Thai E-News
ตัดเรื่องกราบหรือไม่กราบ ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ต้องสนับสนุนการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพราะนี่คือทางรอดเดียวของทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย (รธน.60 ทำให้มีความเปลี่ยนแปลงในเชิงระบอบไปแล้ว โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์)
Thanapol Eawsakul
22h ·
ตัดเรื่องกราบหรือไม่กราบ
ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ต้องสนับสนุนการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
เพราะนี่คือทางรอดเดียวของทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย
รธน.60 มีความเปลี่ยนแปลงในเชิงระบอบไปแล้ว โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์
"พระราชอำนาจมีหลายส่วนอย่างหน่วยราชการในพระองค์
ซึ่งแยกออกจากระบบต่างหาก ก่อนหน้านี้อยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
ปัจจุบันหลุดออกไปขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์ อันต่อมาคือ คณะสงฆ์
อันนี้เกี่ยวข้องกับศาสนจักรด้วย อำนาจการแต่งตั้งสมณศักดิ์
อำนาจเคลื่อนออกจากมหาเถรสมาคม อันที่ 3
ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย 2 ครั้งติดๆกัน"
...........................
Atukkit Sawangsuk
15h ·
รธน.60 มีความเปลี่ยนแปลงในเชิงระบอบไปแล้ว โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์
"พระราชอำนาจมีหลายส่วนอย่างหน่วยราชการในพระองค์ ซึ่งแยกออกจากระบบต่างหาก ก่อนหน้านี้อยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันหลุดออกไปขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์ อันต่อมาคือ คณะสงฆ์ อันนี้เกี่ยวข้องกับศาสนจักรด้วย อำนาจการแต่งตั้งสมณศักดิ์ อำนาจเคลื่อนออกจากมหาเถรสมาคม อันที่ 3 ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย 2 ครั้งติดๆกัน"
...........................
อ.วรเจตน์ กล่าวถึงบทบัญญัติที่สังคมไทยหรือการเมืองไทยในปัจจุบันแทบไม่เคยกล้าแตะอย่างสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า ต้องแก้ไขเยอะมาก คือปัญหาใหญ่ตอนนี้ ต้องเข้าใจก่อนว่า ถ้าย้อนกลับไปประวัติศาสตร์การเมืองไทย สถานะตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้สถิตย์นิ่งอยู่ แต่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในรัฐธรรมนูญหลายฉบับ โดยเฉพาะตำแหน่งแห่งที่ พระราชอำนาจ มักเกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร มีการเคลื่อน เพิ่มอำนาจขึ้นมา เช่นรัฐประหาร 2490 ตามด้วยรธน.2492 หรือการรัฐประหาร 2534 เกิดรธน.2534 อันนี้สถานะในส่วนกฎมณเฑียรบาลก็เปลี่ยน หรือล่าสุด รธน.2560 เป็นจุดหักเหสำคัญและเป็นสิ่งที่การเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่พูดถึง
ซึ่งมีเหตุผลอยู่คือ รธน.60 ไปถวายพระราชอำนาจในตัวบท เราพูดถึงตัวบทในสถาบัน ไม่ใช่ตัวพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ต้องเข้าใจว่าพระมหากษัตริย์คือตำแหน่งๆหนึ่งของรัฐ ทีนี้ พระราชอำนาจมีหลายส่วนอย่างหน่วยราชการในพระองค์ ซึ่งแยกออกจากระบบต่างหาก ก่อนหน้านี้อยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันหลุดออกไปขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์ อันต่อมาคือ คณะสงฆ์ อันนี้เกี่ยวข้องกับศาสนจักรด้วย อำนาจการแต่งตั้งสมณศักดิ์ อำนาจเคลื่อนออกจากมหาเถรสมาคม อันที่ 3 ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย 2 ครั้งติดๆกัน
.
ทีนี้ เรื่องนี้มีรายละเอียดมาก และยังไม่ใช่เวลาทำในตอนนี้ แต่สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือตัวหลักการ สำหรับผม อำนาจต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบในนิติรัฐ เว้นแต่บ้านเราจะไม่มีนิติรัฐหรือมีบางส่วนก็ว่าไปแล้วแต่ อย่างที่บอกว่ารัฐธรรมนูญเป็นผลมาจากระบอบการปกครอง รธน.60 มีความเปลี่ยนแปลงในเชิงระบอบไปแล้ว โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์
.
เรื่องการจัดการทรัพย์สินฯก็อยู่ใน พรบ.อยู่แล้ว ทีนี้บางเรื่องอย่าง ข้าราชการในพระองค์ อาจจะต้องย้อนกลับไปก่อน รธน.60 ไหม เพราะที่ดีที่สุดคือ ก่อนปี 2490 เพราะรัฐธรรมนูญในช่วงนั้นแนวโน้มไปในลักษณะราชาธิปไตยแบบรัฐสภามากที่สุด องค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ พ้นไปจากการเมือง ไม่ได้ใช้อำนาจโดยพระองค์เอง แต่มีผู้รับสนองพระราชโองการ ซึ่งคนที่ได้รับความเสียหายสามารถฟ้องศาลกับผู้รับสนอง
.
คือบทบาทบัญญัติที่มีในหมวดพระมหากษัตริย์นั้น มีไว้เพื่อเฉลิมพระเกียรติ คือประเทศที่มีกษัตริย์ สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองจารีตที่เชื่อมอดีตกับปัจจุบัน จะมีประเพณีต่างๆมา ดังนั้นสถานะของพระมหากษัตริย์กับประธานาธิบดีจะไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง พระมหากษัตริย์มาจากการสืบสันตติวงศ์ แม้จะมีเลือกก็เลือกโดยกลุ่มบุคคลที่มีความเป็นจารีต สถานะของกษัตริย์บางส่วนจะไม่มีในประธานาธิบดี ซึ่งก็แล้วแต่ประเทศ จะถวายแค่ไหน ขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์
ญี่ปุ่นเป็นกรณีที่ดี สหรัฐฯไปจัดการหลังสงครามโลกในส่วนกองทัพและพระจักรพรรดิ สถาบันพระจักรพรรดิต้องเปลี่ยนจากเดิมจากรัฐธรรมนูญสมัยเมอิจิ แต่ว่าให้สถานะประมุขของรัฐและมีฐานะเป็นเหมือนผู้ใหญ่ของบ้านเมือง คือมนุษย์เวลาเกิดความทุกข์ร้อน มีใครซักคนเป็นหลักชัยได้ในยามวิกฤต ก็จะทำให้มีขวัญกำลังใจคนในประเทศดี อย่างสมเด็จพระราชินีอลิสซาเบ็ธของอังกฤษกรณีโควิด หรือสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นตอนเกิดซึนามิ ซึ่งตำแหน่งในทางสัญลักษณ์ ตำแหน่งอื่นนี้อาจทำได้ไม่ดีเท่า แต่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและบุคลิกภาพของพระองค์ มีความสามารถไม่เท่ากัน แต่ในฐานะสถาบันเราก็คาดหวังเช่นนั้น
.
ส่วนที่ว่าความเป็นจอมทัพไทย แล้วทหารต้องฟังพระมหากษัตริย์มากกว่าฟังรัฐมนตรีกลาโหม อันนี้ก็ต้องคุยกันในทางกฎหมาย ถ้าหลักเรื่องเป็นความมีอำนาจสูงสุดของรัฐบาลพลเรือนปรากฏขึ้นจริงก็จะไม่มีปัญหา พระมหากษัตริย์ก็มีพระราชอำนาจในแง่ถวายพระเกียรติ ก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ ถ้าอธิบายทางกฎหมายได้อำนาจบังคับบัญชาของทหารไม่ได้อยู่ที่พระมหากษัตริย์แต่อยู่ที่ รัฐมนตรีกลาโหม ในกรณีฉุกเฉินก็โอนอำนาจให้อยู่ที่นายกรัฐมนตรีก็ไม่เป็นไร เราจะต้องพูดกฎอัยการศึก กฎหมายฉุกเฉินอีก เราจะเขียนแค่ไหน อันนี้แล้วแต่ ไม่ได้ซีเรียสสำหรับผม
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar