⚠️🇹🇭
ฝ่ายผู้กุมอำนาจปกครองไทยกำลังเพิ่มมาตรการคุกคามข่มขู่ประชาชน
ที่พวกเขาระแวงว่าไปแชร์ความเห็นหนักๆที่วิพากย์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์บนโซเชียลมีเดีย
มีหลายท่านที่ได้ติดต่อบอกผมมา ในช่วงสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมา ว่าโดนตำรวจเรียกไปสอบสวน ในช่วงนี้ ดูเหมือนพวกตำรวจเลี่ยงที่จะใช้มาตรา 112 มาเล่นงานคน แต่ใช้วิธีกดดันให้ผู้ต้องสงสัยให้รายละเอียดข้อมูลคนอื่นที่ต่อต้านสถาบันกษัตริย์ และบางครั้ง ก็ถึงกับบังคับให้ผู้ต้องสงสัยมอบพาสเวิร์ดบัญชีโซเชียลของเขา พวกตำรวจจะได้เช็คเมสเสจต่างๆดูว่า ได้พูดอะไรกับใคร เรื่องอะไรบ้าง
ผู้ต้องสงสัยบางท่านถูกสั่งให้เซ็นสมยอมสัญญาว่า พวกเขาจะหยุดวิพากย์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ด้วยคถขู่สำทับว่า หากมีการกระทำเช่นเดิมอีก ก็จะเกิดปัญหาใหญ่แน่ๆ
เป็นเรื่องสำคัญที่ผมขอเตือนทุกท่านนะครับ — ถ้าคุณยังอยู่ในเมืองไทย แล้วโพสต์บนโซเชียลด้วยชื่อจริง โปรดระวังในสิ่งที่คุณพูดด้วยครับ ตำรวจกำลังจับตาพวกเราอยู่ มันจะปลอดภัยกว่าถ้าใช้แอคเค้าท์อวตารที่ไม่มีชื่อหรือรูปภาพให้เขาตามตัวได้ มาเขียนอะไรให้ตรงใจคิดจะดีกว่าครับ
แล้วถ้าทำได้ก็ขอแนะนำให้ใช้ VPN เพื่อว่าใครจะมาดู IP address ของคุณไม่ได้
โปรดใช้ความระมัดระวังป้องกันตัวเอง ในกลุ่ม รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส ด้วยนะครับ หลายๆคนไปโพสต์ในกลุ่มนั้นด้วยชื่อจริง ใช้ตัวตนจริงๆ เพราะคิดว่า มันเป็นกลุ่มปิดไปรเวต แต่พวกตำรวจทหารแห่กันเข้าไปจับตาคอยจับผิดคุณอยู่นะครับ
ถ้าเกิดกรณีฉุกเฉิน ใครต้องการความช่วยเหลือจากการคุกคามจับกุม คุณสามารถติดต่อทนายไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ตลอด 24 ชั่วโมงนะครับ โทรไปได้ที่เบอร์ 271-3172 หรือ 096-789-3173 หรือจะส่งอีเมล์ก็ได้ไปที่ tlhr@tlhr2014.com
มีท่านหนึ่งที่ถูกเรียกตัวไปสอบสวน แล้วได้เล่าให้ผมฟังมาดังนี้ครับ
...........................
คุณแอนดรู เมื่อวานมีตำรวจมาที่บ้านผม เรื่อง 112 เรื่องโพสท์วิจารณ์ โดนเชิญไปสถานีตำรวจในเมือง
ทีแรกผมคิดว่า จะต้องโดนหนัก แต่พอไปถึงจริงๆเป็นการเจรจาต่อรอง ไม่ดำเนินคดี ไม่มีกระทำรุนแรง แฝเพียงแต่ให้เซ็นเอกสาร และรลบคอมเม้นต์บางส่วนออก อยากจะเล่าประสบการณ์ส่วนนึง ถ้าหากมันเป็นประโยชน์
เท่าที่คุย ประมาณว่า จะแยกคนเป็นสองกลุ่ม ถ้าเป็นคนที่เสพข้อมูลอย่างเดียว ตำรวจจะไม่ได้ตั้งข้อหา แต่ให้เซ็น mou ว่าจะไม่คอมเม้นต์อีก
แต่เท่าที่พยายามถาม คนที่โดนดำเนินคดี คือ กลุ่มแกนนำจัดตั้งสหพันธรัฐ
ตำรวจชุดที่ทำงานเป็นทีม มีประมาณ 15-17 คน ต่อ 1 ทีม
ไม่ได้ประจำแน่นอน แต่จะไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อเจรจาโดยเฉพาะ มีเป้าหมายทีละคน
เท่าที่คุยจะมีทีมแบบนี้หลายทีม ตระเวนเก็บข้อมูล แบ่งเคสเป็นหลายระดับ มีการเจรจาทางจิตวิทยามวลชนที่นุ่มนวล ไม่ใช่ข่มขู่บังคับ
วันที่ผมโดนเท่าที่เห็นมีคนก่อนหน้าราว 3 คน แต่ไม่ได้พูดคุยอะไรกัน
ตำรวจทีมเฉพาะกิจนี้จะใช้สถานีตำรวจของจังหวัดนั้นๆ เป็นพื้นที่ทำงานชั่วคราว ในการเก็บข้อมูล แต่ตามข้อมูล
ไม่เห็นว่าใช้เครื่องแฮกรหัส
การทำงานค่อนข้างหละหลวม เจรจาในห้องที่ทีมงานตั้งคอมอยู่ด้วยกัน ไม่ได้แยกห้องเจรจา
การเจรจาพยายามพูดจาแบบเป็นกันเอง ตีสนิท คนไทยด้วยกัน เหมือนพยายามบอกเราว่าทางรัฐบาลอะลุ่มอล่วย ถือว่าพี่ขอ พี่ทำหน้าที่ ไม่ได้อยากทำร้ายกัน
ืัทีมตำรวจไม่มีการแสดงว่าพกอาวุธให้เห็น ไม่ได้จับกุมแบบล๊อกแขนขา ไม่ใส่กุญแจมือ
แต่มีการถ่ายวีดีโอตอนพูดคุยสัมภาษณ์ ซึ่งตำรวจจะถามที่มาที่ไปต่างๆ ว่าติดต่อกับแกนนำคนไหน คนดังคนไหน หรือมีใครจ้างวาน แต่จะค่อยๆ ตะล่อมถาม ไม่ได้เค้น ไม่ได้ข่มขู่
ตำรวจที่มาทำงานดูเหมือนหลายคนจะไม่ใช่ตำรวจที่เป็นนักเรียนนายร้อย
หลายคนในทีมไม่มีบุคคลิกแบบตำรวจ แต่เหมือนกับเป็นเจ้าหน้าที่ด้านงานวิชาชีพอื่นสมัครเข้ามามำงาน
ตำรวจพวกนี้ พยายามทำตัวตีสนิทมากๆ เหมือนพยายามให้เป็นคนรู้จัก เหมือนเจอกันธรรมดา แต่งตัวแบบธรรมดา ทรงผมธรรมดา ในตอนช่วงสัมภาษณ์ แสดงตัวเป็นเหมือนผู้รับฟังที่ดี ไม่ได้แสดงตัวเหมือนตำรวจสอบสวน
แต่การถาม จะเน้นเรื่อง ว่า
1.การที่ไม่ชอบ 10 ได้ข้อมูลจากที่ไหน
2.เคยไปประท้วงทางการเมืองตอนไหนบ้าง
3.มีความสัมพันธ์หรือสนิทกับแกนนำ หรือคนดังแค่ไหน
4.เป็นหนึ่งในกองกำลังจัดตั้ง สหพันธรัฐไทยหรือเปล่า
มีการพยามกล่อม ให้มองสถาบันว่าดีกว่าไม่มี
ถ้ามีศูนย์รวมใจ ดีกว่าจะแตกแยก แต่พูดเพียงเล็กน้อย
ไม่ได้พูดชัดเจนมากนัก
มีการพูดถามเรื่องสัพเพเหระต่างๆ เกี่ยวกับความรู้สึกทางการเมือง ความรู้ทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจการเมือง ฯลฯ โดยไม่ได้มีการข่มขู่ หรือใช้คำบีบบังคับให้สารภาพ
ระหว่างเวลาช่วงทานอาหาร มีการเอาขนม เอาน้ำมาให้ ตอนกลับก็ถามว่า จะกินขนมอะไรหรือเปล่า มีการใช้จิตวิทยามวลชนทำให้รู้สึกกลัวน้อยที่สุด
แต่ผมดื่มแต่น้ำ ปฏิเสธกินขนมและอาหาร ในเวลาช่วง ราว 7 ชั่วโมงนั้น
.........................
⚠️🇬🇧 The Thai regime is stepping up efforts to crack down on people suspected of sharing critical comments about the monarchy on social media.
Several people have contacted me in recent weeks to say they were interviewed by police. For the moment, police seem to be avoiding use of Article 112. They pressure suspects to share information about others who are anti-monarchy, and sometimes force suspects to hand over the passwords to their social media accounts. Police then check their messages and see who they have been talking to.
Suspects are usually told to sign a form promising that they will stop criticising the monarchy, and warned that if they do it again, they will be in big trouble.
It is important to remind everybody — if you are in Thailand, and posting on social media using your real name, be very careful what you say. Police are watching.
It is safer to have an avatar account that does not include your real name or photographs.
You should also try to use a VPN so that your IP address can't be tracked.
มีหลายท่านที่ได้ติดต่อบอกผมมา ในช่วงสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมา ว่าโดนตำรวจเรียกไปสอบสวน ในช่วงนี้ ดูเหมือนพวกตำรวจเลี่ยงที่จะใช้มาตรา 112 มาเล่นงานคน แต่ใช้วิธีกดดันให้ผู้ต้องสงสัยให้รายละเอียดข้อมูลคนอื่นที่ต่อต้านสถาบันกษัตริย์ และบางครั้ง ก็ถึงกับบังคับให้ผู้ต้องสงสัยมอบพาสเวิร์ดบัญชีโซเชียลของเขา พวกตำรวจจะได้เช็คเมสเสจต่างๆดูว่า ได้พูดอะไรกับใคร เรื่องอะไรบ้าง
ผู้ต้องสงสัยบางท่านถูกสั่งให้เซ็นสมยอมสัญญาว่า พวกเขาจะหยุดวิพากย์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ด้วยคถขู่สำทับว่า หากมีการกระทำเช่นเดิมอีก ก็จะเกิดปัญหาใหญ่แน่ๆ
เป็นเรื่องสำคัญที่ผมขอเตือนทุกท่านนะครับ — ถ้าคุณยังอยู่ในเมืองไทย แล้วโพสต์บนโซเชียลด้วยชื่อจริง โปรดระวังในสิ่งที่คุณพูดด้วยครับ ตำรวจกำลังจับตาพวกเราอยู่ มันจะปลอดภัยกว่าถ้าใช้แอคเค้าท์อวตารที่ไม่มีชื่อหรือรูปภาพให้เขาตามตัวได้ มาเขียนอะไรให้ตรงใจคิดจะดีกว่าครับ
แล้วถ้าทำได้ก็ขอแนะนำให้ใช้ VPN เพื่อว่าใครจะมาดู IP address ของคุณไม่ได้
โปรดใช้ความระมัดระวังป้องกันตัวเอง ในกลุ่ม รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส ด้วยนะครับ หลายๆคนไปโพสต์ในกลุ่มนั้นด้วยชื่อจริง ใช้ตัวตนจริงๆ เพราะคิดว่า มันเป็นกลุ่มปิดไปรเวต แต่พวกตำรวจทหารแห่กันเข้าไปจับตาคอยจับผิดคุณอยู่นะครับ
ถ้าเกิดกรณีฉุกเฉิน ใครต้องการความช่วยเหลือจากการคุกคามจับกุม คุณสามารถติดต่อทนายไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ตลอด 24 ชั่วโมงนะครับ โทรไปได้ที่เบอร์ 271-3172 หรือ 096-789-3173 หรือจะส่งอีเมล์ก็ได้ไปที่ tlhr@tlhr2014.com
มีท่านหนึ่งที่ถูกเรียกตัวไปสอบสวน แล้วได้เล่าให้ผมฟังมาดังนี้ครับ
...........................
คุณแอนดรู เมื่อวานมีตำรวจมาที่บ้านผม เรื่อง 112 เรื่องโพสท์วิจารณ์ โดนเชิญไปสถานีตำรวจในเมือง
ทีแรกผมคิดว่า จะต้องโดนหนัก แต่พอไปถึงจริงๆเป็นการเจรจาต่อรอง ไม่ดำเนินคดี ไม่มีกระทำรุนแรง แฝเพียงแต่ให้เซ็นเอกสาร และรลบคอมเม้นต์บางส่วนออก อยากจะเล่าประสบการณ์ส่วนนึง ถ้าหากมันเป็นประโยชน์
เท่าที่คุย ประมาณว่า จะแยกคนเป็นสองกลุ่ม ถ้าเป็นคนที่เสพข้อมูลอย่างเดียว ตำรวจจะไม่ได้ตั้งข้อหา แต่ให้เซ็น mou ว่าจะไม่คอมเม้นต์อีก
แต่เท่าที่พยายามถาม คนที่โดนดำเนินคดี คือ กลุ่มแกนนำจัดตั้งสหพันธรัฐ
ตำรวจชุดที่ทำงานเป็นทีม มีประมาณ 15-17 คน ต่อ 1 ทีม
ไม่ได้ประจำแน่นอน แต่จะไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อเจรจาโดยเฉพาะ มีเป้าหมายทีละคน
เท่าที่คุยจะมีทีมแบบนี้หลายทีม ตระเวนเก็บข้อมูล แบ่งเคสเป็นหลายระดับ มีการเจรจาทางจิตวิทยามวลชนที่นุ่มนวล ไม่ใช่ข่มขู่บังคับ
วันที่ผมโดนเท่าที่เห็นมีคนก่อนหน้าราว 3 คน แต่ไม่ได้พูดคุยอะไรกัน
ตำรวจทีมเฉพาะกิจนี้จะใช้สถานีตำรวจของจังหวัดนั้นๆ เป็นพื้นที่ทำงานชั่วคราว ในการเก็บข้อมูล แต่ตามข้อมูล
ไม่เห็นว่าใช้เครื่องแฮกรหัส
การทำงานค่อนข้างหละหลวม เจรจาในห้องที่ทีมงานตั้งคอมอยู่ด้วยกัน ไม่ได้แยกห้องเจรจา
การเจรจาพยายามพูดจาแบบเป็นกันเอง ตีสนิท คนไทยด้วยกัน เหมือนพยายามบอกเราว่าทางรัฐบาลอะลุ่มอล่วย ถือว่าพี่ขอ พี่ทำหน้าที่ ไม่ได้อยากทำร้ายกัน
ืัทีมตำรวจไม่มีการแสดงว่าพกอาวุธให้เห็น ไม่ได้จับกุมแบบล๊อกแขนขา ไม่ใส่กุญแจมือ
แต่มีการถ่ายวีดีโอตอนพูดคุยสัมภาษณ์ ซึ่งตำรวจจะถามที่มาที่ไปต่างๆ ว่าติดต่อกับแกนนำคนไหน คนดังคนไหน หรือมีใครจ้างวาน แต่จะค่อยๆ ตะล่อมถาม ไม่ได้เค้น ไม่ได้ข่มขู่
ตำรวจที่มาทำงานดูเหมือนหลายคนจะไม่ใช่ตำรวจที่เป็นนักเรียนนายร้อย
หลายคนในทีมไม่มีบุคคลิกแบบตำรวจ แต่เหมือนกับเป็นเจ้าหน้าที่ด้านงานวิชาชีพอื่นสมัครเข้ามามำงาน
ตำรวจพวกนี้ พยายามทำตัวตีสนิทมากๆ เหมือนพยายามให้เป็นคนรู้จัก เหมือนเจอกันธรรมดา แต่งตัวแบบธรรมดา ทรงผมธรรมดา ในตอนช่วงสัมภาษณ์ แสดงตัวเป็นเหมือนผู้รับฟังที่ดี ไม่ได้แสดงตัวเหมือนตำรวจสอบสวน
แต่การถาม จะเน้นเรื่อง ว่า
1.การที่ไม่ชอบ 10 ได้ข้อมูลจากที่ไหน
2.เคยไปประท้วงทางการเมืองตอนไหนบ้าง
3.มีความสัมพันธ์หรือสนิทกับแกนนำ หรือคนดังแค่ไหน
4.เป็นหนึ่งในกองกำลังจัดตั้ง สหพันธรัฐไทยหรือเปล่า
มีการพยามกล่อม ให้มองสถาบันว่าดีกว่าไม่มี
ถ้ามีศูนย์รวมใจ ดีกว่าจะแตกแยก แต่พูดเพียงเล็กน้อย
ไม่ได้พูดชัดเจนมากนัก
มีการพูดถามเรื่องสัพเพเหระต่างๆ เกี่ยวกับความรู้สึกทางการเมือง ความรู้ทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจการเมือง ฯลฯ โดยไม่ได้มีการข่มขู่ หรือใช้คำบีบบังคับให้สารภาพ
ระหว่างเวลาช่วงทานอาหาร มีการเอาขนม เอาน้ำมาให้ ตอนกลับก็ถามว่า จะกินขนมอะไรหรือเปล่า มีการใช้จิตวิทยามวลชนทำให้รู้สึกกลัวน้อยที่สุด
แต่ผมดื่มแต่น้ำ ปฏิเสธกินขนมและอาหาร ในเวลาช่วง ราว 7 ชั่วโมงนั้น
.........................
⚠️🇬🇧 The Thai regime is stepping up efforts to crack down on people suspected of sharing critical comments about the monarchy on social media.
Several people have contacted me in recent weeks to say they were interviewed by police. For the moment, police seem to be avoiding use of Article 112. They pressure suspects to share information about others who are anti-monarchy, and sometimes force suspects to hand over the passwords to their social media accounts. Police then check their messages and see who they have been talking to.
Suspects are usually told to sign a form promising that they will stop criticising the monarchy, and warned that if they do it again, they will be in big trouble.
It is important to remind everybody — if you are in Thailand, and posting on social media using your real name, be very careful what you say. Police are watching.
It is safer to have an avatar account that does not include your real name or photographs.
You should also try to use a VPN so that your IP address can't be tracked.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar