กระทรวงสาธารณสุขเตรียมเสนอที่ประชุม ศบค. พรุ่งนี้ (16 เม.ย.) ให้จัดให้มีพื้นที่ควบคุมสูงสุด สีแดง 18 จังหวัด พื้นที่ควบคุม สีส้ม 59 จังหวัด โดยจะมีมาตรการจำกัดเวลาให้บริการร้านอาหารเพิ่มเติม ส่วนผับบาร์ที่ปิดอยู่แล้ว ให้รอรายละเอียดจากกรมควบคุมโรค
โควิด-19: ศบค. พิจารณา 16 เม.ย. 18 จังหวัด เป็นพื้นที่สีแดง หลังผู้ติดเชื้อใหม่เกินพันเป็นวันที่สอง
กระทรวงสาธารณสุขเตรียมเสนอที่ประชุม ศบค. พรุ่งนี้ (16 เม.ย.) ให้จัดให้มีพื้นที่ควบคุมสูงสุด สีแดง 18 จังหวัด พื้นที่ควบคุม สีส้ม 59 จังหวัด โดยจะมีมาตรการจำกัดเวลาให้บริการร้านอาหารเพิ่มเติม ส่วนผับบาร์ปิดอยู่แล้ว ให้รอรายละเอียดจากกรมควบคุมโรค
18 จังหวัดดังกล่าว ได้แก่ กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ชลบุรี, สมุทรปราการ, ประจวบคีรีขันธ์, สมุทรสาคร, ปทุมธานี, นครปฐม, ภูเก็ต, โคราช, นนทบุรี, สงขลา, ตาก, อุดรธานี, สุพรรณบุรี, สระแก้ว, ระยอง และขอนแก่น
มาตรการการกำหนดพื้นที่แบ่งเป็น
1. พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) คือพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากและมีมากกว่า 1 พื้นที่ย่อย ศบค. ให้งดจัดกิจกรรมฉลองทุกชนิด เว้นแต่กิจกรรมออนไลน์
2. พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) คือพื้นที่ติดกับพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อเกินกว่า 10 รายและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ศบค. ให้งดจัดกิจกรรมสาธารณะ แต่ผ่อนผันให้จัดกิจกรรมที่จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม หรือกิจกรรมที่มีเฉพาะผู้รู้จักคุ้นเคย หรือกิจกรรมแบบออนไลน์
3. พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด (สีเหลือง) คือพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 10 ราย และมีแนวโน้มควบคุมสถานการณ์ได้ ศบค. ให้จัดกิจกรรมได้ แต่ให้ลดขนาดของงาน ลดความหนาแน่นของผู้เข้าร่วม
ก่อนหน้านี้ ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข รายงานตัวเลขการติดเชื้อวันนี้ (15 เม.ย.) พบผู้ป่วยรายใหม่อยู่ที่หลักพันเป็นวันที่สอง จำนวน 1,543 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 1,540 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม
นพ. เฉวตสรร นามวาท รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โควิด-19 ในไทยในรอบ 24 ชั่วโมง ว่าพบผู้ป่วยรายใหม่อยู่ที่หลักพันเป็นวันที่สอง และเป็นจำนวนสูงสุดตั้งแต่มีการระบาด จำนวน 1,543 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 1,540 ราย ซึ่งมาจากตัวเลขในระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,161 ราย และการคัดกรองเชิงรุก 379 ราย เป็นการติดเชื้อจากต่างประเทศ 3 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ยอดผู้เสียชีวิตสะสมคงที่ 97 ราย
สถานการณ์ประเทศไทยปัจจุบัน พบโรคโควิด-19 กระจายแล้วใน 62 จังหวัด มีเพียง 2 จังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเชื้อ คือ ระนอง และสตูล โดยการแพร่กระจายของโรค มีความเชื่อมโยงกับสถานที่รวมกลุ่มคนจำนวนมากทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ จากสถานบันเทิง กิจกรรมออกค่ายจิตอาสา และการจัดสัมมนาหรือจัดเลี้ยง
โดยมีการเปิดเผยจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในการระบาด 3 ระลอกที่ผ่านมา ดังนี้
- ระลอกแรก ม.ค.-14 ธ.ค. 2563 ผู้ติดเชื้อ 4,237 ราย รักษาหาย 98.58% เสียชีวิต 60 ราย คิดเป็น 1.42% ของผู้ติดเชื้อ
- ระลอกสอง 15 ธ.ค. 2563-31 มี.ค. 2564 ผู้ติดเชื้อ 24,626 ราย รักษาหาย 99.86% เสียชีวิต 34 ราย คิดเป็น 0.14%
- ระลอกสาม 1-14 เม.ย. 2564 ผู้ติดเชื้อ 7,074 ราย เสียชีวิต 3 ราย คิดเป็น 0.03%
นพ. เฉวตสรร ชี้แจงประเด็นข้อสงสัยว่าจะมีการประกาศใช้มาตรการ "ล็อกดาวน์" หรือ "ล็อกดาวน์เฉพาะจุด" หรือไม่ว่า "เมื่อเราเห็นจำนวนการติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น ก็มีการเสนอมาตรการจากผู้เชี่ยวชาญ... ในส่วนนี้ต้องเรียนว่า ต้องมีการแบ่งลักษณะของพื้นที่ที่มีสถานการณ์หนักเบาที่แตกต่างกัน มาตรการก็จะต้องมีความเหมาะสมในลักษณะของแต่ละพื้นที่... เพื่อที่จะนำมติไปเสนอต่อการประชุม ศบค. ในวันพรุ่งนี้ เพราะฉะนั้น ขอให้พี่น้องประชาชนติดตามในรายละเอียดกันอย่างใกล้ชิดต่อไป"
นอกจากนี้ นพ. ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ชี้แจงกรณีเตียงรองรับคนไข้พอหรือไม่ว่า แนะประชาชนใช้ฮอสปิเทลเป็น "ระบบทางเลือก" ของสถานพยาบาลชั่วคราว โดยทุกฮอสปิเทลต้องมีแพทย์ประจำ 1 คน และพยาบาล 1 คนต่อผู้ป่วย 20 เตียง ณ ขณะนี้ มีฮอสปิเทลขึ้นทะเบียนในระบบจำนวน 4,900 เตียง ในกรุงเทพฯ และมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจำนวน 2,000 กว่ารายแล้ว ส่วนในอนาคตจะเตรียมเตียงเพิ่มเป็น 5,000-7,000 เตียง เพื่อรองรับผู้ป่วยใหม่คาดการณ์ที่จำนวน 400-500 รายต่อวัน
นพ. ธเรศ กล่าวว่า กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ออกประกาศคุ้มครองประชาชนซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. กำหนดให้คลินิกและโรงพยาบาลทุกแห่งที่มีบริการตรวจแล็บ ต้องมีระบบการให้คำปรึกษาผู้ป่วย ต้องได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเมื่อผลเป็นบวกต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่อและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และต้องประสานจัดหาเตียง-ส่งต่อผู้ป่วยด้วย
เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นโรคระบาดฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ โรงพยาบาลเอกชนหรือคลินิกจึงต้องให้การรักษา จัดระบบส่งต่อ และประสานหาเตียง ไม่ให้ผู้ป่วยเป็นผู้หาเตียงเอง หากสถานพยาบาลไม่ดำเนินการตาม ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. นพ. ธเรศ กล่าวย้ำ
ในส่วนของการแจ้งอาการป่วยหลังทราบว่าติดเชื้อ เจ้าของบ้าน, ผู้รับผิดชอบในโรงพยาบาล, แพทย์ผู้ทำการรักษา, ผู้ทำการชันสูตร, หรือผู้ประกอบกิจการ ต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน 3 ชม. หากไม่ปฏิบัติตาม ถือว่ามีความผิด มีบทลงโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
มติ ศบค. 16 เม.ย.
หลังการประชุม ศบค. ชุดใหญ่ เมื่อ 16 เม.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม แถลง ยืนยันว่าไม่มีการประกาศเคอร์ฟิวและจะไม่มีการล็อกดาวน์
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. กล่าวว่า ที่ประชุม ศบค. มีมติให้ปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อย ให้มีมาตรการสอดคล้องที่จะลดการเคลื่อนย้าย และลดปัจจัยเสี่ยงของบางกิจการ กิจกรรม ซึ่งจะเริ่มเที่ยงคืนของ 17 เม.ย.
โฆษก ศบค. ชี้ว่า จากข้อมูลมีการพบผู้ติดเชื้อจากกลุ่มงานกิจการ กิจกรรมต่าง ๆ จึงเป็นที่มาของข้อกำหนด ดังนี้
- ห้ามดำเนินกิจกรรมที่เสี่ยงแพร่โรค ได้แก่ งดจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม การสอบ และ ห้ามกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนมากกว่า 50 คน ยกเว้นพื้นที่กักกันโรค
- ปิดสถานที่เสี่ยงแพร่โรค : ให้อำนาจผู้ว่าฯเห็นชอบสั่งปิดชั่วคราว อย่างน้อย 14 วัน ต่อ กิจการผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานบันเทิง
- กำหนดพื้นที่สถานการณ์ แบ่งเป็น
- มาตรการตามพื้นที่
- งดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น
- งดกิจกรรมงานเลี้ยงสังสรรค์
- สนับสนุนการ Work form home โดยภาครัฐจะดำเนินการเต็มรูปแบบ ขณะที่ภาคเอกชนขอความร่วมมือ สลับวันทำงาน หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม
- มาตรการรองรับผู้ติดเชื้อ จัดหาสถานที่รองรับ ดูแล แยกกัก ผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่มีเหตุอันสงสัยว่าติดเชื้อ
- ทดลองใช้มาตรการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนจะพิจารณาแล้วประเมินสถานการณ์ เพื่อพิจารณาเปลี่ยนแปลงมาตรการต่อไป
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ในระหว่างดำเนินมาตรการนี้ ยังให้อำนาจผู้ว่าฯทุกจังหวัด สามารถสั่งปิด จำกัด หรือห้ามการดำเนินการของพื้นที่ได้ตามความเหมาะสม
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar