torsdag 31 juli 2014

๓๑ ก.ค. ๕๗ วันที่เก้า รัฐธรรมนูญชั่วคราว ประชาชนไทยเกำลังจะตายด้วยโรค "สำลักความสุข".ที่กำลังระบาดอย่างหนักหน่วงขึ้นทุกๆวัน กับนโยบายรัดเข็มขัดเศรษฐกิจพอเพียง จากการปิดประเทศของ คสช.เวลาสองเดือนเก้าวัน ผลกระทบคือ ไม่มีเงินใช้จ่าย หนี้สินรุงรัง ไม่มีการผลิต งานไม่มีทำ ไม่มีกำลังซื้อขาย ไม่มีการลงทุน ไม่มีการผลิต การค้าขายในตลาดหยุดชงักทั้งในและนอกประเทศ เพราะอำมาตย์ทรราชสั่งเผด็จการทหาร "ยึดอำนาจครองเมืองปิดประเทศ " เรื่องราวความเป็นจริงเหล่านี้มันช่างสวนทางกับนโยบายหลายพันล้านล้านล้าน ของว่าที่"นายกคนที่๒๙ ของรัฐบาลทหาร ".ที่โฆษนาชวนเชื่ออนุมัตินโยบายต่างๆทำเพื่อคืนความสุขให้ประชาชนและประเทศชาติ.. ..ประชาชนไทยทั้งประเทศผู้ตกเป็น"เหยื่อ " ใกล้สำลักความสุขตายเข้ามาทุกที ๆ ....เอ้ากราบก่อนสำลักความสุขตาย...



ต้องช่วยกันแก้ไข ไม่เช่นนั้นตายหมู่


โดย คุณนิติ นวรัตน์ 31 ก.ค. 2557
‘เจ้าของร้านขายอุปกรณ์แต่งรถในร้านขนาดเล็กในห้างแห่งหนึ่ง เคยขายได้วันละ 20,000 บาท ตอนนี้เหลือไม่ถึง 5,000 บาท ร้านขายชาโบราณที่เคยขายได้วันละ 5,000-10,000 บาท ตอนนี้เหลือ 3,000 บาท ตัวเลขจากการสำรวจการค้าขายในห้างสรรพสินค้าของไทย ขายได้น้อยลงทุกห้าง 20-80%’, ‘ร้านอาหารหลายแห่งต้องมีการลดแลกแจกแถม’, ‘พนักงานโรงแรมขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯออกมาเปิดใจในชะตากรรมเรื่องถูกลอยแพหลังโรงแรมปิด’
บริษัททัวร์หลายแห่งปิดกิจการไปแล้ว เพราะไม่มีลูกค้าเข้ามาเยือนเมืองไทย บางแห่งต้องให้พนักงานออกเพื่อรักษากิจการ เจ้าของสวนยางแห่งหนึ่งซึ่งแต่เดิมเฮฮา ขนเพื่อนๆมาประท้วงทางการเมืองในกรุงเทพฯไม่เคยขาด วันนี้ประกาศหยุดกรีด เพราะไม่มีคนรับจ้างกรีดยางแบ่งครึ่ง ด้วยเหตุว่าราคายางแผ่นตกลงไปเหลือเพียงกิโลกรัมละ 50 บาท ขี้ยางเหลือกิโลกรัมละ 22 บาท กรีดและแบ่งกันไปยังไงก็ไม่คุ้ม ทั้งเจ้าของสวนและทั้งคนรับจ้างกรีด
ความโกลาหลอลหม่านเกิดในราชอาณาจักรไทยของเราทีละน้อยจนปัจจุบันทุกวันนี้ ความจนด้นลึกเข้าไปจนจะถึงขีดที่ละม้ายคล้ายวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ.2540 แล้ว
ประชาชนคนไทยจำนวนหนึ่งดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยเงินที่ส่งมาจากหัวหน้าครอบครัวที่เดินทางไปทำงานในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ทั้งที่อิสราเอลและลิเบีย จากใจแรงงานไทยที่รับผิดชอบปากท้องของลูกเมียตัวเอง แม้ว่าจะมีสถานการณ์การสู้รบรุนแรงขนาดไหน แต่แรงงานไทยก็ยังยอมปักหลักทำงาน เพียงแต่ทางการไทยไม่ไว้ใจให้ทำงานต่อเพราะมีผู้เสียชีวิต ก็ขอให้กลับ ทำให้เงินที่เสาหลักของครอบครัวส่งกลับมาบ้านทุกเดือนหายไป ไหนจะเป็นหนี้ที่ไปกู้ยืมเอามาเป็นค่าหัว ไหนจะหนี้ค่าเดินทาง กรมการจัดหางานบอกว่าจะมอบเงินจากกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศคนละ 40,000 บาท ให้แก่ญาติ เงินจำนวนนี้ก็คงมลายหายไปในเวลาเพียงเดือนสองเดือน แล้วเดือนต่อๆไปเล่า?
ผมอ่านจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ บอกว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยพุ่งสูงสุดในรอบ 9 ปี หนี้ครัวเรือนตัวนี้นี่แหละครับ จะทำให้การบริโภคในประเทศของคนไทยไม่กระดิกพลิกตัว ตอนนี้ก็เป็นที่ยอมรับกันทั้งทวีปเอเชียแล้วนะครับ ว่าหนี้ครัวเรือนของไทยมีอัตราการขยายตัวเร็วที่สุดในเอเชีย ที่ว่าขยายตัวเร็วที่สุดเพราะปัจจุบันอัตราการขยายตัวของหนี้ครัวเรือนของเราอยู่ที่ 82.3% ของจีดีพี คนรวยไม่เป็นไรดอกครับ แต่คนจนซีครับแย่ เพราะหนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มคนที่มีรายได้ที่ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน
พวกอสังหาริมทรัพย์ก็โอดว่า เห็นท่าจะต้องพับโครงการและเก็บข้าวของกลับบ้าน เพราะยอดจำหน่ายบ้านเดี่ยวทั่วกรุงเทพฯลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2556 ถึง 31% และลดลงทุกทำเล เดือนมิถุนายน พ.ศ.2557 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวชะลอลง 33.7% รถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัว 27.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
คณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปออกแถลงการณ์ว่า จะระงับการเยือนอย่างเป็นทางการระหว่างกัน+จะไม่ลงนามความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ (PCA) กับไทย ผมสังหรณ์ใจยังไงชอบกล ว่าข้อตกลงเขตการค้าเสรี 6 ฉบับ ระหว่างไทยกับอียูจะสะดุด หากการเจรจาเอฟทีเอรอบที่ 4 ไม่จบทันปลาย พ.ศ.2557 ผู้อ่านท่านตัดเปิดฟ้าส่องโลกแปะข้างฝาไว้พิสูจน์ได้เลยว่า ปีหน้า พ.ศ.2558 เราจะมีปัญหาเศรษฐกิจรุนแรง เพราะสินค้าไทยที่จะส่งไปยุโรปจะถูกตัดสิทธิพิเศษ 6,200 รายการ เป็นเงินมหาศาล 2.9 แสนล้านบาท
โรงงานหลายแห่งตั้งอยู่ในแผ่นดินไทยไม่ได้แล้วครับ เพราะเราจะไม่ได้รับสิทธิพิเศษจากสหภาพยุโรป ประเภทที่ต้องย้ายด่วนก็เป็นโรงงานที่ผลิตยานยนต์ขนส่ง กุ้งปรุงแต่ง ถุงมือยาง เลนส์แว่นตา เครื่องปรับอากาศ ยางนอกรถยนต์ กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง ฯลฯ ใครยังอยากพึ่งพาตลาดสหภาพยุโรปก็จะต้องย้ายฐานการผลิตไปที่กัมพูชา พม่า และลาว ซึ่งยังคงได้รับสิทธิพิเศษจากสหภาพยุโรปอยู่
ส่วนใครที่ยังต้องการผลิตและส่งออกไปตลาดอเมริกัน ก็ต้องย้ายฐานการผลิตไปที่ญวน เพราะญวนได้รับการต่ออายุจีเอสพี เสียภาษีนำเข้า 10% ไปอีก 3 ปี และถ้าญวนเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกกับสหรัฐฯสำเร็จ ก็จะได้ลดภาษีนำเข้าเครื่องนุ่งห่มลงเหลือ 0% ในขณะเครื่องนุ่งห่มที่ยังผลิตในไทย จะโดนโขกภาษีนำเข้าสูงถึง 30%
ความ ‘จนอย่างยิ่ง’ กำลังมาเยือนประชาชนคนไทย
ต้องชุมนุมสุมหัวช่วยกันคิดแก้ไขครับ.
คุณนิติ นวรัตน์
http://www.thairath.co.th/content/439875

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar