tisdag 29 juli 2014

๒๙ ก.ค. ๕๗ วันที่เจ็ด คืนความสุขอีกหนึ่งนโยบาย "จัดการน้ำ4.4 ล้านล้าน" โปรดช่วยกันจับตาดูคิดแต่ละนโยบาย เงินมหาศาลทั้งนั้น สมัยรัฐบาลที่มาจากประชาชนทุกสมัยที่ผ่านมายังทำไม่สำเร็จ แล้วพลเอกประยุทธ์วิเศษมาจากไหนแล้วจะทำได้อย่างไร??? หรือได้รับคำสั่งด่วนจากเทวดาผู้เก่งกาจชำนาญเรื่องน้ำ ?? คำถามประเทศไหนหรือใครจะเสี่ยงมาลงทุนกับรัฐบาลเผด็จการทรราช ??แล้วจะเอาเงินมาจากไหนมาทำ?? นโยบายแดกด่วนตรวจสอบไม่ได้ " คสช." จะคืนความสุขหรือคืนความทุกข์ให้ประเทศชาติและประชาชน... ฝากให้ประชาชนไทยอ่านแล้วคิดพิจารณาเอาเอง.







-ยึดอำนาจฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง
- เขียน "รัฐธรรมนูญชั่วคราว"เพิ่มอำนาจให้ตัวเอง
-ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตนเองไม่มีความผิด
-อนุมัติโครงการยักษ์ที่สิ้นเปลืองงบประมาณ(นโยบายแดกด่วน)
-โยกย้ายข้าราชการที่ไม่ใช่พวกตนเอง 
-ขาดความโปร่งใสตรวจสอบไม่ได้

-เป็นเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ
-โดยให้ทหารไล่ล่าจับกุมประชาชนที่คิดต่างมาละลายพฤติกรรมหรือจับขังคุก
-ใช้ ม.๑๑๒ ยัดเยียดข้อหาให้ผู้บริสุทธิ์ที่คิดต่าง
-.รธน.50 ยกเลิกไปละ แต่ กกต. และศาลรธน.ยังอยู่ มันคือ อัลลัย ตรรกะเพี๊ยนไปหมดละ ประชาชนอยุ่ตรงไหนละ
-ฯลฯ
..............................................


กระทรวงทรัพย์ฯเตรียมเสนอ คสช.จัดการน้ำทั้งระบบ คาดอาจใช้งบทั้งระบบ 4.4 ล้านล้าน

นายสุพจน์ โตวิจักษ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า กระทรวงทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างเตรียมแผนบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการประชุมร่วมกับ คสช.วันนี้ (25 ก.ค. 57) โดยในแผนดังกล่าวจะเน้นแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง ปัญหาอุทกภัย และปัญหาน้ำเน่าเสียอย่างยั่งยืน โดยจะแบ่งเป็นแผนแก้ปัญหาระยะเร่งด่วน 1-2 ปี แผนแก้ไขปัญหาระยะกลาง 3-5 ปี และแผนแก้ไขปัญหาระยะยาว 5-10 ปี

อย่างไรก็ตาม หากได้รับงบประมาณในจำนวนที่เพียงพออาจจะทำให้แผนการดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้จากการที่กระทรวงเคยทำการศึกษามีผลสรุปว่า หากจะจัดการน้ำทั้งระบบอย่างยั่งยืนต้องใช้งบประมานสูงถึง 4.4 ล้านล้านบาท และเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดของประเทศก็อาจต้องใช้งบประมาณมากถึง 2.2 ล้านล้านบาท

สำหรับงบประมาณบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาหลัก 2 ประการคือ 1) แก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และ 2) เน้นการปฏิบัติการให้รวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพ ซึ่งยังไม่ครอบคลุมปัญหาน้ำแล้งที่เกิดผลกระทบในหลายภูมิภาคของประเทศในขณะนี้ 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar