รู้หรือไม่ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เคยถูกแก้ไขโดยในยุคคสช. ปี 62
หนึงในประเด็นสำคัญที่เคยแก้ไข คือนิยาม “โรงงาน” ส่งผลให้โรงงานที่มีกำลังแรงม้าและคนงานต่ำกว่าเกณฑ์ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายนี้ สามารถประกอบกิจการได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงผังเมืองหรือทำเลที่ตั้ง
ในช่วงสี่ถึงห้าปีของรัฐบาลคสช.
มีการออกกฎหมายและคำสั่งมากมายล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุนทั้งสิ้น
อย่างเช่น คำสั่ง คสช. 4/2559 ฉีกผังเมืองตั้งโรงงานไฟฟ้าขยะ
หรือประกาศกระทรวงทรัพย์ที่ไม่ต้องทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนสร้างโรงไฟฟ้าขยะ
มาจนถึงล่าสุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ สนชอยู่ระหว่างการพิจารณาวาระที่
3 “ร่างพระราชบัญญัติโรงงาน
(ปรับปรุงหลักเกณฑ์การควบคุมการประกอบกิจการโรงงาน)"
โดยสาระสำคัญของ
ร่าง พ.ร.บ.โรงงานฉบับนี้มีการปรับเปลี่ยนและตัดบางมาตราของ พ.ร.บ.โรงงาน
พ.ศ. 2535 (ฉบับเดิม) เช่น การปลดล็อคโรงงานขนาดเล็กออกจากการควบคุม
การตัดอำนาจกรมโรงงานเข้าไปควบคุมตรวจสอบ หรือ
เปิดช่องเอกชนตรวจสอบโรงงานกันเอง-ช่วยกันเอง
ซึ่งทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการลดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและชุมชน
จนมีภาคประชาชนออกมาคัดค้าน
แก้นิยาม “โรงงาน” กับ “การตั้งโรงงาน” ลดการควบคุมโรงงานขนาดเล็ก
ในร่าง
พ.ร.บ.โรงงานฉบับใหม่ มาตรา 4 มีการแก้ไขนิยามของคำว่า 'โรงงาน' ใหม่
ให้หมายถึง อาคาร สถานที่ พาหนะที่ใช้เครื่องจักรขนาดตั้งแต่ 50
แรงม้าขึ้นไปหรือกิจการที่มีคนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้น
ซึ่งข้อกำหนดเช่นนี้จะทำให้โรงงานมากกว่า
60,000 แห่งทั่วประเทศที่มีกำลังแรงม้าและคนงานต่ำกว่าเกณฑ์
ไม่ถูกจัดเป็นโรงงานภายใต้การกำกับดูแลกฎหมายโรงงาน
แต่จะอยู่ภายใต้การดูแลของข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือ พ.ร.บ. สาธารณะสุข พ.ศ
2535
แทนซึ่งสามารถประกอบกิจการได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงผังเมืองหรือทำเลที่ตั้ง
ในขณะเดียวกัน
ก็มีการแก้ไขเรื่องนิยาม "การตั้งโรงงาน" ด้วย
โดยหมายถึงการนำเครื่องจักรเข้ามาติดตั้งเท่านั้น
หรือนำคนมาประกอบกิจการโรงงาน ซึ่งต่างจากพ.ร.บ.ฉบับเก่าว่า
“การตั้งโรงงาน” คือการก่อสร้างอาคารเพื่อติดตั้งเครื่องจักร
การกำหนดนิยามเช่นนี้ทำให้เกิดข้อกังวลว่า
จะเปิดช่องให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างอาคารโรงงานได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานก่อน
และค่อยติดตั้งเครื่องจักรทีหลัง
นอกจากนี้
อาจจะส่งผลเสียหายรุนแรงต่อชุมชนภายหลัง
เนื่องบางกิจการที่ใช้เครื่องจักรขนาดเล็กและมีคนจำนวนไม่มาก
แต่เป็นกิจการที่มีความเสี่ยงสูงและกระทบกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น
กิจการคัดแยกของเสีย กิจการหล่อหลอม กิจการรีไซเคิลของเสีย
การจัดเก็บสารเคมีอันตราย และอื่นๆ
อีกทั้งยังเอื้อโรงงานขนาดใหญ่สามารถตั้งโรงงานได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการ
รวมถึง
อาจทำให้เกิดการลัดขั้นตอนการทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA/ EHIA)
ซึ่งทำให้เกิดความหละหลวมในการตรวจสอบและขาดการพิจารณาถึงความเหมาะสมของทำเลที่ตั้งโรงงาน
และผลกระทบอื่นๆที่ถูกมองข้าม
และในมุมของผู้ประกอบการก็อาจจะได้รับผลกระทบไปด้วย
เช่น หากเกิดปัญหาระยะยาวจากสารมลพิษและความขัดแย้งกับชุมชน
ผู้ประกอบการต้องเสียงค่าใช้จ่ายในการสู้คดี
ค่าเสียหายจากผลกระทบต่อสุขภาพชุมชน
และโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนมลพิษ
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวารด์ในปี
2557 จะพบว่า ในการจัดการความขัดแย้ง
ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้ประเมิณไว้สูงถึงร้อยละ 35-50
รวมถึงเสียเวลาและโอกาสการขยายธุรกิจอีกทั้งได้รับปริมาณการผลิตที่น้อยลง
ยกเลิกระบบ 'ต่อใบอนุญาต' ตัดอำนาจการควบคุมโรงงาน
ร่าง
พ.ร.บ.โรงงาน ฉบับใหม่ ในมาตรา 10
มีการยกเลิกระบบการขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทุก 5 ปี ออกไป
และในขณะเดียวกันยังให้ผู้ประกอบการเป็นฝ่ายรับรองตนเองแทนเจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชน
ปัญหาที่ทำให้เกิดความกังวลคือ
ที่ผ่านมาการกำหนดให้มีการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการทุก 5 ปี
เป็นสิ่งจำเป็นเพราะเป็นการให้เจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบสภาพโรงงาน เครื่องจักร
รวมถึงความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่อยู่ใกล้ว่าจะสามารถดำเนินการเปิดต่อไปได้หรือไม่
และการให้ผู้ประกอบการรับรองตนเองก็เป็นการลดบทบาทการตรวจสอบของกรมโรงงานลง
และทำให้หลักปฏิบัติตามเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตถูกละเลย
หากโรงงานอยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยก็จะไม่ได้รับการแก้ไข
เปิดช่องเอกชนตรวจสอบโรงงานกันเอง-ช่วยกันเอง
ร่าง
พ.ร.บ.โรงงาน ฉบับใหม่ ในมาตรา 9 ระบุว่า
การตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรสามารถให้ผู้ตรวจสอบโรงงานเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคลดำเนินการและจัดทำรายงานผลตรวจสอบแทนพนักงานเจ้าหน้าที่ได้
ทั้งที่
โดยปกติแล้วการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรหรือโรงงาน
เดิมเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม
แต่ทว่ากฎหมายใหม่ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถตรวจสอบสภาพโรงงานและออกมาตราการการกำกับดูแลให้ผู้ประกอบการนำไปปรับปรุงแก้ไขได้
อย่างไรก็ตาม
ในมาตรานี้เปิดช่องให้บรรดาเอกชน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลรายเดียวหรือนิติบุคคล
ตรวจสอบกันเองและอาจนำไปสู่การทุจริตได้ส่งผลให้มาตรการตรวจสอบเพื่อป้องกันมีปัญหา
ตัดมาตรการเยียวยาความเสียหายจากโรงงาน
ในร่าง
พ.ร.บ.โรงงาน ฉบับใหม่ มีการตัดมาตราว่าด้วยประกันภัย
หรือหลักประกันหรือกองทุนเพื่อการเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน
หรือเพื่อการฟื้นฟู หรือเพื่อการทำให้พื้นที่ตั้งโรงงาน
หรือบริเวณโดยรอบกลับคืนสู่สภาพเดิมหรือสภาพที่เหมาะสม ออกไป
ซึ่งมาตราดังกล่าว
เป็นมาตราสำคัญและควรนำมาปรับใช้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
รวมถึงยังเป็นการสร้างธรรมาภิบาลให้ผู้ประกอบการที่จะต้องรับผิดชอบสำหรับการแก้ไขสิ่งแวดล้อมที่ว่าผู้สร้างมลพิษต้องเป็นผู้จ่าย
ทว่าได้มีการตัดมาตรานี้ทิ้งซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาครัฐให้ความสำคัญแค่ผู้ประกอบการและเอื้อความสะดวกในการลงทุนเท่านั้น
บทลงโทษผู้ประกอบการใช้ตั้งแต่ปี 35 ไม่เคยแก้ไข
แม้ว่าร่าง
พ.ร.บ. โรงงานได้มีการบัญญัติโทษไว้ที่ มาตรา 57
ว่าหากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้แก้ไขของเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่โรงงานก่อความเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1
แสน ปรับอีกวันละไม่เกิน 5,000 ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน แต่บทลงโทษ พ.ร.บ.
โรงงานอันนี้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535
ปัจจุบันก็ไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
ที่ผ่านมา
บทลงโทษตัวนี้ล้าสมัยและไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะปราบปรามการทำผิดหรือให้ผู้กระทำผิดเกรงกลัว
เนื่องจากผู้กระทำผิด สามารถจ่ายค่าปรับได้
ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็มีข้อจำกัดในการออกคำสั่งให้ปรับปรุงหรือพักการดำเนินกิจการสำหรับผู้ประกอบการที่กระทำผิดซ้ำๆ
รวมถึงมีข้อจำกัดในการใช้ดุลพินิจที่จะลงโทษปรับทางแพ่ง หรือโทษทางอาญา
เป็นต้น อีกทั้งในกรณีที่ได้รับพลกระทบจากมลพิษ
ประชาชนสามารถเรียกค่าเสียหายจากรัฐได้ แต่ประชาชนก็ต้องไปฟ้องร้องศาลเอง
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar