คลิกอ่าน Link เอกสารเปิดคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557
‘ประยุทธ์’ แถลงนโยบายสภา 12 ก.ย. วาง IT จัดการพวกคะนองปากต่อสถาบันฯ แก้กม.ล้าสมัยไม่เป็นธรรม
Wed, 2014-09-10 19:20
ประชาไท
นายกรัฐมนตรี เตรียมแถลงนโยบายต่อสภาฯ12 ก.ย. นี้ ยึดหลัก “ทำก่อน ทำจริงจัง และทำทันที จนบังเกิดผลสัมฤทธิ์” เช่น วางITจัดการผู้คะนองปากหรือประสงค์ร้ายสถาบันฯ แก้กม. ล้าสมัยไม่เป็นธรรม ฯลฯ เตรียมลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วมหลังแถลงฯ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เตรียมแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ สาระสำคัญของนโยบายรัฐบาล คือรัฐบาลยังคงยึดมั่นตามโรดแมปที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระยะที่ 2 คือมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี และที่จะตามมาคือ การจัดตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อออกแบบวางรากฐานทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม อันมั่นคงแก่ประเทศก่อนจะส่งผ่านไปสู่ระยะที่ 3 คือการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรและการจัดการเลือกตั้งทั่วไป เงื่อนไขดังกล่าวเป็นพันธกิจที่รัฐบาลจะยังคงยึดมั่นและดำเนินการต่อไป โดยยึดหลัก “ทำก่อน ทำจริงจัง และทำทันที จนบังเกิดผลสัมฤทธิ์”
“การที่รัฐบาลนี้ไม่ได้จัดตั้งขึ้นจากพรรคการเมือง จึงไม่มีนโยบายของพรรคที่ใช้หาเสียงหรือหวังคะแนนประชานิยมมาเป็นฐานทางการเมือง ทุกคนจึงไม่ต้องวิตกว่าจะมีการนำประเทศเข้าไปผูกพันจนเสียวินัยการคลัง หรือเกิดภาระอนาคต และด้วยความที่มีเอกภาพทางนโยบาย จึงไม่ต้องวิตกว่าการทำงานในแต่ละกระทรวงจะไม่บูรณาการสอดคล้อง หรือพายเรือคนละที สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นพลังอำนาจหรือเกื้อหนุนให้รัฐบาลทำงานยากในเวลาสั้นได้ราบรื่น และจะไม่ให้การทำงานของรัฐบาลกลายเป็นภาระของประเทศเป็นอันขาด”
มาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญได้กำหนดหน้าที่ของรัฐบาลไว้ 3 ประการ คือการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ และการส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับหน้าที่ทั้งสามประการในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลจำแนกเป็น 11 ด้าน โดยนำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศว่าด้วยการเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักสำคัญ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง มาแนวคิด ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แนวทางของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และความต้องการของประชาชน ซึ่งแสดงออกมาตลอดและน่าจะชัดเจนขึ้นในช่วงเวลาการออกแบบการปฏิรูปประเทศเป็นแนวทางการกำหนดนโยบาย
นโยบายทุกด้านต้องสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กรการปกครองทุกระดับตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงประเทศ มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุมปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องทำทันที ระยะกลาง ที่จะทำต่อไปหรือต้องรอการใช้บังคับกฎหมาย และระยะยาว ที่จะต้องวางรากฐานเพื่อให้รัฐบาลข้างหน้าเข้ามาพิจารณารับช่วงได้ต่อเนื่อง และประการสำคัญต้องการให้ประชาชนเกิดความชัดเจน รู้ล่วงหน้าว่าประเทศของเราจะก้าวไปทางไหน จะมีอะไรเกิดหรือไม่เกิดในอนาคตอันใกล้เพื่อเตรียมตัวได้ถูกต้อง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เตรียมแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ สาระสำคัญของนโยบายรัฐบาล คือรัฐบาลยังคงยึดมั่นตามโรดแมปที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำหนดไว้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระยะที่ 2 คือมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี และที่จะตามมาคือ การจัดตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อออกแบบวางรากฐานทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม อันมั่นคงแก่ประเทศก่อนจะส่งผ่านไปสู่ระยะที่ 3 คือการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรและการจัดการเลือกตั้งทั่วไป เงื่อนไขดังกล่าวเป็นพันธกิจที่รัฐบาลจะยังคงยึดมั่นและดำเนินการต่อไป โดยยึดหลัก “ทำก่อน ทำจริงจัง และทำทันที จนบังเกิดผลสัมฤทธิ์”
“การที่รัฐบาลนี้ไม่ได้จัดตั้งขึ้นจากพรรคการเมือง จึงไม่มีนโยบายของพรรคที่ใช้หาเสียงหรือหวังคะแนนประชานิยมมาเป็นฐานทางการเมือง ทุกคนจึงไม่ต้องวิตกว่าจะมีการนำประเทศเข้าไปผูกพันจนเสียวินัยการคลัง หรือเกิดภาระอนาคต และด้วยความที่มีเอกภาพทางนโยบาย จึงไม่ต้องวิตกว่าการทำงานในแต่ละกระทรวงจะไม่บูรณาการสอดคล้อง หรือพายเรือคนละที สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นพลังอำนาจหรือเกื้อหนุนให้รัฐบาลทำงานยากในเวลาสั้นได้ราบรื่น และจะไม่ให้การทำงานของรัฐบาลกลายเป็นภาระของประเทศเป็นอันขาด”
มาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญได้กำหนดหน้าที่ของรัฐบาลไว้ 3 ประการ คือการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินการให้มีการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ และการส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับหน้าที่ทั้งสามประการในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลจำแนกเป็น 11 ด้าน โดยนำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศว่าด้วยการเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักสำคัญ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง มาแนวคิด ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แนวทางของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และความต้องการของประชาชน ซึ่งแสดงออกมาตลอดและน่าจะชัดเจนขึ้นในช่วงเวลาการออกแบบการปฏิรูปประเทศเป็นแนวทางการกำหนดนโยบาย
นโยบายทุกด้านต้องสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กรการปกครองทุกระดับตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงประเทศ มียุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุมปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องทำทันที ระยะกลาง ที่จะทำต่อไปหรือต้องรอการใช้บังคับกฎหมาย และระยะยาว ที่จะต้องวางรากฐานเพื่อให้รัฐบาลข้างหน้าเข้ามาพิจารณารับช่วงได้ต่อเนื่อง และประการสำคัญต้องการให้ประชาชนเกิดความชัดเจน รู้ล่วงหน้าว่าประเทศของเราจะก้าวไปทางไหน จะมีอะไรเกิดหรือไม่เกิดในอนาคตอันใกล้เพื่อเตรียมตัวได้ถูกต้อง
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar