สั่งฟ้องคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา
วันนี้ (24 ก.ค.) อัยการสูงสุดมีคำสั่งส่งฟ้อง ผู้ต้องหาในคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา 72 คน ต่อศาลจังหวัดนาทวี จำเลยชุดแรกนี้ รวมถึงพล.ท. มนัส คงแป้น อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น และพลเรือน รวม 16 ข้อหา ในความผิดตามพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2556 พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2552 และประมวลกฎหมายอาญาอีกหลายม...าตรา
คุณไซนา เหมมัน ผู้อำนวยการสำนักงานประจำศาลจังหวัดนาทวี จ. สงขลา บอกบีบีซีไทยว่าในขณะนี้จำเลยทั้ง 72 คน ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำ อ. นาทวี โดยก่อนหน้านี้ได้มีการยื่นขอประกันตัว แต่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว เนื่องจากข้อหามีความร้ายแรงและคดีมีอัตราโทษสูง อย่างไรก็ตามในวันนี้ยังไม่มีจำเลยรายไหนยื่นขอประกันตัวเพิ่มเติม
คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ บอกบีบีซีไทยว่าการสั่งฟ้องแสดงว่ามีข้อมูลและหลักฐานมากพอที่จะชี้ถึงความผิด และถึงแม้ว่าการค้ามนุษย์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ภาครัฐเพิ่งมีการเอาจริงเอาจัง ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตามคุณสุรพงษ์หวังว่าหลักฐานข้อมูลที่ได้มา จะเอื้อให้มีการขยายผล ไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องรายอื่น ๆ เพราะการค้ามนุษย์กระทำกันเป็นขบวนการ และยังมีเครือข่ายที่อยู่นอกประเทศ ทั้งในมาเลเซีย เมียนมาร์ และบังกลาเทศ
คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ บอกบีบีซีไทยว่าการสั่งฟ้องแสดงว่ามีข้อมูลและหลักฐานมากพอที่จะชี้ถึงความผิด และถึงแม้ว่าการค้ามนุษย์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ภาครัฐเพิ่งมีการเอาจริงเอาจัง ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตามคุณสุรพงษ์หวังว่าหลักฐานข้อมูลที่ได้มา จะเอื้อให้มีการขยายผล ไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องรายอื่น ๆ เพราะการค้ามนุษย์กระทำกันเป็นขบวนการ และยังมีเครือข่ายที่อยู่นอกประเทศ ทั้งในมาเลเซีย เมียนมาร์ และบังกลาเทศ
อนุกรรมการสิทธิฯเตรียมยื่นจดหมายแนะรัฐบาลวันนี้แก้ปัญหาอุยกูร์ด้วยการส่งตัวให้คนที่เต็มใจรับและเจ้าตัวเต็มใจไป ยืนยันหลังจากที่เข้าเยี่ยมอุยกูร์ส่วนหนึ่งว่าพวกเขาอยากไปตุรกี
นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือกสม.เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการฯจะเสนอต่อรัฐบาลในเรื่องการจัดการกับกลุ่มผู้หนีภัยชาวอุยกูร์ที่เหลืออยู่ในประเทศจำนวน 58 คนว่าให้ยึดหลักการมนุษยธรรม หลักสิทธิมนุษยชนและหลักการไม่ส่งตัวหากเห็นว่า...จะเป็นอันตราย ที่สำคัญหากมีผู้ขอรับตัวเพราะเชื่อว่า มีส่วนเกี่ยวพันกับการกระทำผิดกฎหมายก็จะต้องใช้กระบวนการทางศาลพิสูจน์ เปิดโอกาสให้ชี้แจงไม่ฟังความข้างเดียว
นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือกสม.เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการฯจะเสนอต่อรัฐบาลในเรื่องการจัดการกับกลุ่มผู้หนีภัยชาวอุยกูร์ที่เหลืออยู่ในประเทศจำนวน 58 คนว่าให้ยึดหลักการมนุษยธรรม หลักสิทธิมนุษยชนและหลักการไม่ส่งตัวหากเห็นว่า...จะเป็นอันตราย ที่สำคัญหากมีผู้ขอรับตัวเพราะเชื่อว่า มีส่วนเกี่ยวพันกับการกระทำผิดกฎหมายก็จะต้องใช้กระบวนการทางศาลพิสูจน์ เปิดโอกาสให้ชี้แจงไม่ฟังความข้างเดียว
ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองฯของกสม.บอกว่า หลังจากเข้าเยี่ยมอุยกูร์ที่หนีภัยเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้จำนวนหนึ่งยังถูกกักตัวไว้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองซอยสวนพลู กรุงเทพฯ ว่าจากการเข้าเยี่ยมอุยกูร์ 8 คนเมื่อวันที่ 23 ก.ค.นั้นพบว่า พวกเขาต่างแสดงความต้องการจะออกเดินทางไปประเทศที่สามซึ่งพวกเขาระบุชื่อประเทศหลายครั้งว่าต้องการจะไปตุรกี โดยในบรรดากลุ่มอุยกูร์ที่พบ 8 คนนั้น มีอยู่ 5 คนที่สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้หญิงและเด็กได้ถูกแยกไปตุรกีก่อนหน้านี้แล้ว
นพ.นิรันดร์ชี้แจงว่า คณะอนุกรรมการฯได้ประชุมหารือผู้เกี่ยวข้องเพื่อขอทราบข้อมูลไปก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อบวกรวมกับข้อมูลที่ได้จากการได้เข้าเยี่ยมอุยกูร์ แม้ว่าการสนทนาจะมีข้อจำกัดเนื่องจากต้องใช้ล่ามแต่เป็นที่ชัดเจนว่า พวกเขาทุกคนที่ได้พบต่างต้องการไปอาศัยอยู่ในตุรกี ซึ่งก็เป็นประเทศที่เต็มใจจะรับคนเหล่านี้ นพ.นิรันดร์กล่าวว่า ทางอนุกรรมการจะทำหนังสือนำเสนอรัฐบาลในสัปดาห์นี้ ให้ความเห็นในเรื่องวิธีการจัดการปัญหาผู้หนีภัยอุยกูร์ ซึ่งเชื่อว่าสิ่งที่จะแนะนำจะไม่ขัดกับความจำเป็นในอันที่จะดูแลในเรื่องของความมั่นคงของประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็จะทำให้ไทยได้รับการยอมรับในประชาคมโลกด้วย ก็คือ การส่งกลับจะยึดเอาการพิสูจน์สัญชาติอย่างเดียวไม่พอ จำเป็นต้องยึดหลักว่ามีความเต็มใจทั้งผู้จะไปและผู้ที่จะรับ รวมทั้งไม่ส่งตัวกลับหากเห็นว่าจะเป็นอันตราย และหากเจอข้อหาขอตัวกลับเพราะเห็นว่าพัวพันการกระทำผิด ก็ต้องใช้กระบวนการทางศาลพิสูจน์ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงหรือสู้ความ นพ.นิรันดร์ระบุว่าเรื่องของอุยกูร์หรือผู้หนีภัยที่ไทยส่งตัวไปแล้วไม่ว่าไปที่ใด ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องติดตามความเป็นไปของพวกเขา ซึ่งที่ผ่านมาก็สามารถทำได้ เช่นกรณีการติดตามกลุ่มชาวม้งที่ส่งไปให้ลาวเป็นต้น
ก่อนหน้านี้เมื่อวันจันทร์ที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือสมช.นายอนุสิษฐ คุณากร ได้แถลงหลังจากเดินทางกลับจากจีนว่า จากการไปหาข้อมูลและเยี่ยมเยียนอุยกูร์ที่ไทยส่งให้จีนพบว่า พวกเขาเหล่านั้นได้รับการดูแลด้วยดี โดยได้ไปอาศัยอยู่ในศูนย์ฟื้นฟูเพื่อปรับทัศนคติ และกำลังอยู่ระหว่างถูกสอบสวนในกรณีที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด นายอนุสิษฐให้สัมภาษณ์ด้วยว่า เรื่องของอุยกูร์ 58 คนที่ยังเหลือในไทยนั้น ทางการยังจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่ทั้งนี้เลขาธิการสมช.ยืนยันว่า จากการได้เดินทางไปจีนได้ข้อสรุปว่า วิธีการของไทยที่ทำไปไม่มีปัญหาและน่าจะเป็นแบบอย่างของการรับมือปัญหาคนเข้าเมืองผิดกฎหมายต่อไปด้วย
นพ.นิรันดร์ชี้แจงว่า คณะอนุกรรมการฯได้ประชุมหารือผู้เกี่ยวข้องเพื่อขอทราบข้อมูลไปก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อบวกรวมกับข้อมูลที่ได้จากการได้เข้าเยี่ยมอุยกูร์ แม้ว่าการสนทนาจะมีข้อจำกัดเนื่องจากต้องใช้ล่ามแต่เป็นที่ชัดเจนว่า พวกเขาทุกคนที่ได้พบต่างต้องการไปอาศัยอยู่ในตุรกี ซึ่งก็เป็นประเทศที่เต็มใจจะรับคนเหล่านี้ นพ.นิรันดร์กล่าวว่า ทางอนุกรรมการจะทำหนังสือนำเสนอรัฐบาลในสัปดาห์นี้ ให้ความเห็นในเรื่องวิธีการจัดการปัญหาผู้หนีภัยอุยกูร์ ซึ่งเชื่อว่าสิ่งที่จะแนะนำจะไม่ขัดกับความจำเป็นในอันที่จะดูแลในเรื่องของความมั่นคงของประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็จะทำให้ไทยได้รับการยอมรับในประชาคมโลกด้วย ก็คือ การส่งกลับจะยึดเอาการพิสูจน์สัญชาติอย่างเดียวไม่พอ จำเป็นต้องยึดหลักว่ามีความเต็มใจทั้งผู้จะไปและผู้ที่จะรับ รวมทั้งไม่ส่งตัวกลับหากเห็นว่าจะเป็นอันตราย และหากเจอข้อหาขอตัวกลับเพราะเห็นว่าพัวพันการกระทำผิด ก็ต้องใช้กระบวนการทางศาลพิสูจน์ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงหรือสู้ความ นพ.นิรันดร์ระบุว่าเรื่องของอุยกูร์หรือผู้หนีภัยที่ไทยส่งตัวไปแล้วไม่ว่าไปที่ใด ถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องติดตามความเป็นไปของพวกเขา ซึ่งที่ผ่านมาก็สามารถทำได้ เช่นกรณีการติดตามกลุ่มชาวม้งที่ส่งไปให้ลาวเป็นต้น
ก่อนหน้านี้เมื่อวันจันทร์ที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือสมช.นายอนุสิษฐ คุณากร ได้แถลงหลังจากเดินทางกลับจากจีนว่า จากการไปหาข้อมูลและเยี่ยมเยียนอุยกูร์ที่ไทยส่งให้จีนพบว่า พวกเขาเหล่านั้นได้รับการดูแลด้วยดี โดยได้ไปอาศัยอยู่ในศูนย์ฟื้นฟูเพื่อปรับทัศนคติ และกำลังอยู่ระหว่างถูกสอบสวนในกรณีที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำผิด นายอนุสิษฐให้สัมภาษณ์ด้วยว่า เรื่องของอุยกูร์ 58 คนที่ยังเหลือในไทยนั้น ทางการยังจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่ทั้งนี้เลขาธิการสมช.ยืนยันว่า จากการได้เดินทางไปจีนได้ข้อสรุปว่า วิธีการของไทยที่ทำไปไม่มีปัญหาและน่าจะเป็นแบบอย่างของการรับมือปัญหาคนเข้าเมืองผิดกฎหมายต่อไปด้วย
คลิกดูเพิ่ม-Visa mer
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar