Thai E-News
บทสัมภาษณ์ ทิวากร วิถีตน ผู้มาสานต่อจากปรีดีและคณะราษฎร 2475 ที่ทำค้างคาไว้ยังไม่สำเร็จ
Tiwagorn Withiton
18h ·
ผมจนมากและกระจอกมาก
แต่ก็ฝันอยากจะเป็นประชาชนคนธรรมดานักอภิวัฒน์
ที่อาสามาสานงานต่อจากปรีดีและคณะราษฎร'2475 ที่ทำค้างคาไว้ยังไม่สำเร็จ
เพื่อให้มันเสร็จสมบูรณ์ ในแนวทางสันติปราศจากการนองเลือด
.....
กว่าจะ ‘หมดศรัทธาฯ’: เรื่องราวของ ‘ทิวากร วิถีตน’ กับวิถีการต่อสู้ที่ตนเลือกเอง
โดย TLHR
21/06/2564
สมานฉันท์ พุทธจักร
การหายตัวไปจากหน้าคอนโดมิเนียมในกรุงพนมเปญของวันเฉลิม
สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมือง เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563
ทำให้มีหลายคนลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเขา
จนเป็นกระแสการเคลื่อนไหวหนึ่งที่ก่อตัวรวมเป็นคลื่นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี
2563 ที่ผ่านมา
ทิวากร วิถีตน เกษตรกรจากจังหวัดขอนแก่น
คือหนึ่งคนอยู่ในกระแสธารดังกล่าว การหายตัวของวันเฉลิม ฉุดให้ทิวากรคิดว่า
ต้องลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างกับสถานการณ์ที่ชวนอึดอัดของประเทศนี้
แต่สิ่งที่เขาเลือกทำต่างออกไปจากคนอื่นๆ
ด้วยการใส่เสื้อยืดสกรีนประโยคที่ว่า “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว”
โพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย จนเกิดเป็นประเด็นใหญ่ในโลกออนไลน์
แม้จะยืนยันว่าตัวเองไม่ได้มีอาการป่วยทางจิตใดๆ
แต่วิธีที่รัฐเลือกใช้จัดการกับคนที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์
ในกรณีของทิวากรนั้นแตกต่างออกไปจากกรณีของคนอื่น ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 มีแพทย์และเจ้าหน้าที่ตำรวจรวมกว่า 10 คน เข้ามาถึงบ้านของทิวากร บังคับคุมตัวเขาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
ทิวากร
ถือเป็นคนแรกๆ ที่ออกมาแสดงออกต่อสถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา
ก่อนจะมีปรากฏการณ์ซึ่งเรียกว่า “ทะลุเพดาน”
ที่ผู้คนต่างแสดงออกในประเด็นสถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผยในการชุมนุม
หากนับตั้งแต่การรัฐประหารปี 2549
ที่เป็นเหมือนหมุดหมายของความขัดแย้งทางการเมืองระลอกปัจจุบัน
กว่าประเด็นสถาบันกษัตริย์จะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในพื้นที่สาธารณะได้อย่างทุกวันนี้
ต้องผ่านการต่อสู้ทางการเมืองมาอย่างมากมาย เช่นเดียวกับทิวากร
ชีวิตเขาต้องเดินผ่านจุดตัดทางการเมืองมาอย่างมากมายในความขัดแย้งทางการเมืองระลอกนี้
กว่าที่เขาจะกล้าลุกขึ้นพูดความในใจว่าเขาหมดศรัทธาต่อสถาบันกษัตริย์แล้ว
นักรบไซเบอร์ ประชาธิปไตยบนสายอินเทอร์เน็ต
“ตอนนั้นผมยังไม่ได้ประสีประสาอะไร
ไม่ได้อยู่ข้างไหน” ชีวิตของทิวากรไม่ได้แตกต่างกับชนชั้นกลางคนอื่นๆ
จบจากโรงเรียนชั้นนำในขอนแก่น สอบเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
จบออกมาทำงานในบริษัทด้านไอทีในกรุงเทพฯ
จนช่วงเวลาที่วิกฤตการณ์ทางการเมืองระลอกใหม่เริ่มตั้งเค้า
“พอปี 48 ตอนนั้นมีรายการ ‘เมืองไทยรายสัปดาห์’ ของสนธิ ลิ้มทองกุล
เห็นเพื่อนสมัยมัธยมหลายคนไม่พอใจที่รายการดีๆ ที่ทำเพื่อประเทศ
ที่เอาความจริงมาเปิดเผย ถูกปิด”
เขาเองแม้จะเป็นผู้ที่เข้าคูหากาบัตรเลือกให้พรรคไทยรักไทยของทักษิณ
ชินวัตร เพราะเห็นถึงผลงานต่างๆ ของไทยรักไทยในการเป็นรัฐบาลสมัยแรก
แต่ก็ยังติดตามฟังสิ่งที่สนธิ ลิ้มทองกุล พูดในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
จนมาถึงการเกิดขึ้น “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”
ก่อนถึงจุดที่เริ่มไม่เห็นด้วยกับหลายสิ่งที่กลุ่มพันธมิตรฯ
นำเสนอ อย่างการพยายามนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาพูด
การให้ข้อมูลที่ดูจะไม่น่าเชื่อถือ
การอ้างถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่บ่อยครั้ง “สุดท้ายไปๆ มาๆ
ผมก็ไม่เห็นด้วยกับสนธิ ลิ้มทองกุล เพราะหลายเรื่อง อย่างมันมีการขอมาตรา 7
ขออะไรต่างๆ ซึ่ง อ้าว
นี่หมายความว่าประชาชนไม่สามารถที่จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใช่ไหม”
แม้จะเห็นข้อเสียหลายอย่างของทักษิณ
แต่ยังเห็นว่าเสียงของประชาชนที่เลือกไทยรักไทยเข้ามามีความสำคัญ
จนเกิดการรัฐประหารปี
2549 จุดเริ่มต้นของคลื่นความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งต่อมาถึงปัจจุบัน
“กลายเป็นว่าผมสนับสนุน เอ้าก็ลองดู ถ้าคิดว่ารัฐประหารแล้วมันจะดี ก็ลองดู
ถ้าทำให้ประเทศเจริญกว่าทักษิณได้ก็โอเค ก็ทำไปเลย”
ด้วยความคิดที่ว่าการรัฐประหารอาจนำมาสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม
ช่วงนั้นทิวากรยอมรับว่ายังสับสนกับตัวเอง เรื่องจุดยืนทางการเมือง
เข้าสู่ปี
2550 หลายสิ่งในใจก็ชัดเจนขึ้นมาว่า
การรัฐประหารไม่ได้ทำให้อะไรต่ออะไรในประเทศดีขึ้น
ยังทำให้เห็นถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร
เป็นจุดเริ่มของการออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ด้วยการร่วมกิจกรรมเล็กๆ
ของกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร
“ตอนนั้นมันไม่มีเสื้อแดง
ผมไปปล่อยลูกโป่งประชาธิปไตยที่สนามหลวง คนจัดคือสุชาติ นาคบางไทร”
ทำให้เริ่มรู้จักกับหลายคนที่ออกมาเคลื่อนไหว อย่างกลุ่ม
“คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ”
เป็นช่วงเวลาที่ฟากฝั่งของคนที่คัดค้านรัฐประหารเริ่มก่อตัว
และขยับพื้นที่เข้าไปยังโลกไซเบอร์ เว็บบอร์ดพูดคุยการเมืองเกิดขึ้นมากมาย
ทิวากรเข้าไปจับจองพื้นที่ของโปรแกรม Camfrog
ที่ใช้สนทนาโต้ตอบโดยมีทั้งภาพและเสียง ซึ่งเป็นที่นิยมในเวลานั้น
“แคมฟรอกราชดำเนิน อันนี้เป็นแหล่งที่คอการเมืองเลยเขาอยู่ในนั้น”
เนื่องจากการถกเถียงเรื่องการเมืองผ่านตัวอักษรตามเว็บบอร์ด
สำหรับหลายคนเริ่มไม่เพียงพอ “ตอนนั้นเริ่มจะมีสามเกลอ จตุพร ณัฐวุฒิ
เค้าก็จะเอาคลิปพวกนี้มาเปิด
แล้วก็จะเอาคลิปทางฝั่งสนธิมาเปิดเปรียบเทียบกันด้วย
เค้าก็ฟังแล้วก็พิมพ์วิจารณ์กัน บางทีก็จับไมค์คุยกัน”
เป็นบรรยากาศที่ทิวากรชื่นชอบมาก
จนใช้ชีวิตการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่อยู่บนหน้าจอ
ลงทุนใช้เงินส่วนตัวเปิดห้องแคมฟรอก
เป็นพื้นที่ให้คนเห็นต่างเข้าพูดคุยถกเกียงกัน
จังหวะที่กลุ่มคนเสื้อแดงเริ่มก่อขบวน มีการชุมนุมเกิดขึ้นหลายครั้ง
ทิวากรได้เข้าร่วมชุมนุมต่างๆ และวางตัวเองเป็น “นักรบไซเบอร์”
คอยสนับสนุนการเคลื่อนไหว “ผมก็จะไรท์ซีดีแจกคนในซอยที่ผมอยู่
เข้าไปคุยในห้องตัวเองที่เป็นเสื้อแดง
แล้วก็ไปคุยในห้องที่เค้าเป็นพันธมิตรฯ มันก็คล้ายๆ คลับเฮ้าส์สมัยนี้
คือเวลาจับไมค์ดีเบตกันเนี่ยมันไม่มีเวลาที่จะไปเตรียมคำอะไรมากไง”
ทิวากรแจกแจงหน้าที่ในฐานะนักรบไซเบอร์ของเขา
ที่ขนานกันไปกับการเคลื่อนไหวบนท้องถนน
ผ่านเดือนเมษายน – พฤษภาคม
2553 เหตุการณ์ล้อมปราบคนเสื้อแดงกลางเมือง
ซึ่งทิวากรเข้าไปอยู่ในหลายเหตุการณ์ แม้ไม่ใช่แนวหน้า
แต่ก็ถูกแก๊สน้ำตาเข้าไปหลายครั้ง
จากนั้นยังคงทำกิจกรรมทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง “นัดทางอินเตอร์เน็ต
ไปกับกลุ่มวันอาทิตย์สีแดงที่มี บก. ลายจุด ไปแบบไม่มีแกนนำ
เอานกพิราบไปปล่อย ไปผูกผ้าแดงตรงราชประสงค์
แล้วการแสดงออกวันนั้นเป็นไงรู้มั้ย โอ้โห มีชูป้ายเยอะ ป้ายแบบ
‘กูตาสว่างมึงเสื่อม’ พอเข้าใจใช่ไหมว่าคนเขาตื่นขนาดนั้น”
คลิกอ่านต่อทั้งหมด -บทสัมภาษณ์ ทิวากร วิถีตน ผู้มาสานต่อจากปรีดีและคณะราษฎร 2475 ที่ทำค้างคาไว้ยังไม่สำเร็จ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar