มองพม่า มองไทย
เมื่อวันที่ 18-19 ธันวาคม2557 ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาวิชาการประจำปี2557 "ไทย-พม่าศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน(Thai-Myanmar Studies in ASEAN Community) ที่จัดโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก และต่อด้วยการเดินทางภาคสนามไปยังแม่สอด-เมียวดี-มะละแหม่ง-ตันบูซายัต-หงสาวดี-ย่างกุ้ง ซึ่งในขณะที่บทความนี้ตีพิมพ์ผมยังอยู่ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ร่วมกับคณะที่มีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นหัวหน้าคณะเดินทาง
ภาควิชาการมีหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย อาทิ "ASEAN East-West,North-South Economic Corridors/พระสงฆ์กับการบ้าน-การเมืองในอาเซียน/การท่องเที่ยวลุ่มน้ำปิง-วัง-ยม-น่านและสาละวิน/UPDATE ประเทศไทย:การบริหารส่วนภูมิภาค/ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ตะเข็บพรมแดนไทย-พม่า/ไทยพม่าค้าขาย เศรษฐกิจก้าวไกล ปลอดภัยโรค/แรงงานข้ามพรมแดน/น้ำสาละวิน-น้ำโขง-เขื่อน:พัฒนาหรือทำลาย/แผนที่เขตแดนทางบกและทางทะเล:ไทย-พม่า/ปัญหาและทางออกเรื่องชาติพันธุ์ตะเข็บชายแดนไทย-พม่า/การสร้างวีรบุรุษ วีรสตรี และวีรชนของชาติอาเซียน/มองพม่าผ่านธุรกิจ/มองอาเซียนผ่านสื่อ/ราชันผู้พลัดถิ่น เมื่อพม่าเสียเมือง/ศูนย์การเรียนรู้ ห้องสมุด จดหมายเหตุ อาเซียน-อุษาคเนย์/ภาษากับวัฒนธรรมASEAN /การเมืองเรื่องสุนทรียภาพในรัฐฉานตะวันออก:การเชื่อมโยงเรื่องศิลปกรรม ชาติพันธุ์และการท่องเที่ยวในกลุ่มประชาคมอาเซียน ฯลฯ
ในภาคสนามผมได้มีโอกาสไปสถานที่สำคัญๆเช่น เมืองมะละแหม่งหรือเมาะลำเลิง(พม่าออกเสียงว่าเมาะลำใย- Mawlamyine) เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและเป็นเมืองท่าที่สำคัญในสมัยอาณานิคม ได้ไปตามรอยเจ้าน้อยสุขเกษมแห่งเชียงใหม่ที่มาพบรักกับมะเมียะสาวชาวมะละแหม่งเมื่อครั้งไปเรียนที่St.Patrict ที่ตื่นเต้นและน่าสนใจที่สุดสำหรับผมก็คือการได้ไปเยี่ยมชมสถานีรถไฟตันบูซายัต(Thanbyuzayat Railway Station)สถานีต้นทางที่เเชื่อมกับทางรถไฟสายมรณะจ.กาญจนบุรีของไทยเราและทีการสร้างสุสานทำนองเดียวกับที่กาญจนบุรีเช่นกัน
นอกจากนั้นก็ได้ไปสักการะพระธาตุอินทร์แขวนที่ตั้งอยู่บนก้อนศิลาใหญ่สูง5.5เมตรปิดทองทั้งองค์ตั้งอยู่บนหน้าผาอย่างหมิ่นเหม่ดูคล้ายว่าจะตกลงไปในหุบเหวที่สูงมากต่อด้วยการไปเมืองหงสาวดีเมืองของพระเจ้าบุเรงนองแล้วต่อไปที่เมืองสิเรียมซึ่งเคยเป็นเมืองท่าของโปรตุเกสแล้วจึงมาย่างกุ้งซึ่งส่วนใหญ่คนไทยรู้จักกันดี
จากเวทีวิชาการเมื่อประสมเข้ากับประสบการณ์ภาคสนามพบว่าคนไทยเรายังมีมุมมองหรือชุดความคิด(mindset)เกี่ยวกับพม่าที่คลาดเคลื่อนในหลายๆสิ่งหลายๆอย่างแทบจะเรียกว่าเราต้องreset mindset ของเราเลยทีเดียวก็ว่าๆได้ในระบบการเมืองการปกครองระดับชาติพม่ามีความก้าวหน้าในเรื่องของประชาธิปไตยกว่าไทยเป็นอย่างยิ่ง สามารถสร้างความสมานฉันท์และปรองดองระหว่างรัฐชนเผ่าต่างๆเป็นอันดีจนจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปี2558นี้ ส่วนในเรืองของการปกครองท้องถิ่นนั้นยิ่งน่าสนใจเป็นอันมากเพราะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯทั่วประเทศกันแล้วแต่ของไทยเราเรื่องนี้ยังมองไม่เห็นอนาคตและรายได้ที่เกิดขึ้นในรัฐต่างๆก็สามารถเก็บไว้ใช้ในพื้นที่ได้ถึง60%
ในด้านของเทคโนลโลยีเมื่อสองปีก่อนซิมการ์ดมือถือราคาถึงซิมละ 1,000 เหรียญสหรัฐฯปีที่ผ่านมา 300เหรียญสหรัฐฯ ในปัจจุบันไกด์ท้องถิ่นบอกว่าราคา 2 เหรียญสหรัฐฯหรือ60บาทและคิดว่าต่อไปคงแจกฟรีเหมือนของไทยเรา ในเรื่องของอินเตอร์เน็ตนั้นไม่มีการปิดกั้นอีกต่อไปแล้ว ประชาชนชาวพม่าสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีแม้ว่าในขณะนี้จำนวนผู้เข้าถึงเพียง 3%ก็ตามแต่ก็ถือว่าเร็วมากเมื่อเทียบกับระยะเวลาเพียงสองปี ซึ่งเมื่อกับไทยเราต้องเวลาเป็นสิบปี
ด้านเศรษฐกิจปีนี้GDP โต7% ปีหน้า9% ส่วนไทยเราปีนี้โตไม่ถึง 1% ซึ่งก็มีความหมายว่าเศรษฐกิจติดลบนั่นเอง ส่วนปีหน้ายังมองไม่เห็นอนาคตแม้จะคาดเดาว่าน่าจะอยู่สัก3%แต่ก็ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ และเชื่อว่าภายในไม่เกินห้าปีโครงสร้างทางเศรษฐกิจของพม่าจะเปลี่ยนใหม่หมดในด้านการเงินตอนนี้มีธนาคารต่างเข้าไปลงทุนถึง 9ธนาคารซึ่งก็รวมถึงธนาคารกรุงเทพฯของเราด้วย ในด้านการลงทุนเมื่อสองปีก่อนไทยเราเข้าไปลงทุนเป็นอันดับสองรองจากจีนแต่ปัจจุบันไทยเรามัวแต่งุ่มง่ามอยู่จึงหล่นไปอยู่อันดับห้ารองจากจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง และเกาหลีใต้
ในด้านการท่องเที่ยวนั้นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก มีโรงแรมที่ทันสมัยเกิดขึ้นมากมาย มีนักท่องเที่ยวขวักไขว่เต็มไปหมดแม้ว่าในด้านการคมนาคมจะยังต้องปรับปรุงอีกมากกังเช่นดส้นทางที่คณะของพวกผมเดินทางออกทางแม่สอดเข้าเมียวดีเพื่อไปยังมะละแหม่งที่ต้องลัดเลาะไปตามหุบเขาสูงชันต้องสลับวันกันเดินทางเพราะรถสวนทางกันลำบากแต่นักท่องเที่ยวก็ไม่ละความพยายามซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างทางสายเอเชียเพื่อจากมะละแหม่งผ่านพิษณุโลกไปถึงดานังของเวียดนามที่เรียกทาEast-West Corridor นั่นเอง ขนาดทางยังสร้างไม่เสร็จผมยังพบเจอกับนักท่องเที่ยวคนไทยจำนวนมากทั้งที่พระธาตุอินทร์แขวนและย่างกุ้ง
มองเขาแล้วหันกลับมามองเราแล้วสะท้อนใจ เขารบกันมาครึ่งศตวรรษยังหันมาจับมือกันเดินสู่ประชาธิปไตยได้ แต่บ้านเราไม่รู้ว่าจะตกอยู่ในสภาพนี้อีกนานเท่าใด
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 24 ธันวาคม 2557
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar