สำนักพิมพ์ไทยปฏิเสธพิมพ์ อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ ฉบับล่าสุด ชี้มีเนื้อหาอ่อนไหวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ขึ้นหน้าหนึ่ง
หนังสือพิมพ์อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ ได้ส่งอีเมลแจ้งไปยังสมาชิกที่บอกรับหนังสือพิมพ์ว่า จะไม่มีการตีพิมพ์ฉบับล่าสุดประจำวันอังคารที่ 22 กันยายน 2558 ในไทย เนื่องจากสำนักพิมพ์ที่เป็นคู่สัญญาสำหรับการตีพิมพ์ในประเทศไทย ได้แจ้งปฏิเสธที่จะพิมพ์ อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ ฉบับดังกล่าว เนื่องจากมีบทความที่มีเนื้อหาอ่อนไหวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในหน...้าแรก
บทความดังกล่าว เขียนโดย โทมัส ฟูลเลอร์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพลานามัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและอนาคตของสถาบันกษัตริย์ไทย
ทั้งนี้ อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ ยังได้แจ้งผ่านอีเมลว่า การตัดสินใจไม่พิมพ์ดังกล่าว เป็นการตัดสินใจของสำนักพิมพ์คู่สัญญาในไทยเท่านั้น ไม่ใช่การตัดสินใจของ อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ แต่อย่างใด และได้แนะนำให้สมาชิกที่บอกรับหนังสือพิมพ์ เข้าอ่านเนื้อหาในฉบับล่าสุดทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแทน
ทั้งนี้ อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ ยังได้แจ้งผ่านอีเมลว่า การตัดสินใจไม่พิมพ์ดังกล่าว เป็นการตัดสินใจของสำนักพิมพ์คู่สัญญาในไทยเท่านั้น ไม่ใช่การตัดสินใจของ อินเตอร์แนชันแนล นิวยอร์ค ไทมส์ แต่อย่างใด และได้แนะนำให้สมาชิกที่บอกรับหนังสือพิมพ์ เข้าอ่านเนื้อหาในฉบับล่าสุดทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแทน
ภาพประกอบ – แฟ้มภาพ: ดาไล ลามะ
หลักสูตรสร้างความสุข
หลักสูตร 8 สัปดาห์ที่เปิดสอนทั่วอังกฤษ ชื่อว่า “มองหาสิ่งสำคัญ” (Exploring What Matters) ซึ่งออกแบบหลักสูตรโดยองค์กรจิตอาสา ปฏิบัติการเพื่อความสุข (Action for Happiness) ที่มีองค์ดาไล ลามะเป็นองค์อุปถัมภ์นั้น ผู้ออกแบบหลักสูตรอ้างว่า มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ว่าผู้เข้าเรียนตามหลักสูตรจะมีความพึงพอใจกับชีวิตมากขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้น รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าอกเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นและมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อสังคม
องค์ดาไล ลามะ ได้ตรัสถึงหลั...กสูตรนี้ว่า “ดีใจที่เห็นว่า มีความพยายามสร้างสังคมที่เป็นสุขและเป็นห่วงเป็นใยกันมากขึ้น ขอสนับสนุนหลักสูตร “มองหาสิ่งสำคัญ” และหวังว่าจะมีหลายพันคนได้ประโยชน์ ทั้งจะจุดประกายให้คนหันมาจัดการกับชีวิตด้วยตนเอง เพื่อสร้างโลกที่เป็นสุขมากขึ้น”
มาร์ก อีสตัน บรรณาธิการข่าวในประเทศของบีบีซีรายงานว่า หลักสูตรนี้เปิดให้ผู้สนใจเข้าเรียนฟรี เพียงแต่ว่าผู้จัดขอให้ผู้เข้าเรียนบริจาคเงินค่าเล่าเรียนตามความพอใจ ขณะนี้มีหน่วยงานหลายแห่งอาสาเป็นเจ้าภาพเปิดหลักสูตรตามสถานที่ต่างๆทั่วประเทศแล้ว
ตามหลักสูตร ผู้เรียนจะพยายามแสวงหาคำตอบต่อคำถามที่หลากหลาย เช่น อะไรที่เป็นแก่นสารสาระของชีวิต? อะไรที่ทำให้เรามีความสุขอย่างแท้จริง? และเราจะสร้างโลกให้น่าอยู่มากขึ้นได้อย่างไร?
หลักสูตรนี้คล้ายกับหลักสูตรอัลฟาของกลุ่มชาวคริสต์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว หลังจากเริ่มเผยแพร่ในกรุงลอนดอนเมื่อราวทศวรรษที่ 1970 และตอนนี้เปิดสอนในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก หลักสูตรอัลฟาระบุว่า เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สำรวจหาความหมายของชีวิตเช่นกัน อย่างไรก็ตาม องค์กรปฏิบัติการเพื่อความสุขย้ำว่า หลักสูตร “มองหาสิ่งสำคัญ” เป็นหลักสูตรที่ไม่อิงศาสนา แต่อิงหลักวิทยาศาสตร์มากกว่าหลักความเชื่อ
บก. ข่าวบีบีซี ชี้ว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา การศึกษาเรื่องความสุขของมนุษย์และการมีสุขภาพจิตที่ดี ได้กลายเป็นหลักสูตรที่มีหลักฐานด้านวิทยาศาสตร์มารองรับและได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการ ส่วนในอังกฤษนั้น สำนักงานสถิติแห่งชาติกำลังพัฒนามาตรวัดความสุข เพื่อให้การดำเนินนโยบายของภาครัฐสอดคล้องกับสิ่งที่เป็นแก่นสาระและมีความสำคัญต่อประชาชน
ผู้เปิดสอนหลักสูตรนี้อ้างว่า ผลการวิเคราะห์หลักสูตรนำร่องพบว่า ผู้เข้าเรียนมีความสุขเพิ่มขึ้นและพร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น ผู้เข้าเรียนหลายคนบอกว่าเป็นหลักสูตรที่ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป ชั้นเรียนเริ่มต้นด้วยการฝึกสติ ซึ่งสอนให้ผู้เรียนมีสติอยู่กับปัจจุบัน ให้ระลึกรู้ถึงความรู้สึกและความคิดของตนเอง บริการสาธารณสุขแห่งชาติและโรงเรียนอีกหลายแห่งได้นำการฝึกสติแบบนี้ไปใช้เพื่อส่งเสริมให้คนมีสุขภาพจิตที่ดี
มาร์ก วิลเลียมสัน ผู้อำนวยการองค์กรปฏิบัติการเพื่อความสุขอธิบายเพิ่มว่า “โลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยข้อมูลผิด ๆ ว่าอะไรทำให้ชีวิตมีความสุข ความสำเร็จที่แท้จริงไม่ได้มาจากเงินรายได้หรือสิ่งที่เราบริโภค แต่มาจากทัศนคติในใจ ความสัมพันธ์ของเรากับผู้อื่นและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม”
ตามหลักสูตร ผู้เรียนจะพยายามแสวงหาคำตอบต่อคำถามที่หลากหลาย เช่น อะไรที่เป็นแก่นสารสาระของชีวิต? อะไรที่ทำให้เรามีความสุขอย่างแท้จริง? และเราจะสร้างโลกให้น่าอยู่มากขึ้นได้อย่างไร?
หลักสูตรนี้คล้ายกับหลักสูตรอัลฟาของกลุ่มชาวคริสต์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว หลังจากเริ่มเผยแพร่ในกรุงลอนดอนเมื่อราวทศวรรษที่ 1970 และตอนนี้เปิดสอนในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก หลักสูตรอัลฟาระบุว่า เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สำรวจหาความหมายของชีวิตเช่นกัน อย่างไรก็ตาม องค์กรปฏิบัติการเพื่อความสุขย้ำว่า หลักสูตร “มองหาสิ่งสำคัญ” เป็นหลักสูตรที่ไม่อิงศาสนา แต่อิงหลักวิทยาศาสตร์มากกว่าหลักความเชื่อ
บก. ข่าวบีบีซี ชี้ว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา การศึกษาเรื่องความสุขของมนุษย์และการมีสุขภาพจิตที่ดี ได้กลายเป็นหลักสูตรที่มีหลักฐานด้านวิทยาศาสตร์มารองรับและได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการ ส่วนในอังกฤษนั้น สำนักงานสถิติแห่งชาติกำลังพัฒนามาตรวัดความสุข เพื่อให้การดำเนินนโยบายของภาครัฐสอดคล้องกับสิ่งที่เป็นแก่นสาระและมีความสำคัญต่อประชาชน
ผู้เปิดสอนหลักสูตรนี้อ้างว่า ผลการวิเคราะห์หลักสูตรนำร่องพบว่า ผู้เข้าเรียนมีความสุขเพิ่มขึ้นและพร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น ผู้เข้าเรียนหลายคนบอกว่าเป็นหลักสูตรที่ทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป ชั้นเรียนเริ่มต้นด้วยการฝึกสติ ซึ่งสอนให้ผู้เรียนมีสติอยู่กับปัจจุบัน ให้ระลึกรู้ถึงความรู้สึกและความคิดของตนเอง บริการสาธารณสุขแห่งชาติและโรงเรียนอีกหลายแห่งได้นำการฝึกสติแบบนี้ไปใช้เพื่อส่งเสริมให้คนมีสุขภาพจิตที่ดี
มาร์ก วิลเลียมสัน ผู้อำนวยการองค์กรปฏิบัติการเพื่อความสุขอธิบายเพิ่มว่า “โลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยข้อมูลผิด ๆ ว่าอะไรทำให้ชีวิตมีความสุข ความสำเร็จที่แท้จริงไม่ได้มาจากเงินรายได้หรือสิ่งที่เราบริโภค แต่มาจากทัศนคติในใจ ความสัมพันธ์ของเรากับผู้อื่นและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม”
คลิกดูเพิ่ม-Visa mer
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar