บิ๊กแดงจ้อสื่อนอก แฉสงคราม “เฟกนิวส์” ปลุกปั่นเยาวชน ลั่นกองทัพไม่ปฏิวัติ ‘บิ๊กตู่’ แน่
คลิกดู-บิ๊กแดงจ้อสื่อนอก แฉสงคราม "เฟกนิวส์" ปลุกปั่นเยาวชน ลั่นกองทัพไม่ปฏิวัติ 'บิ๊กตู่' แน่
.........................................
.........................................
บีบีซีไทย - BBC Thai
มาทำความรู้จักกับผู้ที่ทำให้ #หนักแผ่นดิน ขึ้นสู่แฮชแทกอันดับหนึ่งในทวิตเตอร์ในวันนี้..........................................
ให้ ธีรชัย นาควานิช พ้นจากองคมนตรี
ความจริง มีคนบอกผมตั้งแต่กลางเดือนก่อนว่า เขา "ไม่โปรด" ธีรชัย ตอนนั้น ผมพยายามเช็คข่าวลือที่ว่า อภิรัชต์โดน "สั่งซ่อม" ก็ได้รับการบอกมาว่า คนที่โดนซ่อมจริงๆคือ ธีรชัย ส่วนอภิรัชต์นั้น ไม่ใช่ "ซ่อม" คือ ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นการ "ให้ฝึกใหม่"
ตามที่แหล่งข่าวอธิบายมาคือ การสั่งให้ไปฝึกหนัก ที่เรียกรวมๆว่า "ซ่อม" ของเสี่ยนั้น ความจริงมี 2 อย่าง อย่างหนึ่งคือการลงโทษ ("ซ่อม" ในความหมายที่เข้าใจทั่วไป) กับอีกอย่างคือ เสี่ยเขาจะเอาพวกนายทหารระดับสูงบางคน มาฝึกใหม่ ร่วมกับระดับพลทหาร ประมาณว่า เพื่อให้ "ฟิต" อยู่เสมอ กรณีอภิรัชต์คือกรณีแบบหลังนี้ ในขณะที่ธีรชัยคือกรณีแบบแรก หรือ "ซ่อม" แบบโดนลงโทษ (ซึ่งถ้าเช่นนั้น กรณีอภิรัชต์ถูกให้ไปฝึกหนักใหม่ กลับเป็นการแสดงความไว้ใจ เป็นที่โปรดได้ด้วยซ้ำ)
กรณีธีรชัย แหล่งข่าวว่า เขาโกรธ ที่สั่งอะไรไป แล้วไม่ตอบ
..............
ในเอกสารใช้คำว่า ธีรชัยขอ "ลาออก" เอง ความจริงโดนให้ออกนั่นแหละ แต่ "ไว้หน้า" หน่อย ไม่มีใครลาออกจากองคมนตรีหรอก ยิ่งเป็นองคมนตรีของเขา ขืนลาออกเอง เดี๋ยวพลอยถูกยั้วะหาว่าไม่อยากทำงานให้เขาไปโน่น
Somsak Jeamteerasakul updated his status.
ความขัดแย้งภายในวัง (พ่อ-ลูก, พี่-น้อง, องคมนตรี-ลูก)
ความขัดแย้งระหว่างวังกับทหาร
ความขัดแย้งภายในทหารด้วยกันเอง
#ไม่เคยมีลักษณะรุนแรงถึงขนาดเป็นความขัดแย้งที่มีการจัดตั้ง คือแบ่งเป็นก๊กเป็นพวกที่ชัดเจน (organized faction) มาแต่ไหนแต่ไร อย่างมากที่สุด เป็นเพียงเรื่องของการเข้าหน้ากันไม่สนิท คาแรกเตอร์ไม่ค่อยลงรอยกันในระดับตัวบุคคล ซึ่งโดยภาพรวมก็น้อย ไม่ได้มีมากอะไร
โดยเฉพาะนับตั้งแต่หลังทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา (คือร่วม 30 ปีแล้ว) การที่ก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 2520 มีร่องรอยหรือการแสดงออกของความขัดแย้งใน 3 ลักษณะนั้นมาก (ในวัง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ภายในครอบครัวมีความ "ระหองระแหง" มากที่สุด หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีอะไรแล้ว ในกองทัพ มีการพยายามทำรัฐประหารหลายครั้ง) ที่สำคัญส่วนหนึ่ง เป็นผลสะเทือนมาจากการลุกขึ้นสู้ 14 ตุลา กล่าวคือการลุกขึ้นสู้ของประชาชนครั้งนั้น ได้ทำให้ "เกิดรอยร้าว" ในองคาพยพส่วนสำคัญๆของรัฐ เช่นการเกิด "ยังเติร์ก" หรือนายทหารชั้นผู้น้อย ที่ไม่ยอมขึ้นต่อการบัญชาการระดับบน แต่นั่นเป็นเพียงประวัติศาตร์ช่วงสั้นที่ผ่านมานานแล้ว
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar