torsdag 28 augusti 2014

ช่วยกันประนาม. " สังคมชักโครก..".ภายใต้ระบอบอำมาตย์เผด็จการทรราชราชาธิปไตย ..ทำให้มีระบบศาล "อยุติธรรม" ดำรงคงอยู่คู่ประเทศไทยตลอดการ.. ....














สังคมชักโครก....

ความตายหล่นหายไปอย่างนี้
เรียบง่ายไม่มีร่องรอยเหลือ
รูช่องร่องปากมากเหลือเฟือ
เลือดเนื้อฟอกซักชักโครกไป
คนที่สั่งกลายเป็นบริสุทธิ์
คนที่ทำก็หลุดคดีได้
คนที่ตายตายแล้วช่างปะไร
คนที่ดูร้องไห้ไร้น้ำตา

Kasian Tejapira


Foto: ความยุติธรรมไม่มี ความสามัคคีไม่เกิด!

ยกฟ้อง "มาร์ค-สุเทพ" สั่งฆ่าประชาชนปี 53 ส่งผลให้คดี 99 ศพในศาลอาญายุติทั้งหมด !

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd09URTVOemN6TUE9PQ==&subcatid

ความยุติธรรมไม่มี ความสามัคคีไม่เกิด!
ยกฟ้อง "มาร์ค-สุเทพ" สั่งฆ่าประชาชนปี 53 ส่งผลให้คดี 99 ศพในศาลอาญายุติทั้งหมด !

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd09URTVOemN6TUE9PQ%3D%3D&subcatid


ที่มา ข่าวสดออนไลน์





เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 28 ส.ค. ที่ห้องพิจารณา 707 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.4552/2556 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83, 84 และ 90 จากกรณีออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าขอคืนพื้นที่การชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อปี 2553

ศาลพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยทั้ง 2 ที่ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธปืนจริงและกระสุนจริงทำให้มีผู้ชุมนุม ประชาชน และเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต เป็นการออกคำสั่งในฐานะนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และ ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 แต่การปฏิบัติต้องทำไปตามที่กฎหมายบัญญัติ และไม่เกินกว่าเหตุ โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติจะไม่ใช้อาวุธปืนจริงและกระสุนปืนจริง การใช้อำนาจของจำเลยทั้ง 2 จึงเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ และผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

คดีนี้มีข้อที่ต้องพิจารณาว่า จำเลยทั้งสองมีการกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการหรือไม่ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 66 และประกาศของ คสช. ฉบับที่ 11/2557 และ 24/2557 ระบุให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง และอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

เมื่อวิเคราะห์คำฟ้องของโจทก์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288, 80, 83, 84 และ 90 เห็นได้ว่ามูลเหตุแห่งคดี เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาจำเลยในฐานะนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และผอ.ศอฉ. ซึ่งเป็นความผิดตามอำนาจหน้าที่ราชการ และเป็นการออกคำสั่งโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หาใช่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลอาญาไม่

ศาลอาญาจึงไม่มีอำนาจรับคำฟ้องของโจทก์ทั้ง 2 สำนวน จึงพิพากษายกฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง และยกฟ้องการขอเป็นโจทก์ร่วม




Inga kommentarer:

Skicka en kommentar