'only 10' เสียงสะท้อนนักโทษการเมือง กฎใหม่เรือนจำ จำกัดโควต้าเยี่ยม
ช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา หลังการรัฐประหาร มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเรือนจำทั่วประเทศ นอกเหนือจากการโยกย้ายแทบทุกระดับในราชทัณฑ์ พร้อมกับการต้อนรับอธิบดีคนใหม่ “วิทยา สุริยะวงศ์” แล้ว ยังมีการยุบ ‘คุกการเมือง’ ที่หลักสี่ ซึ่งมีผู้ต้องขังตั้งแต่เหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553 อยู่รวมกันราว 22 คน โดยอธิบดีระบุว่าคดีมีการตัดสินโทษในศาลชั้นต้นแล้ว จึงนับเป็นคดีอาญา ไม่ใช่คดีการเมือง
สิ่งที่เห็นได้ชัดอีกประการคือ กฎระเบียบของเรือนจำที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าเยี่ยม ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ต้องขัง และด้วยเหตุที่มูลเหตุจูงใจของคดีล้วนมาจากอุดมการณ์ทางการเมือง จึงไม่แปลกที่มักมีประชาชนที่คิดและเชื่อคล้ายกันแวะเวียนไปเยี่ยมผู้ต้องขังคดีการเมืองทั้งที่มีชื่อเสียงและไม่มีชื่อเสียงอยู่ประจำ
อดีตนักโทษคดี 112 อย่างธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล เคยกล่าวในเวทีเสวนาแห่งหนึ่งถึงประสบการณ์ในเรือนจำของเขาว่า การเยี่ยมญาติถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนักโทษการเมืองอย่างยิ่ง
“15 นาทีที่ได้ออกมาพบและคุยกับคนเหมือนหยดน้ำเล็กๆ ที่ทำให้เรามีชีวิตต่อไปได้” เขากล่าว
เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร (ชาย) และ ทัณฑสถานหญิงกลาง คือ สองแห่งหลักที่ควบคุมผู้ต้องขังทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นคดีอันสืบเนื่องจากการสลายการชุมนุมปี 2553 คดีอาวุธ รวมถึงคดีมาตรา 112 หรือที่เรียกกันว่าคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และทั้ง 2 แห่งก็มีการบังคับใช้ “กฎ 10 คน” แล้ว
กฎเหล็ก...สำหรับผู้หญิง (เท่านั้น?)
ทัณฑสถานหญิงกลางบังคับใช้กฎนี้อย่างเข้มงวดที่สุด ‘กฎ 10 คน’ เป็นกฎการจำกัดการเยี่ยมญาติของผู้ต้องขัง โดยผู้ต้องขังทุกรายจะต้องส่งรายชื่อญาติมิตรที่ตนเองต้องการให้เยี่ยม 10 รายให้กับเจ้าหน้าที่ ญาติมิตรที่มีชื่อนอกเหนือจากนี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรืออ้างอะไรก็ตาม จากเดิมที่เคยเปิดให้ญาติมิตรเพื่อนฝูงคนไหนก็เข้าเยี่ยมได้
นักโทษการเมืองหญิงรายหนึ่งกล่าวถึงเรื่องนี้ผ่านคนใกล้ชิดว่า รู้สึกแย่กับกฎที่กำหนดผู้เข้าเยี่ยมได้เพียง 10 รายเพราะเธอเป็นที่รู้จักของผู้คนและน่าจะมีเพื่อนหลายคนที่ต้องการมาเยี่ยมเยียน คิดว่าเป็นหน้าที่ของคนข้างนอกที่ต้องสู้และเรียกร้องเรื่องนี้ให้คนข้างใน เช่น เขียนหนังสือร้องเรียนไปยังอธิบดีกรมราชทัณฑ์
ผู้ใกล้ชิดผู้ต้องขังรายดังกล่าวระบุด้วยว่า ที่ผ่านมาสอบถามเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้คำตอบว่าเป็นเพราะเหตุใด รู้เพียงว่าการเยี่ยมในช่วงนี้ค่อนข้างลำบาก การอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ดีนัก และที่ผ่านมามีเพื่อนๆ ที่ต้องการเข้าเยี่ยมนักโทษหญิงรายนี้ แต่ไม่มีรายชื่ออยู่ในลิสต์ ทำให้ไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้หลังจากรอนานนับชั่วโมงแล้ว รวมเกือบ 10 ราย
“มันอาจยุ่งยากและจุกจิก แต่สำหรับตัวผมเองไม่เท่าไร สงสารแต่คนอื่นๆ ที่เดินทางมาไกลจากต่างจังหวัด ผมเจอทุกวัน พวกที่มาถึงแล้วเยี่ยมลูกหลานไม่ได้เพราะไม่มีชื่ออยู่ในรายชื่อ เขาไม่รู้ว่าญาติตัวเองไม่ได้ใส่ชื่อไว้” ผู้ใกล้ชิดผู้ต้องขังรายเดิมกล่าว
สั่งกระจายแดนนักโทษการเมือง
ขณะที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ก็มีกฎระเบียบโควต้าญาติเยี่ยม 10 คนเช่นกัน แต่ดูเหมือนจะยืดหยุ่นกว่า ผู้ต้องขังรายหนึ่งเล่าว่า ไม่ว่าจะมาเยี่ยมกี่คน หากมีผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในลิสต์สักคนก็สามารถเข้าเยี่ยมได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับการโอนเงินเข้าบัญชีนักโทษเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรือนจำจะต้องเป็นคนที่มีรายชื่ออยู่ในลิสต์เท่านั้น
นักโทษการเมืองรายหนึ่งระบุว่า เรื่องการจำกัดให้ญาติที่มีรายชื่อเท่านั้นที่ฝากเงินให้ได้ เหตุผลของเรือนจำคือต้องการแก้ปัญหาเรื่องการพนัน แต่สำหรับเขาคาดว่ามาจากกรณีการโอนเงินช่วยผู้ต้องขังคดีการเมืองของ ‘เปิ้ล กริชสุดา คุณะเสน’ ที่โด่งดังเมื่อไม่นานมานี้และกำลังโด่งดังอยู่อีกตอนนี้
ผลกระทบจากกรณีนี้เกิดในวงกว้างเพราะผู้ต้องขังจำนวนหนึ่งไม่มีญาติดูแล อาศัยเพื่อนผู้ต้องขังด้วยกันเป็นคนดูแลโดยมักไหว้วานให้ญาติของตนเองโอนเงินใช้ผู้ต้องขังไม่มีญาติด้วย แต่ต่อไปนี้ก็จะไม่สามารถทำได้แล้ว
เขายังวิเคราะห์ต่อว่า หลังรัฐประหารมีการเปลี่ยนแปลงภายในตั้งแต่ระดับบน มีการย้าย ผบ.เรือนจำ ย้าย ผบ. แดนต่างๆ และเขาพบว่าผู้คุมส่วนใหญ่เป็นคนใต้ จนผู้ต้องขังเรียกกันว่า ‘นครศรีธรรมราช คอนเน็กชั่น’
ปัจจุบันผู้ต้องขังคดีการเมืองทั้งหมด รวมทั้งคดี 112 ถูกย้ายแดนกันกระจัดกระจาย จากที่ก่อนนี้สามารถอยู่ร่วมกันในแดน 1 ได้ พวกเขาวิเคราะห์กันว่าเป็นนโยบายที่ไม่ต้องการให้มีการรวมกลุ่ม แต่ผลกระทบก็คือคนที่ประสบปัญหาคล้ายกันจากที่เคยปรึกษากัน พอได้คลายทุกข์ก็ไม่ได้ปรึกษากัน เป็นทุกข์เพิ่มขึ้นอีก และการกระจายแดนต่างๆ ก็ทำให้พวกเขากังวลกับความปลอดภัยในสถานที่ใหม่ด้วย โดยเฉพาะเมื่อสุรกริช ชัยมงคล ผู้ต้องหาคดียิงนายสุทิน ธราทิน เสียชีวิตในเรือนจำ หลังจากย้ายจากแดน 1 มายังแดน 4 ไม่กี่วัน นักโทษการเมืองหลายคนระบุว่ายังเห็นเขาสบายและปกติดีเมื่อตอนอยู่แดน 1 แม้ว่าอธิบดีราชทัณฑ์จะแจ้งว่าผบ.เรือนจำระบุว่าเขาเป็นหอบหืดเสียชีวิต และผลชันสูตรเบื้องต้น แพทย์ระบุพบมีเลือดออกใต้เยื่อบุตาขวา ผิวตัวคล้ำผิดปกติ เกล็ดเลือดต่ำมาก และมีเลือดออกในช่องท้องมาก ส่วนสาเหตุการตายที่แท้จริง ยังต้องรอผลตรวจสอบว่ามีสารพิษภายในร่างกายหรือไม่ พร้อมเตรียมนำเนื้อเยื่อไปตรวจสอบอย่างละเอียด คาดว่าจะรู้ผลภายใน 14 วัน (ครบกำหนดสัปดาห์หน้า)
ขอนแก่นโมเดล
ไม่เฉพาะแต่กรุงเทพฯ เท่านั้น ที่จังหวัดขอนแก่นก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีผู้ต้องขังคดีที่เกี่ยวพันกับการเมือง นั่นคือ คดีที่เรียกว่า ‘ขอนแก่นโมเดล’ มีผู้ต้องหาเกือบ 30 คน หลากหลายวัยจากหลากหลายจังหวัดในภาคอีสานขังอยู่รวมกันที่เรือนจำจังหวัดขอนแก่น พวกเขาถูกอัยการทหารส่งฟ้องศาลทหารไปแล้วในข้อหาร่วมกันก่อการร้ายและอื่นๆ ซึ่งโทษสูงสุดคือประหารชีวิต
แหล่งข่าวในท้องถิ่นที่เคยทำหน้าที่เยี่ยมนักโทษการเมืองทั้งที่ปี 53 จนถึงปีปัจจุบันระบุว่า หลังรัฐประหารกฎระเบียบเข้มงวดขึ้นมาก จากที่เคยใครก็เยี่ยมได้ ตอนนี้ญาติที่เยี่ยมจะต้องทำประวัติ มีการแสกนตา ถ่ายรูป เพื่อระบุตัวตน
“ถ้าเราทำประวัติว่าเราเยี่ยมใคร เราก็ต้องเยี่ยมแต่คนนั้น ปัญหาคือ พวกนี้เป็นนักโทษการเมือง เราพยายามเยี่ยมเยียนถามสารทุกข์ตลอด เพราะหลายคนญาติเขาอยู่ไกล อยู่จังหวัดอื่นมาไมได้ เราก็ซื้อของจำเป็นให้ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้” แหล่งข่าวกล่าว
เขาระบุด้วยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.เป็นต้นไป คนที่จะเยี่ยมได้จะต้องเป็นคนที่มีนามสกุลเดียวกับผู้ต้องขัง หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันด้วย หากเป็นญาติแต่คนละนามสกุลก็ต้องให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เซ็นรับรอง
คุกที่ยิ่งแคบ ปัตตานี
‘อันวาร์’ หรือ ฮัมหมัด อัณวัร เป็นนักกิจกรรมคนสำคัญของภาคประชาสังคม 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุก 12 ปีไปเมื่อปีที่แล้วจากข้อกล่าวหาซึ่งเป็นการซัดทอดว่าเขาเป็นสมาชิกกลุ่มบีอาร์เอ็น เป็นเรื่องสร้างความตกตะลึงทั้งภาคประชาสังคม
เขาถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำจังหวัดปัตตานี โดยมีองค์กรต่างๆ รวมถึงเพื่อนฝูงสลับเข้าเยี่ยมเยียนจำนวนมาก
จากปากคำของรอมือละห์ แซเยะ ภรรยาอันวาร์ ระบุว่า เรือนจำที่ปัตตานีก็มีการเปลี่ยนกฎระเบียบเช่นกันในช่วง 2-3 สัปดาห์นี้ทำให้เธอต้องโพสต์แจ้งเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊กว่าไม่สามารถมาเยี่ยมอันวาร์ได้เช่นเคยแล้ว
ภรรยาอันวาร์ กล่าวว่า ผู้ต้องขังที่นี่ต้องลิสต์รายชื่อผู้ที่จะเข้าเยี่ยม 10 คน ซึ่งสำหรับอันวาร์เกือบทั้งหมดคือญาติสนิทและภรรยา ทำให้เพื่อนฝูงที่มักแวะเวียนโผล่ไปเยี่ยมเยียนไม่สามารถเข้าได้ทัน หากแต่ต้องฝากภรรยาไปแจ้งกับอันวาร์ เพื่อให้อันวาร์รับรองและเสนอเรื่องให้เรือนจำอนุญาตเสียก่อน
“มันน่าอึดอัด โลกของคนในเรือนจำก็แคบอยู่แล้ว การจะไปเยี่ยมก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะกล้าเดินเข้าไปในเรือนจำ แต่กรณีอันวาร์เพื่อนทุกคนอยากไปเยี่ยม พอมีกฎนี้ก็ทำให้เรือนจำที่แคบอยู่แล้วยิ่งแคบลงไปอีกสำหรับเขา มันเหมือนตัดเพื่อนเขา ตัดสิทธิการเจอโลกภายนอกของเขา” ภรรยาอันวาร์กล่าว
สิ่งที่เห็นได้ชัดอีกประการคือ กฎระเบียบของเรือนจำที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าเยี่ยม ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ต้องขัง และด้วยเหตุที่มูลเหตุจูงใจของคดีล้วนมาจากอุดมการณ์ทางการเมือง จึงไม่แปลกที่มักมีประชาชนที่คิดและเชื่อคล้ายกันแวะเวียนไปเยี่ยมผู้ต้องขังคดีการเมืองทั้งที่มีชื่อเสียงและไม่มีชื่อเสียงอยู่ประจำ
อดีตนักโทษคดี 112 อย่างธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล เคยกล่าวในเวทีเสวนาแห่งหนึ่งถึงประสบการณ์ในเรือนจำของเขาว่า การเยี่ยมญาติถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนักโทษการเมืองอย่างยิ่ง
“15 นาทีที่ได้ออกมาพบและคุยกับคนเหมือนหยดน้ำเล็กๆ ที่ทำให้เรามีชีวิตต่อไปได้” เขากล่าว
เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร (ชาย) และ ทัณฑสถานหญิงกลาง คือ สองแห่งหลักที่ควบคุมผู้ต้องขังทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นคดีอันสืบเนื่องจากการสลายการชุมนุมปี 2553 คดีอาวุธ รวมถึงคดีมาตรา 112 หรือที่เรียกกันว่าคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และทั้ง 2 แห่งก็มีการบังคับใช้ “กฎ 10 คน” แล้ว
ทัณฑสถานหญิงกลางบังคับใช้กฎนี้อย่างเข้มงวดที่สุด ‘กฎ 10 คน’ เป็นกฎการจำกัดการเยี่ยมญาติของผู้ต้องขัง โดยผู้ต้องขังทุกรายจะต้องส่งรายชื่อญาติมิตรที่ตนเองต้องการให้เยี่ยม 10 รายให้กับเจ้าหน้าที่ ญาติมิตรที่มีชื่อนอกเหนือจากนี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรืออ้างอะไรก็ตาม จากเดิมที่เคยเปิดให้ญาติมิตรเพื่อนฝูงคนไหนก็เข้าเยี่ยมได้
นักโทษการเมืองหญิงรายหนึ่งกล่าวถึงเรื่องนี้ผ่านคนใกล้ชิดว่า รู้สึกแย่กับกฎที่กำหนดผู้เข้าเยี่ยมได้เพียง 10 รายเพราะเธอเป็นที่รู้จักของผู้คนและน่าจะมีเพื่อนหลายคนที่ต้องการมาเยี่ยมเยียน คิดว่าเป็นหน้าที่ของคนข้างนอกที่ต้องสู้และเรียกร้องเรื่องนี้ให้คนข้างใน เช่น เขียนหนังสือร้องเรียนไปยังอธิบดีกรมราชทัณฑ์
ผู้ใกล้ชิดผู้ต้องขังรายดังกล่าวระบุด้วยว่า ที่ผ่านมาสอบถามเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้คำตอบว่าเป็นเพราะเหตุใด รู้เพียงว่าการเยี่ยมในช่วงนี้ค่อนข้างลำบาก การอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ดีนัก และที่ผ่านมามีเพื่อนๆ ที่ต้องการเข้าเยี่ยมนักโทษหญิงรายนี้ แต่ไม่มีรายชื่ออยู่ในลิสต์ ทำให้ไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้หลังจากรอนานนับชั่วโมงแล้ว รวมเกือบ 10 ราย
“มันอาจยุ่งยากและจุกจิก แต่สำหรับตัวผมเองไม่เท่าไร สงสารแต่คนอื่นๆ ที่เดินทางมาไกลจากต่างจังหวัด ผมเจอทุกวัน พวกที่มาถึงแล้วเยี่ยมลูกหลานไม่ได้เพราะไม่มีชื่ออยู่ในรายชื่อ เขาไม่รู้ว่าญาติตัวเองไม่ได้ใส่ชื่อไว้” ผู้ใกล้ชิดผู้ต้องขังรายเดิมกล่าว
สั่งกระจายแดนนักโทษการเมือง
ขณะที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ก็มีกฎระเบียบโควต้าญาติเยี่ยม 10 คนเช่นกัน แต่ดูเหมือนจะยืดหยุ่นกว่า ผู้ต้องขังรายหนึ่งเล่าว่า ไม่ว่าจะมาเยี่ยมกี่คน หากมีผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในลิสต์สักคนก็สามารถเข้าเยี่ยมได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับการโอนเงินเข้าบัญชีนักโทษเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรือนจำจะต้องเป็นคนที่มีรายชื่ออยู่ในลิสต์เท่านั้น
นักโทษการเมืองรายหนึ่งระบุว่า เรื่องการจำกัดให้ญาติที่มีรายชื่อเท่านั้นที่ฝากเงินให้ได้ เหตุผลของเรือนจำคือต้องการแก้ปัญหาเรื่องการพนัน แต่สำหรับเขาคาดว่ามาจากกรณีการโอนเงินช่วยผู้ต้องขังคดีการเมืองของ ‘เปิ้ล กริชสุดา คุณะเสน’ ที่โด่งดังเมื่อไม่นานมานี้และกำลังโด่งดังอยู่อีกตอนนี้
ผลกระทบจากกรณีนี้เกิดในวงกว้างเพราะผู้ต้องขังจำนวนหนึ่งไม่มีญาติดูแล อาศัยเพื่อนผู้ต้องขังด้วยกันเป็นคนดูแลโดยมักไหว้วานให้ญาติของตนเองโอนเงินใช้ผู้ต้องขังไม่มีญาติด้วย แต่ต่อไปนี้ก็จะไม่สามารถทำได้แล้ว
เขายังวิเคราะห์ต่อว่า หลังรัฐประหารมีการเปลี่ยนแปลงภายในตั้งแต่ระดับบน มีการย้าย ผบ.เรือนจำ ย้าย ผบ. แดนต่างๆ และเขาพบว่าผู้คุมส่วนใหญ่เป็นคนใต้ จนผู้ต้องขังเรียกกันว่า ‘นครศรีธรรมราช คอนเน็กชั่น’
ปัจจุบันผู้ต้องขังคดีการเมืองทั้งหมด รวมทั้งคดี 112 ถูกย้ายแดนกันกระจัดกระจาย จากที่ก่อนนี้สามารถอยู่ร่วมกันในแดน 1 ได้ พวกเขาวิเคราะห์กันว่าเป็นนโยบายที่ไม่ต้องการให้มีการรวมกลุ่ม แต่ผลกระทบก็คือคนที่ประสบปัญหาคล้ายกันจากที่เคยปรึกษากัน พอได้คลายทุกข์ก็ไม่ได้ปรึกษากัน เป็นทุกข์เพิ่มขึ้นอีก และการกระจายแดนต่างๆ ก็ทำให้พวกเขากังวลกับความปลอดภัยในสถานที่ใหม่ด้วย โดยเฉพาะเมื่อสุรกริช ชัยมงคล ผู้ต้องหาคดียิงนายสุทิน ธราทิน เสียชีวิตในเรือนจำ หลังจากย้ายจากแดน 1 มายังแดน 4 ไม่กี่วัน นักโทษการเมืองหลายคนระบุว่ายังเห็นเขาสบายและปกติดีเมื่อตอนอยู่แดน 1 แม้ว่าอธิบดีราชทัณฑ์จะแจ้งว่าผบ.เรือนจำระบุว่าเขาเป็นหอบหืดเสียชีวิต และผลชันสูตรเบื้องต้น แพทย์ระบุพบมีเลือดออกใต้เยื่อบุตาขวา ผิวตัวคล้ำผิดปกติ เกล็ดเลือดต่ำมาก และมีเลือดออกในช่องท้องมาก ส่วนสาเหตุการตายที่แท้จริง ยังต้องรอผลตรวจสอบว่ามีสารพิษภายในร่างกายหรือไม่ พร้อมเตรียมนำเนื้อเยื่อไปตรวจสอบอย่างละเอียด คาดว่าจะรู้ผลภายใน 14 วัน (ครบกำหนดสัปดาห์หน้า)
ขอนแก่นโมเดล
ไม่เฉพาะแต่กรุงเทพฯ เท่านั้น ที่จังหวัดขอนแก่นก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่มีผู้ต้องขังคดีที่เกี่ยวพันกับการเมือง นั่นคือ คดีที่เรียกว่า ‘ขอนแก่นโมเดล’ มีผู้ต้องหาเกือบ 30 คน หลากหลายวัยจากหลากหลายจังหวัดในภาคอีสานขังอยู่รวมกันที่เรือนจำจังหวัดขอนแก่น พวกเขาถูกอัยการทหารส่งฟ้องศาลทหารไปแล้วในข้อหาร่วมกันก่อการร้ายและอื่นๆ ซึ่งโทษสูงสุดคือประหารชีวิต
แหล่งข่าวในท้องถิ่นที่เคยทำหน้าที่เยี่ยมนักโทษการเมืองทั้งที่ปี 53 จนถึงปีปัจจุบันระบุว่า หลังรัฐประหารกฎระเบียบเข้มงวดขึ้นมาก จากที่เคยใครก็เยี่ยมได้ ตอนนี้ญาติที่เยี่ยมจะต้องทำประวัติ มีการแสกนตา ถ่ายรูป เพื่อระบุตัวตน
“ถ้าเราทำประวัติว่าเราเยี่ยมใคร เราก็ต้องเยี่ยมแต่คนนั้น ปัญหาคือ พวกนี้เป็นนักโทษการเมือง เราพยายามเยี่ยมเยียนถามสารทุกข์ตลอด เพราะหลายคนญาติเขาอยู่ไกล อยู่จังหวัดอื่นมาไมได้ เราก็ซื้อของจำเป็นให้ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้” แหล่งข่าวกล่าว
เขาระบุด้วยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.เป็นต้นไป คนที่จะเยี่ยมได้จะต้องเป็นคนที่มีนามสกุลเดียวกับผู้ต้องขัง หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันด้วย หากเป็นญาติแต่คนละนามสกุลก็ต้องให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เซ็นรับรอง
คุกที่ยิ่งแคบ ปัตตานี
‘อันวาร์’ หรือ ฮัมหมัด อัณวัร เป็นนักกิจกรรมคนสำคัญของภาคประชาสังคม 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุก 12 ปีไปเมื่อปีที่แล้วจากข้อกล่าวหาซึ่งเป็นการซัดทอดว่าเขาเป็นสมาชิกกลุ่มบีอาร์เอ็น เป็นเรื่องสร้างความตกตะลึงทั้งภาคประชาสังคม
เขาถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำจังหวัดปัตตานี โดยมีองค์กรต่างๆ รวมถึงเพื่อนฝูงสลับเข้าเยี่ยมเยียนจำนวนมาก
จากปากคำของรอมือละห์ แซเยะ ภรรยาอันวาร์ ระบุว่า เรือนจำที่ปัตตานีก็มีการเปลี่ยนกฎระเบียบเช่นกันในช่วง 2-3 สัปดาห์นี้ทำให้เธอต้องโพสต์แจ้งเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊กว่าไม่สามารถมาเยี่ยมอันวาร์ได้เช่นเคยแล้ว
ภรรยาอันวาร์ กล่าวว่า ผู้ต้องขังที่นี่ต้องลิสต์รายชื่อผู้ที่จะเข้าเยี่ยม 10 คน ซึ่งสำหรับอันวาร์เกือบทั้งหมดคือญาติสนิทและภรรยา ทำให้เพื่อนฝูงที่มักแวะเวียนโผล่ไปเยี่ยมเยียนไม่สามารถเข้าได้ทัน หากแต่ต้องฝากภรรยาไปแจ้งกับอันวาร์ เพื่อให้อันวาร์รับรองและเสนอเรื่องให้เรือนจำอนุญาตเสียก่อน
“มันน่าอึดอัด โลกของคนในเรือนจำก็แคบอยู่แล้ว การจะไปเยี่ยมก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะกล้าเดินเข้าไปในเรือนจำ แต่กรณีอันวาร์เพื่อนทุกคนอยากไปเยี่ยม พอมีกฎนี้ก็ทำให้เรือนจำที่แคบอยู่แล้วยิ่งแคบลงไปอีกสำหรับเขา มันเหมือนตัดเพื่อนเขา ตัดสิทธิการเจอโลกภายนอกของเขา” ภรรยาอันวาร์กล่าว
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar