lördag 30 oktober 2021

องคมนตรี = ขันทียุคสามก๊ก ?

Thai E-News

องคมนตรี = ขันทียุคสามก๊ก ? เพิ่งรู้ว่าองคมนตรีมีอำนาจในการวีโต้การแต่งตั้งข้าราชการได้ด้วย

Thanapol Eawsakul
i torsdags

เพิ่งรู้ว่าองคมนตรีมีอำนาจในการวีโต้การแต่งตั้งข้าราชการได้ด้วย ไม่ใช่ครั้งเดียวด้วย

ตามรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดที่มาองคมนตรีไว้ดังนี้

มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรี...


https://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/4742059025860899
 

Thanapol Eawsakul
18h ·

เพิ่งรู้ว่าองคมนตรีมีอำนาจในการวีโต้การแต่งตั้งข้าราชการได้ด้วย ไม่ใช่ครั้งเดียวด้วย
ตามรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดที่มาองคมนตรีไว้ดังนี้
มาตรา ๑๐ พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรี
คนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี
คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
มาตรา ๑๑ การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตําแหน่งให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่นหรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตําแหน่ง
..........................
โดยก่อนหน้านี้สำนักงานอัยการสูงสุดเคยนำชื่อนายปรเมศวร์ เสนอขึ้นโปรดเกล้าฯจากผู้ตรวจการอัยการโดยในครั้งเเรกทางสำนักงานองคมนตรีได้ตีกลับเพื่อสอบถามกรณีเคยถูกตั้งกรรมการสอบสวนชั้นต้นและอยู่ระหว่างการถูกดำเนินคดีขับรถยนต์ในขณะมึนเมา เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
ต่อมาเมื่อศาลมีคำพิพากษาคดีเสร็จสิ้นในศาลชั้นต้นเเละอัยการไม่ยื่นอุทธรณ์คดี หลังจากนั้นก็มีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม ก.อ. โดยเสียงส่วนมากเห็นเป็นความผิดไม่ร้ายเเรงให้ว่ากล่าวตักเตือน เห็นควรนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายปรเมศวร์ เป็นผู้ตรวจการอัยการ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2563 เป็นต้นไป จึงมีการเสนอชื่อนายปรเมศวร์อีกครั้งเเต่ทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือฉบับที่สอง มาถึงสำนักงาน อสส. ขอให้ยืนยันความเหมาะสม ซึ่งครั้งนั้นมีการนำวาระนี้เข้าเป็นวาระจรเพื่อขอ ก.อ.ยืนยันความเหมาะสมอีกครั้ง เเต่ทางคณะกรรมการอัยการเสียงส่วนมากพิจารณาเเล้วไม่จำเป็นต้องมีการพิจารณามติดังกล่าวอีก
ทาง ร้อยโท ไชยา เปรมประเสริฐ รองอัยการสูงสุด รักษาราชการเเทน อัยการสูงสุดซึ่งลาพักร้อน เป็นผู้ลงนามยืนยันความเหมาะสมไป จนมีรายงานว่าทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีการส่งเรื่องไปยังสำนักงานองคมนตรีพิจารณาเสนอโปรดเกล้าฯ
เเต่ล่าสุดมีหนังสือตีกลับจากองคมนตรีมายังสำนักเลขาคณะรัฐมนตรี เเจ้งมาทางสำนักงานอัยการสูงสุดอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 27 ต.ค.นี้
สำหรับคดีนี้เป็นคดีระหว่าง พ.ต.ท.รพีพงศ์ จิตต์บุญธรรม พนักงานสอบสวน กล่าวหา นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อายุ 62 ปี (ในขณะนั้น) ผู้ต้องหาในความผิด ฐานความผิดขับขี่รถขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับอันตรายแก่กายจิตใจ, ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน, ขับรถเฉี่ยวชนแล้วหลบหนี และกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายจิตใจ
กรณีเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2562 เวลาประมาณ 22.30 น. ผู้ต้องหาได้ขับรถยนต์ยี่ห้อนิสสันทะเบียน 7 กส 2300 กรุงเทพฯ เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ยี่ห้อคาวาซากิ รุ่นเคอาร์สีเขียว (ไม่ทราบหมายเลขทะเบียน) มีนายธรรมรัตน์ ทองทวี เป็นผู้ขับขี่ และรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้ารุ่นเวฟ 125 ไอ สีแดงดำ ทะเบียน 8 กร 6848 กรุงเทพฯ มีนายธันณเรศ ร้อยกรอง อายุ 21 ปี เป็นผู้ขับขี่ เป็นเหตุให้นายธรรมรัตน์ได้รับบาดเจ็บและรถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหายและไม่หยุดลงมาช่วยเหลือ แต่มีพลเมืองดีติดตามไปทันที่บริเวณทางเข้าวัดหูช้าง เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไปถึงจึงได้เชิญตัวมาที่ สภ.บางกรวย แล้วต่อมาได้ทำการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจพบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดคือ 87 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เหตุเกิดถนนนครอินทร์ (ขาออก) หน้าปั๊มคาลเท็กซ์หมู่ 3 ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี ยื่นฟ้องเฉพาะในความผิดฐาน ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ โดยสั่งไม่ฟ้องข้อหาชนเเล้วหนี ซึ่งตามขั้นตอนต้องส่งให้ทางผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 พิจารณาทำความเห็นเเย้ง โดยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ทำความเห็นเเย้งมา
เเต่ต่อมาอัยการสูงสุดชี้ขาดไม่ฟ้องตามความเห็นของพนักงานอัยการที่สั่งไม่ฟ้องข้อหาชนเเล้วหนี เเละจำเลยให้การรับสารภาพจนศาลมีคำพิพากษาดังกล่าว ซึ่งทางอัยการมีความเห็นไม่ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรี สำนวนจึงถูกส่งไปยังผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค1 เเละทางผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค1 มีความเห็นเเย้งให้ยื่นอุทธรณ์คดีขอให้ลงโทษสถานหนักต่อ ขั้นตอนต้องส่งอัยการสูงสุดชี้ขาดตามกฎหมาย ต่อมาอัยการสูงสุดชี้ขาดไม่อุทธรณ์คดีต่อ จนคดียุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ภายหลังศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำ พิพากษาเมื่อวันที่ 29 เม.ย.64 ว่าจำเลยมีความผิดตามพรบ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2), 160ตรีวรรคสองจำคุก 1 ปีและปรับ 4หมื่นบาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุก 6เดือนและปรับ 2หมื่นบาทไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ประกอบกับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจจึงเห็นควรให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดีโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2ปีให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ 1 ปีโดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 3 ครั้งกับให้จำเลยทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรมีกำหนด 24 ชั่วโมง
ส่อชวด! เปิดเหตุผล องคมนตรีตีกลับ ‘ปรเมศวร์’ ขึ้นผู้ตรวจรอบ 2
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_3015233

Thanapol Eawsakul
18h ·

เมื่อก่อน นักการเมืองรังแกข้าราชประจำ
นำไปสู่การสร้างเงื่อนไขการทำรัฐประหารได้
ปัจจุบัน องคมนตรีรังแกข้าราชการประจำ
จะไม่นำไปสู่อะไรทั้งสิ้น
...
Predsapong Jay Sakdapipanich
องคมนตรี = ขันที ยุคสามก๊ก

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar