Thai E-News
เอาอีกแระ ศาลอาญากรุงเทพฯ ใต้ แหวกแนวนิติธรรม สั่งเพิกถอนประกัน 'รุ้ง' ปนัสยา ข้อหาใส่คร็อปท้อป (เหมือนใครฮวะ)
เอาอีกแระ ศาลอาญากรุงเทพฯ ใต้ แหวกแนวนิติธรรมกำหนดกฎหมายเอง เพียงมุ่งหมายจะเก็บ ‘รุ้ง’ เข้าห้องขังร่วมกับเพื่อนๆ เยาวชนปฏิรูปของเธอ ไว้เท่านั้น นี่คือวิธีการของพวกเปลี่ยนลุค มายืนฝันใฝ่ ใส่เสื้อฮาวายลายสีฟ้าริมหาด
ไม่ให้ประกันตัวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล “ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ จากการทำกิจกรรม ‘ใคร ๆ ก็ใส่ครอปท็อป’ ไปเดินสยามพารากอน” เมื่อปลายธันวา ๖๓ ศาลอ้างจำเลยเคยทำลักษณะนี้มาแล้วหลายคดี
“หลังจากจำเลยที่ ๒ ถูกฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ ๒ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีของศาลอาญา ก็ไปกระทำซ้ำซึ่งอาจเป็นการละเมิดเงื่อนไขข้อห้ามของศาลอาญา จนพนักงานอัยการร้องขอให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว” รุ้งเป็นจำเลยที่สองในจำนวน ๕ จำเลย
ทนาย นรเศรษฐ์ นาหนองตูม ยังไม่ได้ซักค้าน แค่ถามว่า ศาลเอาข้อเท็จจริงเป็นคุ้งเป็นแควดังกล่าว ‘มาจากไหน’ ในเมื่อ “คดีนี้ พนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่ได้บรรยายไว้ในคำฟ้อง และโจทก์ก็ไม่คัดค้านการประกันตัว” แล้วใครล่ะทำรายงานเท็จเสนอศาล
และถ้าไม่มีใครทำรายงานเท็จนี้ ศาลใช้อำนาจบาตรใหญ่ ที่สร้างเอง เออเอง เป็นการเอา “ข้อเท็จจริงนอกสำนวน” มาใช้ในการพิจารณาคดี “เพราะฝ่ายจำเลยก็ไม่มีโอกาสได้โต้แย้งในประเด็นนี้มาก่อนเลย” เพียงแค่อัยการร้องขอก็พอแล้วหรือ
“แม้แต่ในศาลอาญาก็ยังนัดไต่สวนอยู่เลย ศาลอาญายังไม่มีคำสั่งด้วยซ้ำว่ารุ้งได้ทำผิดเงื่อนไขหรือไม่ หรือจะถูกเพิกถอนการประกันตัวหรือไม่” ทนายนรเศรษฐ์ระบุด้วยว่า ก่อนหน้านี้ก็มีหลายคดีที่ตำรวจและอัยการยื่นขอเพิกถอนการประกันตัว
ศาลต้องไต่สวนทุกกรณี เมื่อไม่เจอเหตุอันใดเข้าข่ายข้อเท็จจริงให้เพิกถอนได้ ดัง “กรณีคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข และคดีของคุณอานนท์ นำภา หรือคดีน้องตี้ ศาลก็ยกคำร้องขอเพิกถอนการประกันตัว” แต่ในคดีรุ้งศาลอ้างเองดื้อๆ ว่าถ้าปล่อย
จำเลย ‘อาจจะ’ “ไปกระทำการอันมีลักษณะเป็นความผิดเช่นเดียวกันกับคดีนี้อีก” ซึ่งการอ้างเช่นนี้เป็นมโนจริตโดยแท้ เนื่องเพราะ “เหตุผลข้อนี้ขัดต่อมาตรา ๑๐๘/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา” ใช่มะศาลจ๋า
ไม่เชื่อ ฯพณฯ หัวเจ้าทั่นศาล กรุณาไปเปิดดูกฎหมายมาตรานี้สักที จะได้ทราบว่า “การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว จะกระทำได้ต่อเมื่อ” ผุ้ต้องหาจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ไม่เช่นนั้นก็
“ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ” และ/หรือ “การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล” เหล่านั้นไม่ปรากฎว่าคำสั่งศาลอาญาใต้เข้าข่ายอะไรสักอย่างเดียว
นอกนั้นทนายนรเศรษฐ์บอกอีกว่า “คำสั่งของศาลขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ มาตรา๒๙ วรรคสาม” ด้วยไหม ด้วยเหตุที่มาตรา ๒๙ ระบุว่า “การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้หลบหนี” เท่านั้น
ตามหลัก ‘ยุติธรรม’ ผู้ใช้กฎหมายทั้งหลายย่อมต้องจำใส่กบาลไว้ตลอดเวลาว่า “ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์” เหตุผลที่ศาลอ้างไม่ให้ประกันรุ้ง เท่ากับว่า ศาลได้พิพากษาไปแล้วก่อนดำเนินคดี ว่าผู้ต้องหามีความผิด
ทั้งที่ “ยังไม่มีการพิสูจน์ด้วยซ้ำว่า จำเลยได้กระทำตามที่ถูกกล่าวหาจริงหรือไม่ หากทำจริงการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่” ด้วย แล้วยิ่งกว่านั้น เพื่อนร่วมโดนฟ้องร้องในคดีเดียวกันอีกสองคน
คือเบนจากับป็อกกี้ (เบนจา อะปัญ กับ ภวัต หิรัณย์ภณ) “ก็ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวไปก่อนหน้าแล้ว แต่เหตุใดศาลถึงไม่อนุญาตประกันตัวรุ้ง” นั่นน่ะสิ
(https://www.facebook.com/ronsan.huadong/posts/4527436994016260 และ https://www.bbc.com/thai/thailand-59293526atDWo)
"มือที่มองไม่เห็น"ในกระบวนการยุติธรรม?
10h · <"มือที่มองไม่เห็น"ในกระบวนการยุติธรรม?>
เห็นข่าว "องคมนตรี" ตีกลับชื่อ "ปรเมศวร์" ที่ถูกเสนอให้เป็นผู้ตรวจการอัยการ ทั้งๆที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) เรียบร้อยจนเสนอเรื่องให้โปรเกล้าฯ ตั้งแต่ปลายเดือนก่อนแล้วก็แปลกใจว่า ประเด็นใหญ่ขนาดนี้ ที่เกี่ยวพันกับความเป็นอิสระขององค์กรหลักในกระบวนการยุติธรรม แต่สื่อกลับเงียบจนแสบหู แค่นำเสนอเฉพาะเนื้อข่าวตามโพยที่ได้มาไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์แสดงความเห็นใดๆ วันนี้พึ่งจะกลับมาเป็นข่าวเล็กๆอีกครั้งเมื่อ ก.อ. มีคิวจะพิจารณาเรื่องที่โดนตีกลับนี้ว่าจะเอายังไง
กรณีนี้เหตุผลเรื่อง "ปรเมศวร์" จะมีปัญหาด้านจริยธรรมหรือไม่ คุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องพิจารณา เพราะถ้ากระบวนการเสนอชื่อได้ มติ ก.อ.ทำเรื่องโปรดเกล้าฯ ตามกฎหมายแล้ว "องคมนตรี" ไม่ได้มีอำนาจในการตีกลับ รายชื่อที่ผ่านการพิจารณาได้มติจาก ก.อ. และเสนอให้โปรดเกล้าแล้วเลย ถ้าไปดูตามตัวบทจริงๆ ใน รธน.60 พรบ.องค์กรอัยการฯ และ พรบ.ระเบียบข้าราชการอัยการ แม้แต่ "พระมหากษัตริย์" ก็ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะตีกลับรายชื่อที่ได้รับการเสนอขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะต่างจาก พรบ.คณะสงฆ์ ที่แก้ไขใหม่ให้อำนาจ "พระราชดำริฯ" อยู่เหนือมติของมหาเถรฯได้ แต่กรณี "อัยการ" นี้กฎหมายไม่ได้เขียนให้อำนาจไว้อย่างนั้น เมื่อมีมติ ก.อ. มีการเสนอชื่อขึ้นมาแล้ว ขั้นตอนการ "โปรดเกล้าฯ" จึงเป็นไปโดยอัตโนมัติ เพราะเป็นกระบวนการเชิงประเพณีเท่านั้น เพราะผู้รับผิดชอบคือคนเซ็นรับสนองฯ ซึ่งกรณีอัยการระดับรองคือ นายกฯ ส่วนอัยการสูงสุดคือ ประธานวุฒิฯ
"อัยการ"องค์กรในกระบวนการยุติธรรมองค์กรเดียวหรือเปล่าที่เจอเหตุการณ์แบบนี้ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง จะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่โดนเหมือนกัน? แล้วอย่างนี้จะมั่นใจได้อย่างไรว่า บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมจะสามารถใช้ดุลยพินิจได้อย่างอิสระ ถ้าการใช้ดุลยพินิจนั้นเป็นไปในทางที่ขัดกับทัศนะของสถาบันองคมนตรี โดยเฉพาะในคดีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ การใช้ดุลยพินิจที่จะสั่งไม่ฟ้อง หรือ ยกฟ้อง คดี 112 หรือ 116 รวมถึง การให้ประกันตัวผู้ต้องหาในคดีเหล่านี้ตามสิทธิ จะทำได้อย่างเป็นอิสระ โดยไม่ต้องคอยพวงว่าการแต่งตั้งครั้งหน้าอาจโดน"ตีกลับ"ได้อย่างไร?
อันที่จริงการใช้คำว่า "มือที่มองไม่เห็น" ก็ไม่ค่อยจะตรงกับความประเจิดประเจ้อที่เกิดขึ้นในยุคนี้นัก ในอดีตมีข่าวลือทำนองนี้อยู่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับการเสนอชื่อผู้นำเหล่าทัพ ซึ่งถ้าเสนอไปไม่ถูกใจมักจะมี "มือที่มองไม่เห็น"(ซึ่งลือกันว่าเป็นองคมนตรีที่เสียชีวิตไปไม่นานนี้) ตีกลับหรือดองไว้ไม่ดำเนินการต่อ แต่สมัยนั้นยังทำกันแบบลับๆ แอบทำกันหลังฉาก ไม่ได้แทงหนังสือราชการโจ่งแจ้งแบบนี้ หลังจากการยึดอำนาจ 2549 ฝ่ายอำนาจนำคุมอำนาจในการแต่งตั้งเบ็ดเสร็จก็ไม่ค่อยมีข่าวลือแบบนั้นแล้ว จะมีที่เป็นข่าวดังก็คือความขัดแย้งระหว่างผู้มีอำนาจด้วยกันเองกรณีแต่งตั้ง ผบ.ตร. สมัยอภิสิทธิ์ ทำให้เกิดการประลองกำลังกันจนเป็นข่าวดังอยู่หลายเดือน แต่นั่นก็ทำในขั้นตอนคณะกรรมการเสนอชื่อ โดยมี "สัญญาณพิเศษ(จากเยอรมัน?)" ส่งไปให้กรรมการ ก.ตร. ห้ามเห็นชอบรายชื่อ ผบ.ตร. ที่อภิสิทธิ์เสนอ ทำให้ ชื่อ พล.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ไม่สามารถได้มติรับรองจากที่ประชุม ก.ตร. ไม่ว่าอภิสิทธิ์ที่ได้รับแรงหนุนจาก "มือที่มองไม่เห็น" และ "สัญญาณพิเศษกว่า" จะพยายามเสนอชื่อกี่ครั้งก็ตามโดน ก.ตร. ตีตกหมด (ใครสนใจเรื่องนี้ อ่านเพิ่มเติมได้จาก "ลับลวงพลาง" กับ คอลัมน์ของปอง อัญชลี ตามลิงค์ข้างล่าง)
-ส่อชวด! เปิดเหตุผล องคมนตรีตีกลับ ‘ปรเมศวร์’ ขึ้นผู้ตรวจรอบ 2
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_3015233
-กรรมการอัยการ จ่อพิจารณาประเด็นร้อน ปมแต่งตั้ง หลังชื่อ ‘ปรเมศวร์’ ถูกตีกลับเรื่องจริยธรรม
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_3042003
-มือที่มองไม่เห็นกับสัญญาณพิเศษ
https://books.google.co.th/books?id=MC9WDwAAQBAJ&pg=PT95...
-สัญญาณพิเศษกว่า
https://mgronline.com/daily/detail/9520000122081
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar