torsdag 29 juli 2021

สธ. ยอมรับตัวเลขติดโควิด-19 จริง สูงกว่าที่รายงาน

ยอดติดเชื้อโควิด-19 รายวันใกล้ถึง 2 หมื่นราย
.
นับตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค. ซึ่งเป็นวันแรกที่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในไทยเกิน 1 หมื่นราย จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในไทยก็ไม่เคยถอยกลับไปที่หลักพันอีกเลย ผู้ติดเชื้อในแต่ละวันยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในวันนี้ (29 ก.ค.) ยอดผู้ติดเชื้อยังทำสถิติ "นิวไฮ" อีกครั้งที่ 17,669 ราย เช่นเดียวกับยอดผู้เสียชีวิตที่ทำสถิติสูงสุดที่ 165 ราย
.
ต้นสัปดาห์นี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) บอกว่าแนวโน้มการติดเชื้อในกรุงเทพฯ และปริมณฑลดูเหมือนจะทรงตัว แต่ช่วง 2 วันที่ผ่านมาปรากฏว่าจำนวนผู้ติดเชื้อกลับเพิ่มสูงขึ้น ล่าสุดวันนี้ กทม. รายงานว่ามีผู้ติดเชื้อ 3,396 ราย ขณะที่ต่างจังหวัดก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Kan vara en bild av en eller flera personer och text där det står ”Getty Images ยอดติดเชื้อโควิด-19 ทะลุหมื่นต่อเนื่อง 13 วันแล้ว (ข้อมูล 17- 29 ก.ค. 2564) 20,000 15,000 10,082 10,000 17,669 5,000 0 17 ก.ค. 23ก.ค. 21ก.ค.64 ผู้เสียชีวิต ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 10,082 25ก.ค. 18ก.ค. 141 11,397 19 ก.ค. 24 ก.ค. 101 11,784 20 ก.ค. 25 ก.ค. 81 ผู้เสียชีวิต 119 129 11,305 21 ก.ค. 26 ก.ค. 80 ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 14,260 15,335 15,376 14,150 16,533 17,669 13,002 22 ก.ค. ก.ค. 87 108 28 ก.ค. 23 ก.ค. 13,655 14,575 87 118 29 ก.ค. 133 114 165 BBC NEWS บีบีซีไทยรวบรวมจากศบค วันที่ ไทย ก.ค. 2564”

13 min

"เราเชื่อว่า (จำนวนผู้ติดเชื้อ) เกินกว่านี้จริง ๆ เกินกว่าตัวเลขที่รายงานแต่ละวัน" โฆษกกระทรวงสาธารณสุขกล่าว

สธ. รับจำนวนคนติดโควิด-19 จริงสูงกว่าที่รายงาน กทม. เผยสถานการณ์ในกรุงเทพฯ "รุนแรงคงที่"

tnp

ที่มาของภาพ, Thai news pix

คำบรรยายภาพ,

เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ ให้การช่วยเหลือคนไร้บ้านหญิงคนหนึ่ง ที่นอนป่วยและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บริเวณริมถนนราชดำเนินกลาง หลังได้รับแจ้งจากอาสาสมัครมูลนิธิอิสรชน โดยได้ตรวจสอบอาการเบื้องต้นก่อนส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่โรงพยาบาลกลาง เมื่อช่วงหัวค่ำวันที่ 24 ก.ค. 2564

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปฏิเสธว่าไม่ได้ปิดบังยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายหลังมีการเปิดเผยเอกสารภายในของกรมควบคุมโรคที่ระบุข้อมูลวิชาการว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือผู้ป่วยสีเขียวต่ำกว่าความเป็นจริง 6 เท่า แต่ยอมรับว่า ตัวเลขการติดเชื้อจริงในไทยน่าจะสูงกว่าที่มีการรายงาน

การชี้แจงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการเผยแพร่เอกสารภายในของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ผ่านเฟซบุ๊ก นพ. เดชา ปิยะวัฒน์กูล ชื่อเอกสาร "คาดการณ์สถานการณ์การระบาด COVID-19 ของประเทศไทย ระหว่าง ส.ค.- ธ.ค. 2564" ซึ่งมีการระบุว่าผู้ติดเชื้อกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยของวันที่ 25 ก.ค. มีจำนวน 67,501 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขที่คาดการณ์ว่าต่ำกว่าความจริงประมาณ 6 เท่า นั่นหมายถึงว่าอาจมีผู้ป่วยสีเขียวกว่า 405,000 รายทั่วประเทศ

เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีอาการหนักขึ้นเป็นระดับสีเหลืองและสีแดงที่เอกสารคาดการณ์ว่าตัวเลขที่รายงานต่ำกว่าความจริง 3 และ 1 เท่าตามลำดับ

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่เผยแพร่หนังสือภายในกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าผลการตรวจคัดกรองด้วยด้วยชุดตรวจแอนติเจน (antigen test kit -ATK) ไม่ต้องรายงานในระบบการรายงานโรคติดเชื้อ

นพ. รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษก สธ. ชี้แจงกับบีบีซีไทยถึงกรณีนี้ว่า สถานการณ์ขณะนี้อยู่ในช่วงวิกฤต ดังนั้นตัวเลขที่ สธ. ใช้ติดตามสถานการณ์การระบาดจะใช้ "ความเป็นตัวแทน" หรือ proxy indicator เท่านั้น เช่น ตัวเลขผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นกับตัวเลขผู้ป่วยอาการหนัก

โฆษก สธ. กล่าวว่า การตรวจด้วยชุดตรวจแอนติเจน ทำให้ทราบจำนวน "ผู้ป่วยน่าจะเป็น" (probable case) ที่นำมาใช้ประเมินสถานการณ์จริงเพื่อการควบคุมโรค ซึ่งเป็นวิธีการมาตรฐานที่ทั่วโลกทำอยู่ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักรหรือสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ได้ตรวจด้วยวิธีการ RT-PCR ทุกราย เนื่องจากวิธีนี้รู้ผลช้า แต่สิ่งสำคัญตอนนี้การตรวจด้วย ATK นำมาใช้เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชนต่าง ๆ เพื่อเข้าควบคุมโรค และต้องการค้นหาผู้ที่มีอาการหนักเพื่อให้ได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด ซึ่งตอนนี้มีการนำระบบการรักษาตัวที่บ้าน (home isolation) มาใช้ โดยจ่ายยา เครื่องมือวัดออกซิเจน อุปกรณ์วัดไข้และการรักษาผ่านวิดีโอคอลเข้ามาใช้

"กระทรวงสาธารณสุขไม่มีเจตนาที่จะปิดบังตัวเลข หรือกดตัวเลขอยู่แล้ว เพราะทุกตัวเลขเราใช้หมด แม้กระทั่งนักวิชาการมาประเมินว่า 6 เท่า 10 เท่า อะไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ เราก็มาใช้ในการควบคุมโรค"

อย่างไรก็ตาม โฆษก สธ. กล่าวกับบีบีซีไทยว่า "ถึงแม้จะนับทั้งสองตัวเลข (การตรวจแบบ RT-PCR และตรวจด้วยชุดตรวจแอนติเจน) ตัวเลขก็น่าเชื่อว่ายังต่ำกว่าความเป็นจริงของการติดเชื้อ"

"เราเชื่อว่ามันเกินกว่านี้จริง ๆ เกินกว่าตัวเลขที่รายงานแต่ละวัน" นพ.รุ่งเรืองกล่าว

กราฟผู้ติดเชื้อโควิด

2 เดือน ชี้วัดผลล็อกดาวน์ ระดมฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยง

โฆษก สธ. บอกว่า มาตการควบคุมโรคที่ใช้อยู่ในขณะนี้ "เน้นลดการตาย ลดป่วยหนัก" ด้วยการล็อกดาวน์ใน 13 จังหวัด จำกัดการเดินทาง ให้ทำงานที่บ้าน 100% ประกอบกับการเร่งฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยง และมาตรการการรักษาตัวที่บ้าน หากดำเนินมาตรการเหล่านี้อย่างเคร่งครัด จะเห็นทิศทางตัวเลขที่ดีขึ้นในช่วง 2 เดือนข้างหน้า และจะรักษาระบบสาธารณสุขสำหรับการดูแลผู้ป่วยหนักที่อาจจะเสียชีวิตได้ดีขึ้น

"(หากควบคุมตามมาตรการขั้นสูงสุด) สถานการณ์หลังจาก 2 เดือนข้างหน้าก็จะดีขึ้น แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็จะทรงตัวหรือลดลง แต่ลดลงไม่มาก"

โฆษก สธ. ไม่ระบุว่าจะมีการยกระดับมาตรการหรือไม่ แต่ย้ำว่าขึ้นอยู่กับการปฏฺิบัติตามมาตรการได้อย่างเต็มที่หรือไม่

"จริง ๆ มาตรการที่กำหนดมาดีแล้ว ถูกหลักวิชาการ ถูกมาตรฐานการควบคุมโรคเลย แต่วันนี้ประเด็นอยู่ที่ความเข้มข้นของมาตรการที่ทำ" นพ. รุ่งเรืองกล่าว

สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานว่าในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 17,669 ราย เสียชีวิต 165 ราย ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดอีกครั้ง

สถานการณ์ใน กทม. "รุนแรงคงที่"

เวลา 11.00 น. วันนี้ ร.ต.อ. พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักการแพทย์และสำนักอนามัยของ กทม. แถลงข่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกรุงเทพฯ โดยยอมรับว่าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นเห็นได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ ที่เพิ่มขึ้นในช่วง 2 วันที่ผ่านมา

ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกรุงเทพฯ 3,396 ราย ซึ่งโฆษก กทม. อธิบายว่าเป็นการนับจากผลการตรวจแบบ RT-PCR เท่านั้น ส่วนผู้ที่ตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจแอนติเจนแบบรู้ผลเร็ว (ATK) และผลเป็นบวกจะยังไม่นับ รายงานไปที่ สธ. เพราะถือว่ายังเป็น "ผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ"

tnp

ที่มาของภาพ, Thai news pix

โฆษก กทม. ยังได้กล่าวถึงกระแสข่าวความขัดแย้งระหว่างกรมควบคุมโรคและ กทม. เกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการวัคซีนสำหรับประชาชนในกรุงเทพ โดยยืนยันว่าทั้ง 2 หน่วยงานทำงานร่วมกันมาตลอด

"เราไม่ได้เป็นศัตรูกัน ศัตรูที่แท้จริงของเราคือโควิด-19" ร.ต.อ. พงศกรกล่าว

ประเด็นอื่น ๆ ที่ กทม. รายงานในการแถลงข่าวมีดังนี้

  • จำนวนวัคซีนที่ได้รับจัดสรร

ร.ต.อ.พงศกรกล่าวว่า กทม. ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าทั้งหมด 1,220,000 โดส ผ่านระบบหมอพร้อม เกือบทั้งหมดให้บริการฉีดร่วมกับ สธ. ส่วนที่เหลืออีก 30,000 โดสนำไปให้บริการผู้ป่วยติดเตียงและการฉีดเชิงรุก

กทม. ตั้งเป้าว่าจะต้องฉีดวัคซีนให้ได้ 70% ของประชากรในกรุงเทพฯ เน้นผู้ที่มีความเสี่ยงอาการรุนแรง และผู้สูงอายุ ซึ่ง กทม. ได้ดำเนินการตามเป้าหมายนี้มาโดยตลอด

ทั้งนี้ศูนย์ฉีดวัคซีนของ กทม. ทั้ง 15 แห่งมีศักยภาพฉีดได้ 70,000-80,000 โดสต่อวัน และมีการฉีดใน รพ.อีก 30,000 โดสต่อวัน แต่จำนวนนี้ฉีดได้จริงนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนวัคซีนที่ได้รับจัดสรรมา

เขายอมรับว่าขณะนี้ศูนย์ฉีดวัคซีนหลายแห่งปิดให้บริการชั่วคราวอยู่

"ในอนาคตถ้าเกิดมีวัคซีนมา สมมติว่าได้เยอะเราก็พร้อมที่จะเพิ่มศักยภาพอีก...เราก็พร้อมที่จะดำเนินการตามที่วัคซีนที่ได้รับมา" โฆษก กทม. กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าเหตุใดจึงไม่กระจายวัคซีนของศูนย์บางซื่อมายังศูนย์ฉีดของ กทม. เพื่อลดความแออัดของการฉีดที่ศูนย์บางซื่อ ร.ต.อ.พงศกรตอบว่า กทม. ได้แจ้งไปหลายครั้งว่าพร้อมที่จะช่วยแบ่งเบาความแออัดของศูนย์ฉีดวัคซีนที่สถานีกลางบางซื่อ แต่อำนาจการบริหารไม่ได้ขึ้นอยู่กับ กทม. แต่ สธ.เป็นผู้เชี่ยวชาญที่สุดในการจัดการเพื่อควบคุมโรค

"เราพร้อมและสถานที่เรามีการบริหารจัดการที่ไม่ให้เกิดความแออัดได้ครับ"

tnp

ที่มาของภาพ, Thai news pix

คำบรรยายภาพ,

ประชาชนจำนวนมาก เดินทางมาตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 ด้วยวิธีตรวจแอนติเจน (Rapid Antigen Test) โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งสามารถรู้ผลได้ใน 30 นาที ที่ บริเวณลานจอดรถชั้น 1 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ เมื่อ 27 ก.ค. 2564

สำหรับการใช้งบประมาณเพื่อซื้อวัคซีนเองของ กทม. นั้น ร.ต.อ. พงศกรกล่าวว่าที่ผ่านมา กทม. ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถจัดซื้อวัคซีนตัวเลือกได้ ได้ซื้อวัคซีนซิโนฟาร์มมาฉีดให้ผู้ป่วยติดเตียงไปบ้างแล้ว แต่ได้รับการจัดสรรมาไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหน่วยงานที่นำเข้าต้องการกระจายไปยังพื้นทื่อื่นที่มีความจำเป็นเช่นกัน และกทม. เป็นพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนหลักเป็นจำนวนมากจากรัฐอยู่แล้ว

  • กทม. เตียงเต็ม

นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์กล่าวว่าขณะนี้เตียงโรงพยาบาลสำหรับรองรับผู้ป่วยระดับสีแดงและเหลืองมีการครองเตียงเกินศักยภาพแล้ว ทำให้โรงพยาบาลต้องปรับเปลี่ยนหอผู้ป่วยอื่น ๆ เพื่อรองรับตามความจำเป็น

นพ. สุขสันต์กล่าวว่า รพ. สังกัด กทม. 11 แห่งกำลังดำเนินการ "เบ่งเตียง" สำหรับผู้ป่วยสีเหลืองเพิ่มให้ได้อีก 188 เตียง รวมเป็น 2,942 เตียง และเพิ่มเตียงผู้ป่วยสีแดงอีก 37 เตียง

จำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยสีเขียวในฮอสปิเทลก็ใกล้เต็มแล้วเช่นกัน แต่มีนโยบายจะเพิ่มให้ได้อีก 10%

ขณะนี้ใน รพ.สนามทั้งหมดของ กทม. ซึ่งมีทั้งหมด 1,165 เตียง ได้เปลี่ยนสถานะไปรองรับผู้ป่วยสีเหลืองแล้ว โดยการเพิ่มเครื่องผลิตออกซิเจนและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ดูแล และยังได้พัฒนาศูนย์พักคอยขึ้นมาเป็น รพ.สนามแล้วจำนวน 7 แห่ง ทำให้มีเตียงรองรับผู้ป่วยสีเหลืองได้เพิ่มขึ้นมาอีก 986 เตียง

นพ.สุขสันต์ให้ข้อมูลว่า ณ วันที่ 29 ก.ค. ในกรุงเทพฯ มีผู้ป่วยรอเตียง 1,258 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยสีเหลือง 338 เตียง สีเขียว 143 เตียง และยังมีผู้ป่วยอีก 777 รายที่ยังรอการคัดกรอง

สำหรับผู้ป่วยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เข้าสู่ระบบการรักษาที่บ้าน (home isolation) แล้วมีประมาณ 6,000 ราย

  • แคมป์คนงานกลับมาเปิดแล้ว

พญ. ป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย รายงานความคืบหน้าเรื่องมาตรการการปิดแคมป์คนงานและไซต์งานก่อสร้างในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเวลา 30 วัน ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 27 ก.ค. ทำให้ขณะนี้กลับมาทำงานได้แล้ว แต่ ศบค. ยังคงให้ใช้มาตรการ "บับเบิลแอนด์ซีล" ต่อไป คือให้คนงานเดินทางเฉพาะระหว่างที่พักและไซต์งาน เพื่อลดการสัมผัสในชุมชน แต่หากพบการระบาดเพิ่มอีก ก็จะต้องหารือกับ ศบค. ต่อไป

พญ. ป่านฤดีกล่าวว่าช่วงที่ผ่านมาได้มีการฉีดวัคซีนให้คนงานในแคมป์ก่อสร้าง และมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้คำแนะนำเรื่องสุขอนามัยและมาตรการด้านสุขาภิบาล เพื่อรองรับการกลับมาเปิดกิจการ และขณะนี้การระบาดที่พบในแคมป์คนงาน 27 แห่งจากทั้งหมด 588 แห่งในกรุงเทพฯ เริ่มทรงตัวแล้ว

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar