4h
คุกคามทั้งเพศในสังคมไทย ใครต้องรับผิดชอบ
.
เครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านสตรีและความเสมอภาคทางเพศจัดวงเสวนาเรื่อง "จริยธรรมของผู้นำ กับหนทางสู่ความยุติธรรมของผู้ถูกละเมิดทางเพศ" วันนี้ (22 เม.ย.) โดยมีที่มาจากกรณีที่ผู้เสียจำนวนมากแสดงตัวและแจ้งความดำเนินคดีกับนายปริญญ์ พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ข้อหาข่มขืและทำอนาจาร
.
อุษา เลิศศรีสันทัด ผู้อำนวยการมูลนิธิผู้หญิง มองว่ากรณีนี้นับเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงที่เป็นผู้เสียหายจำนวนมากกล้าเปิดตัวและเอาผิดกับผู้ถูกกล่าวหา แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยยังมีความไม่เข้าใจและมีปัญหาหลายอย่างเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศ ทั้งอคติทางเพศและกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ปกป้องผู้เสียหายและเอื้อประโยชน์ให้ผู้ก่อเหตุ
.
"ปัญหาการคุกคามทางเพศเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ความเหลื่อมล้ำทางเพศที่เป็นอยู่ในสังคม...อคติในการมองผู้เสียหาย และมองไม่เห็นว่านี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากรากเหง้าของความไม่เสมอภาคในสังคม" ผอ. มูลนิธิผู้หญิงกล่าว
.
"สื่อมวลชนจะต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เพราะปล่อยให้มีการคุกคามทางเพศเกิดขึ้นทางสื่อทีวีและดิจิทัล ในรายการตลก บันเทิง การคุกคามทางเพศถูกทำให้เป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องน่าขำขัน เรามีละครที่ผลิตซ้ำพระเอกที่ลวนลามคุกคามทางเพศและไม่เคารพผู้หญิง ผู้ชายที่กระทำการคุกคามทางเพศก็นึกว่าตัวเองเป็นพระเอก นึกว่าตัวเองมีเสน่ห์มากที่จะเข้าหาผู้หญิง และมองว่าไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวผู้หญิงก็สมยอม"
.
ด้าน ดร.ถวิลวดี บุรีกุล คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ เรียกร้องพรรคการเมืองว่าต้องให้ความสำคัญกับจริยธรรมของนักการเมือง กระบวนการสรรหาบุคคลที่จะเข้ามาทำงานกับพรรค และเสนอให้รัฐสภาไทยอบรมสมาชิกรัฐสภาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar