บีบีซีไทย - BBC Thai
14 ตุลา 2516 : เปิดรายงานลับทูตอังกฤษว่าด้วย "การปฏิวัติเดือนตุลาคม"
- เผด็จ ขำเลิศสกุล
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหราชอาณาจักร
ที่มาของภาพ, Getty Images
17 วัน หลังเหตุการณ์วันที่ 14 ต.ค. 2516 เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ส่งบันทึกลับความยาว 6 หน้า ใช้ชื่อว่า "ประเทศไทย : การปฏิวัติเดือนตุลาคม" (Thailand: The October Revolution)ไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกรุงลอนดอน เล่าถึงที่มาที่ไปของเหตุการณ์
นอกจากส่งไปยังลอนดอนแล้ว เซอร์ อาร์เธอร์ เจมส์ เดอ ลา แมร์ ยังส่งรายงานชิ้นนี้ ที่ตีตรา "ลับ" หรือ confidential ไปยังเอกอัครราชทูตอังกฤษในกรุงวอชิงตัน ปักกิ่ง โตเกียว ไซง่อน พนมเปญ เวียงจันทน์ ร่างกุ้ง กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ จาการ์ตา มะนิลา และแคนเบอร์รา
เอกสารนี้ถูกเก็บอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สหราชอาณาจักร ในกรุงลอนดอน มาเป็นเวลานาน จนเพิ่งถูกลดชั้นความลับลงกลายเป็นเอกสารที่เปิดเผยต่อสาธารณะได้เมื่อ 25 ก.ย. 2562
ที่มาของภาพ, The National Archives
2 เรื่อง "น่าประหลาดใจ"
ในบทคัดย่อ 1 หน้า เซอร์ อาร์เธอร์ สรุปไว้ 6 ประเด็นสำคัญ ในประเด็นแรก เขารายงานว่า ระบอบคณาธิปไตยของกลุ่มทหารที่ปกครองประเทศมาต่อเนื่องยาว 15 ปี ต้องล่มสลายลงเมื่อ 15 ต.ค. 2516 สาเหตุที่เห็นทันทีก็มาจากการประท้วงของนักศึกษาที่นำไปสู่การนองเลือด ในขณะที่ความไม่พอใจต่อระบอบนี้ มีอยู่ทุกหย่อมหญ้า ทั้งในเรื่องการทุจริต และการไร้ฝีมือในการแก้ปัญหาของประเทศที่เผชิญความเจ็บป่วยทางเศรษฐกิจ
เขาเห็นว่า มี 2 เรื่องน่าประหลาดใจจากเหตุการณ์นี้คือ ระบอบนี้ถูกโค่นลงอย่างง่ายดาย และการยุติลงของความรุนแรงที่ดูตื่นเต้นเร้าใจ หลังได้รับรู้ว่า จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร หนีออกนอกประเทศไปแล้ว ส่วนการเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ โดยการอยู่ข้างเดียวกับนักศึกษาและประชาชนเป็นไปอย่างแน่วแน่เด็ดเดี่ยว
ชนวนสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
ในรายงานนี้ เดอ ลา แมร์ ได้วิเคราะห์เหตุการณ์การควบคุมตัวกลุ่มบุคคลสิบกว่าคนนี้โดยตำรวจ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็น "การยุยงปลุกปั่นที่ผิดกฏหมายเพื่อเร่งให้มีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่" และตั้งข้อหาว่าพยายามโค่นรัฐบาล ซึ่ง เดอ ลา แมร์ เห็นว่าเป็นความผิดพลาดทางการเมืองของฝ่ายรัฐบาล เนื่องจากความเห็นอย่างท่วมท้นของประชาชนก็เป็นไปในทางเดียวกับข้อเรียร้องของกลุ่มนักศึกษาที่ถูกควบคุมตัวนี้ และประชาชนส่วนใหญ่ก็มีความเชื่อว่ารัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งจอมพลประภาส จารุเสถียร ในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จงใจที่จะประวิงเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ที่มาของภาพ, The National Archives
ที่มาของภาพ, Getty Images
เดอ ลา แมร์ ยังกล่าวต่อไปว่า ในหมู่คนไทยที่เขาคบหาสมาคมอยู่ต่างก็ประหลาดใจต่อการล่มสลายอย่างง่ายดายของระบอบเผด็จการที่ปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน แต่อย่างไรก็ดี เดอ ลา แมร์ กล่าวว่า มีบุคคลหนึ่งที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ถึงแนวโน้มของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นนั้นคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สาเหตุที่ เดอ ลา แมร์ กล่าวเช่นนั้นเพราะว่านายแอนโทนี รอยล์ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น แวะมาปฏิบัติภารกิจในประเทศไทย และมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 10 ต.ค. 2516 หล้งจากนั้นรอยล์ ได้เล่าให้ เดอ ลา แมร์ ฟังถึงการเข้าเฝ้าฯ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจรอย่างรุนแรงในการจับกุมตัวนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการตั้งข้อกล่าวหาร้ายแรง พระองค์รวมถึงประชาชนส่วนใหญ่ต้องการรัฐธรรมนูญ และนักศึกษาก็มีสิทธิในการเรียกร้องรัฐธรรมนูญอย่างสงบ แต่อย่างไรก็ตามพระองค์ก็ทรงเชื่อว่ามีกลุ่มที่ไม่หวังดีที่ต้องการใช้ความรุนแรงโดยการใช้นักศึกษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งพระองค์ตรัสอย่างชัดเจนว่าคือพวกคอมมิวนิสต์
ที่มาของภาพ, The National Archives
ขบวนการคอมมิวนิสต์มีส่วนเกี่ยวข้องจริงหรือไม่
เดอ
ลา แมร์
มีความเห็นว่าความพยายามในการจัดตั้งระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยนั้น
ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนน้อยมาก
ความเห็นนี้พ้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศว่ายังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้มีส่วนในการประท้วงครั้งนี้
และบางคนกล่าวว่ามันเกินความสามารถของพรรคในการจัดการเดินขบวนแบบนี้
รวมทั้งยังกล่าวด้วยว่าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมองว่ายังไม่ถึงเวลาในการโค่นล้มรัฐบาล
แม้มีความไม่พอใจอย่างมาก ในหมู่ประชาชนต่อการบริหารประเทศของรัฐบาล
แต่ก็ยังไม่ถึงระดับสิ้นหวังที่จะนำให้เกิดการปฏิวัติโดยฝ่ายซ้าย
ที่มาของภาพ, British National Archives
ที่มาของภาพ, The National Archives
อย่างไรก็ดีเหตุผลนี้ก็ไม่ได้ปฏิเสธทฤษฎีที่ว่ามีผู้ไม่หวังดีฝ่ายคอมมิวนิสต์มายุยงนักศึกษา ถึงกับมีข่าวลือว่าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจงใจที่จะไม่ใช้กำลังอย่างเต็มที่ตั้งแต่แรก แต่รอจังหวะที่ความวุ่นวายจะมีมากขึ้น และมีการอ้างหลักฐานบางอย่างที่ชี้ว่ามีกลุ่มผู้ไม่หวังดีเตรียมที่จะเข้ามาก่อความไม่สงบในกรุงเทพฯ ในวันที่ 15 ต.ค. ซึ่งเหตุการณ์ในวันนั้นมีเค้าว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น แต่เมื่อถึงเวลาที่ผู้ก่อความไม่สงบเข้ามาในกรุงเทพฯ ก็ปรากฏว่านักศึกษาที่ออกมาเดินขบวนนั้นก็ยุติการประท้วงและได้ทยอยเดินทางกลับบ้าน หลังจากทราบข่าวว่าจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ลาออกจากหน้าที่ทุกอย่าง และได้เดินทางออกจากประเทศไทยพร้อมด้วย พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร
ที่มาของภาพ, The National Archives
จริงอยู่ที่เหตุการณ์ประท้วงสงบลงแบบฉับพลันหลังจากที่เหล่าผู้ประท้วงได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการลาออกของสามทรราช แต่เดอ ลา แมร์ ก็ให้ความสำคัญกับ "อำนาจเร้นลับของพระมหากษัตริย์" (the mystic power of the Crown) ซึ่งเขาบรรยายว่า แทบจะไม่มีคนไทยคนไหนที่จะขัดพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความประสงค์ของพระองค์จะรับรู้ได้แม้กระทั่งก่อนที่มันจะปรากฏให้เห็น โดยเดอ ลา แมร์ ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการที่บริษัทรถเมล์ขาว (รถเมล์นายเลิศ) ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การบริหารของท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ บุตรสาวของพระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) ได้เตรียมอาหารกลางวันหลายพันกล่องเพื่อนำไปเลี้ยงนักศึกษาผู้ประท้วง และเตรียมรถโดยสารประจำทางตามจุดต่าง ๆ ใกล้พื้นที่ที่มีความไม่สงบ พร้อมที่จะรับส่งกลับบ้าน
สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์
เดอ
ลา แมร์ ได้พูดถึงสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์เอาไว้ในรายงานว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีถึงความต้องการของประเทศและทรงมีพระบารมีในการเป็นผู้นำในระหว่างเหตุการณ์
14 ต.ค.
พระองค์ได้รับการยกย่องเทิดทูนจากประชาชนในการที่พระองค์ได้ทรงแสดงถึงความเป็นผู้นำในการเข้าแทรกแซง
(intervention) เพื่อยุติความวุ่นวาย แต่เดอ ลา แมร์ เล่าว่า
เขาได้รับทราบจากแหล่งข่าวภายในที่เชื่อถือได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดง
"ความตกใจ"
ในการที่พระองค์ได้ถลำตัวลึกออกพ้นไปจากแนวคิดที่เคร่งครัดทางรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า
พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและอยู่เหนือการ
ที่มาของภาพ, The National Archives
ที่มาของภาพ, AFP/Getty Images
ภาพจำอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในฉากสำคัญทางประวัติศาสตร์ 14 ต.ค. 2516 เมื่อขบวนการนักศึกษาและประชาชนลุกฮือเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
แต่เดอ ลา แมร์ มีความเห็นว่า นอกเหนือจากความเชื่อในเรื่องดวงดาว โหราศาสตร์ และลางสังหรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังมีเรื่องให้ต้องกังวลอีกมาก ไม่ว่าพระองค์จะกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ตาม แต่สำคัญที่พระองค์เข้าข้างกับนักศึกษาและพระองค์ทรงขับไล่สามทรราช และเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และบางคนก็บอกว่าทรงเลือกคณะรัฐมนตรีส่วนใหญ่ด้วยพระองค์เอง ทั้งหมดนี้ทำให้พระองค์ไม่ได้อยู่เหนือการเมืองอีกต่อไป พระองค์จะถูกตำหนิ หากรัฐบาลใหม่มีข้อบกพร่องหรือล้มเหลว
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar