ชุมนุม 18 ก.ค.: กลุ่มเยาวชนปลดแอก-แนวร่วมเดินหน้าชุมนุมเรียกร้อง 3 ข้อ ด้านตร. เตรียมดำเนินคดีทุกรายไม่มีข้อยกเว้น

เกิดความวุ่นวายเล็กน้อยเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้รถฉีดน้ำสองระลอกเพื่อการเตือนกลุ่มการ์ดของผู้ชุมนุมบนถนนถึงแยกผ่านฟ้าลีลาศมุ่งหน้าไปทำเนียบรัฐบาล โ

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

เวลาราว 16.00 น. เกิดความวุ่นวายเล็กน้อยเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้รถฉีดน้ำสองระลอกเพื่อการเตือนกลุ่มการ์ดของผู้ชุมนุมบนถนนถึงแยกผ่านฟ้าลีลาศมุ่งหน้าไปทำเนียบรัฐบาล

กลุ่มเยาวชนปลดแอกพร้อมด้วยแนวร่วมเริ่มกิจกรรมเดินขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลแล้ว เพื่อยื่นข้อเรียกร้อง 3 ประการ หนึ่งในนั้นคือการขับไล่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการบริหารสถานการณ์โควิด-19

ด้านกองบัญชาการตำรวจนครบาลเตรียมกำลังพลควบคุมสถานการณ์ โดยยืนยันว่าการชุมนุมในวันนี้ผิดกฎหมายและเตรียมดำเนินคดีทุกราย ขณะที่เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนวางกำลังหลังแนวรั่วลวดหนามปิดกั้นบนถนนราชดำเนิน บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาส

การ์ดที่สวมผ้าพันคอสีเขียวเป็นสัญลักษณ์จะดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการชุมนุม

ที่มาของภาพ, AFP/Getty Images

คำบรรยายภาพ,

การ์ดที่สวมผ้าพันคอสีเขียวเป็นสัญลักษณ์จะดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการชุมนุม

ผู้ชุมนุมทยอยเข้าพื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตั้งแต่ก่อนเวลา 12.00 น. ด้วยการขนอุปกรณ์ต่าง ๆ แผ่นป้ายที่มีข้อความแสดงข้อเรียกร้องต่าง ๆ

เบื้องต้นคาดว่ามีอย่างน้อย 15 กลุ่มประชาชนเข้าร่วมการชุมนุม

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

เบื้องต้นคาดว่ามีอย่างน้อย 15 กลุ่มประชาชนเข้าร่วมการชุมนุม

ในเวลาประมาณ 13.00 น. โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ โพสต์ทวิตเตอร์รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจากสน.สำราญราษฎร์และสน.ชนะสงคราม ได้เข้ามาประกาศข้อกำหนดมาตรา 9 ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ห้ามชุมนุมหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคในเขตพื้นที่ กทม. และขอให้ปฏิบัติตามประกาศนี้โดยเคร่งครัด และมีการประกาศซ้ำอีกครั้งในเวลา 13.27 น. โดยมีการ์ดที่สวมผ้าพันคอสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวก

เจ้าหน้าที่เตรียมรถฉีดน้ำแรงดันสูงไว้เพื่อควบคุมสถานการณ์

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

เจ้าหน้าที่เตรียมรถฉีดน้ำแรงดันสูงไว้เพื่อควบคุมสถานการณ์

13.50 น. ไอลอว์รายงานว่า ผู้ชุมนุมเริ่มจัดขบวน โดยให้ประชาชนเดินเท้าอยู่ด้านหน้าสุดพร้อมรถปราศรัย ถัดมาจึงเป็นรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ตามลำดับ พร้อมแจกจ่ายหุ่นจำลองศพ ตอนนี้ถนนราชดำเนินขาออกมุ่งหน้าผ่านฟ้าเต็มไปด้วยรถที่มาร่วมขบวน ไม่มีรถอื่นสัญจรแล้ว

การเคลื่อนขบวนมีความล่าช้าจากกำหนดการที่ก่อนหน้านี้ระบุว่าจะเริ่มต้นขึ้นในเวลา 14.00 น. โดยกำหนดการใหม่เริ่มขึ้นในเวลาประมาณ 15.10 น. แทน คาดว่ากิจกรรมจะสิ้นสุดด้านหน้าทำเนียบรัฐบาลราว 18.00 น.

15:35 น. เกิดความวุ่นวายเล็กน้อยเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้รถฉีดน้ำสองระลอกเพื่อการเตือนกลุ่มการ์ดของผู้ชุมนุมบนถนนถึงแยกผ่านฟ้าลีลาศมุ่งหน้าไปทำเนียบรัฐบาล โดยกลุ่มมวลชนใหญ่อยู่ห่างออกไปราว 150 เมตร ในขณะเดียวกันที่บรรดาแกนนำพยายามใช้เครื่องเสียงเจรจากับเจ้าหน้าที่

หุ่นจำลองศพเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ในการแสดงออกในการชุมนุมครั้งนี้

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

หุ่นจำลองศพเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ในการแสดงออกในการชุมนุมครั้งนี้

ที่มาของภาพ, Thai Newx Pix

คำบรรยายภาพ,

หุ่นจำลองศพเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ในการแสดงออกในการชุมนุมครั้งนี้

การชุมนุมในวันนี้ (18 ก.ค.) จัดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรง ซึ่งในวันนี้ยอดผู้ติดเชื้อทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์อีกครั้งด้วยจำนวน 11,397 ราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตมีจำนวน 101 ราย ถือเป็นครั้งที่สองที่จำนวนผู้เสียชีวิตสูงกว่า 100 ราย

15 แนวร่วม ชู 3 ข้อเรียกร้อง

เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนวางกำลังหลังแนวรั่วลวดหนามปิดกั้นบนถนนราชดำเนิน บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาส

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนวางกำลังหลังแนวรั่วลวดหนามปิดกั้นบนถนนราชดำเนิน บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาส

ก่อนหน้านี้ กลุ่มเยาวชนปลดแอก ได้ประกาศเชิญชวนประชาชน ร่วมชุมนุมขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว. กลาโหม เวลา 14.00 น. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อนเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล เบื้องต้นคาดว่ามีอย่างน้อย 15 กลุ่ม ที่จะเข้าร่วม ประกอบด้วย กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย DRG ขบวนการริมสระ คณะประชาธิปไตยเพื่อความหวัง DemHope เครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มทะลุฟ้า เฟมินิสต์ปลดแอก ภาคีบุคลากรสาธารณสุข เยาวชนปลดแอก ราษฎรมูเตลู ศาลายาเพื่อประชาธิปไตย สหภาพคนทำงาน สหภาพไรเดอร์ SUPPORTER THAILAND We Volunteer หรือ วีโว่ และราษฎรออฟโรด

กลุ่มผู้ชุมนุม

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

สำหรับการเรียกร้องสำคัญในการจัดการชุมนุมครั้งนี้ประกอบด้วย 1) พล.อ. ประยุทธ์ต้องลาออกโดยไม่มีเงื่อนไข 2. ปรับลดงบสถาบัน-กองทัพ สู้โควิด และ 3) เปลี่ยนวัคซีนซิโนแวคเป็นชนิด mRNA

ในขณะที่แกนนำกล่าวปราศรัยต่อผู้ชุมนุมว่าข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ ถือเป็นทางออกเดียวที่จะช่วยให้ไทยฝ่าวิกฤตโควิด-19 ที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ได้

ตร. เตรียมดำเนินคดีทุกรายโดยไม่มีข้อยกเว้น

พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น. และโฆษก บช.น. กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวเกี่ยวกับการชุมนุมดังกล่าวว่า ภายใต้ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) พื้นที่ในกรุงเทพมหานครถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด การชุมนุมรวมตัวกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป เป็นความผิดทางกฎหมายตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ. ควบคุมโรคติดต่อ หรือ พ.ร.บ. อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และกองบัญชาการตำรวจนครบาลจะดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมทุกรายโดยไม่มีการยกเว้น

security forces

ที่มาของภาพ, Thai Newx Pix

ที่ผ่านมา กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ดำเนินคดีกับกลุ่มผู้กระทำความผิดต่าง ๆ รวมแล้วอย่างน้อย 99 ราย แบ่งเป็น

  • วันที่ 2 ก.ค. มีกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมโดยนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ มีการประกาศนัดชุมนุมกันที่แยกอุรุพงษ์ก่อนจะเคลื่อนตัวมาที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล กรณีนี้ สน.นางเลิ้งได้รับคำร้องทุกข์ตามคดีอาญาที่ 228/2564 ดำเนินคดีกับนายพริษฐ์พร้อมพวก 16 ราย ขณะนี้พนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกไปยังผู้ต้องหาทั้งหมด 17 รายแล้วและนัดหมายในวันที่ 22 ก.ค. นี้
  • วันที่ 3 ก.ค. มีกลุ่มไทยไม่ทนนำโดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ จัดการชุมนุมบริเวณแยกผ่านฟ้าตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไปแล้วเคลื่อนตัวไปยังบริเวณทำเนียบรัฐบาล กรณีดังกล่าวสน.นางเลิ้งได้รับคำร้องทุกข์ตามคดีที่ 229/2564 พนักงานสอบสวนได้ส่งหมายเรียกไปยังผู้ต้องหาทั้ง 24 รายมาดำเนินคดีตามกฎหมาย นัดหมายมารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 23 ก.ค. นี้
  • วันที่ 4 ก.ค. กลุ่มโมกหลวงริมน้ำนำโดยนายโสภณ สุรฤทธิ์ธำรง จัดกิจกรรม 'คืน-ยุติธรรม' เนื่องในวาระครบ 1 ปี 1 เดือน การอุ้มหายนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักเคลื่อนไหวซึ่งลี้ภัยอยู่ที่ประเทศกัมพูชา ที่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล สน.นางเลิ้งได้เรียกตัวมาดำเนินคดีตามคดี 231/2564 และดำเนินดคีเรียบร้อยแล้ว
  • วันที่ 6 ก.ค. มีการจัดกิจกรรม 'Bangkok Sandbox' ที่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล เริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 น. สน.นางเลิ้งได้รับคำร้องทุกข์ตามคดีที่ 234/2564 ในเบื้องต้นพิสูจน์ผู้กระทำผิดได้แล้ว 10 คน และได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาทั้งหมดโดยนัดหมายในวันที่ 27 ก.ค. ผู้ต้องหาที่เหลืออยู่ระหว่างการพิสูจน์ตัวบุคคล
  • วันที่ 9 ก.ค. กลุ่มอาชีวะปกป้องประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จัดกิจกรรมบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล สน. ดุสิตได้เรียกตัวผู้กระทำผิดและดำเนินคดีแล้ว
  • วันที่ 10 ก.ค. กลุ่มประชาชนคนไทยนำโดยนายนิติธร ล้ำเหลือ จัดกิจกรรมบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเคลื่อนตัวไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สน.สำราญราษฎร์ได้เรียกตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีเรียกร้อยแล้ว ในวันเดียวกันนายสมบัติ บุญงามอนงค์ได้จัดกิจกรรมคาร์ม็อปอีกครั้งเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยสิ้นสุดบริเวณแยกราชประสงค์ สน. ชนะสงครามเป็นผู้รับผิดชอบตามคดีอาญาที่ 426/2564 เบื้องต้นพิสูจน์ทราบว่ามีผู้กระทำผิด 5 ราย
  • วันที่ 11 ก.ค. กลุ่มไทยไม่ทน นำโดยนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ได้รวมตัวกันบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล สน.นางเลิ้งได้รับคำร้องทุกข์ตามคดีอาญาที่ 428/2564 มีผู้ต้องหา 23 รายได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาทั้งหมดและนัดหมายในวันที่ 21 ก.ค. นี้

ย้อนเหตุการณ์เมื่อหนึ่งปีที่แล้ว

การชุมนุมทางการเมืองนำโดยกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ปีที่แล้ว มีจุดเปลี่ยนที่สำคัญนับตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา

คำบรรยายวิดีโอ,

"เยาวชนปลดแอก" ชุมนุมประท้วงรัฐบาล

แม้ว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาและประชาชนต้องยุติลงระยะหนึ่งระหว่างเดือน มี.ค.-มิ.ย. แต่ทันทีที่สถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายลงและรัฐบาลผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคลง การเคลื่อนไหวก็กลับมาอีกครั้งอย่างรวดเร็ว

การหายตัวไปอย่างปริศนาของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองวัย 35 ปี จากบริเวณหน้าที่พักในเมืองหลวงของกัมพูชาเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. และการรวบตัวสมาชิกกลุ่ม "เยาวชนตะวันออกเพื่อประชาธิปไตย" ขณะชูป้ายประท้วง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ จ.ระยอง เมื่อกลางเดือน ก.ค. ได้ปลุกกระแสความไม่พอใจต่อรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์และบรรดาผู้มีอำนาจ นำมาสู่การชุมนุมบนท้องถนนอย่างต่อเนื่อง ที่ต้องบันทึกไว้ก็คือ การเคลื่อนไหวที่นำโดยนักศึกษาและเยาวชนในครั้งนี้ได้มีข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และการพูดถึงสถาบันฯ อย่างเปิดเผยในที่สาธารณะซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึนมาก่อน จนหลายคนเรียกว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ "ทะลุเพดาน"

ป้ายประท้วงหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ที่มาของภาพ, ภานุมาศ สงวนวงษ์/Thai News Pix

ต่อมาในวันที่ 5 มิ.ย. 2563 บรรดานักศึกษาและประชาชนนำโดยนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ จัดชุมนุมที่ลานสกายวอล์ก หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ เพื่อทวงความเป็นธรรมให้กับนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ท่ามกลางกระแส "Saveวันเฉลิม"

หลังเหตุการณ์นั้นในวันที่ 18 ก.ค. 2563 กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "เยาวชนปลดแอก" ได้ประกาศนัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ยื่น 3 ข้อเรียกร้อง คือ หยุดคุกคามประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยุบสภา ในวันนั้นผู้จัดงานตั้งเป้าจะปักหลักประท้วงแบบค้างคืน แต่ว่าต้องยุติการประท้วงก่อนกำหนดการโดยอ้างเรื่องความปลอดภัย