söndag 11 augusti 2019

ประชาไท Prachatai.com

พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์สื่อนอก ยืนยันกองทัพในยุคตน 'ไม่มีรัฐประหาร-ไม่ล้ำเส้นการเมือง'

'ปิยบุตร' ชี้ 'อภิรัชต์' ระบุพรรคตั้งใหม่ใช้ 'ข่าวปลอม' ทำให้วัยรุ่นไทยต่อต้านกองทัพและสถาบัน สะท้อน ผบ.ทบ.ยังชี้นำการเมือง ขอเชื่อใจคนหนุ่มสาวมีวิจารณญาณคิดเองได้ ด้าน 'พงศกร' ระบุคนรุ่นใหม่มีภูมิต้านทานสื่อ ไม่ได้เปิดแต่วิทยุยานเกราะเหมือนเมื่อก่อนแล้ว

.........................................................

พรรค อนาคตใหม่ - The Future We Want พรรคอนาคตใหม่ เสนอตัวออกมาในลักษณะเป็น "ทางเลือกใหม่" หรือ "ทางเลือกที่สาม" ในปริบทของความขัดแย้งสองขั้วการเมืองในทศวรรษที่ผ่านมา
เท่าที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ พรรคอนาคตใหม่ ในแง่เนื้อหาทิศทางการเมือง เป็นเพียง "a more militant version of เพื่อไทย" หรือ เวอร์ชั่นที่ "สู้รบ" (militant) หรือ "ดุ" กว่าของเพื่อไทย
เสียงตอบรับ (รวมทั้งในการประชุมตั้งพรรค ซึ่งไม่ค่อยมี "คนรุ่นใหม่" มาร่วม มีแต่คนที่มีอายุพอสมควรแล้วมากกว่า) ส่วนใหญ่จึงเป็นเสียงเดิมที่เคยเชียร์เพื่อไทย ทั้งที่ยังเชียร์เพื่อไทยอยู่ เพิ่มมาเชียร์ อคม. เพราะเห็นว่า ได้แนวร่วมมาช่วยเพื่อไทยมากขึ้น หรือที่เคยเชียร์เพื่อไทย (หรือไม่ถึงกับเชียร์ แต่เคยลงคะแนนให้เพื่อไทยปี 2554) แต่ผิดหวัง เห็นว่าเพื่อไทย "อ่อน" ไป เลยหันมาเชียร์ อคม. ที่เป็นเวอร์ชั่น "ดุ" กว่า
..............
ผมเขียนข้อความข้างต้นแล้ว ไม่กี่วันก่อน จึงมาเห็นคำสัมภาษณ์ของ อ.ธิดา ซึ่งผมคิดว่า ยืนยันการประเมินข้างต้น ที่ว่า อคม.เป็น "เว่อร์ชั่นสู้รบหรือดุกว่า ของเพื่อไทย" อ.ธิดา เรียก อคม.ว่า "หน่วยหน้ากล้าตายปลายหอก" (อ.ธิดาพูดในแง่เป็น "หน่วยหน้าฯ" ของการสู้ "เสนาธิปไตย")
แต่ที่ผมชอบว่า เขียนได้ตรงยิ่งกว่า เป็นสเตตัสของเฟรนด์ในเฟซบุ๊คคนหนึ่ง เขียนไว้ดังนี้
"สิ่งที่อนาคตใหม่ทำ....ดีต่อเพื่อไทย ที่ไม่ต้องสู้ในเกมยาก เพราะอนาคตใหม่ออกหน้าแทน รับแรงกระแทก/ความเสี่ยงต่าง ๆ ไปแทน"
ตรงที่ผม "ละไว้" ด้วย ... ความจริง เฟรนด์ท่านนี้(ซึ่งคงเชียร์เพื่อไทย) เขียนว่า "ดีต่อคนไทยส่วนใหญ่ที่ถูกครอบงำ/เอาปรียบ/กดขี่"
เรื่อง "ดีต่อเพื่อไทย" ผมเห็นว่าใช่ ในแง่ อคม. "ออกหน้าแทน รับแรงกระแทก" ให้เพื่อไทย แต่ที่ว่า "ดีต่อคนไทยส่วนใหญ่...." ดังกล่าว ผมว่าเป็นปัญหา
เพราะในทีสุดแล้ว ถ้า อคม. ยังเป็นเพียง "เว่อร์ชั่นดุกว่า" ของเพื่อไทย โอกาสหรือความเป็นไปได้ที่ อคม.จะเป็น "ทางเลือกใหม่" ที่แท้จริง ที่นำไปสู่การสร้าง "ฉันทามติใหม่" ที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ที่ไม่เพียงแก้ปัญหาอำนาจ "นอกระบบ" แต่แก้ปัญหาการตรวจสอบถ่วงดุลย์อย่างเป็นประชาธิปไตยต่ออำนาจเลือกตั้ง (ที่เพื่อไทยเป็นตัวแทนในช่วงทีผ่านมา) - ไม่ให้เกิดการ abuse of majority rule (การใช้เสียงข้างมากในสภาอย่างผิดๆ) เช่นกรณีเหมาเข่งของเพื่อไทย (ไม่ต้องพูดถึงสมัยที่เรียกว่า "ระบอบทักษิณ") - ได้อย่างไร -- โอกาสหรือความเป็นไปได้ดังกล่าว ก็เป็นเรื่องยาก
...................

ปล. (1): พูดแบบ "ส่วนตัว" เล็กน้อย ผมออกจะเสียดายว่า ถ้า "ปัญญาชนฝ่ายซ้าย" (คนก่อตั้ง อคม.มองตัวเองเช่นนี้) อุตส่าห์ลงแรงทำพรรคการเมือง จะออกมาในลักษณะเพียง "เว่อร์ชั่นดุ" ของสิ่งทีมีอยู่แล้ว (ทีมีปัญหา) ทำไม

ปล. (2): อันที่จริง เดิมผมคิดจะเขียนยาวกว่านี้ โดยเฉพาะมีส่วนที่ควรต้องอธิบายว่า ผมเห็นว่า ถ้า "อคม." หรือ พรรคการเมืองไหนก็ตามจะเป็น "ทางเลือกใหม่" จริงๆ มีมาตรวัด 2 ข้อ คือ ข้อหนึ่ง เรื่องเกี่ยวกับสถานะของสถาบันกษัตริย์ ที่มีรูปธรรมเฉพาะหน้าที่กรณีกฎหมาย 112 (อันทีจริง ข้อนี้ เป็นจุดชี้ขาดว่า การเมืองในสภา จะเป็นการเมืองใหม่ หรือพรรคการเมืองแบบใหม่จริงหรือไม่โดยแท้จริง #ในปริบททางประวัติศาสตร์ของไทยไม่มีเรื่องอื่นนอกจากเรื่องนี้แล้วจริงๆ) และข้อสอง เกี่ยวกับการสร้างระบบการตรวจสอบถ่วงดุลย์แบบประชาธิปไตย (เพื่อปิดทางไม่ให้เป็นช่องว่างสำหรับวิกฤติและการยึดอำนาจนอกระบบ และเพื่อให้มีระบบประชาธิปไตยแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่รอสี่ปีค่อยไปเลือกใหม่ โดยอ้างว่านั่นคือการ "ตรวจสอบ" ซึ่งไม่ใช่) ซึ่งสะท้อนออกอย่างแหลมคมในกรณี "เหมาเข่ง" ของเพื่อไทย (ซึ่งผิดรัฐธรรมนูญ - ตามการวิเคราะห์ของ "นิติราษฎร์" ซึงสมาชิกก่อตั้ง อคม.ท่านหนึ่ง เคยเป็นส่วนหนึง) ซึ่งเพื่อไทยและผู้สนับสนุนส่วนใหญ่ ไม่มีวี่แววพร้อมจะเผชิญกับปัญหานี้
แต่กระทู้นี้ยาวมากแล้ว ต้องไว้โอกาสอื่น

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar