คอลัมน์ ใบตองแห้ง
วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 23:09 น.
จำนวนคนอ่านล่าสุด 647 คน
เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร จุดที่ครูหน้าที่พลเมืองสอนให้ เด็กเชื่อฟังคนถือปืน จุดที่คนรื้อฟื้นกระทิงแดงจะได้เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชน จุดที่ศาสตราจารย์กฎหมายมหาชนเขียนรัฐธรรมนูญ "ตัดสิทธิตลอดชีวิต" ผู้ถูกสภาแต่งตั้งถอดถอน
เป็นเรื่องขำชวนวิปริต สังคมไทยแซ่ซ้อง "ตัดสิทธิคนโกง" บางคนโต้แย้งว่าไม่ควรใช้ย้อนหลัง บางคนก็ว่าสังคมพุทธควรอภัยให้กัน โธ่ถัง! นี่ไม่ใช่เรื่องย้อนหลังหรือให้อภัย มันเป็นเรื่อง "ยุติธรรม" หรือไม่
การถอดถอนโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือวุฒิสภา หรือแม้แต่รัฐสภาจากเลือกตั้ง ไม่ใช่ "กระบวนการยุติธรรม" ไม่ใช่การตัดสินโดยศาลที่ใช้ลงโทษใครได้
Impeachment พูดง่ายๆ รัฐสภาฝรั่งใช้ขับประธานาธิบดี แต่เขาไม่มีบทลงโทษ ถ้ามีข้อหาก็ไปฟ้องศาล เพราะ Impeachment เป็นกระบวนการทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องทางตุลาการ รัฐสภายกมือขับไล่ อาจเพราะคนละพรรคคนละพวก ไม่ชอบขี้หน้ากัน ฯลฯ ยังไงก็ "ชอบธรรม" เพราะมาจากเลือกตั้ง แต่ไม่ใช่ความ "ยุติธรรม"
คนไทยชาติเดียวในโลกเอา Impeachment มาตัดต่อพันธุกรรม ให้วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนพร้อมตัดสิทธิ ตอนแรกดูเหมือน "ชอบธรรม" เพราะใช้กับรัฐธรรมนูญ 2540 ที่วุฒิสภามาจากเลือกตั้ง ต่อมารัฐธรรมนูญ 2550 ก็แปลงร่างเป็นสรรหากึ่งหนึ่ง แล้วพอฉีกรัฐธรรมนูญ ก็กลายเป็นสนช. ที่คสช.แต่งตั้งมา "เชือดคอ"
มันไม่ใช่ กระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้น และความ "ชอบธรรม" ก็ไม่เหลืออยู่ แต่ยังพิจารณาถอดถอนอดีตส.ส. ส.ว.กันอยู่ได้ โดยไอ้พวกอดีตส.ส.เพื่อไทยก็ไปยอมรับอำนาจซะงั้น
น่าสมเพช ที่สังคมไทยยอมรับว่านี่คืออำนาจตัดสิน ไม่รู้สึกรู้สาว่ามันต่างจากกระบวนการยุติธรรม ซึ่งต้องย้อนถาม เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
คนไทยเกลียดนักการเมืองทุจริต คอร์รัปชั่น เกลียดซื้อเสียงเลือกตั้ง แต่ไม่แก้ปัญหาด้วยกระบวนการยุติธรรม ใช้วิธีรวบรัด "ฆ่าตัดตอน" ตั้ง "องค์กรเทวดา" ป.ป.ช. กกต. เข้ามาใช้อำนาจลัดขั้นตอน ถอดถอน ตัดสิทธิ แจกใบแดง โดยเชื่อว่าโลกนี้ยังมีเทวดา 5 องค์ 9 องค์ ผู้เป็นกลาง ผู้เที่ยงธรรม ทั้งที่องค์กรอิสระก็ล้วนเป็นมนุษย์ขี้เหม็นกินปี้ขี้นอน มีรัก โลภ โกรธ หลงกันทั้งนั้น
วันดีคืนดีเราก็ให้อำนาจกกต. 5 คนแจกใบแดงเพียงเพราะ "เชื่อได้ว่าทุจริต" กล่าวหาเอง ตัดสินเอง ไม่ผ่านการพิสูจน์ โต้แย้งในศาล ใช้ไปๆ จนสังคมเคยชินก็ตัดต่อพันธุกรรม รัฐธรรมนูญ 2550 ออกมาตรา 237 กรรมการบริหารโดนใบแดงคนเดียวยุบทั้งพรรค ตัดสิทธิกรรมการทุกคน ไม่ต่างจากกฎหมาย โบราณผิดคนเดียวประหาร 7 ชั่วโคตร ประชาชนเห็นความ อยุติธรรม จึงลุกฮือขึ้นในปี 2552, 2553 จนเลือดนองแผ่นดิน
ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ให้กกต.แจกใบแดง ดูเหมือนถูกนะครับ แต่กลับเอาอำนาจ "เชื่อได้ว่า" ไปให้ศาลวินิจฉัย ซึ่งคอยดูเถอะจะมีปัญหาลุกลามความเชื่อถือสถาบันตุลาการ เพราะศาลมีหน้าที่ตัดสินถูกผิด ไม่ได้มีอำนาจ "เชื่อได้ว่า"
ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่มี ม.239 แต่ก็ยังมีอำนาจ ยุบพรรคโดยศาลรัฐธรรมนูญ อำนาจถอดถอนโดยรัฐสภา ที่มีส.ว.สรรหา 123 คน เพิ่มจากเดิมเกือบ 2 เท่า แม้ฉบับ "รีเมก" ยอมทิ้งบางประเด็นที่ขัดตาสังคมเห็นๆ เช่น กลุ่มการเมือง โอเพ่นลิสต์ วุฒิสภาตรวจชื่อรัฐมนตรี แต่โครงสร้างอำนาจสรรหายังแน่นหนา และข้อสำคัญยัง แก้ไขยาก ผูกมัดอนาคตทั้งที่ตัวเองไม่มีความชอบธรรม "รัฐธรรมนูญข้าใครอย่าแตะ"
มองให้ลึกมองให้ทัน "ตัดสิทธิตลอดชีวิต" เป็นเหมือนประเด็น "ปั่นค่าตัว" ให้ทุกฝ่ายกลับมาสนใจร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเข้าสปช.ต้นเดือนกันยาฯ จากที่ก่อนนี้ถูกมองว่า "ตายซาก" ไปแล้ว เพราะคสช.แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวเตรียมยุบทั้ง สปช. กมธ. เพื่อตั้งสภาขับเคลื่อนปฏิรูป และกรรมการยกร่างใหม่
แต่เมื่อสถานการณ์พลิกผัน รัฐบาลเริ่มประสบมรสุม บริหารประเทศไม่ง่ายอีกต่อไป กมธ.ก็เสนอ "ทางลง" ให้ ว่าเอาร่างรัฐธรรมนูญนี้ไหมล่ะ
ซึ่งก็เป็น dilemma ให้ตัดสินใจ เพราะถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน "อัศวินขี่ม้าขาเป๋" ก็ต้องอยู่นาน อย่างน้อยบวกอีก 6 เดือน ซึ่งประเมินสถานการณ์รอบด้านแล้ว อยู่นานไม่สนุกหรอก
แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่าน บรรยากาศการเมืองปัจจุบันพร้อมทำประชามติไหม ประชามติต้องรณรงค์ได้ คัดค้านได้ แน่ใจนะว่าเอาอยู่ เพราะจะปลุกความขัดแย้งทั้งเก่าใหม่อย่างกว้างขวาง
ซ้ำถ้ารัฐธรรมนูญผ่านไปสู่เลือกตั้ง ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวมาแล้ว ความคับแค้น ความพยาบาท ที่ถูกเก็บกดไว้ในยุคคสช.ก็จะปะทุ เป็นระเบิดลูกใหม่เพื่อทวงถามความยุติธรรม
เป็นเรื่องขำชวนวิปริต สังคมไทยแซ่ซ้อง "ตัดสิทธิคนโกง" บางคนโต้แย้งว่าไม่ควรใช้ย้อนหลัง บางคนก็ว่าสังคมพุทธควรอภัยให้กัน โธ่ถัง! นี่ไม่ใช่เรื่องย้อนหลังหรือให้อภัย มันเป็นเรื่อง "ยุติธรรม" หรือไม่
การถอดถอนโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือวุฒิสภา หรือแม้แต่รัฐสภาจากเลือกตั้ง ไม่ใช่ "กระบวนการยุติธรรม" ไม่ใช่การตัดสินโดยศาลที่ใช้ลงโทษใครได้
Impeachment พูดง่ายๆ รัฐสภาฝรั่งใช้ขับประธานาธิบดี แต่เขาไม่มีบทลงโทษ ถ้ามีข้อหาก็ไปฟ้องศาล เพราะ Impeachment เป็นกระบวนการทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องทางตุลาการ รัฐสภายกมือขับไล่ อาจเพราะคนละพรรคคนละพวก ไม่ชอบขี้หน้ากัน ฯลฯ ยังไงก็ "ชอบธรรม" เพราะมาจากเลือกตั้ง แต่ไม่ใช่ความ "ยุติธรรม"
คนไทยชาติเดียวในโลกเอา Impeachment มาตัดต่อพันธุกรรม ให้วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนพร้อมตัดสิทธิ ตอนแรกดูเหมือน "ชอบธรรม" เพราะใช้กับรัฐธรรมนูญ 2540 ที่วุฒิสภามาจากเลือกตั้ง ต่อมารัฐธรรมนูญ 2550 ก็แปลงร่างเป็นสรรหากึ่งหนึ่ง แล้วพอฉีกรัฐธรรมนูญ ก็กลายเป็นสนช. ที่คสช.แต่งตั้งมา "เชือดคอ"
มันไม่ใช่ กระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้น และความ "ชอบธรรม" ก็ไม่เหลืออยู่ แต่ยังพิจารณาถอดถอนอดีตส.ส. ส.ว.กันอยู่ได้ โดยไอ้พวกอดีตส.ส.เพื่อไทยก็ไปยอมรับอำนาจซะงั้น
น่าสมเพช ที่สังคมไทยยอมรับว่านี่คืออำนาจตัดสิน ไม่รู้สึกรู้สาว่ามันต่างจากกระบวนการยุติธรรม ซึ่งต้องย้อนถาม เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
คนไทยเกลียดนักการเมืองทุจริต คอร์รัปชั่น เกลียดซื้อเสียงเลือกตั้ง แต่ไม่แก้ปัญหาด้วยกระบวนการยุติธรรม ใช้วิธีรวบรัด "ฆ่าตัดตอน" ตั้ง "องค์กรเทวดา" ป.ป.ช. กกต. เข้ามาใช้อำนาจลัดขั้นตอน ถอดถอน ตัดสิทธิ แจกใบแดง โดยเชื่อว่าโลกนี้ยังมีเทวดา 5 องค์ 9 องค์ ผู้เป็นกลาง ผู้เที่ยงธรรม ทั้งที่องค์กรอิสระก็ล้วนเป็นมนุษย์ขี้เหม็นกินปี้ขี้นอน มีรัก โลภ โกรธ หลงกันทั้งนั้น
วันดีคืนดีเราก็ให้อำนาจกกต. 5 คนแจกใบแดงเพียงเพราะ "เชื่อได้ว่าทุจริต" กล่าวหาเอง ตัดสินเอง ไม่ผ่านการพิสูจน์ โต้แย้งในศาล ใช้ไปๆ จนสังคมเคยชินก็ตัดต่อพันธุกรรม รัฐธรรมนูญ 2550 ออกมาตรา 237 กรรมการบริหารโดนใบแดงคนเดียวยุบทั้งพรรค ตัดสิทธิกรรมการทุกคน ไม่ต่างจากกฎหมาย โบราณผิดคนเดียวประหาร 7 ชั่วโคตร ประชาชนเห็นความ อยุติธรรม จึงลุกฮือขึ้นในปี 2552, 2553 จนเลือดนองแผ่นดิน
ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ให้กกต.แจกใบแดง ดูเหมือนถูกนะครับ แต่กลับเอาอำนาจ "เชื่อได้ว่า" ไปให้ศาลวินิจฉัย ซึ่งคอยดูเถอะจะมีปัญหาลุกลามความเชื่อถือสถาบันตุลาการ เพราะศาลมีหน้าที่ตัดสินถูกผิด ไม่ได้มีอำนาจ "เชื่อได้ว่า"
ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่มี ม.239 แต่ก็ยังมีอำนาจ ยุบพรรคโดยศาลรัฐธรรมนูญ อำนาจถอดถอนโดยรัฐสภา ที่มีส.ว.สรรหา 123 คน เพิ่มจากเดิมเกือบ 2 เท่า แม้ฉบับ "รีเมก" ยอมทิ้งบางประเด็นที่ขัดตาสังคมเห็นๆ เช่น กลุ่มการเมือง โอเพ่นลิสต์ วุฒิสภาตรวจชื่อรัฐมนตรี แต่โครงสร้างอำนาจสรรหายังแน่นหนา และข้อสำคัญยัง แก้ไขยาก ผูกมัดอนาคตทั้งที่ตัวเองไม่มีความชอบธรรม "รัฐธรรมนูญข้าใครอย่าแตะ"
มองให้ลึกมองให้ทัน "ตัดสิทธิตลอดชีวิต" เป็นเหมือนประเด็น "ปั่นค่าตัว" ให้ทุกฝ่ายกลับมาสนใจร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเข้าสปช.ต้นเดือนกันยาฯ จากที่ก่อนนี้ถูกมองว่า "ตายซาก" ไปแล้ว เพราะคสช.แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวเตรียมยุบทั้ง สปช. กมธ. เพื่อตั้งสภาขับเคลื่อนปฏิรูป และกรรมการยกร่างใหม่
แต่เมื่อสถานการณ์พลิกผัน รัฐบาลเริ่มประสบมรสุม บริหารประเทศไม่ง่ายอีกต่อไป กมธ.ก็เสนอ "ทางลง" ให้ ว่าเอาร่างรัฐธรรมนูญนี้ไหมล่ะ
ซึ่งก็เป็น dilemma ให้ตัดสินใจ เพราะถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน "อัศวินขี่ม้าขาเป๋" ก็ต้องอยู่นาน อย่างน้อยบวกอีก 6 เดือน ซึ่งประเมินสถานการณ์รอบด้านแล้ว อยู่นานไม่สนุกหรอก
แต่ถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่าน บรรยากาศการเมืองปัจจุบันพร้อมทำประชามติไหม ประชามติต้องรณรงค์ได้ คัดค้านได้ แน่ใจนะว่าเอาอยู่ เพราะจะปลุกความขัดแย้งทั้งเก่าใหม่อย่างกว้างขวาง
ซ้ำถ้ารัฐธรรมนูญผ่านไปสู่เลือกตั้ง ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวมาแล้ว ความคับแค้น ความพยาบาท ที่ถูกเก็บกดไว้ในยุคคสช.ก็จะปะทุ เป็นระเบิดลูกใหม่เพื่อทวงถามความยุติธรรม
คลิกดูเพิ่ม-Visa översättning
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar