คลิกดูเพิ่ม-Prachatai
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จัดเวทีสาธารณะ ถกปัญหา พื้นที่ชุมชนคลองไทรฯ หลังศาลฎีกาตัดสิน ให้บริษัทและบริวาร ออกจากพื้นที่ แต่ สปก. กลับสั่งให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วย…
สกต. เปิดเวทีสาธารณะ หลัง สปก. มีคำสั่งไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จัดเวทีสาธารณะ ถกปัญหา พื้นที่ชุมชนคลองไทรฯ หลังศาลฎีกาตัดสิน ให้บริษัทและบริวาร ออกจากพื้นที่ แต่ สปก. กลับสั่งให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วย ขณะที่ดินของรัฐยังตกอยู่ในมือ 10 ตระกูลใหญ่
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จัดเวทีสาธารณะ ถกปัญหา พื้นที่ชุมชนคลองไทรฯ หลังศาลฎีกาตัดสิน ให้บริษัทและบริวาร ออกจากพื้นที่ แต่ สปก. กลับสั่งให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วย…
สกต. เปิดเวทีสาธารณะ หลัง สปก. มีคำสั่งไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จัดเวทีสาธารณะ ถกปัญหา พื้นที่ชุมชนคลองไทรฯ หลังศาลฎีกาตัดสิน ให้บริษัทและบริวาร ออกจากพื้นที่ แต่ สปก. กลับสั่งให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วย ขณะที่ดินของรัฐยังตกอยู่ในมือ 10 ตระกูลใหญ่
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จัดเวทีสาธารณะ ถกปัญหา พื้นที่ชุมชนคลองไทรฯ หลังศาลฎีกาตัดสิน ให้บริษัทและบริวาร ออกจากพื้นที่ แต่ สปก. กลับสั่งให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วย ขณะที่ดินของรัฐยังตกอยู่ในมือ 10 ตระกูลใหญ่
-เว็บรัฐบาล-ไอซีที-ความมั่นคงล่มรัวๆ ไม่ต่ำกว่า 6 เว็บ คาดต้าน 'ซิงเกิลเกตเวย์'
เว็บหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับโครงการซิงเกิลเกตเวย์ทยอยล่ม คาดเกิดจากการระดมเข้าเว็บของกลุ่มต้าน ด้านไอซีทีแจง เว็บไม่ได้ล่ม แค่ 'ช้า'-ถามคนทำ ทำไมไม่คุยกันก่อน ตร.เผยโจมตีเว็บ ผิด ม.10 พ.ร.บ.คอมฯ-ยัน จนท.หาตัวคนโจมตีได้
30 ก.ย. 2558 ตั้งแต่เมื่อช่วงค่ำที่ผ่าน เว็บไซต์หน่วยงานราชการหลายแห่งล่มในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยเริ่มจากเว็บไซต์กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ http://www.mict.go.th/ ตั้งแต่เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. เป็นเวลา 45 นาที ก่อนจะล่มอีกครั้งในช่วง 20.00 น.
เว็บที่ล่มต่อมา คือ เว็บ กสท www.cattelecom.com, เว็บกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) http://center.isocthai.go.th/, เว็บทำเนียบรัฐบาล http://www.thaigov.go.th/, เว็บสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม http://opsd.mod.go.th/Home.aspx และเว็บทีโอที http://www.tot.co.th ตามลำดับ
ล่าสุด เวลา 23.05 น. พบว่าเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ http://www.democrat.or.th/ ล่มเช่นกัน โดยพบว่ามีการโพสต์ลิงก์เว็บประชาธิปัตย์โดยเพจ โหดสัส ตามภาพ
นอกจากนี้ พบว่า เว็บกองบัญชาการกองทัพไทย http://rtarf.mi.th/rtarf_inter/index_new.html ก็ใช้งานไม่ได้เช่นกัน โดยปรากฏข้อความ "ขอระงับการใช้ชั่วคราว"
ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา มีการส่งข้อความในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ระบุว่า วันนี้ หลังเวลา 22.00 น. กลุ่มผู้ที่รวมตัวกันเพื่อต่อต้านระบบซิงเกิลเกตเวย์ จะถล่มเว็บไซต์เชิงสัญลักษณ์ ด้วยวิธีการ DDoS เพราะเป็นวิธีที่ทุกคนที่มีโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังของประชาชน โดยเป้าหมายแรกคือเว็บไซต์กระทรวงไอซีที และเมื่อเว็บไซต์ดังกล่าวล่มไปแล้ว จะแจ้งเป้าหมายใหม่ให้ทราบ ลงชื่อ "แหล่งข่าวไม่ประสงค์ออกนาม" จากนั้น เมื่อเว็บไอซีทีล่ม ก็มีข้อความที่ส่งต่อๆ กันชี้เป้าต่อไป โดยมีการโพสต์ในลักษณะกระจาย ทั้งในเฟซบุ๊กส่วนตัวและเฟซบุ๊กเพจ
ทั้งนี้ เว็บไซต์ชุดแรก (ไม่นับพรรคประชาธิปัตย์) เป็นเว็บของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีโครงการซิงเกิลเกตเวย์ โดยในข้อสั่งการของนายกฯ ระบุให้กระทรวงไอซีทีดำเนินการเร่งรัดการติดตั้งซิงเกิลเกตเวย์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ขณะที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูแลงานกระทรวงไอซีทีให้ข่าววานนี้ว่า นอกจากไอซีทีแล้ว ได้ให้ทางบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ของซิงเกิลเกตเวย์
ไอซีทีแจง เว็บไม่ได้ล่ม แค่ 'ช้า'-ถามคนทำ ทำไมไม่คุยกันก่อน
ด้านเว็บไซต์มติชนออนไลน์รายงานว่า น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ปลัดกระทรวงไอซีที ให้สัมภาษณ์ว่า จากการที่นัดแนะเข้าโจมตีเว็บไซต์เพื่อต่อต้านนโยบายซิงเกิลเกตเวย์นั้น จากตรวจสอบแล้วพบว่าเว็บไซต์ของกระทรวงไม่ได้ล่มเพียงแต่มีปริมาณผู้ใช้งานจำนวนมาก จำนวนทำให้การทำงานช้าลงเท่านั้น
น.อ.สมศักดิ์ยังกล่าวอีกว่า ขอถามกับคนที่ทำเรื่องนี้ว่าทำเพื่ออะไร กระทรวงยังไม่ได้ดำเนินการอย่างใด ทำไมไม่มาร่วมพูดคุยหารือเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมมือกัน ดีกว่าใช้วิธีชักชวนกันทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ นอกจากนี้ เมื่อเว็บไซต์ล้ช้าใช้งานไม่ได้ ก็จะส่งผลเสียต่อประชาชนที่ต้องการเข้าไปดูข้อมูลข่าวสารจากกระทรวง การใช้โซเชียลปั่นกระแสจะมีแต่ทำให้สังคมสับสน ทุกวันนี้รู้หรือไม่ว่าไอซีทีทำอะไรไปถึงไหน เรายังไม่ได้ทำอะไรเลย มีอะไรก็มาคุยหารือกัน ขอให้เห็นแก่รัฐเห็นแก่สังคม เอาความรู้ความสามารถช่วยกันให้สังคมเกิดความปลอดภัยดีกว่า ทำแบบนี้เกิดประโยชน์กับสังคมตรงไหน
ตร.เผยโจมตีเว็บ ผิด ม.10 พ.ร.บ.คอมฯ-ยัน จนท.หาตัวคนโจมตีได้
ด้านไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เปิดเผยว่า การโจมตีเว็บไซต์ใดๆ มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในมาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยยืนยันว่า จากเครื่องมือและเทคโนโลยีที่มีอยู่ เจ้าหน้าที่รัฐสามารถตรวจสอบย้อนหลังไปถึงผู้ที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตโจมตีเว็บไซต์ของรัฐได้ทุกคน
เว็บที่ล่มต่อมา คือ เว็บ กสท www.cattelecom.com, เว็บกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) http://center.isocthai.go.th/, เว็บทำเนียบรัฐบาล http://www.thaigov.go.th/, เว็บสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม http://opsd.mod.go.th/Home.aspx และเว็บทีโอที http://www.tot.co.th ตามลำดับ
ล่าสุด เวลา 23.05 น. พบว่าเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ http://www.democrat.or.th/ ล่มเช่นกัน โดยพบว่ามีการโพสต์ลิงก์เว็บประชาธิปัตย์โดยเพจ โหดสัส ตามภาพ
นอกจากนี้ พบว่า เว็บกองบัญชาการกองทัพไทย http://rtarf.mi.th/rtarf_inter/index_new.html ก็ใช้งานไม่ได้เช่นกัน โดยปรากฏข้อความ "ขอระงับการใช้ชั่วคราว"
ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา มีการส่งข้อความในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ระบุว่า วันนี้ หลังเวลา 22.00 น. กลุ่มผู้ที่รวมตัวกันเพื่อต่อต้านระบบซิงเกิลเกตเวย์ จะถล่มเว็บไซต์เชิงสัญลักษณ์ ด้วยวิธีการ DDoS เพราะเป็นวิธีที่ทุกคนที่มีโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังของประชาชน โดยเป้าหมายแรกคือเว็บไซต์กระทรวงไอซีที และเมื่อเว็บไซต์ดังกล่าวล่มไปแล้ว จะแจ้งเป้าหมายใหม่ให้ทราบ ลงชื่อ "แหล่งข่าวไม่ประสงค์ออกนาม" จากนั้น เมื่อเว็บไอซีทีล่ม ก็มีข้อความที่ส่งต่อๆ กันชี้เป้าต่อไป โดยมีการโพสต์ในลักษณะกระจาย ทั้งในเฟซบุ๊กส่วนตัวและเฟซบุ๊กเพจ
ทั้งนี้ เว็บไซต์ชุดแรก (ไม่นับพรรคประชาธิปัตย์) เป็นเว็บของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีโครงการซิงเกิลเกตเวย์ โดยในข้อสั่งการของนายกฯ ระบุให้กระทรวงไอซีทีดำเนินการเร่งรัดการติดตั้งซิงเกิลเกตเวย์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ขณะที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูแลงานกระทรวงไอซีทีให้ข่าววานนี้ว่า นอกจากไอซีทีแล้ว ได้ให้ทางบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ของซิงเกิลเกตเวย์
ไอซีทีแจง เว็บไม่ได้ล่ม แค่ 'ช้า'-ถามคนทำ ทำไมไม่คุยกันก่อน
ด้านเว็บไซต์มติชนออนไลน์รายงานว่า น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ปลัดกระทรวงไอซีที ให้สัมภาษณ์ว่า จากการที่นัดแนะเข้าโจมตีเว็บไซต์เพื่อต่อต้านนโยบายซิงเกิลเกตเวย์นั้น จากตรวจสอบแล้วพบว่าเว็บไซต์ของกระทรวงไม่ได้ล่มเพียงแต่มีปริมาณผู้ใช้งานจำนวนมาก จำนวนทำให้การทำงานช้าลงเท่านั้น
น.อ.สมศักดิ์ยังกล่าวอีกว่า ขอถามกับคนที่ทำเรื่องนี้ว่าทำเพื่ออะไร กระทรวงยังไม่ได้ดำเนินการอย่างใด ทำไมไม่มาร่วมพูดคุยหารือเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมมือกัน ดีกว่าใช้วิธีชักชวนกันทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ นอกจากนี้ เมื่อเว็บไซต์ล้ช้าใช้งานไม่ได้ ก็จะส่งผลเสียต่อประชาชนที่ต้องการเข้าไปดูข้อมูลข่าวสารจากกระทรวง การใช้โซเชียลปั่นกระแสจะมีแต่ทำให้สังคมสับสน ทุกวันนี้รู้หรือไม่ว่าไอซีทีทำอะไรไปถึงไหน เรายังไม่ได้ทำอะไรเลย มีอะไรก็มาคุยหารือกัน ขอให้เห็นแก่รัฐเห็นแก่สังคม เอาความรู้ความสามารถช่วยกันให้สังคมเกิดความปลอดภัยดีกว่า ทำแบบนี้เกิดประโยชน์กับสังคมตรงไหน
ตร.เผยโจมตีเว็บ ผิด ม.10 พ.ร.บ.คอมฯ-ยัน จนท.หาตัวคนโจมตีได้
ด้านไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เปิดเผยว่า การโจมตีเว็บไซต์ใดๆ มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในมาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยยืนยันว่า จากเครื่องมือและเทคโนโลยีที่มีอยู่ เจ้าหน้าที่รัฐสามารถตรวจสอบย้อนหลังไปถึงผู้ที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตโจมตีเว็บไซต์ของรัฐได้ทุกคน
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar