8h ·
แม้ว่าทักษิณจะหลีกเลี่ยงการพูดถึงสถาบันกษัตริย์ในทางสาธารณะและโยนความขัดแย้งระหว่างเขาและสถาบันกษัตริย์ไปที่บุคคลที่แวดล้อมราชวงศ์ แต่มีหลักฐานจำนวนหนึ่งบันทึกไว้ว่าเขาระบุถึงความขัดแย้งระหว่างตนเองกับในหลวงภูมิพลและราชินีสิริกิติ์ เขากล่าวถึงการเข้าเฝ้าวันที่ 4 เมษายน 2549 ว่าเป็น “การยึดอำนาจโดยวัง” (a palace coup) เมื่อในหลวงภูมิพลบอกกับเขาด้วยตัวเองว่าให้เลิกเล่นการเมือง ทักษิณระบุว่าในหลวงภูมิพลเห็นเขาเป็นคู่แข่งและเป็นฝ่ายตรงข้ามกับเขามากกว่าหนึ่งครั้ง ทักษิณระบุถึงราชินีสิริกิติ์ว่าเห็นเขาเป็นศัตรู และเขาเชื่อว่าตนเองมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมกุฎราชกุมารวชิราลงกรณ์ เหตุการณ์ดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้
สำหรับทักษิณ ชินวัตร การถูกยึดอำนาจในปี 2549 ไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน แต่เกิดขึ้นก่อนแล้วตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน หลังจากการเลือกตั้งเพียง 2 วัน ก่อนที่จะเกิดพระราชดำรัสตุลาการภิวัตน์ และก่อนการจัดงานพิธีฉลองราชสมบัติครบ 60 ปี
วันอังคารที่ 4 เมษายน 2549 หลังกลับออกมาจากการเข้าเฝ้าในหลวงภูมิพล ทักษิณประกาศเว้นวรรคทางการเมือง ไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากชัยชนะในการเลือกตั้ง 2 เมษายน เป็นการแสดงท่าทีกลับลำ 180 องศา ทั้งที่เมื่อวาน (3 เมษายน) เขายังแสดงความเชื่อมั่นในการสนับสนุนของประชาชนหลังจากชนะการเลือกตั้ง คนจำนวนมากจึงเชื่อว่าในหลวง “กระซิบ” เขาในวันที่ 4 เมษายน ให้ลาออก ประเด็นว่าทักษิณลาออกเองหรือในหลวงเป็นคนบอกให้ออกนี้เป็นข้อกังขาของ ราล์ฟ แอล บอยซ์ ทูตสหรัฐอเมริกาซึ่งตอนแรกก็เชื่อตามคำยืนยันขององคมนตรีว่าในหลวงไม่ได้เป็นคนบอกให้ทักษิณออก ทว่าภายหลังเหตุการณ์เข้าเฝ้าเป็นเวลาเดือนเศษ ทักษิณได้เปิดเผยรายละเอียดของการเข้าเฝ้าในครั้งนั้นในการสนทนาที่ยาวนานกับคาเรน บรูคส์ อดีตเจ้าหน้าที่ NSC (สภาความมั่นคงสหรัฐ?)
โทรเลขวันที่ 18 พฤษภาคม 2549 บันทึกรายละเอียดในส่วนนี้ไว้ดังนี้
“ในการสนทนาอันยาวนานกับคาเรน บรูคส์ อดีตเจ้าหน้าที่ NSC ทักษิณวาดภาพตัวเองเป็นเหยื่อของการ “ยึดอำนาจโดยวัง” (palace coup) เขายังปล่อยข้อมูลที่น่าตกใจจำนวนหนึ่งถ้ามันจริง ซึ่งจะพลิกโฉมประวัติศาสตร์เหตุการณ์ใน 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องจากปากทักษิณขณะนี้ก็คือว่า ในหลวงภูมิพลบอกกับเขาอย่างชัดเจนว่าให้ถอยออกไประหว่างการเข้าเฝ้าชี้ชะตาเมื่อวันที่ 4 เมษายน เขาบอกกับบรูคส์ว่าเขาวางแผนจะวางมือทางการเมืองภายหลังจากการเลือกตั้ง แต่เขาต้องการอยู่จัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีก่อนแล้วจึงค่อยลาออก ในการเข้าเฝ้าในหลวงครั้งนั้นเขาถูกมัดมือชก หลังจากการเข้าเฝ้าเขาออกแถลงการณ์ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ว่าเขาจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
“ทักษิณอ้างว่าเท่านี้ยังไม่เพียงพอสำหรับราชสำนัก ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากประกาศเว้นวรรค อาสา สารสิน ราชเลขาธิการในพระเจ้าอยู่หัวได้โทรศัพท์หาเขาและบอกว่า เขาจะต้อง “ออกไปอย่างสิ้นเชิง” (go completely) ทักษิณยอมทำตามโดยแบ่งเป็นสามขั้นตอนคือ เขาจะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี จากนั้นเขาจะลาออกจากการเป็น ส.ส. และสุดท้ายจะลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค นี่คือเหตุผลที่อยู่ๆ เขาก็ลาพักร้อนทันทีหลังจากที่ประกาศว่าจะเว้นวรรค”
โทรเลขฉบับดังกล่าวยังกล่าวว่าทักษิณเชื่อว่าในหลวงภูมิพลเห็นเขาเป็นคู่แข่งที่แย่งความจงรักภักดีของผู้คนในชนบทไป เขาเห็นว่าในหลวงไม่ทันโลก (ไม่เคยนั่งโบอิ้ง 747) และคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของประเทศ (accused him of “thinking he owns the country.”) และทักษิณยังพูดว่า เขาไม่สามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ “ตราบใดที่กษัตริย์องค์นี้ยังมีชีวิตอยู่” นอกจากนี้แล้วเขายังกล่าวถึงความสัมพันธ์ที่แข็งแรงกับมกุฎราชกุมารวชิราลงกรณ์
ต่อมาอีกเดือนกว่า ในโทรเลขฉบับวันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2549 มีบันทึกว่าทักษิณกล่าวโจมตีในหลวงภูมิพลอีกครั้ง
ในครั้งนี้เป็นการสนทนาระหว่างทูต ราล์ฟ แอล บอยซ์ กับทักษิณ โทรเลขนี้ผมเคยเขียนถึงไปแล้วใน การเมืองโมเบียส หัวข้อโทรเลขคือ “Steak with Thaksin” โทรเลขนี้ค่อนข้างเป็นที่รู้จัก จึงจะกล่าวโดยสรุป ในการพูดคุยกันครั้งนี้ทักษิณโจมตีในหลวงและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เขากล่าวว่านโยบายของในหลวงคือให้คนอยู่กับความยากจนขณะที่นโยบายของพรรคไทยรักไทยเปลี่ยนแปลงชนบท ทำให้คน “รวยและฉลาดขึ้น” และพึ่งพากษัตริย์น้อยลง เป็นเหตุให้พระองค์ทรงอยู่ตรงข้ามเขา
ต่อมาในปี 2551 ระหว่างที่ม็อบพันธมิตรกำลังเผชิญหน้ากับรัฐบาลสมัคร ในโทรเลขวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 ระบุว่า ทูต เอริค จี จอห์น ได้พบและสนทนากับทักษิณในวันดังกล่าว ทูตระบุในตอนหนึ่งว่า
“ทักษิณกล่าวว่าเขาเชื่อว่าเขายังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมกุฎราชกุมารวชิราลงกรณ์ โดยวชิราลงกรณ์กล่าวกับทักษิณ (หลังรัฐประหารแล้ว) ว่าจะทรงไม่สามารถพบกับทักษิณได้สักระยะหนึ่งเพราะความเป็นศัตรูของราชินีสิริกิติ์ที่มีต่อทักษิณ”
ส่วนที่น่าสนใจที่สุดของโทรเลขวันที่ 18 พฤษภาคม 2549 คือประเด็น “palace coup” ซึ่งยังไม่เคยมีใครหยิบยกขึ้นมากล่าว สศจ. เคยเขียนถึงประเด็น “ทักษิณเว้นวรรคการเมือง” หลังจากการเข้าเฝ้า 4 เมษา ในปี 2554 แต่ตอนนั้นสมศักดิ์ยังไม่เห็นโทรเลขฉบับนี้ (เห็นแต่ฉบับอื่นก่อนหน้าฉบับนี้) ดูบทความสมศักดิ์ได้ที่ https://bit.ly/2XerUzD หลังจากนั้นไม่นาน PPT ก็หยิบโทรเลขฉบับนี้ขึ้นมากล่าวถึง ดูที่นี่ https://thaipoliticalprisoners.wordpress.com/.../wikilea.../ ต่อมาในปี 2556 สนธิ ลิ้ม ยกบทความของ PPT ที่กล่าวถึงโทรเลขฉบับนี้มากล่าวโจมตีทักษิณแบบเลอะๆ เทอะๆ
ตามความเห็นผม บทความของ PPT เพียงแต่กล่าวถึงโทรเลขโดยรวมๆ แต่ไม่ได้ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญ ก็คือที่มาของคำว่า “palace coup” ของทักษิณ คือการที่ในหลวงภูมิพลเป็นผู้บอกให้ทักษิณออกไปจากการเมืองด้วยพระองค์เองในการเข้าเฝ้า วันที่ 4 เมษายน ซึ่งเป็นหมุดหมายสำคัญของเหตุการณ์ทางการเมืองในปีนั้น
อันที่จริง หากเชื่อตามสูตรของนักเขียนอังกฤษที่ว่ากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการให้คำแนะนำ ก็กล่าวได้ว่าในหลวงภูมิพลใช้พระราชอำนาจในขอบเขตของตัวเอง แต่ในบริบทของการเมืองไทย ที่สถาบันมีอำนาจนำมากกว่านั้น ไม่ใช่เป็นสถาบันที่อยู่พ้นไปจากการเมืองแบบของอังกฤษ จึงทำให้ผลที่เกิดขึ้น จากมุมมองของทักษิณ การกระทำของในหลวงภูมิพลก็คือ “การยึดอำนาจโดยราชสำนัก” ที่เขาได้แต่ยอมจำนนนั่นเอง
ความคิดของทักษิณในเวลานั้น เขาคิดว่าตัวเองจะไม่กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกตราบใดที่ในหลวงภูมิพลยังไม่ตาย แต่เขาก็พูดโดยนัยถึงความสัมพันธ์ที่ดีกับวชิราลงกรณ์ซึ่งชวนให้คิดไปว่าเขาคงจะสามารถกลับมาเป็นนายกฯ หลังจากที่ในหลวงภูมิพลตาย แต่เรื่องก็ไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อกองทัพเข้ายึดอำนาจเสียก่อนในวันที่ 19 กันยายน และทักษิณตัดสินใจที่จะสู้กับราชสำนักในระหว่างปี 2551-2553
หมายเหตุ-ดูโทรเลขวันที่ 18 พฤษภาคม 2549 ฉบับเต็มได้ที่นี่ https://thaicables.wordpress.com/.../06bangkok2990.../
แม้ว่าทักษิณจะหลีกเลี่ยงการพูดถึงสถาบันกษัตริย์ในทางสาธารณะและโยนความขัดแย้งระหว่างเขาและสถาบันกษัตริย์ไปที่บุคคลที่แวดล้อมราชวงศ์ แต่มีหลักฐานจำนวนหนึ่งบันทึกไว้ว่าเขาระบุถึงความขัดแย้งระหว่างตนเองกับในหลวงภูมิพลและราชินีสิริกิติ์ เขากล่าวถึงการเข้าเฝ้าวันที่ 4 เมษายน 2549 ว่าเป็น “การยึดอำนาจโดยวัง” (a palace coup) เมื่อในหลวงภูมิพลบอกกับเขาด้วยตัวเองว่าให้เลิกเล่นการเมือง ทักษิณระบุว่าในหลวงภูมิพลเห็นเขาเป็นคู่แข่งและเป็นฝ่ายตรงข้ามกับเขามากกว่าหนึ่งครั้ง ทักษิณระบุถึงราชินีสิริกิติ์ว่าเห็นเขาเป็นศัตรู และเขาเชื่อว่าตนเองมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมกุฎราชกุมารวชิราลงกรณ์ เหตุการณ์ดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้
สำหรับทักษิณ ชินวัตร การถูกยึดอำนาจในปี 2549 ไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน แต่เกิดขึ้นก่อนแล้วตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน หลังจากการเลือกตั้งเพียง 2 วัน ก่อนที่จะเกิดพระราชดำรัสตุลาการภิวัตน์ และก่อนการจัดงานพิธีฉลองราชสมบัติครบ 60 ปี
วันอังคารที่ 4 เมษายน 2549 หลังกลับออกมาจากการเข้าเฝ้าในหลวงภูมิพล ทักษิณประกาศเว้นวรรคทางการเมือง ไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากชัยชนะในการเลือกตั้ง 2 เมษายน เป็นการแสดงท่าทีกลับลำ 180 องศา ทั้งที่เมื่อวาน (3 เมษายน) เขายังแสดงความเชื่อมั่นในการสนับสนุนของประชาชนหลังจากชนะการเลือกตั้ง คนจำนวนมากจึงเชื่อว่าในหลวง “กระซิบ” เขาในวันที่ 4 เมษายน ให้ลาออก ประเด็นว่าทักษิณลาออกเองหรือในหลวงเป็นคนบอกให้ออกนี้เป็นข้อกังขาของ ราล์ฟ แอล บอยซ์ ทูตสหรัฐอเมริกาซึ่งตอนแรกก็เชื่อตามคำยืนยันขององคมนตรีว่าในหลวงไม่ได้เป็นคนบอกให้ทักษิณออก ทว่าภายหลังเหตุการณ์เข้าเฝ้าเป็นเวลาเดือนเศษ ทักษิณได้เปิดเผยรายละเอียดของการเข้าเฝ้าในครั้งนั้นในการสนทนาที่ยาวนานกับคาเรน บรูคส์ อดีตเจ้าหน้าที่ NSC (สภาความมั่นคงสหรัฐ?)
โทรเลขวันที่ 18 พฤษภาคม 2549 บันทึกรายละเอียดในส่วนนี้ไว้ดังนี้
“ในการสนทนาอันยาวนานกับคาเรน บรูคส์ อดีตเจ้าหน้าที่ NSC ทักษิณวาดภาพตัวเองเป็นเหยื่อของการ “ยึดอำนาจโดยวัง” (palace coup) เขายังปล่อยข้อมูลที่น่าตกใจจำนวนหนึ่งถ้ามันจริง ซึ่งจะพลิกโฉมประวัติศาสตร์เหตุการณ์ใน 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องจากปากทักษิณขณะนี้ก็คือว่า ในหลวงภูมิพลบอกกับเขาอย่างชัดเจนว่าให้ถอยออกไประหว่างการเข้าเฝ้าชี้ชะตาเมื่อวันที่ 4 เมษายน เขาบอกกับบรูคส์ว่าเขาวางแผนจะวางมือทางการเมืองภายหลังจากการเลือกตั้ง แต่เขาต้องการอยู่จัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีก่อนแล้วจึงค่อยลาออก ในการเข้าเฝ้าในหลวงครั้งนั้นเขาถูกมัดมือชก หลังจากการเข้าเฝ้าเขาออกแถลงการณ์ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ว่าเขาจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
“ทักษิณอ้างว่าเท่านี้ยังไม่เพียงพอสำหรับราชสำนัก ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากประกาศเว้นวรรค อาสา สารสิน ราชเลขาธิการในพระเจ้าอยู่หัวได้โทรศัพท์หาเขาและบอกว่า เขาจะต้อง “ออกไปอย่างสิ้นเชิง” (go completely) ทักษิณยอมทำตามโดยแบ่งเป็นสามขั้นตอนคือ เขาจะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี จากนั้นเขาจะลาออกจากการเป็น ส.ส. และสุดท้ายจะลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค นี่คือเหตุผลที่อยู่ๆ เขาก็ลาพักร้อนทันทีหลังจากที่ประกาศว่าจะเว้นวรรค”
โทรเลขฉบับดังกล่าวยังกล่าวว่าทักษิณเชื่อว่าในหลวงภูมิพลเห็นเขาเป็นคู่แข่งที่แย่งความจงรักภักดีของผู้คนในชนบทไป เขาเห็นว่าในหลวงไม่ทันโลก (ไม่เคยนั่งโบอิ้ง 747) และคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของประเทศ (accused him of “thinking he owns the country.”) และทักษิณยังพูดว่า เขาไม่สามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ “ตราบใดที่กษัตริย์องค์นี้ยังมีชีวิตอยู่” นอกจากนี้แล้วเขายังกล่าวถึงความสัมพันธ์ที่แข็งแรงกับมกุฎราชกุมารวชิราลงกรณ์
ต่อมาอีกเดือนกว่า ในโทรเลขฉบับวันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2549 มีบันทึกว่าทักษิณกล่าวโจมตีในหลวงภูมิพลอีกครั้ง
ในครั้งนี้เป็นการสนทนาระหว่างทูต ราล์ฟ แอล บอยซ์ กับทักษิณ โทรเลขนี้ผมเคยเขียนถึงไปแล้วใน การเมืองโมเบียส หัวข้อโทรเลขคือ “Steak with Thaksin” โทรเลขนี้ค่อนข้างเป็นที่รู้จัก จึงจะกล่าวโดยสรุป ในการพูดคุยกันครั้งนี้ทักษิณโจมตีในหลวงและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เขากล่าวว่านโยบายของในหลวงคือให้คนอยู่กับความยากจนขณะที่นโยบายของพรรคไทยรักไทยเปลี่ยนแปลงชนบท ทำให้คน “รวยและฉลาดขึ้น” และพึ่งพากษัตริย์น้อยลง เป็นเหตุให้พระองค์ทรงอยู่ตรงข้ามเขา
ต่อมาในปี 2551 ระหว่างที่ม็อบพันธมิตรกำลังเผชิญหน้ากับรัฐบาลสมัคร ในโทรเลขวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 ระบุว่า ทูต เอริค จี จอห์น ได้พบและสนทนากับทักษิณในวันดังกล่าว ทูตระบุในตอนหนึ่งว่า
“ทักษิณกล่าวว่าเขาเชื่อว่าเขายังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับมกุฎราชกุมารวชิราลงกรณ์ โดยวชิราลงกรณ์กล่าวกับทักษิณ (หลังรัฐประหารแล้ว) ว่าจะทรงไม่สามารถพบกับทักษิณได้สักระยะหนึ่งเพราะความเป็นศัตรูของราชินีสิริกิติ์ที่มีต่อทักษิณ”
ส่วนที่น่าสนใจที่สุดของโทรเลขวันที่ 18 พฤษภาคม 2549 คือประเด็น “palace coup” ซึ่งยังไม่เคยมีใครหยิบยกขึ้นมากล่าว สศจ. เคยเขียนถึงประเด็น “ทักษิณเว้นวรรคการเมือง” หลังจากการเข้าเฝ้า 4 เมษา ในปี 2554 แต่ตอนนั้นสมศักดิ์ยังไม่เห็นโทรเลขฉบับนี้ (เห็นแต่ฉบับอื่นก่อนหน้าฉบับนี้) ดูบทความสมศักดิ์ได้ที่ https://bit.ly/2XerUzD หลังจากนั้นไม่นาน PPT ก็หยิบโทรเลขฉบับนี้ขึ้นมากล่าวถึง ดูที่นี่ https://thaipoliticalprisoners.wordpress.com/.../wikilea.../ ต่อมาในปี 2556 สนธิ ลิ้ม ยกบทความของ PPT ที่กล่าวถึงโทรเลขฉบับนี้มากล่าวโจมตีทักษิณแบบเลอะๆ เทอะๆ
ตามความเห็นผม บทความของ PPT เพียงแต่กล่าวถึงโทรเลขโดยรวมๆ แต่ไม่ได้ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญ ก็คือที่มาของคำว่า “palace coup” ของทักษิณ คือการที่ในหลวงภูมิพลเป็นผู้บอกให้ทักษิณออกไปจากการเมืองด้วยพระองค์เองในการเข้าเฝ้า วันที่ 4 เมษายน ซึ่งเป็นหมุดหมายสำคัญของเหตุการณ์ทางการเมืองในปีนั้น
อันที่จริง หากเชื่อตามสูตรของนักเขียนอังกฤษที่ว่ากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการให้คำแนะนำ ก็กล่าวได้ว่าในหลวงภูมิพลใช้พระราชอำนาจในขอบเขตของตัวเอง แต่ในบริบทของการเมืองไทย ที่สถาบันมีอำนาจนำมากกว่านั้น ไม่ใช่เป็นสถาบันที่อยู่พ้นไปจากการเมืองแบบของอังกฤษ จึงทำให้ผลที่เกิดขึ้น จากมุมมองของทักษิณ การกระทำของในหลวงภูมิพลก็คือ “การยึดอำนาจโดยราชสำนัก” ที่เขาได้แต่ยอมจำนนนั่นเอง
ความคิดของทักษิณในเวลานั้น เขาคิดว่าตัวเองจะไม่กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกตราบใดที่ในหลวงภูมิพลยังไม่ตาย แต่เขาก็พูดโดยนัยถึงความสัมพันธ์ที่ดีกับวชิราลงกรณ์ซึ่งชวนให้คิดไปว่าเขาคงจะสามารถกลับมาเป็นนายกฯ หลังจากที่ในหลวงภูมิพลตาย แต่เรื่องก็ไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อกองทัพเข้ายึดอำนาจเสียก่อนในวันที่ 19 กันยายน และทักษิณตัดสินใจที่จะสู้กับราชสำนักในระหว่างปี 2551-2553
หมายเหตุ-ดูโทรเลขวันที่ 18 พฤษภาคม 2549 ฉบับเต็มได้ที่นี่ https://thaicables.wordpress.com/.../06bangkok2990.../
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar