มติชนสุดสัปดาห์ 29 สิงหาคม - 4 กันยายน 2557
วงค์ ตาวัน : ตำนานตบเท้าเข้าบ้านสี่เสา
ชกคาดเชือก
ปกติ บ้านพักสี่เสาเทเวศร์ ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี จะเปิดรับการตบเท้าเข้าอวยพรของผู้นำเหล่าทัพและตำรวจ ไปจนถึงข้าราชการกระทรวงสำคัญๆ เป็นประจำสม่ำเสมอถึงปีละ 3 ครั้ง
คือ วันปีใหม่ วันสงกรานต์ และวันเกิด 26 สิงหาคม
มาในปีนี้ วันเกิดครบ 94 ปี กลายเป็นข่าวที่เป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์กันอื้ออึง เมื่อป๋าเปรมประกาศงดเปิดบ้านให้เข้าอวยพร โดยนายทหารคนสนิทเป็นผู้แจ้งข่าว พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลว่า ไม่อยากรบกวน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ ผบ.เหล่าทัพ เห็นว่ากำลังยุ่ง มีภารกิจมากมายในการบริหารประเทศเวลานี้
นี่จึงนำมาสู่ข้อสงสัยมากมาย
เพราะธรรมเนียมปฏิบัติเข้าบ้านป๋าปีละ3 ครั้ง ดำเนินต่อเนื่องมาทุกปี
ผู้นำเหล่าทัพทุกยุคล้วนยึดถือปฏิบัติมากว่า 30 ปีแล้ว
จู่ๆ ป๋ามาสั่งงด ย่อมเกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์!?!
เกิดกระแสข่าว 2 กระแสที่บ่งชี้เบื้องหลัง
กระแสหนึ่ง ระบุว่า การที่คนสนิทป๋าเปรมให้เหตุผลว่า เห็น พล.อ.ประยุทธ์ และ ผบ.เหล่าทัพกำลังยุ่ง เพราะกำลังมีภารกิจบริหารประเทศ จึงไม่อยากรวบกวนเวลานั้น
ภารกิจที่กำลังยุ่งก็คือ การควบคุมการปกครองประเทศและกำลังตั้งรัฐบาลที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ
ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงเห็นพ้องต้องกันว่า หาก พล.อ.ประยุทธ์ และคณะนายทหารที่ร่วมกันยึดอำนาจ ตบเท้าเข้าอวยพรป๋าเปรม จะทำให้เกิดภาพไม่ดีกับป๋า เหมือนไปดึงป๋าเข้ามาเกี่ยวข้องกับการยึดอำนาจหนนี้
เกรงจะทำให้ป๋าเปรมตกเป็นเป้าหมายถูกโจมตีในทางการเมืองได้
การที่ป๋างดเปิดบ้านและการที่ผบ.เหล่าทัพไม่ได้เข้าบ้าน จึงมีเหตุผลเพื่อป้องกันไม่ให้ป๋าต้องเสียหายในห้วงของการปฏิวัติรัฐประหารนี่เอง
แต่มีอีกกระแสข่าวระบุว่าก่อนและหลังการยึดอำนาจหนนี้ พล.อ.ประยุทธ์ และแกนนำ คสช. พยายามระมัดระวังอย่างสูง เพื่อไม่ให้ป๋าเปรมต้องมีภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง
เนื่องจากมีสถานะเป็นถึงประธานองคมนตรี ย่อมต้องปกป้องไม่ให้ถูกลากไปโจมตีได้
คณะ คสช. จึงไม่ได้ติดต่อประสานกับป๋าเปรมมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนปฏิวัติ แม้แต่วันลงมือยึดอำนาจ ไปจนถึงหลังจากนั้น ได้ป้องกันเต็มที่ไม่ให้มีภาพป๋าเข้ามาเกี่ยวข้องแม้แต่น้อย
ข่าวกระแสนี้ระบุว่า การที่ป๋าเปรมปิดบ้านสี่เสา ไม่ให้ใครเข้าอวยพร เป็นการตอกย้ำความเป็นจริงที่ว่า บ้านสี่เสามีระยะห่างจากคณะนายทหารยุคนี้อย่างชัดเจนเป็นสำคัญ!
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเข้ายึดอำนาจของ คสช. เมื่อ 22 พฤษภาคม นั้น เป็นผลมาจากขบวนการวางแผนชัตดาวน์ประเทศ ทำทุกอย่างเพื่อให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์กลายเป็นรัฐล้มเหลว
ขบวนการเคลื่อนไหวซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายหลายส่วนมีทั้งกลุ่มอำนาจ มีทั้งพรรคการเมือง มีทั้งกลุ่มคนที่มีความคิดต้องการสังคมแนวอนุรักษนิยม
ทำทุกอย่างเพื่อให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์เดินหน้าไปไม่ได้เพื่อกดดันให้ทหารต้องออกมายึดอำนาจ
แต่เราจะพบว่า การชุมนุมประท้วงขับไล่ยิ่งลักษณ์นั้นยืดเยื้อยาวนานจนแทบหมดเรี่ยวหมดแรงหมดทุนรอน
เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ สงบนิ่งมาตลอด!
คงเพราะไม่ต้องการเป็นหมากในกลเกมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อีกทั้งเพื่อแสดงให้เห็นความเป็นตัวของตัวเองอย่างสูง
แม้กระทั่งวันที่ตัดสินใจยึดอำนาจ ก็เชื่อกันว่าเป็นการตัดสินใจตามจังหวะเวลาของผู้นำกองทัพเอง
ไม่ได้ตัดสินใจไปตามแผนที่คนอื่นวางเอาไว้เพื่อให้เป็นแค่คนออกมาปิดจ๊อบ
จึงน่าสนใจเหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังมีการชุมนุมชัตดาวน์อย่างยืดเยื้อ
ในวันที่ 14 มีนาคม พล.อ.เปรม เดินทางไปเปิดอนุสาวรีย์ พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ในฐานะเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ที่ค่ายกฤษณ์สีวะรา จังหวัดทหารบกสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
ขณะที่ พล.อ.เปรม เดินนำคณะนายทหารดูบริเวณอนุสาวรีย์ดังกล่าว ได้หยุดอ่านข้อความที่บันทึกไว้ใต้ฐานรูปปั้น แล้วหันมากล่าวกับคณะนายทหารว่า "จะไปบอก ผบ.ทบ. ให้มาอ่านดูตรงนี้"
ทั้งนี้ ป้ายข้อความดังกล่าวเป็นคำพูดของ พล.อ.กฤษณ์ ที่เคยกล่าวเอาไว้ว่า
"ทหารเรายืนอยู่บนเกียรติอันสูงส่ง ที่ประชาชนคนไทยหวังเป็นที่พึ่งขั้นสุดท้ายของเขา"
ท่าทีและคำพูดของป๋าเปรมในวันนั้น ผนวกกับความหมายของข้อความดังกล่าว ทำให้ถูกตีความว่าเป็นการส่งสัญญาณบางอย่าง
ในวันรุ่งขึ้น นักข่าวสอบถาม พล.อ.ประยุทธ์ ทันที ได้รับคำตอบว่า เป็นเพียงเรื่องภายใน พล.อ.เปรม คงจะพูดในทำนองว่า อยากให้มาดูอนุสาวรีย์ที่สร้างใหม่ ซึ่งหลายส่วนยังไม่เรียบร้อย
"ไม่มีการส่งสัญญาณ และผมเองไม่เคยรับสัญญาณใครทั้งนั้น"
พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำด้วยว่า ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้มีเกียรติ เป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ไม่ทำอะไรให้เกิดปัญหา และคงไม่ต้องฝากอะไรมาถึงตนเองเพราะก็คุยกันตลอด
จากวันที่ 14 มีนาคม ทิ้งช่วงอีกกว่า 2 เดือน จึงเกิดเหตุ 22 พฤษภาคม
คสช. เข้าควบคุมการปกครองมากว่า 3 เดือน และกำลังเข้าสู่ช่วงของการเข้าเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ จะพบว่าได้พยายามมาตลอด เพื่อจะให้เห็นว่าเข้ามาทำหน้าที่กรรมการกลาง ยุติความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้วให้หมดสิ้นไป
ตลอดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา กลายเป็นว่า ฝ่ายทักษิณ พรรคเพื่อไทยและเสื้อแดง สงบเงียบเป็นส่วนใหญ่
โดยเชื่อว่า ฝ่ายนี้ต้องการให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี เพื่อวันเลือกตั้งที่ คสช. กำหนดเอาไว้คือ เดือนตุลาคม 2558 จะไม่ต้องเลื่อนออกไปอีก
ไปๆ มาๆ กลายเป็นว่า กลุ่มคนที่ร่วมขบวนการชัตดาวน์รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งอาจจะรู้สึกเสมือนว่าเป็นคนกันเองกับผู้นำกองทัพและ คสช. เริ่มหงุดหงิด และเริ่มแสดงความไม่เห็นด้วยกับ คสช. หลายๆ ประการ
ม็อบสวนยางปักษ์ใต้เริ่มขยับตัว กลุ่มเคลื่อนไหวด้านพลังงานเริ่มเดินขบวน
เร็วๆ นี้โฉมหน้าของสภาปฏิรูปแห่งชาติจะปรากฏออกมา และจะเริ่มเห็นแนวทางการวางกรอบการเมืองใหม่ว่าเป็นเช่นไร
เป็นไปตามฝ่ายต่อต้านทักษิณต้องการหรือไม่หรือ คสช. จะทำให้ออกมาตามแนวของตัวเอง ไม่ยึดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
นั่นจะเป็นคำตอบว่า สถานการณ์ในภายภาคหน้าของรัฐบาลประยุทธ์ จะต้องเผชิญกับคลื่นใต้น้ำจากฝ่ายไหนกันแน่
แต่วันนี้จะพบว่า พล.อ.ประยุทธ์ และ คสช. เดินตามแนวทางที่เป็นตัวของตัวเองอย่างสูง
ยึดอำนาจด้วยการตัดสินใจจังหวะเวลาเอง แล้วเป็นนายกฯ เอง ตั้งรัฐบาลประกอบด้วยคณะทหารที่ร่วมกันยึดอำนาจเอง
กระนั้นก็ตาม ส่วนหนึ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ มีความมั่นใจในตัวเองสูง เพราะฐานกำลังในกองทัพนั้นค่อนข้างเหนียวแน่น
ถ้าหากการแต่งตั้ง ผบ.ทบ. และระดับ 5 เสือที่กำลังจะลงมือในอีกไม่กี่วันนี้ วางคนที่ไว้วางใจได้คุมอย่างครบถ้วน
พล.อ.ประยุทธ์ ก็คงยังมั่นใจสูงที่จะเดินหน้าทำงานตามแนวทางของตนเอง โดยไม่ต้องให้ใครมานำหรือกำหนด
แม้แต่กับป๋าเปรม ก็น่าจะรักษาระยะห่างเอาไว้ เพื่อไม่ให้ฐานะประธานองคมนตรีต้องถูกโจมตีเสียหาย
แต่ยังไม่รู้ว่า จะมีผลให้ตำนานการตบเท้าเข้าบ้านสี่เสาที่ยาวนานมากว่า 30 ปี
ต้องแปรเปลี่ยนไปในที่สุดหรือไม่!?
คือ วันปีใหม่ วันสงกรานต์ และวันเกิด 26 สิงหาคม
มาในปีนี้ วันเกิดครบ 94 ปี กลายเป็นข่าวที่เป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์กันอื้ออึง เมื่อป๋าเปรมประกาศงดเปิดบ้านให้เข้าอวยพร โดยนายทหารคนสนิทเป็นผู้แจ้งข่าว พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลว่า ไม่อยากรบกวน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ ผบ.เหล่าทัพ เห็นว่ากำลังยุ่ง มีภารกิจมากมายในการบริหารประเทศเวลานี้
นี่จึงนำมาสู่ข้อสงสัยมากมาย
เพราะธรรมเนียมปฏิบัติเข้าบ้านป๋าปีละ3 ครั้ง ดำเนินต่อเนื่องมาทุกปี
ผู้นำเหล่าทัพทุกยุคล้วนยึดถือปฏิบัติมากว่า 30 ปีแล้ว
จู่ๆ ป๋ามาสั่งงด ย่อมเกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์!?!
เกิดกระแสข่าว 2 กระแสที่บ่งชี้เบื้องหลัง
กระแสหนึ่ง ระบุว่า การที่คนสนิทป๋าเปรมให้เหตุผลว่า เห็น พล.อ.ประยุทธ์ และ ผบ.เหล่าทัพกำลังยุ่ง เพราะกำลังมีภารกิจบริหารประเทศ จึงไม่อยากรวบกวนเวลานั้น
ภารกิจที่กำลังยุ่งก็คือ การควบคุมการปกครองประเทศและกำลังตั้งรัฐบาลที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ
ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงเห็นพ้องต้องกันว่า หาก พล.อ.ประยุทธ์ และคณะนายทหารที่ร่วมกันยึดอำนาจ ตบเท้าเข้าอวยพรป๋าเปรม จะทำให้เกิดภาพไม่ดีกับป๋า เหมือนไปดึงป๋าเข้ามาเกี่ยวข้องกับการยึดอำนาจหนนี้
เกรงจะทำให้ป๋าเปรมตกเป็นเป้าหมายถูกโจมตีในทางการเมืองได้
การที่ป๋างดเปิดบ้านและการที่ผบ.เหล่าทัพไม่ได้เข้าบ้าน จึงมีเหตุผลเพื่อป้องกันไม่ให้ป๋าต้องเสียหายในห้วงของการปฏิวัติรัฐประหารนี่เอง
แต่มีอีกกระแสข่าวระบุว่าก่อนและหลังการยึดอำนาจหนนี้ พล.อ.ประยุทธ์ และแกนนำ คสช. พยายามระมัดระวังอย่างสูง เพื่อไม่ให้ป๋าเปรมต้องมีภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง
เนื่องจากมีสถานะเป็นถึงประธานองคมนตรี ย่อมต้องปกป้องไม่ให้ถูกลากไปโจมตีได้
คณะ คสช. จึงไม่ได้ติดต่อประสานกับป๋าเปรมมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนปฏิวัติ แม้แต่วันลงมือยึดอำนาจ ไปจนถึงหลังจากนั้น ได้ป้องกันเต็มที่ไม่ให้มีภาพป๋าเข้ามาเกี่ยวข้องแม้แต่น้อย
ข่าวกระแสนี้ระบุว่า การที่ป๋าเปรมปิดบ้านสี่เสา ไม่ให้ใครเข้าอวยพร เป็นการตอกย้ำความเป็นจริงที่ว่า บ้านสี่เสามีระยะห่างจากคณะนายทหารยุคนี้อย่างชัดเจนเป็นสำคัญ!
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเข้ายึดอำนาจของ คสช. เมื่อ 22 พฤษภาคม นั้น เป็นผลมาจากขบวนการวางแผนชัตดาวน์ประเทศ ทำทุกอย่างเพื่อให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์กลายเป็นรัฐล้มเหลว
ขบวนการเคลื่อนไหวซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายหลายส่วนมีทั้งกลุ่มอำนาจ มีทั้งพรรคการเมือง มีทั้งกลุ่มคนที่มีความคิดต้องการสังคมแนวอนุรักษนิยม
ทำทุกอย่างเพื่อให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์เดินหน้าไปไม่ได้เพื่อกดดันให้ทหารต้องออกมายึดอำนาจ
แต่เราจะพบว่า การชุมนุมประท้วงขับไล่ยิ่งลักษณ์นั้นยืดเยื้อยาวนานจนแทบหมดเรี่ยวหมดแรงหมดทุนรอน
เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ สงบนิ่งมาตลอด!
คงเพราะไม่ต้องการเป็นหมากในกลเกมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อีกทั้งเพื่อแสดงให้เห็นความเป็นตัวของตัวเองอย่างสูง
แม้กระทั่งวันที่ตัดสินใจยึดอำนาจ ก็เชื่อกันว่าเป็นการตัดสินใจตามจังหวะเวลาของผู้นำกองทัพเอง
ไม่ได้ตัดสินใจไปตามแผนที่คนอื่นวางเอาไว้เพื่อให้เป็นแค่คนออกมาปิดจ๊อบ
จึงน่าสนใจเหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังมีการชุมนุมชัตดาวน์อย่างยืดเยื้อ
ในวันที่ 14 มีนาคม พล.อ.เปรม เดินทางไปเปิดอนุสาวรีย์ พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ในฐานะเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ที่ค่ายกฤษณ์สีวะรา จังหวัดทหารบกสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
ขณะที่ พล.อ.เปรม เดินนำคณะนายทหารดูบริเวณอนุสาวรีย์ดังกล่าว ได้หยุดอ่านข้อความที่บันทึกไว้ใต้ฐานรูปปั้น แล้วหันมากล่าวกับคณะนายทหารว่า "จะไปบอก ผบ.ทบ. ให้มาอ่านดูตรงนี้"
ทั้งนี้ ป้ายข้อความดังกล่าวเป็นคำพูดของ พล.อ.กฤษณ์ ที่เคยกล่าวเอาไว้ว่า
"ทหารเรายืนอยู่บนเกียรติอันสูงส่ง ที่ประชาชนคนไทยหวังเป็นที่พึ่งขั้นสุดท้ายของเขา"
ท่าทีและคำพูดของป๋าเปรมในวันนั้น ผนวกกับความหมายของข้อความดังกล่าว ทำให้ถูกตีความว่าเป็นการส่งสัญญาณบางอย่าง
ในวันรุ่งขึ้น นักข่าวสอบถาม พล.อ.ประยุทธ์ ทันที ได้รับคำตอบว่า เป็นเพียงเรื่องภายใน พล.อ.เปรม คงจะพูดในทำนองว่า อยากให้มาดูอนุสาวรีย์ที่สร้างใหม่ ซึ่งหลายส่วนยังไม่เรียบร้อย
"ไม่มีการส่งสัญญาณ และผมเองไม่เคยรับสัญญาณใครทั้งนั้น"
พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำด้วยว่า ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้มีเกียรติ เป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ไม่ทำอะไรให้เกิดปัญหา และคงไม่ต้องฝากอะไรมาถึงตนเองเพราะก็คุยกันตลอด
จากวันที่ 14 มีนาคม ทิ้งช่วงอีกกว่า 2 เดือน จึงเกิดเหตุ 22 พฤษภาคม
คสช. เข้าควบคุมการปกครองมากว่า 3 เดือน และกำลังเข้าสู่ช่วงของการเข้าเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ จะพบว่าได้พยายามมาตลอด เพื่อจะให้เห็นว่าเข้ามาทำหน้าที่กรรมการกลาง ยุติความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้วให้หมดสิ้นไป
ตลอดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา กลายเป็นว่า ฝ่ายทักษิณ พรรคเพื่อไทยและเสื้อแดง สงบเงียบเป็นส่วนใหญ่
โดยเชื่อว่า ฝ่ายนี้ต้องการให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี เพื่อวันเลือกตั้งที่ คสช. กำหนดเอาไว้คือ เดือนตุลาคม 2558 จะไม่ต้องเลื่อนออกไปอีก
ไปๆ มาๆ กลายเป็นว่า กลุ่มคนที่ร่วมขบวนการชัตดาวน์รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งอาจจะรู้สึกเสมือนว่าเป็นคนกันเองกับผู้นำกองทัพและ คสช. เริ่มหงุดหงิด และเริ่มแสดงความไม่เห็นด้วยกับ คสช. หลายๆ ประการ
ม็อบสวนยางปักษ์ใต้เริ่มขยับตัว กลุ่มเคลื่อนไหวด้านพลังงานเริ่มเดินขบวน
เร็วๆ นี้โฉมหน้าของสภาปฏิรูปแห่งชาติจะปรากฏออกมา และจะเริ่มเห็นแนวทางการวางกรอบการเมืองใหม่ว่าเป็นเช่นไร
เป็นไปตามฝ่ายต่อต้านทักษิณต้องการหรือไม่หรือ คสช. จะทำให้ออกมาตามแนวของตัวเอง ไม่ยึดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
นั่นจะเป็นคำตอบว่า สถานการณ์ในภายภาคหน้าของรัฐบาลประยุทธ์ จะต้องเผชิญกับคลื่นใต้น้ำจากฝ่ายไหนกันแน่
แต่วันนี้จะพบว่า พล.อ.ประยุทธ์ และ คสช. เดินตามแนวทางที่เป็นตัวของตัวเองอย่างสูง
ยึดอำนาจด้วยการตัดสินใจจังหวะเวลาเอง แล้วเป็นนายกฯ เอง ตั้งรัฐบาลประกอบด้วยคณะทหารที่ร่วมกันยึดอำนาจเอง
กระนั้นก็ตาม ส่วนหนึ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ มีความมั่นใจในตัวเองสูง เพราะฐานกำลังในกองทัพนั้นค่อนข้างเหนียวแน่น
ถ้าหากการแต่งตั้ง ผบ.ทบ. และระดับ 5 เสือที่กำลังจะลงมือในอีกไม่กี่วันนี้ วางคนที่ไว้วางใจได้คุมอย่างครบถ้วน
พล.อ.ประยุทธ์ ก็คงยังมั่นใจสูงที่จะเดินหน้าทำงานตามแนวทางของตนเอง โดยไม่ต้องให้ใครมานำหรือกำหนด
แม้แต่กับป๋าเปรม ก็น่าจะรักษาระยะห่างเอาไว้ เพื่อไม่ให้ฐานะประธานองคมนตรีต้องถูกโจมตีเสียหาย
แต่ยังไม่รู้ว่า จะมีผลให้ตำนานการตบเท้าเข้าบ้านสี่เสาที่ยาวนานมากว่า 30 ปี
ต้องแปรเปลี่ยนไปในที่สุดหรือไม่!?
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar