อ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เล่าการรอดจากการถูกอุ้มของ "ตั้ง อาชีวะ" ขณะลี้ภัย ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Japan Times - Thai junta hounds opposition across borders
โดยทางการไทยได้รับไฟเขียวจากกัมพูชาให้เข้ามา "อุ้ม" ตั้ง ถึงขนาดส่งเจ้าหน้าที่มาเช่าห้องติดกัน...
ดีว่า ไหวตัวทัน
คลิกอ่านต้นฉบับThai junta hounds opposition across borders
BY PAVIN CHACHAVALPONGPUN
Japan Times
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: ไทยคืนดีกัมพูชา และชะตากรรมของผู้ลี้ภัย
พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนล่าสุด ได้เดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับผู้นำกัมพูชา ในโอกาสนี้ พลเอกธนะศักดิ์ได้มีโอกาสหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีฮุนเซน และพลเอกเตียบันห์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา บรรยากาศของการเฉลิมฉลองการปรับความสัมพันธ์ครั้งใหม่นี้น่าอภิรมย์อย่างยิ่ง
ในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านของไทยนั้น กัมพูชายังคงเป็นประเทศที่ไทยเป็นห่วงกังวลอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองของไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกรณีข้อพิพาทเหนือปราสาทเขาพระวิหาร หรือความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปัญหาคลางแคลงใจเหล่านี้ได้สร้างความกระอักกระอ่วนใจในสายตาของผู้นำไทยอย่างมาก จนถึงจุดที่ว่า การทำสงครามกับกัมพูชานั้นกลายมาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และมันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ดังที่เราได้เห็นในปี 2554
หลังจากการหารือทวิภาคีระหว่างสองฝ่าย พลเอกเตียบันห์ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า กัมพูชาและไทยตกลงที่จะร่วมมือกันยกระดับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้า ต่างให้คำมั่นสัญญาว่า จะส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนของสองประเทศ และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดจากอาชญกรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือการที่ทางกัมพูชาได้ขอร้องให้ฝ่ายไทย “ดูแล” แรงงานกัมพูชาในไทย ซึ่งเรื่องนี้ พลเอกธนะศักดิ์ได้ตอบกลับว่าจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ และสัญญาว่า จะพิจารณาแก้ไขและปรับปรุงกฏระเบียบในการปกป้องสิทธิของแรงงานต่างชาติในไทย
แต่ขณะเดียวกัน ทั้งไทยและกัมพูชาก็ยังไม่ได้เริ่มกระบวนการแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตีความคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีเขาพระวิหารเมื่อปี 2505 อีกครั้งหนึ่ง ตามที่ได้รับการร้องขอจากกัมพูชา หลังจากัมพูชาเห็นว่า ปัญหายังคงยืดเยื้อและฝ่ายไทยยังไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทเขาพระวิหาร ในการตีความใหม่รอบนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยืนยันว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นสมบัติที่ถูกต้องตามกฏหมายของกัมพูชา และเรียกร้องให้กองทัพของทั้งสองประเทศถอนทหารออกจากเขตพื้นที่ทับซ้อนที่มีขนาด 4.6 ตารางกิโลเมตร เกี่ยวกับเรื่องนี้ พลเอกเตียบันห์ให้ความเห็นว่า กัมพูชาเชื่อว่า ปัญหาเหนือพื้นที่ทับซ้อนในบริเวณประสาทเขาพระวิหารนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอีกต่อไป
ในการเดินทางเยือนกัมพูชาในครั้งนี้ ได้มีคณะติดตามพลเอกธนะศักดิ์อีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหม พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงอีกจำนวนหนึ่ง โดยคณะทั้งหมดได้มีโอกาสเข้าพบนายกรัฐมนตรีฮุนเซน เพื่อหาหนทางในการกระชับความสัมพันธ์ในภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
แต่คำถามที่สำคัญก็คือ เพราะเหตุใด พลเอกธนะศักดิ์จึงต้องเดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างรีบเร่ง เพียงแค่ไม่กี่วันหลังจากที่ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ ในระหว่างที่เดินทางไปเยือนกัมพูชานั้น ยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีชุดใหม่ หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว นับตั้งแต่มีการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา สถานการณ์ได้บังคับให้ไทยต้องหามิตรเพิ่มเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความชอบธรรมให้กับ คสช. พันธมิตรดั้งเดิมของไทยในโลกตะวันตกล้วนออกมาวิพากษ์วิจารณ์คณะรัฐประหาร และได้ประกาศใช้นโยบายคว่ำบาตรต่อ คสช ด้วย
ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาได้ยุติการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กองทัพไทย ซึ่งเป็นข้อกฏหมายที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ในกรณีที่พันธมิตรของสหรัฐฯ ได้มีการทำรัฐประหาร จึงจำเป็นต้องมีการตอบโต้ด้วยมาตรการคว่ำบาตรดังกล่าว นอกจากนี้ ยังเป็นที่ไม่ชัดเจนว่า สหรัฐฯ จะยังจัดให้มีการฝึกซ้อมรบทางทหารร่วมกับไทยในกรอบ “คอบร้าโกล์ด” ด้วยหรือไม่ปีนี้ ไม่แน่ชัดว่าจะมีการย้ายสถานที่ฝึกซ้อมรบไปยังออสเตรเลียหรือไม่ และไทยจะได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าร่วมในกิจกรรมนี้หรือไม่ ขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปก็ได้ประกาศยุติความร่วมมือในระดับทวิภาคีกับไทย โดยเฉพาะการยุติการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างสองฝ่าย ทั้งสหภาพยุโรปและออสเตรเลียยังได้ประกาศห้ามผู้นำระดับสูงของ คสช เดินทางเข้าไปยังยุโรปและออสเตรเลีย เพื่อตอบโต้ต่อการทำรัฐประหารของกองทัพไทย
ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ การสนับสนุนจากประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง จีนเป็นประเทศแรกๆ ที่ให้การสนับสนุน คสช ในความเป็นจริง จีนได้ใช้โอกาสที่ไทยเผชิญปัญหาทางการเมือง ในการกระชับความสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารของไทย เพื่อที่จะลดอิทธิพลของสหรัฐฯ ในไทย ถือเป็นส่วนหนึ่งของเกมการเมืองระหว่างประเทศ นอกจากนี้ พม่ายังได้ส่งผู้นำระดับสูงมาเยือนไทยด้วย โดยเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พลเอกอาวุโส มิน อ่อง เลง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เดินทางมาเยือยไทย และได้กล่าวว่า คสช กำลังทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว นั่นคือ การยึดอำนาจจากรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย
แต่ทั้งนี้ การสนับสนุนที่มาจากกัมพูชายังมีความสำคัญเกือบจะมากที่สุด ความสัมพันธ์ไทยและกัมพูชายังมีความซับซ้อน และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกัมพูชายังคงมีความละเอียดอ่อน ในช่วงที่ผ่านมานั้น ได้มีการปล่อยข่าวลือถึงการที่ไทยจะส่งแรงงานผิดกฏหมายกัมพูชากลับประเทศ ข่าวลือดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อความมั่นคงตามแนวชายแดน ที่สำคัญ ส่งผลต่อสถานะของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ที่การคงอยู่ทางการเมืองนั้น ขึ้นอยู่กับคะแนนความนิยมที่ชาวกัมพูชามีให้กับตัวนายกรัฐมนตรีฮุนเซนเอง ด้วยเหตุนี้ นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งของการที่ฮุนเซนต้องการกระชับความสัมพันธ์กับไทย เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานกัมพูชาและเพื่อเรียกคะแนนนิยมกลับมาจากสาธารณชนกัมพูชา ในแง่ที่ว่า ผู้นำสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
แต่ที่สำคัญกว่านั้น ในหลายปีที่ผ่านมา กัมพูชาได้กลายเป็นที่พักพิงหรือแม้แต่เป็นพื้นที่ของคนบางกลุ่มที่ใช้ต่อต้านกลุ่มการเมืองในเมืองไทย อาทิ กลุ่มเสื้อแดงส่วนหนึ่ง หรือแแม้แต่กลุ่มที่ต่อต้าน คสช ในปัจจุบัน ความหวาดกลัวจึงเกิดขึ้นทันทีในกลุ่มของผู้ที่หลบหนีอยู่ในกัมพูชา โดยเฉพาะต่อความเป็นไปได้ที่ว่า ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในระดับรัฐบาลของสองประเทศจะส่งผลกระทบต่อสถานะของตนเอง อาจมีความเป็นไปได้ที่ฝ่ายไทยจะขอความร่วมมือในการส่งตัวผู้ลี้ภัยในกัมพูชาเหล่านี้กลับสู่ประเทศไทย
ไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับกัมพูชา ซึ่งได้สร้างพันธกรณีของการส่งตัวผู้ร้ายกลับสุ่ประเทศภูมิลำเนาของบุคคลหนึ่งๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยและกัมพูชาจะลงนามในสนธิสัญญานี้ต่อกัน แต่หลักปฏิบัติสากลได้ชี้อย่างชัดเจนว่า แทบจะไม่มีประเทศใดยินยอมส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน โดยเฉพาะหากบุคคลนั้นๆ มีคดีความที่เกี่ยวข้องกับการเมือง หมายความว่า ในสถานการณ์ปกติ กัมพูชากลับต้องให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเหล่านี้ด้วยซ้ำ ทั้งในแง่ของการมอบสถานะผู้ลี้ภัยและแหล่งพักพิง หรือการส่งตัวผู้ลี้ภัยไปยังประเทศที่สามเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม
แต่ในที่สุด การเมืองก็คือการเมือง ไม่ว่าที่นี่ หรือที่ไหน การเมืองก็เปรียบเสมือนเรือที่ล่องอยู่ในทะเลที่อาจต้องประสบกับสิ่งที่ไม่คาดคิดอยู่เสมอ ขณะนี้ ยังไม่ชัดเจนว่า รัฐบาลฮุนเซนมองเรื่องนี้อย่างไร และจะอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยอยู่ในกัมพูชาได้นานเท่าใด ในทางหนึ่ง นายกรัฐมนตรีฮุนเซนอาจต้องการใช้โอกาสนี้ในการคืนดีกับไทย เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่มั่นคงตามแนวพรมแดน แต่อีกทางหนึ่ง ฮุนเซนอาจพิจารณาว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ยังมีประโยชน์ต่อกัมพูชาอย่างมาก ในแง่ของการเป็นปัจจัยต่อรองกับ คสช ได้
ในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านของไทยนั้น กัมพูชายังคงเป็นประเทศที่ไทยเป็นห่วงกังวลอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองของไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกรณีข้อพิพาทเหนือปราสาทเขาพระวิหาร หรือความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปัญหาคลางแคลงใจเหล่านี้ได้สร้างความกระอักกระอ่วนใจในสายตาของผู้นำไทยอย่างมาก จนถึงจุดที่ว่า การทำสงครามกับกัมพูชานั้นกลายมาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และมันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ดังที่เราได้เห็นในปี 2554
หลังจากการหารือทวิภาคีระหว่างสองฝ่าย พลเอกเตียบันห์ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า กัมพูชาและไทยตกลงที่จะร่วมมือกันยกระดับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้า ต่างให้คำมั่นสัญญาว่า จะส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนของสองประเทศ และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดจากอาชญกรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือการที่ทางกัมพูชาได้ขอร้องให้ฝ่ายไทย “ดูแล” แรงงานกัมพูชาในไทย ซึ่งเรื่องนี้ พลเอกธนะศักดิ์ได้ตอบกลับว่าจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ และสัญญาว่า จะพิจารณาแก้ไขและปรับปรุงกฏระเบียบในการปกป้องสิทธิของแรงงานต่างชาติในไทย
แต่ขณะเดียวกัน ทั้งไทยและกัมพูชาก็ยังไม่ได้เริ่มกระบวนการแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตีความคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีเขาพระวิหารเมื่อปี 2505 อีกครั้งหนึ่ง ตามที่ได้รับการร้องขอจากกัมพูชา หลังจากัมพูชาเห็นว่า ปัญหายังคงยืดเยื้อและฝ่ายไทยยังไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทเขาพระวิหาร ในการตีความใหม่รอบนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยืนยันว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นสมบัติที่ถูกต้องตามกฏหมายของกัมพูชา และเรียกร้องให้กองทัพของทั้งสองประเทศถอนทหารออกจากเขตพื้นที่ทับซ้อนที่มีขนาด 4.6 ตารางกิโลเมตร เกี่ยวกับเรื่องนี้ พลเอกเตียบันห์ให้ความเห็นว่า กัมพูชาเชื่อว่า ปัญหาเหนือพื้นที่ทับซ้อนในบริเวณประสาทเขาพระวิหารนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอีกต่อไป
ในการเดินทางเยือนกัมพูชาในครั้งนี้ ได้มีคณะติดตามพลเอกธนะศักดิ์อีกจำนวนหนึ่ง ได้แก่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหม พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงอีกจำนวนหนึ่ง โดยคณะทั้งหมดได้มีโอกาสเข้าพบนายกรัฐมนตรีฮุนเซน เพื่อหาหนทางในการกระชับความสัมพันธ์ในภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
แต่คำถามที่สำคัญก็คือ เพราะเหตุใด พลเอกธนะศักดิ์จึงต้องเดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างรีบเร่ง เพียงแค่ไม่กี่วันหลังจากที่ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ ในระหว่างที่เดินทางไปเยือนกัมพูชานั้น ยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีชุดใหม่ หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว นับตั้งแต่มีการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา สถานการณ์ได้บังคับให้ไทยต้องหามิตรเพิ่มเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความชอบธรรมให้กับ คสช. พันธมิตรดั้งเดิมของไทยในโลกตะวันตกล้วนออกมาวิพากษ์วิจารณ์คณะรัฐประหาร และได้ประกาศใช้นโยบายคว่ำบาตรต่อ คสช ด้วย
ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาได้ยุติการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กองทัพไทย ซึ่งเป็นข้อกฏหมายที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ในกรณีที่พันธมิตรของสหรัฐฯ ได้มีการทำรัฐประหาร จึงจำเป็นต้องมีการตอบโต้ด้วยมาตรการคว่ำบาตรดังกล่าว นอกจากนี้ ยังเป็นที่ไม่ชัดเจนว่า สหรัฐฯ จะยังจัดให้มีการฝึกซ้อมรบทางทหารร่วมกับไทยในกรอบ “คอบร้าโกล์ด” ด้วยหรือไม่ปีนี้ ไม่แน่ชัดว่าจะมีการย้ายสถานที่ฝึกซ้อมรบไปยังออสเตรเลียหรือไม่ และไทยจะได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าร่วมในกิจกรรมนี้หรือไม่ ขณะเดียวกัน สหภาพยุโรปก็ได้ประกาศยุติความร่วมมือในระดับทวิภาคีกับไทย โดยเฉพาะการยุติการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างสองฝ่าย ทั้งสหภาพยุโรปและออสเตรเลียยังได้ประกาศห้ามผู้นำระดับสูงของ คสช เดินทางเข้าไปยังยุโรปและออสเตรเลีย เพื่อตอบโต้ต่อการทำรัฐประหารของกองทัพไทย
ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ การสนับสนุนจากประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง จีนเป็นประเทศแรกๆ ที่ให้การสนับสนุน คสช ในความเป็นจริง จีนได้ใช้โอกาสที่ไทยเผชิญปัญหาทางการเมือง ในการกระชับความสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารของไทย เพื่อที่จะลดอิทธิพลของสหรัฐฯ ในไทย ถือเป็นส่วนหนึ่งของเกมการเมืองระหว่างประเทศ นอกจากนี้ พม่ายังได้ส่งผู้นำระดับสูงมาเยือนไทยด้วย โดยเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พลเอกอาวุโส มิน อ่อง เลง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้เดินทางมาเยือยไทย และได้กล่าวว่า คสช กำลังทำสิ่งที่ถูกต้องแล้ว นั่นคือ การยึดอำนาจจากรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย
แต่ทั้งนี้ การสนับสนุนที่มาจากกัมพูชายังมีความสำคัญเกือบจะมากที่สุด ความสัมพันธ์ไทยและกัมพูชายังมีความซับซ้อน และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกัมพูชายังคงมีความละเอียดอ่อน ในช่วงที่ผ่านมานั้น ได้มีการปล่อยข่าวลือถึงการที่ไทยจะส่งแรงงานผิดกฏหมายกัมพูชากลับประเทศ ข่าวลือดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อความมั่นคงตามแนวชายแดน ที่สำคัญ ส่งผลต่อสถานะของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ที่การคงอยู่ทางการเมืองนั้น ขึ้นอยู่กับคะแนนความนิยมที่ชาวกัมพูชามีให้กับตัวนายกรัฐมนตรีฮุนเซนเอง ด้วยเหตุนี้ นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งของการที่ฮุนเซนต้องการกระชับความสัมพันธ์กับไทย เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานกัมพูชาและเพื่อเรียกคะแนนนิยมกลับมาจากสาธารณชนกัมพูชา ในแง่ที่ว่า ผู้นำสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
แต่ที่สำคัญกว่านั้น ในหลายปีที่ผ่านมา กัมพูชาได้กลายเป็นที่พักพิงหรือแม้แต่เป็นพื้นที่ของคนบางกลุ่มที่ใช้ต่อต้านกลุ่มการเมืองในเมืองไทย อาทิ กลุ่มเสื้อแดงส่วนหนึ่ง หรือแแม้แต่กลุ่มที่ต่อต้าน คสช ในปัจจุบัน ความหวาดกลัวจึงเกิดขึ้นทันทีในกลุ่มของผู้ที่หลบหนีอยู่ในกัมพูชา โดยเฉพาะต่อความเป็นไปได้ที่ว่า ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในระดับรัฐบาลของสองประเทศจะส่งผลกระทบต่อสถานะของตนเอง อาจมีความเป็นไปได้ที่ฝ่ายไทยจะขอความร่วมมือในการส่งตัวผู้ลี้ภัยในกัมพูชาเหล่านี้กลับสู่ประเทศไทย
ไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับกัมพูชา ซึ่งได้สร้างพันธกรณีของการส่งตัวผู้ร้ายกลับสุ่ประเทศภูมิลำเนาของบุคคลหนึ่งๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยและกัมพูชาจะลงนามในสนธิสัญญานี้ต่อกัน แต่หลักปฏิบัติสากลได้ชี้อย่างชัดเจนว่า แทบจะไม่มีประเทศใดยินยอมส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน โดยเฉพาะหากบุคคลนั้นๆ มีคดีความที่เกี่ยวข้องกับการเมือง หมายความว่า ในสถานการณ์ปกติ กัมพูชากลับต้องให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเหล่านี้ด้วยซ้ำ ทั้งในแง่ของการมอบสถานะผู้ลี้ภัยและแหล่งพักพิง หรือการส่งตัวผู้ลี้ภัยไปยังประเทศที่สามเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม
แต่ในที่สุด การเมืองก็คือการเมือง ไม่ว่าที่นี่ หรือที่ไหน การเมืองก็เปรียบเสมือนเรือที่ล่องอยู่ในทะเลที่อาจต้องประสบกับสิ่งที่ไม่คาดคิดอยู่เสมอ ขณะนี้ ยังไม่ชัดเจนว่า รัฐบาลฮุนเซนมองเรื่องนี้อย่างไร และจะอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยอยู่ในกัมพูชาได้นานเท่าใด ในทางหนึ่ง นายกรัฐมนตรีฮุนเซนอาจต้องการใช้โอกาสนี้ในการคืนดีกับไทย เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่มั่นคงตามแนวพรมแดน แต่อีกทางหนึ่ง ฮุนเซนอาจพิจารณาว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ยังมีประโยชน์ต่อกัมพูชาอย่างมาก ในแง่ของการเป็นปัจจัยต่อรองกับ คสช ได้
.............................
เรื่องนี้บอกอะไร? ..ฝากให้อ่าน..บทความนี้บอกอะไรได้หลายอย่าง ...
เรื่องนี้บอกอะไร? ..ฝากให้อ่าน..บทความนี้บอกอะไรได้หลายอย่าง ...
โดย ราษฎรไทย
เรื่องเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่.. มีเกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัยของการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ทุกครั้งเมื่อพวกอำมาตย์เผด็จการทรราชราชาธิปไตยยึดอำนาจรัฐปกครองประเทศ "อำมาตย์ศํกดินา นายทุน ขุนศึก นักการเมือง รวมทั้งข้าราชการ" ข้าทาสรับใช้อำมาตย์เผด็จการทรราชได้ทำการกดขี่ข่มเหงไล่ล่าประชาชนและทำลายระบอบประชาธิปไตย ประชาชนไทยจึงได้มีการรวมตัวกันออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนเอง เรื่องนี้ถือว่าเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับคนรุ่นใหม่ผู้ที่เปิดตัวออกมาต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ได้ศึกษาเรียนรู้ถึงเรื่องราว "ความจริง"ที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบัน นำมาศึกษาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ในการต่อสู้กับอำมาตย์เผด็จการทรราชที่ให้ทหารยึดอำนาจรัฐเวลานี้ สำคัญที่สุดทุกคนต้องเปิดใจให้กว้างยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นศึกษาเรียนเรียนรู้สร้างตัวเองให้พร้อมรอบด้าน ติดอาวุธทางปัญญา "รู้เขารู้เรา"เตรียมตัวตลอดเวลา
ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทุกคนต้องมีจิตสำนึกที่แน่วแน่มั่นคงเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยไม่เปลี่ยนแปลง มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความอดทน มีวินัย มีจิตใจเสียสละทำงานเพื่อส่วนรวม ต่อสู้เรียกร้องเพื่อสร้างสังคมและประเทศชาติ มีอิสระโดยไม่เป็นข้าทาสรับใช้ทำเพื่อผลประโยชน์ตอบแทนหรือผลประโยชน์ของพรรคพวกตัวเอง สิ่งเหล่านี้คือสิ่งสำคัญเป็นจิตสำนึกขั้นพื้นฐาน ในการก้าวเดินร่วมกันสร้างระบอบประชาธิปไตย ฝากให้พี่น้องเพื่อนร่วมชาติที่รักความถูกต้องยุติธรรม ที่ต้องการปลดปล่อยตัวเองออกจากการอยู่ภายใต้การปกครองของระบอบอำมาตย์เผด็จการทรราชและต้องให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง จงออกมาร่วมกันขับไล่เผด็จการ แล้วช่วยกันสร้างประชาธิปไตยตามความเหมาะสมของความพร้อมความรู้ความสามารถของแต่ละคน อย่าลืมว่าประเทศไทยเป็นของคนไทยทุกคนทุกหมู่เหล่าทุกชนชั้นของทุกคนร่วมกัน ดังนั้นทุกคนต้องลุกขึ้นช่วยเหลือตนเองออกมาช่วยกันขับไล่ระบอบเผด็จการให้หมดไปจากสังคมไทย. โดยประชาชนไทยทุกหมู่เหล่าตื่นตัวออกมาร่วมด้วยช่วยกันเรียกร้องคนละไม้คนละมือ เพื่อใช้เป็นแรงขับเคลื่อนเดินหน้าด้วยพลังเรียกร้องอันบริสุทธิ์ของประชาชนไทย จงออกมาร่วมกันสร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงมอบให้ประเทศไทยและปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ....
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar