่ากระทำของแอมแนสตี้ฯ "ถือได้ว่าอยู่เบื้องหลังการสนับสนุนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลกระทำการจาบจ้วงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้"

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเมื่อ 10 พ.ย. ว่าการชุมนุม 10 ส.ค. 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งมีนายอานนท์ นำภา, นายภาณุพงศ์ จาดนอก และ น.ส. ปนัสยา เป็นผู้ปราศรัย เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง และยังระบุด้วยว่าข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ กระทบต่อสถานะของสถาบันกษัตริย์

ศาลรัฐธรรมนูญ

ที่มาของภาพ, YouTube/สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

          คำบรรยายภาพ,

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้ง 3 และกลุ่มองค์กร เครือข่าย เลิกกระทำการที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย

ขณะที่นายเสกสกล อัตถาวงษ์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมปราศรัยโจมตีองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งนี้ด้วย โดยกล่าวหาว่าแอมเนสตี้ฯ เป็นองค์กรที่สร้างความแตกแยกให้กับพี่น้องคนไทย และละเมิดจาบจ้วงสถาบันฯ ไม่ใช่องค์กรที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการจดทะเบียนที่แจ้งไว้กับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (มท.) ดังนั้น มท. ต้องเพิกถอนองค์กรนี้ ทั้งนี้ได้ส่งมอบหลักฐานการเคลื่อนไหวต่าง ๆ และธุรกรรมการเงินขององค์กรที่ "ใช้เงินจากต่างประเทศจ้างคนไทยที่หัวชังชาติ ไม่รักบ้านเมือง รักแผ่นดินเกิด ให้มาทำลายประเทศ ทำลายสถาบัน" ให้แก่กรมการปกครองตรวจสอบแล้ว

"เมื่อไม่ถูกต้อง ก็เป็นองค์กรเถื่อน มาขับเคลื่อนทำผิดกฎหมายไทย ไม่ว่าคนไทยหรือต่างชาติ จับเข้าคุกให้หมด ถ้ามันไม่อยากเข้าคุก มึงออกไปให้พ้นแผ่นดินไทย" นายเสกสกลกล่าว ท่ามกลางเสียงโห่ร้องจากมวลชน

กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีรายนี้ยังบอกด้วยว่า ได้เปิดแคมเปญล่าชื่อประชาชน 1 ล้านชื่อเพื่อขับไล่แอมเนสตี้ฯ ซึ่งล่าสุดมีผู้ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 5 แสนรายชื่อ จากนี้จะเดินสายไปทุกภาค ทุกจังหวัด เพื่อล่ารายชื่อประชาชนให้ได้มากที่สุด

"คนอย่างแรมโบ้ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง และผมเดิมพันด้วยตำแหน่งของผม ถ้าผมไล่ไอ้องค์กรนี้ออกไม่ได้ ผมออกเองครับ ผมเดินออกจากตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำนายกฯ เพื่อมาร่วมกับประชาชน" นายเสกสกล ซึ่งเคยได้รับสมญา "แรมโบ้อีสาน" กล่าวเดิมพันด้วยตำแหน่งทางการเมืองของตน

นายเสกสกล อัตถาวงษ์ ทักทายประชาชนผู้ร่วมอุดมการณ์ โดยแสดงความมั่นใจว่าจะได้รายชื่อประชาชนทะลุล้าน

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

นายเสกสกล อัตถาวงษ์ ทักทายประชาชนผู้ร่วมอุดมการณ์ โดยแสดงความมั่นใจว่าจะได้รายชื่อประชาชนทะลุล้าน

ในระหว่างเกิดกิจกรรมขับไล่องค์กรรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนระดับสากลหน้าศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เดิม ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ก็ปฏิบัติภารกิจอยู่ในทำเนียบฯ ด้วย และถูกผู้สื่อข่าวตั้งคำถามว่าเป็นห่วงหรือไม่ว่าเรื่องนี้จะลุกลาม ทำให้ความขัดแย้งบานปลาย

"ใครขัดแย้ง ถ้าขัดแย้งก็อย่าเสนอให้ขัดแย้งสิ ความคิดของคน" พล.อ. ประยุทธ์กล่าว

จนถึงเวลา 13.00 น. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ยังไม่มีการออกมาเคลื่อนไหว หรือตอบโต้ในเรื่องนี้

สำหรับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นองค์กรที่รณรงค์ในประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน มีสมาชิกและผู้สนับสนุนกว่า 10 ล้านคน ในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก และมีสำนักงานกระจายตัวอยู่กว่า 70 ประเทศ

บีบีซีไทย - BBC Thai
2 tim

รมว.ดีอีเอสปัดเอื้อกลุ่มทุนใด ชี้ “รัฐบาลไม่ควรเข้าไปยุ่ง” กรณีทรู-ดีแทคควบรวมกิจการ
.
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ (25 พ.ย.) นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เรื่องการควบรวมกิจการระหว่างทรูกับดีแทค เพื่อผูกขาดตลาดหรือไม่ โดยมีนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) มาชี้แจงแทน
.
บีบีซีไทยสรุปสาระสำคัญของการถาม-ตอบกระทู้ไว้ ดังนี้...Läs mer


Inga kommentarer:

Skicka en kommentar