Thai E-News
มีคนสงสัย ใครคือ "บิดาแห่งการแพทย์สมัยใหม่ไทย" ตัวจริง ? เรามีสิทธิจะได้รู้เรื่องจริงบ้างใหม หรือสุดท้ายได้ดูแค่ละคร บางคนว่า คือ คุณหมอบรัดเลย์
Prach Panchakunathorn
September 24, 2020 ·
วันมหิดล
วันนี้วันมหิดล เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของเจ้าฟ้ามหิดล ผู้ที่ทางการไทยยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน" ของไทย
ผมก็นึกสงสัย ว่าที่เจ้าฟ้ามหิดลได้รับยกย่องนี้ เป็นเพราะเขาสร้างคุณูปการใหญ่หลวงต่อวงการการแพทย์แบบที่ไม่มีใครเทียบได้ หรือว่าเป็นเพราะเขาเป็นเจ้า (และเป็นพ่อของ ร.8 และ ร.9)
ที่ผ่านมาไม่เคยมีคนไทยคนไหนเลยเหรอที่สร้างคุณูปการต่อการสาธารณสุขได้มากเท่าเจ้าฟ้ามหิดล? อย่างนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ผู้ริเริ่มแนวคิดระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า นี่ก็สู้ไม่ได้หรือ?
วันนี้ก็เลยลองไปเปิดอ่านประวัติของเจ้าฟ้ามหิดลดู ปรากฏว่ายิ่งงงกับตำแหน่ง "พระบิดาการแพทย์" ครับ
เจ้าฟ้ามหิดลเดิมทีเรียนทหารเรือ และสนใจเรื่องเรือรบ ไม่ใช่เรื่องการแพทย์ แต่หลังกลับมาไทยถูกชักจูงให้มาสนใจการแพทย์โดยพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งคุมวิทยาลัยแพทย์อยู่ขณะนั้น
เจ้าฟ้ามหิดลเลยยอมไปเรียนต่อ MD ที่ Harvard โดยขอให้ส่งนักเรียนแพทย์ 2 คน และนักเรียนพยายาล 2 คนไปช่วยเรียนด้วย (หนึ่งในนั้นคือ สังวาลย์ ตะละภัฏ ผู้ที่กลายมาเป็น "สมเด็จย่า")
หลังจากจบ Harvard เจ้าฟ้ามหิดลกลับมาไทย แจกทุนเรียนสาขาการแพทย์ แล้วไปฝึกงานที่โรงพยาบาล McCormick เชียงใหม่ อยู่ได้ 3 สัปดาห์ ก็ต้องกลับมากรุงเทพฯ เพื่อร่วมงานศพลุง (เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์)
แต่หลังงานศพก็ป่วย ต้องรักษาตัวในวังสระปทุม และเสียชีวิตในปีเดียวกัน (เสียชีวิตหลังจากกลับไทยได้แค่ 1 ปี)
สรุปคือ คุณูปการของเจ้าฟ้ามหิดลในด้านการแพทย์ คือการแจกทุนเรียนแพทย์ แล้วก็การทำงานในฐานะแพทย์อยู่ 3 สัปดาห์ จบ
.....
Supachai Amorngitticharean
คิดว่าคนที่มีบทบาทพัฒนาการแพทย์สมัยใหม่ในไทยจริงๆคงเป็นหมอบรัดเลย์ เรื่องเจ้าฟ้ามหิดลก็มีคนเขียนไว้บ้างในโพสต์นี้ครับ
https://www.facebook.com/SciThaiPolitics/posts/168118861775223
วิทยาศาสตร์และการเมือง - Scientists for Thai Politics
January 22 ·
รากฐานสาธารณสุขไทย ใครวาง ใครสร้าง ใครต่อเติม?
--------------------------------------------------------------------------
“...คนพูดเรื่องนี้รู้ไปหมดทุกเรื่อง แต่ไม่รู้จักสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ไทยมาถึงวันนี้ได้ใครเป็นผู้วางรากฐานสาธารณสุข
ทำให้เป็นที่ยอมรับของคนทั้งโลก
ทำให้ประชาชนภายในประเทศมีพื้นฐานสุขภาพที่ดี มีวิถีชีวิตที่ดี...”
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ
ท่าน อนุทิน ชาญวีรกูล
สำหรับโควทข้างบนที่กระตุกต่อมสงสัย(เสือก)ของพวกเราได้เป็นอย่างดี
เป็นคอนเทนต์ยามว่างให้พวกเราทำแก้เบื่อตอนรอโค้ดรันบน Cluster
ซึ่งเราก็มีความสงสัยต่อโควทนี้นะ ตามกมลสันดานของนักวิทยาศาสตร์
ว่าใครกันแน่ที่เป็นผู้วางรากฐานการสาธาณสุขสมัยใหม่ให้คนไทย
ในเมื่อมันไม่มีคำตอบสำเร็จให้ก็ค้นคว้ามันไปเลย
หมายเหตุ
เนื่องจากบทความนี้จะเน้นไปยังเรื่องแพทย์แผนตะวันตก
ดังนั้นถึงจะไม่ได้กล่าวถึงแพทย์แผนโบราณผู้มีคุณูปการซึ่งมิได้หวงวิชาความรู้ไว้กับตัว
เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
[อ้างอิงการสะกดจากราชกิจจานุเบกษา] (หมอพร) เป็นต้น
และนี่ก็คือสิ่งที่พวกเราเจอ
# อะแฮ่ม…
ถ้าจะเริ่มพูดเรื่องนี้คงต้องย้อนเวลากลับไปช่วงยุค 1800 สักเล็กน้อย
จากหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ
เราคงทราบกันดีว่ามีแพทย์หลายท่านที่เดินทางมาพร้อมกับคณะมิชชันนารีเพรสไบทีเรียน
และได้สร้างคุณูปการต่อสยามอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านการแพทย์
การศึกษา และการแจกประชาธิปไตย อาทิ หมอแบรดลี่ย์(หมอบรัดเล)
หมอเฮาส์(หมอเหา) หมอแมคฟาร์แลนด์(หมอฟ้าลั่น) เป็นต้น การผ่าตัด (1837)
การถอนฟัน (1837) การรักษาอหิวาตกโรคในสยาม (1866)
การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ (1840) ก็ได้มีการบุกเบิกโดยหมอๆ เหล่านี้นี่แหละ
สรุปง่ายๆ คือชาวสยามรู้จักการแพทย์สมัยใหม่มาก่อนหน้าสักพักหนึ่งแล้ว
ทว่า
ต้องรอถึง 7 ปี หลังจากการระบาดใหญ่ของอหิวาตกโรคในปี 1881
รัฐบาล`สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงเริ่มความสนใจแพทย์แผนตะวันขึ้นมาแบบจริงจัง (สักที)
โดยเริ่มจากการจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น คือโรงพยาบาลศิริราช
ตามพระนามของเจ้าฟ้าศิริราชกกุฏภัณฑ์
ที่สิ้นพระชนม์ก่อนวัยอันควรด้วยโรคบิด (ทำให้ได้อานิสงส์คือ
ได้รับพระราชทานข้าวของเครื่องใช้และไม้จากงานพระเมรุ มาช่วยในการก่อสร้าง)
แล้วตามด้วยการก่อตั้งราชแพทยาลัย
(ปัจจุบันคือคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ในอีก 1 ปีถัดมา
โดยมีหมอแมคฟาร์แลนด์เป็นแพทย์ใหญ่คนแรก
และการออกพระราชกำหนดศุขาภิบาลกรุงเทพฯ
ในปี 1897 ตามข้อเสนอของหมอแบรดลี่ย์
ซึ่งกำหนดให้มีการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างเป็นระบบและมีสุขาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ
(ถึงจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการบังคับใช้จริงก็เถอะ)
การเรียนการสอนของโรงเรียนแพทย์ยุคตั้งไข่ ยังไม่ค่อยเป็นรูปเป็นร่างนัก
กล่าวคือ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ไม่แน่น ภาคปฏิบัติมีบ้าง เข้าแล็ปไม่ค่อยเยอะ
แต่ที่ตลกร้ายที่สุดคือไม่มีการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์
(หมอไม่รู้กายวิภาคแล้วจะวินิจฉัยโรคยังไงฟระ?)
หน่วยงานสาธารณสุขของรัฐในช่วงแรกมีไม่เยอะนัก เช่น
- กรมพยาบาล
สังกัดกระทรวงธรรมการ
ซึ่งปรุงยาตำราหลวงออกจำหน่ายและจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์
มีข้อสังเกตจากสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า
ยาตำราหลวงส่วนใหญ่ไม่ใคร่จะได้ผลนัก
เพราะบรรดาหมอหลวงทั้งหลายกั๊กสูตรยาของพวกตนไว้ตอนมีการจัดทำตำรา
- โรงปลูกฝีดาษวัวของกรมพยาบาล สำหรับป้องกันไข้ทรพิษ ซึ่งก่อนหน้านี้สยามจำเป็นต้องนำเข้าจากที่อื่น
-
สถานปาสเตอร์ (Pasture Institute) ของกรมการปกครอง
โดยการสนับสนุนของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในปี 1917
(ช่างน่าขันที่พระองค์เองเคยแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการตั้งสถาบันนี้ในปี
1902) มีหน้าที่ผลิตวัคซีนแก้ไขโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคพิษสุนัขบ้า
(ซึ่งพระองค์เคยเสียพระธิดาไปองค์หนึ่งด้วยโรคนี้)
ต่อมาถูกโอนไปสังกัดสภากาชาดสยามและเปลี่ยนชื่อเป็นสถานเสาวภาในเวลาต่อมา
ก่อนจะอธิบายต่อ
การพัฒนาระบบสาธารณสุขรวมถึงการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ในไทยคงจะไปได้อย่างเชื่องช้าถ้าขาด
“มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์” ไป
อ้าว… แล้วมูลนิธินี้มันสำคัญยังไงหรอ ?
มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์เป็นองค์กรการกุศลที่มีภารกิจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายบนโลกใบนี้
แน่ล่ะ สยามก็เป็นหนึ่งในนั้น ปี 1913 คือช่วงที่มูลนิธิฯ
เริ่มมองหาว่าจะส่งคนเข้าไปแก้ปัญหาด้านการสาธารณสุขในพื้นที่ไหนดี
ข่าวคราวเงียบหายไปสองสามปี ปี 1916
ทางมูลนิธิจึงเลือกสยามเป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ
โดยจะเริ่มจากการแก้ปัญหาพยาธิปากขอก่อน (ภายหลังมีการศึกษาด้านระบาดวิทยา
พบว่า สยามยุคนั้น ความเสี่ยงในการติดเชื้อพยาธิปากขอ สูงถึง 75%)
โดยได้ส่ง Dr. Heisner และ Dr. Barnes เข้ามาเจรจากับข้าราชการระดับสูง
ทั้งพระยามหาอำมาตย์ กรมพระยาดำรงฯ และรัชกาลที่ 6
ซึ่งก็เป็นไปอย่างสะดวกโยธิน
แต่เดี๋ยวก่อน...
แผนนี้กลับไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากพวกข้าราชการในกรุงเทพ
โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณสนับสนุน
ฝั่งมูลนิธิเข้าใจว่ารัฐบาลสยามกับมูลนิธิเองจะช่วยออกงบกัน`คนละครึ่ง`
แต่ทางสยามแจ้งต่อมูลนิธิว่า เฟสแรก ทำฟรีนะจ๊ะ
เพราะรัฐบาลสยามช่วงนั้นประสบปัญหาทางการเงิน ทั้งที่เก็บภาษีสลาก
ภาษีการพนัน ภาษีฝิ่น(เอ๊ะ หรือเราต้องเรียกว่าภาษีแป้ง) ได้มูลค่ามหาศาล
นอกจากนั้น มุมมองต่อเจ้าหน้าที่รัฐต่อแผนเรื่องพยาธิปากขอของมูลนิธิฯ
มีความสำคัญรองลงมาจากปัญหาไข้ทรพิษ
และอัตราการเสียชีวิตของทารกที่สูงลิบลิ่ว
ก็เข้าใจนะว่าสองเรื่องนั้นมันก็สำคัญ แต่ตอบแบบนี้มันก็อะหยังก่ะไปนิด
เพื่อเป็นการพิสูจน์ต่อรัฐบาลกรุงเทพ ทางมูลนิธิฯ
จึงได้ดำเนินการสาธิตการแก้ปัญหานี้เป็นการนำร่องไปก่อนในพื้นที่เมืองเชียงใหม่
โอละพ่อ ราวกับว่าเป็นหนังคนละม้วน
ข้าราชการท้องถิ่นของเชียงใหม่ให้ความร่วมมืออย่างดี
สนับสนุนเครื่องไม้เครื่องมือและทรัพยากรให้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
แถมด้วยความช่วยเหลือจากเจ้านายฝ่ายเหนือและคณะเพรสไบทีเรียนที่มีความคุ้นเคยกับคนเมืองอยู่ก่อนแล้ว
ทำให้การสื่อสาร การรักษา รวมถึงการบังคับใช้นโยบายต่างๆ
เพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อพยาธิขึ้นอีก สำเร็จไปได้
ปังเบอร์นี้รัฐบาลกรุงเทพจะเฉยได้ไง
สุดท้ายโปรแกรมนี้ก็ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
(ถึงจะแค่สิบเปอร์เซ็นต์ของที่มูลนิธิฯ ลงไปก็เถอะ แต่ก็ดีกว่าไม่ได้เลย)
จึงได้ต่อยอดไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงรุก การเริ่มศึกษาพยาธิวิทยาในไทย
การปฏิรูปกรมพยาบาล (กระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน)
รวมไปถึงมาตรการส่งเสริมสุขลักษณะที่ดีทั่วราชอาณาจักรในอีก 10 ปี
ให้หลังอีกด้วย
แล้วเรื่องโรงเรียนแพทย์ละยังไง // ใจเย็นๆ หน่อยนะจ๊ะ กำลังจะเล่าเนี่ย ปั๊ดโธ่
อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้าว่าโรงเรียนแพทย์ยุคแรกเริ่มมัน….ขนาดไหน
มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์จึงได้นำรูปแบบโรงเรียนแพทย์ของ John Hopkins
University (and so on) มาปรับใช้
โดยวางแผนในระยะสั้นว่าจะส่งแพทย์จำนวนหนึ่งไปฝึกที่ฟิลิปปินส์ไม่ก็กัลกัตตา
เพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรอย่างรวดเร็ว คู่ขนานไปกับการปรับหลักสูตร ที่ Dr.
Heisner อยากจะให้มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ
และตัวหมอเองก็สามารถอัพเดทแพทช์ความรู้ให้เป็นปัจจุบันได้
ถึงแม้ว่าผู้หลักผู้ใหญ่สมัยนั้นยืนกรานจะให้สอนเป็นภาษาไทยก็เถอะ อ๊ะๆ
อย่าลืมนะว่าประเทศนี้มันอะหยังวะมาตั้งแต่ไหนแต่ไร
การจะแก้ปัญหาอะไรสักอย่างในระบบรัฐราชการจึงยากพอๆกับการเดินทางด้วยอัตราเร็วแสง
(ไหนเขียนค่าอัตราเร็วแสงด้วยเลขไทยซิ…)
ดังนั้น
การจะทำอะไรให้ราบรื่นเหมือนถีบเรือเป็ดในทะเลสาบชตาร์นแบร์กจึงต้องการผู้อุปถัมภ์ที่มีอิทธิพลมากพอ
ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
(พระยศในขณะนั้น) ที่ลาออกจากกองทัพเรือเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้า
(เนื่องจากทะเลาะกับผู้ใหญ่หัวโบราณในกองทัพเรือ
ที่อยากจะซื้อเรือรบลำใหญ่ๆ ทั้งที่ประเทศประสบปัญหาการเงิน)
พระองค์มีความสนใจด้านการแพทย์ โดยคำแนะนำของพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์
เนื่องจากโรงพยาบาลวังหลังในสมัยนั้น หลังคายังเป็นมุงจาก
คนไข้นอนกันไม่เป็นที่เป็นทาง เป็นที่เวทนา
จึงทำให้พระองค์เสด็จไปเรียนด้านสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
และได้รับประกาศนียบัตรในปี 1921 ด้วยทรงเล็งเห็นว่า “ถ้าการสาธารณสุขดี
ประชาชนมีความรู้พื้นฐานในการดูแลสุขภาพของตนเอง
โรคภัยทั้งหลายหาทางป้องกันได้ ย่อมดีกว่า เป็นการทุ่นแรงในการรักษา”
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรสาธารณสุขแล้ว
พระองค์กลับมาเป็นอาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตอนนั้นยังอยู่ร่วมกัน)
ในช่วงนี้เองที่พระองค์ได้รับการติดต่อจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์อยู่สม่ำเสมอและทรงเป็นตัวแทนกระทรวงธรรมการในการร่วมวางแผนปฏิรูป
อีกทั้งยังเป็นคนโน้มน้าวให้ข้าราชการ และ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ร่วมมือกับมูลนิธิ
เกิดเป็นข้อตกลงซึ่งทำให้เกิดการตั้งคณะวิทยาศาสตร์ในฐานะ
`โรงเรียนเตรียมแพทย์` และคณะอื่นๆ เช่น พยาบาลศาสตร์
เภสัชศาสตร์(ถึงเครดิตส่วนนี้จะตกไปอยู่กับคณะราษฎรก็เถอะ) เกิดขึ้นตามมา
นอกจากนั้น
พระองค์มีความสนใจที่จะทำการสอนด้วยพระองค์เอง
จึงได้เสด็จกลับไปศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี
ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (M.D.) ผลการเรียนระดับดี (cum laude)
เมื่อกลับมา ก็ทรงทำการสอนและพัฒนาวิชาแพทย์ด้วยพระองค์เอง
(อย่างที่บอกไปข้างต้นที่แรกไม่มีการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ด้วยซ้ำ
อุปกรณ์ กำลังคนก็ไม่พร้อม) และ รวบรวมนักเรียนนอกให้มาช่วยกันสอน
ทรงเขียนตำราการแพทย์จำนวนหนึง
นอกจากนี้ยังให้ทุนและคัดเลือกนักเรียนแพทย์ไปเรียนต่อต่างประเทศโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
(ถึงพระองค์จะไม่ค่อยได้ปฎิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ทำการรักษาก็ตาม
เนื่องจากมาวุ่นวายกับการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาแพทย์)
โอเค.. ขออนุญาตข้ามไปยังช่วง `รัถบาลคนะราสดร` ก็แล้วกัน (ถ้าปวดหัวกับ ภาสาไทย ยุค จอมพล ป. ก็ขอโทษด้วยแล้วกันนะจ๊ะ)
ในสมัยราชาธิปไตยไต้รัถธัมนูญ
นโยบายไนการสร้างชาติยุคนายกรัถมนตรีแปลก พิบูลสงคราม
ได้มีนโยบายที่ไห้ความสำคัญต่อโภชนาการของชาวสยามเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาติ
โดยการส่งเสิมกิจการถั่วเหลืองเพื่อเปนโปรตีนหลัก
ล้มล้างแนวคิดแบบเก่าที่ว่า “หย่ากินกับข้าวเยอะ เดี๋ยวเปนตานขโมย”
โดยสร้างชุดความคิด “กินกับมากๆ กินข้าวน้อยๆ” ขึ้นมาแทนที่
เพื่อไห้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเปนต่อการเติบโตของร่างกายครบถ้วน
อีกทั้งยังพยายามสร้างโรงพยาบาลขึ้นทั่วทุกจังหวัด
เพื่อสร้างเสิมสุขภาพราสดร โดยเฉพาะแม่และเด็ก เพื่อไห้แม่มีบุตรที่แขงแรง
และไม่ตายก่อนวัยอันควร ตอบสนองนโยบายสร้างชาติ แสดงให้เหนว่า
รัถบาลไทยไนยุคประชาธิปไตยเอาไจใส่ไนชีวิตของราสดร
นอกจากนั้น
รัถบาลได้เริ่มจัดระเบียบโครงสร้างของวิชาชีพทางการแพทย์
เนื่องจากไนขณะนั้นมีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นแพทย์อยู่จำนวนมาก
โดยการไห้มีการสอบไบประกอบโรคสิลปขึ้น การดำเนินการนโยบายสุขาภิบาล
ที่ไม่สามารถบังคับไช้อย่างเต็มที่นักไนรัถบาลสมบูรนาญาสิทธิราชย์
รวมถึงการส่งเสิมกิจการโรงเรียนเตรียมแพทย์เพื่อไห้มีองค์ความรู้พื้นถานทางวิทยาสาสตร์
โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เกิดเป็นคนะวิทยาสาสตร์
คนะแพทยสาสตร์ และคนะเภสัชสาสตร์ จุลาลงกรน์มหาวิทยาลัย
แนวทางของคนะราสดรไนช่วงนี้ ได้รับคำชมจากพระองค์เจ้ารังสิต เปนหย่างมาก
โดยเฉพาะการที่คนะราสดรสามารถดำเนินนโยบายที่คั่งค้างในรัถบาลสมบูรนาญาสิทธิราชย์
เนื่องด้วยปัญหาบูโรเครซีในสมัยก่อน จึงไม่สามารถทำตามที่วางแผนได้สำเหร็ด
กว่าจะเขียนมาถึงตรงนี้ได้ หมดแรงไปเยอะเหมือนกัน ขอกินผัดไทยเติมพลังหน่อย
มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ถอนตัวจากประเทศไทยเป็นช่วงเวลาหนึ่งเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่
2 ก่อนที่จะกลับมาในช่วงปี 1960 (ซึ่งจะอยู่ในช่วงรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์
ธนะรัชต์) ด้วยปัญหาที่ว่าประเทศไทยมีจำนวนแพทย์เฉพาะทางไม่เพียงพอ
โดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ให้การสนับสนุนทุนทรัพย์และบุคลากร กับ
วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์
เนื่องจากเป็นคณะแพทย์ที่มีความพร้อมสูงที่สุดของประเทศไทย
อีกทั้งยังมีส่วนช่วยก่อตั้ง
โรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์(ปัจจุบันคือ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล) เพื่อจัดการศึกษาเตรียมแพทย์และเตรียมประเภทวิชาอื่นๆ
ก่อนที่จะเรียนในระดับที่สูงขึ้น
นอกจากนี้มูลนิธิยังสนับสนุนให้จัดตั้งมหาลัยและคณะแพทย์ตามหัวเมืองต่างๆ
โดยอาศัยความร่วมมือจาก พลเอก เนตร เขมะโยธิน, ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์
ชัชวาล โอสถานนท์, ศ. นายแพทย์ สวัสดิ์ สกุลไทย์ และ ศ. สตางค์ มงคลสุข
ทำให้เกิด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การสาธารณสุขของไทยมีการพัฒนาการเรื่อยมาทั้งด้านการผลิตกำลังคน
วิทยาการ และความครอบคลุม
แต่ผู้มีรายได้ต่ำหาเช้ากินค่ำก็ยังเข้าถึงได้ยาก
ซึ่งผู้ที่ทำให้สาธารณสุขไทยเข้าถึงคนรากหญ้า
และเป็นที่ยอมรับของคนทั้งโลกนั้นก็คือ นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์
ผู้ริเริ่มโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างดี
จากรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร (ก่อนหน้านี้เคยเสนอ รัฐบาลชวน หลีกภัย
แต่ไม่ได้รับความสนใจ) ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาไม่กี่ประเทศ
ที่สามารถจัดให้มีสวัสดิการและหลักประกันสุขภาพแก่ประชาชนทุกคนในประเทศ
ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศยังไม่สามารถจัดหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมประชากรทั้งหมดได้
(ถึงแม้จะแลกด้วยการปล่อยให้หมอทำงานหนักจนจนด่าวดิ้นสิ้นชีวีก็ตาม)
จากที่เขียนมาข้างต้นคงจะตอบคำถาม
ท่าน อนุทิน ชาญวีรกูล ได้ว่า
ไทยมาถึงวันนี้ได้ใครเป็นผู้วางรากฐานสาธารณสุข
และใครทำให้สาธารณสุขไทยเป็นที่ยอมรับของคนทั้งโลก
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ในโลกนี้ไม่เคยเกิดขึ้นเพราะคนในคนหนึ่งหรือครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง
หากปราศจากความร่วมมือขององค์กรที่แข็งแกร่ง มิตรสหายที่ปราดเปรื่อง
และประชาชนที่อดทนแล้ว ไหนเลยจะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยื่นได้
References
ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา. (2487). นิทานที่ 12 เรื่อง ตั้งโรงพยาบาล. ใน นิทานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
https://vajirayana.org/นิทานโบราณคดี/นิทานที่-๑๒-เรื่องตั้งโรงพยาบาล
ดำรงราชานุภาพ, กรมพระยา. (2487). นิทานที่ 13 เรื่อง อนามัย. ใน นิทานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
https://vajirayana.org/นิทานโบราณคดี/นิทานที่-๑๓-เรื่องอนามัย
ทวีศักดิ์ เผือกสม (2550) เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม.
http://www.naph.or.th/upload/Download/ประวัติศาสตร์สุขภาพ/Of_Germs,_Bodies,_and_the_Medicalizing_State.pdf
William H. Becker (2013) Innovative Partners: The Rockefeller Foundation and Thailand
https://www.rockefellerfoundation.org/.../Innovative...
ไม่เข้าใจ ทำไมต้องรอมาฉีดวัคซีน 'โปรยทาน' วันเดียวกว่าล้านโด๊ส มีเบื้องหลังเหมือนที่ตำรวจกล่าวหา 'ทะลุแก๊ส' ดินแดง เหรอ
มีแต่คนไม่เข้าใจ ทำไมต้องรอมาฉีดล้านโด๊สในวันที่ ๒๔ กันยา ตลอดเดือนที่ผ่านมามีวัคซีนมากขนาดนี้ ทยอยฉีดเสียก่อน จำนวนคนติด-คนตาย น่าจะลดไปน้อยกว่าหมื่นห้า-๑๒๕ ก็ได้ แบบนี้เรียกเป็นการบริหารบ้านเมืองแบบเอาหน้า ประจบนาย ละสิ
‘ตู่’ ทำเป็นปลื้ม ประชากรแห่ไปฉีดวัคซีนกันล้านกว่า บอกว่าช่วยชาติ ไม่ใช่หรอก พวกเขาพยายามช่วยตัวเองในเมื่อวัคซีนหายาก ก็ต้องคอยจ้องเวลามีโปรยทาน อย่างที่ รพ.กันตัง “คนทะลัก แห่แย่งบัตรคิวฉีดวัคซีนวันมหิดล ถึงขั้นต้องแจ้ง ตร. มาช่วยจัดระเบียบ”
อะไรกันนี่ รมว.สาธารณสุขยังมีหน้าบอก กันยานี้ “จะมีวัคซีนเข้ามาประมาณ ๑๕ ล้านโด๊สเซส และในเดือน ต.ค. น่าจะเข้ามาได้ถึง ๒๐ ล้านโด๊สเซส เมื่อเรามีวัคซีนมากพอ ก็ยังต้องพยายามฉีดให้ได้ถึงวันละ ๑ ล้านโด๊สเซส เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการให้บริการ”
เมื่อเดือนก่อน เดือนโน้น เห็นคุยกันนักกันหนาว่าจะมีวัคซีนเข้าจากโน่นจากนี่ ๖๐ ล้านบ้าง ๑๐๐ ล้านบ้าง วัคซีนทิพย์ทั้งนั้น แล้วยังวัคซีนบริจาคที่คนให้เขารอติดต่อกลับไป อนุทิน ชาญวีรกูล ยังจะอ้าง “ไม่มีใครดึงเรื่องให้ช้าอย่างที่เป็นข่าว”
วันก่อนพูดอีกอย่าง ว่าทางสหรัฐไม่เคยแจ้งความประสงค์จะบริจาคไฟ้เซอร์เพิ่ม คงหมายความว่าเขาไม่มีหนังสือเป็นทางการ ก็ทางสถานทูตเขาออกแถลงข่าวแล้ว ชาวบ้านไซเบอร์เอาหลักฐานมายันกันเห็นๆ เป็นหน้าที่ผู้รับประสานกลับไปถึงจะได้เรื่อง
มาตอนนี้ว่า “เราเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องการจัดหาวัคซีน” รู้ขั้นตอนต่างๆ ดี เคยรับบริจาคมามากแล้ว อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน ผู้ให้ต้องส่ง ‘Diplomatic Note’ เอกสารแสดงความจำนงในการบริจาคมา ผ่าน กต.แล้วต่อถึง ’สาสุข ใช้เวลา ๓ อาทิตย์เสร็จ
พูดเหมือนมุสา ถึงไม่ใช่ก็ใกล้เคียงอะ ลักษณะเหมือนเชิดหน้ายะโสนี่มีมาตั้งแต่ตอนที่ไฟ้เซอร์เสนอขายปีที่แล้ว และโคแว็กทาบทาม ตอนนั้นจะรอวัคซีนผลิตในประเทศจึงบอกปัดเขาไปหมด ตอนนี้ผลิตไม่ได้ตามราคาคุย ก็เลยต้องยัดเยียดวัคซีนตระกูล ‘ซิโน’
ว่าไปทำไรมี บ้านเมืองตกอับขนาดนี้ก็เพราะพวกนักปล้นสะดมอำนาจครองเมืองกันมา ๖-๗ ปี เต็มไปด้วยการกดขี่กลั่นแกล้งทำร้ายผู้เห็นต่าง ทั้งจากพวกอาชีพพกอาวุธและอาชีพถือตราชั่ง ชาวบ้านเกลียดชังคั่งแค้นทั้งตำรวจและเหล่าปรสิต
ความรุนแรงรายวันที่สามเหลี่ยมดินแดงจึงเกิด ไม่ใช่บรรดาเยาวชนหัวร้อนที่หาญสู้กับหน่วยควบคุมฝูงชนซึ่งถือปืนยิงกระสุนยางและแก๊สน้ำตา “ตกเป็นเหยื่อ คำยุยงของผู้ไม่หวังดีให้กระทำผิดกฎหมาย” ดังที่โฆษกรัฐบาลปั้นน้ำเป็นตัว
มิใช่เพราะพวกเขา ‘เปราะบาง’ และถูกใช้ให้ก่อเหตุรุนแรง ดังที่ ธนกร วังบุญคงชนะ ตระบัดลิ้นกล่าวหาว่ามี ‘ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง’ เจตนาร้ายสั่งให้ทำแต่อย่างใด ความจริงได้รับการเปิดเผยมาก่อนหน้านี้แล้ว จากการถ่ายทอดความรู้สึกของพวกเขาโดยสื่ออิสระ
‘สื่ออิสระ’ ที่ตำรวจพยายามดิสเครดิต ได้สะท้อนความรู้สึกและจิตสำนึกของเยาวชนทะลุแก๊ส-ทะลุฟ้า พบว่าแรงผลักดันมาจากภาวะกดดันในชีวิตความเป็นอยู่อันเสื่อมโทรม ผลของความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารเศรษฐกิจและสาธารณสุขของรัฐบาล
ครั้นเมื่อถูกหน่วยคุมฝูงชนเริ่มใช้ความรุนแรงก่อนแทบทุกครั้งที่สลายการชุมนุม ทำให้พวกเขาฮึดสู้ไม่ลดละ การตอบโต้โดยเผาป้อมตำรวจและซุ้มหลายแห่ง ย่อมบ่งบอกแล้วว่าอะไรเป็นต้นตอแห่งความเกลียดชัง
(https://www.matichon.co.th/politics/news_2957466, https://www.voicetv.co.th/read/UUTcfsTdj
และ https://twitter.com/Thairath_News/status/1441348622826622987)
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar