การเข้าเป็นสมาชิก CPTPP จะช่วยจีนแผ่ขยายอิทธิพลและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้สถานะของจีนในภูมิภาคนี้
CPTPP : จีนสมัครร่วมความตกลงการค้าภาคพื้นแปซิฟิก หวังขยายอิทธิพลในภูมิภาค
จีนยื่นสมัครเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership หรือ CPTPP) ในความพยายามเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้สถานะของตนเองในภูมิภาคนี้
ความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นเพียง 1 วัน หลังจากสหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และออสเตรเลีย ประกาศข้อตกลงด้านความมั่นคงครั้งประวัติศาสตร์ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งถูกมองว่า เป็นความพยายามในการคานอำนาจกับจีน
นายหวัง เหวินเทา รัฐมนตรีพาณิชย์ของจีนระบุว่า จีนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกได้ส่งจดหมายแสดงความจำนงเข้าร่วมความตกลงการค้า CPTPP ต่อนายเดเมียน โอคอนเนอร์ รัฐมนตรีการค้าของนิวซีแลนด์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์อำนวยการของข้อตกลงนี้
นายหวังเผยว่า เขาและนายโอคอนเนอร์ได้พูดคุยทางโทรศัพท์เพื่อหารือเกี่ยวกับขั้นตอนต่อไปหลังจากจีนสมัครเข้าร่วมกลุ่มแล้ว
ความตกลงด้านการค้านี้เดิมมีชื่อว่า TPP ก่อตั้งขึ้นโดยสหรัฐฯ ในสมัยอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ด้วยเป้าหมายในการต่อสู้กับอิทธิพลของจีนที่กำลังแผ่ขยายไปในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ทว่าอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้นำสหรัฐฯ ถอนตัวจากการเข้าเป็นสมาชิกในปี 2017 จากนั้นญี่ปุ่นได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในข้อตกลงการค้าเสรีนี้แล้วเปลี่ยนชื่อมา CPTPP ซึ่งมีการลงนามอย่างเป็นทางการในปี 2018 โดยมีสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และเวียดนาม
CPTPP จะส่งผลดีต่อจีนอย่างไร
ที่มาของภาพ, Getty Images
เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรได้เปิดการเจรจาขอเข้าเป็นสมาชิก CPTPP ขณะที่ไทยได้แสดงความสนใจจะเข้าร่วมเช่นกัน
การที่จีนเข้าเป็นสมาชิก CPTPP จะยิ่งเป็นตัวช่วยส่งเสริมจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากจีนได้ลงนามเข้าเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP) เมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา
RCEP เป็นการรวมกลุ่มทางการค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสมาชิก 15 ประเทศ อาทิ ไทย เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ข้อตกลงด้านความมั่นคงครั้งประวัติศาสตร์
การประกาศสมัครเข้าร่วม CPTPP อย่างเป็นทางการของจีนมีขึ้นหลังจากเมื่อวันที่ 16 ก.ย. สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และออสเตรเลีย ประกาศทำข้อตกลง Aukus ซึ่งเป็นข้อตกลงด้านความมั่นคงที่ใหญ่ที่สุดระหว่างทั้ง 3 ชาติ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นความพยายามในการสกัดอิทธิพลของจีนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ข้อตกลงนี้จะช่วยให้ออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้เทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอดจากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร อีกทั้งจะมีความร่วมมือที่ครอบคลุมด้านปัญญาประดิษฐ์ ไซเบอร์ และเทคโนโลยีควอนตัมด้วย
จีนได้วิจารณ์ความร่วมมือนี้ว่า "ไร้ความรับผิดชอบอย่างยิ่ง" และ "ใจแคบ"
นายจ้าว ลี่เจียน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน กล่าวเมื่อวันที่ 16 ก.ย. ว่า พันธมิตรใหม่ชุดนี้สร้างความสุ่มเสี่ยงที่จะ "สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อความสงบสุขในภูมิภาค" และ "เพิ่มความเข้มข้นในการแข่งขันสะสมอาวุ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar