29 juli 2017
แต่ความจริง แย่ยิ่งกว่านั้นอีก
สังคม-รัฐ ทุ่มเงินมหาศาลจัดงานวันเกิดให้ แต่เจ้าของวันเกิด "ไม่ give a damn" ไม่แคร์ ไม่ให้เกียรติกับประชาชน แม้แต่เพียงด้วยการจะอยู่ในประเทศ (ซึ่งความจริง ควรต้องอยู่เป็นหลักอยู่แล้ว ไม่งั้น เป็นประมุขทำไม) และเหตุที่ไม่อยู่นี่ ก็ใช่ว่า เพราะมีความจำเป็น มีภารกิจของประเทศชาติอะไร เปล่า ใครๆก็รู้ว่า ไปสำราญบานใจ ผลาญเงินราษฎรในต่างประเทศ
เอาแต่ได้ฝ่ายเดียวจริงๆ รวบอำนาจ ยึดเอาสมบัติที่พูดมาหลายปีว่าเป็นของแผ่นดิน เป็นของส่วนตัว ใช้งบประมาณของรัฐตามใจชอบ ไม่ยอมให้ใครยุ่งเกี่ยว
น่าสมเพช น่าสลดกับประเทศไทย ประชาชนไทย
...............
ปล. นึกถึงที่เมื่อเช้า บทความคุณพี่ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ของผม พยายามเขียนแสดงความภาคภูมิใจได้มีส่วนร่วมฉลอง "วันพระราชสมภพรัชกาลที่ 10 ครั้งแรก" ... เหอๆ ที่เขาทำนี่ เหมือนตบหน้า-ถ่มน้ำลายใส่พวกคุณพี่อเนกและประชาชนขนาดไหน
เป็นเรื่องปกติธรรมดาของการเดินทางต่อสู้เรียกร้องเพื่อระบอบประชาธิปไตย ที่ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร
ทุกยุคสมัยจากอดีตจนถึงปัจุบันมักมีพวกฉวยโอกาส"ไร้อุดมการณ์" ร่วมแจมด้วยเสมอมาไม่เคยเปลี่ยนแปลง.. ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะสำเร็จได้ ทุกคนต้องมีจิตใจแน่วแน่มั่นคงยึดมั่นในการปกครองของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเท่านั้น )
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ "ได้มีบัญชา" ให้อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ และ ม.มหิดล ชี้แจงว่าจะสอบจรรยาบรรณอาจารย์ที่ยื่นขอประกันนักศึกษาที่ถูกกล่าวหาในดคี 112 ได้หรือไม่
เอนก เหล่าธรรมทัศน์: ปฏิกิริยาต่อ "คำบัญชา" เรื่องการสอบสวนอาจารย์ยื่นประกันจำเลย ม.112
นักวิชาการผู้เป็นนายประกันให้ลูกศิษย์ที่ตกเป็นจำเลยคดี 112 ระบุ "ไม่ให้ราคา" กับคำสั่งของ ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ "ได้มีบัญชา" ให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจงว่าจะสอบจรรยาบรรณคณาจารย์ทั้ง 8 คนหรือไม่
มีรายงานว่านักวิชาการ 8 คนนี้ เป็นนักวิชาการ ม.ธรรมศาสตร์ 7 คน และ ม.มหิดล 1 คน
ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิชาการ 8 คนที่ถูกอาจถูกตั้งกรรมการสอบสวนกล่าวกับบีบีซีไทยว่าเธอมั่นใจว่าสิ่งที่เธอทำ คือการเป็นนายประกันให้นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาหรือ "ไผ่ ดาวดิน" ลูกศิษย์ในหลักสูตรปริญญาโท เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะอาจารย์มีหน้าที่ต้องปกป้องสิทธิด้านการศึกษาของลูกศิษย์ รวมทั้งยืนยันในสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวในคดีอาญา ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
ขณะที่ น.ส.ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นนายประกันให้พริษฐ์ ชิวารักษ์หรือ "เพนกวิน" ลูกศิษย์ที่ลงเรียนวิชาทฤษฎีว่าด้วยการเมืองและสังคมและวิชาสัมมนาความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรงทางการเมืองที่เธอสอน บอกว่าไม่มีปัญหาอะไรที่จะถูกสอบสวนและถือเป็นโอกาสดีที่จะได้อธิบายให้ผู้บริหารหรือแม้แต่ รมว.การอุดมศึกษาฯ เข้าใจถึงอุดมการณ์ของความเป็นครูและสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ซึ่งเป็นเหตุผลพื้นฐานที่ทำให้เธอตัดสินใจเป็นนายประกันให้ลูกศิษย์
เปิดคำบัญชา รมว.อว.
หนังสือฉบับนี้ลงนามโดยนายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.อว. เมื่อ 29 เม.ย. ก่อนส่งตรงถึงสถาบันอุดมศึกษา 2 แห่ง
นายดวงฤทธิ์กล่าวกับบีบีซีไทยว่า เอกสารที่เผยแพร่ในสื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์เป็น "ของจริง" โดยถือเป็นการปฏิบัติตามระเบียบราชการปกติ หลังมีผู้มายื่นเรื่องร้องเรียนกับทางกระทรวง จึงมีหน้าที่ต้องทำหนังสือสอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าเรื่องนี้มีต้นสายปลายเหตุความเป็นมาอย่างไร และมีระเบียบราชการกำหนดไว้ชัดเจนว่าอธิการบดีของทั้ง 2 มหาวิทยาลัยต้องมีหนังสือชี้แจงตอบกลับมาภายในกี่วัน
ก่อนหน้านี้เมื่อ 16 มี.ค. ประชาชนผู้เป็นสมาชิกของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน" หรือ ศปปส. ราว 50 คน ได้เดินทางไปกระทรวง อว. ถนนพระรามหก เพื่อยื่นหนังสือถึง รมว.อว. ขอให้พิจารณาสอบจรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปกป้อง-ยื่นขอประกันตัวกลุ่มนักศึกษาที่มีพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ จำนวน 8 คน โดยมีเลขานุการรัฐมนตรี และนายจักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรี เป็นตัวแทนรับเรื่อง
แกนนำ ศปปส. ให้เหตุผลว่านักวิชาการทั้ง 8 คน "ไม่อยู่ในครรลองคลองธรรม และจรรยาบรรณของครูอาจารย์" หลังแสดงตัวปกป้องนักศึกษา 3 คนที่มีพฤติกรรมจาบจ้วง ก้าวล่วง หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และตกเป็นจำเลยคดี 112 และ 116 ตามประมวลกฎหมายอาญา
อ้างต้องส่งหนังสือถึงมหาวิทยาลัย ไม่เช่นนั้น ศปปส. "ไม่ยอมหยุด"
นายดวงฤทธิ์กล่าวว่า หัวหนังสือที่ อว. ส่งถึงอธิการบดี มธ และ ม.มหิดล ก็ "เป็นคำของ ศปปส. เขา" ไม่ใช่การไปตัดสินกลุ่มนักศึกษา แต่เมื่อมีผู้ร้องเรียนมาด้วยข้อหาเหล่านี้ ทาง อว. จึงต้องสอบถามทางมหาวิทยาลัยว่าความจริงเป็นอย่างไร และมาเทียบเคียงว่าสิ่งที่อาจารย์ทำถูกหรือไม่ ถ้าถูก สังคมก็จะจะได้รับรู้รับรับทราบว่าทำถูก ถ้าผิด ก็ต้องมีมาตรการลงโทษ
"ผมจะได้ตอบทางผู้ร้องเรียนเขาได้ เพราะคนเราถ้ามาร้องเรียนแล้วไม่มีใครสนใจ เขาก็ไม่ยอมหยุด ก็ต้องไปต่อ ต้องไปหาที่พึ่ง" เลขานุการ รมว.อว. กล่าว
นอกจากสถานะรัฐมนตรี ศ.พิเศษ เอนกยังเป็นอดีตรองอธิการบดี และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มธ. จึงน่าสงสัยว่าจะมีผลกดดันการให้ความเห็นของ มธ. หรือไม่
เกี่ยวกับเรื่องนี้ เลขานุการ รมว.อว. ปฏิเสธว่า "ไม่มี ไม่ได้กดดัน" เพราะรัฐมนตรีได้พูดคุยและประชุมกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อยู่เกือบตลอด เนื่องจาก อว. ยุคปัจจุบันเน้นการทำงานเป็นทีม นอกจากประเด็นเดราม่าที่ปรากฏทางสื่อสังคมออนไลน์ ก็ยังมีงานที่ อว. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลือประชาชน เช่น การจัดตั้ง รพ.สนาม รองรับผู้ป่วยโควิด-19
บีบีซีไทยได้โทรศัพท์ติดต่อ ศ.พิเศษ เอนก เพื่อสอบถามความเห็นต่อการออกหนังสือถึง 2 มหาวิทยาลัยดัง แต่ไม่สามารถติดต่อได้ โดยเลขานุการ รมว.อว. ชี้แจงแทนว่า รมว.อว. ร่วมประชุมกับอธิการบดีสถาบันต่าง ๆ เพื่ออัพเดทสถานการณ์โควิด-19 อย่างไรก็ตามเขาได้รายงานให้รัฐมนตรีรับทราบข้อมูลและเสียงสะท้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว และคิดว่า ศ.พิเศษ เอนกมีจุดยืนในการทำงาน เรื่องนี้เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนปกติเท่านั้น พร้อมฝากสังคมให้พิจารณาความเห็นให้ครบทุกฝั่ง เพราะถ้าไปดูฝั่งหนึ่งก็จะเห็นแต่มุมลบในทวิตเตอร์หรือเพจเฟซบุ๊ก แต่สำหรับกลุ่มที่มาร้องเรียน ก็มีความเห็นในมุมบวก
พร้อมทำแบบเดียวกันกรณี อานนท์ นิด้า
ส่วนที่นักวิชาการบางส่วนที่เป็นอดีต "ลูกศิษย์" ของ ศ.พิเศษ เอนก ออกมาตั้งคำถามเรื่องจิตวิญญาณและมโนสำนึกในฐานะคนเป็นครูที่ต้องการเอานักศึกษาออกจากเรือนจำ นายดวงฤทธิ์ปฏิเสธจะให้คำตอบแทนรัฐมนตรีได้ แต่พูดในเชิงหลักการว่าตั้งแต่แรกที่ตัดสินใจรับราชการหรือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ สิ่งหนึ่งที่เราต้องมีคือเลื่อมใส่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ ทุกคนที่จะเข้ารับราชการต้องยึดถือสิ่งนี้
ในอนาคตหากประชาชนอีกกลุ่มยื่นหนังสือขอให้ อว. พิจารณาสอบจรรยาบรรณของ ผศ.ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กรณีออกมาสนับสนุนการรัฐประหารและใช้ความรุนแรงกับประชาชน ทาง อว. ก็จะส่งหนังสือถึงนิด้าให้สอบสวนเรื่องนี้ใช่หรือไม่
เลขานุการ รมว.อว. ตอบว่า เป็นขั้นตอนเดียวกัน ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบราชการ ต้องถามนิด้าว่าเรื่องราวมาเป็นมาอย่างไร
"ไม่ได้ให้ราคา"
ดร.พัทธ์ธีรา อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล ซึ่งนายจตุภัทร์กำลังศึกษาในระดับปริญญาโทกล่าวว่า เธอยังไม่ได้รับการติดต่อจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยในเรื่องนี้ และ "ไม่ได้ให้ราคา" กับคำบัญชาของรัฐมนตรี เพราะเชื่อมั่นว่าเธอทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ดร.พัทธ์ธีราวิจารณ์ว่าแทนที่ ศ.พิเศษ ดร.เอนกจะสั่งให้มหาวิทยาลัยสอบสวนอาจารย์ที่เป็นนายประกันให้นักศึกษา เขาควรจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน
"อ.เอนกเป็นครูบาอาจารย์มาก่อน แล้วก็เคยใช้สิทธิเสรีภาพทางวิชาการเพื่อทำอะไรมากมาย ได้ประโยชน์จากเสรีภาพนี้จนได้เป็นศาสตราจารย์ ได้มานั่งเป็นรัฐมนตรี ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำคือออกมายืนยันปกป้องสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ ออกมาส่งเสริมว่าครูอาจารย์ต้องมีอุดมการณ์ ต้องปกป้องลูกศิษย์" ดร.พัทธ์ธีรากล่าว
อาจารย์ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาที่เป็นครูมานานกว่า 20 ปี รับเป็นนายประกันให้นายจตุภัทร์ หลายครั้ง รวมทั้งครั้งล่าสุด แม้ไม่ได้ใช้ตำแหน่งอาจารย์ช่วยยื่นประกันตัว แต่เธอก็ได้ขึ้นให้การเป็นพยานต่อศาล และสุดท้ายนายจตุภัทร์ก็ได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 23 เม.ย.
"สิทธิทางการศึกษาซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กทุกคน และประเทศชาติจะเดินหน้าได้ต้องอาศัยเด็กที่มีการศึกษาเหล่านี้ โดยเฉพาะการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพซึ่งเมืองไทยเราขาดแคลนมาก "
"โดยส่วนตัวคิดว่าไผ่มีความมุ่งมั่นที่จะศึกษาและทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน เขาเคลื่อนไหวมาตั้งแต่อยู่ชั้น ม.5 ซึ่งประเทศชาติต้องการคนแบบนี้" ดร.พัทธ์ธีรากล่าวพร้อมกับแสดงความเป็นห่วงอนาคตทางการศึกษาของนายจตุภัทร์ เนื่องจากสองภาคการศึกษาที่ผ่านมา การถูกจับกุมดำเนินคดีทำให้เขาแทบไม่ได้เข้าเรียน และต้องสอบซ่อมในหลายวิชา ขณะที่ปีการศึกษาหน้าเขาจะต้องเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์แล้ว
อาจารย์วัย 48 ปีบอกว่าเหตุผลหนึ่งที่ไม่หวั่นไหวกับการร้องเรียนให้มีการสอบสวนเป็นเพราะได้รับความสนับสนุนทั้งจากผู้บริหารและเพื่อนอาจารย์ที่สถาบันสิทธิมนุษยชนฯ
"พอได้ข่าวว่ารัฐมนตรีขอคำชี้แจงในเรื่องนี้ ผู้บริหารและอาจารย์ในสถาบันฯ ต่างก็ส่งข้อความมาให้กำลังใจ สนับสนุนในสิ่งที่เราทำ และเห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรต้องทำอย่างยิ่ง"
"หน้าที่เราไม่ใช่แค่สอนหนังสือ รับเงินเดือน กลับบ้าน"
อาจารย์ชญานิษฐ์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มธ. บอกกับบีบีซีไทยว่าขณะนี้มีนักศึกษารัฐศาสตร์ที่ถูกหมายเรียกและถูกดำเนินคดีทางการเมืองทั้งหมด 5 คน เพนกวินเป็นเพียงคนเดียวที่ถูกจองจำอยู่ในขณะนี้ โดยเธอรับเป็นนายประกันให้เพนกวินซึ่งเป็นลูกศิษย์ของเธอใน 2 วิชาที่เขาลงเรียนในเทอมนี้ แต่ไม่มีโอกาสได้เข้าเรียน
อาจารย์ชญานิษฐ์ยังไม่ได้รับการติดต่อหรือเอกสารใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้จากผู้บริหารมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน
"ถ้าสอบสวนก็ไม่เป็นไร มันอาจจะเป็นโอกาสให้เราได้อธิบายถึงเหตุผลที่เราทำ" เธอบอกกับบีบีซีไทย
อาจารย์ชญานิษฐ์อธิบายถึง "เหตุผล" นั้นว่า
"เราเป็นอาจารย์สอนหนังสือ เป็นครู หน้าที่ของครูหรือของเพื่อนมนุษย์คนหนึ่งต้องทำไปควบคู่กัน ไม่ใช่แค่สอนหนังสือเสร็จแล้วรับเงินเดือนแล้วกลับบ้าน แล้วสิ่งที่เราทำในฐานะครูและพลเมืองคนหนึ่งคือเราเรียกร้องสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่จะได้รับการประกันตัวในคดีที่ศาลยังไม่ตัดสินว่ามีความผิด มันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับการประกันตัวออกมาเพื่อเตรียมข้อมูลต่าง ๆ ในการต่อสู้คดี เราไม่ได้เรียกร้องอะไรเป็นสิทธิพิเศษสำหรับเพนกวินหรือลูกศิษย์ของเราคนอื่น ๆ"
เธอแปลกใจว่า "การเรียกร้องให้กระบวนการยุติธรรมไทยกระทำตามหลักการของกฎหมายที่พึงกระทำมันกลายเป็นปัญหาไปได้อย่างไร"
การเป็นอาจารย์ผู้สอนเพนกวินทำให้เธอมีโอกาสได้ทำในสิ่งที่ควรจะทำ นั่นก็คือใช้ตำแหน่งอาจารย์เป็นนายประกันให้ลูกศิษย์
"บ่อยครั้งที่เราต้องถูกผลักเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เราต้องตัดสินใจเลือกว่าจะทำสิ่งที่ถูกต้องแต่อาจได้รับผลกระทบ หรือเลือกอยู่เฉย ๆ แต่ปลอดภัย ต้องขอบคุณเพนกวินที่ทำให้ดิฉันได้พิสูจน์หลักจริยธรรมของตัวเอง ไม่ต่างจาก อ.เอนกที่กรณีนี้ก็ผลักให้ท่านต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรเช่นกัน ซึ่งท่านก็ได้เลือกแล้วว่าจะทำแบบนี้"
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar