ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 ต.ค. สื่อหลายแขนงรายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการแถลงสรุปผลการตรวจสอบหนังสือนิทานชุดนี้ว่า มี 3 เล่มที่มีประโยชน์ ส่วนอีก 5 เล่มเข้าข่ายควรระวัง
วาดหวังหนังสือ : นิทานเด็ก “ที่ดี” ต้องเป็นอย่างไร คำถามหลัง ศธ. สั่งตรวจสอบ นิทานชุด “วาดหวัง”
ในช่วงแรกของนิทานชื่อ "ตัวไหนไม่มีหัว" ก ไก่ และ ธ ธง โดนเพื่อนพยัญชนะตัว ๆ อื่นล้อเลียนว่า "ไม่มีหัว" เหมือนคนอื่น
ม ม้า ชอบใจ ส่งเสียงออกมาว่า "ฮี้ ฮี้ ฮี้ ตลกที่สุดเลย ไม่มีหัว ไม่มีหัว" ขณะที่ น หนู ผสมโรงหัวเราะใส่ บอกว่า "นั่นสิ ตลกจัง ขนาดฉันตัวเล็ก ๆ ยังมีหัวเลย"
อย่างไรก็ดี ท้ายที่สุด พยัญชนะทุกตัวก็ได้เรียนรู้ว่า ถ้า ก ไก่ มีหัวก็อาจจะกลายเป็น ถ ถุง หรือ ภ สำเภา และ "เราทุกคนต่างมีความพิเศษในตัวเองกันอยู่แล้วทุกตัว ...ความพิเศษอยู่ที่เราได้เป็นตัวของตัวเอง และเป็นตัวหนึ่งของพยัญชนะไทย 44 ตัว"
นิทานเรื่องนี้เป็นหนึ่งในนิทานชุด "วาดหวัง" 8 เล่ม ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สั่งตั้งทีมเฉพาะกิจเร่งตรวจสอบว่าหนังสือนิทานชุดนี้มีเนื้อหาเข้าข่ายบิดเบือนหรือไม่
และก็เป็นอีกครั้งที่ท่าทีต่อต้านของรัฐที่ทำให้เกิดกระแสถกเถียงในโซเชียลมีเดีย และยิ่งผลักดันให้หนังสือขายดีเข้าไปใหญ่ และเมื่อต้นเดือน ต.ค. เพจเฟซบุ๊ก "วาดหวังหนังสือ" ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ ก็ประกาศว่าขายนิทานกว่า 17,000 เล่ม หมดภายในไม่กี่วัน
ที่มาของภาพ, วาดหวังหนังสือ
เพจเฟซบุ๊ก "วาดหวังหนังสือ" ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ ระบุว่าขายนิทานกว่า 17,000 เล่ม หมดภายในไม่กี่วัน
วันที่ 12 ต.ค. ประชาไทรายงานว่าสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ระบุว่า ผู้จัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ไม่ได้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 หลังจากก่อนหน้านี้มีผู้ร้องเรียนและทาง สคบ. ได้เรียกให้ผู้จัดพิมพ์เข้าไปชี้แจง
ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 ต.ค. สื่อหลายแขนงรายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการแถลงสรุปผลการตรวจสอบหนังสือนิทานชุดนี้ว่า มี 3 เล่มที่มีประโยชน์ ส่วนอีก 5 เล่มเข้าข่ายควรระวัง
นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย โฆษกประจำตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. อ้างความเห็นนักวิชาการว่า หนังสือ 5 เล่ม คือ "จ.จิตร", "10 ราษฎร, "แม่หมิมไปไหน?", "เป็ดน้อย" และ "เสียงร้องของผองนก" มีข้อควรระวังหลายเรื่อง
โฆษกผู้นี้บอกว่า หนังสือบางเล่มไม่มีคำพูดและเป็นการเล่าด้วยภาพอย่างเดียว และเด็กจะจำภาพนั้นไปตลอดชีวิตเพราะเด็กไม่สามารถตัดสินอะไรได้
"เด็กไม่ได้อยู่โลกความเป็นจริง เด็กจะอยู่ในโลกจินตนาการ ซึ่งเด็กจะเกิดจินตนาการนำไปสู่การลอกเลียนแบบได้ ซึ่งแพทย์เป็นห่วงเรื่องนี้มาก เพราะเด็กยังไม่สามารถแยกแยะสิ่งเหล่านี้ได้ ดังนั้นเมื่อหนังสือ 5 เล่ม ไม่มีจุดที่เหมาะสมกับเด็ก สิ่งที่เป็นข้อกังวลของแพทย์คือ หนังสือเหล่านี้อาจจะบ่มเพาะความรู้สึกรุนแรง ที่อาจจะปลูกฝังเยาวชนในอนาคตได้" นางดรุณวรรณ ระบุ
ประเด็นที่เกิดขึ้นทำให้หลายคนย้อนมองถึงวงการหนังสือสำหรับเด็กในไทย หากนิทานวาดหวังอาจเข้าข่ายบิดเบือนและอาจให้เด็กเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ แล้วนิทานและหนังสือเด็ก "ที่ดี" คืออะไร
"เขากลัวคนรู้ทันเขามากขึ้น"
วิกรม พรหมจันทร์ คุณพ่อลูกหนึ่งวัย 40 ปี บอกกับบีบีซีไทยว่า สั่งซื้อนิทานชุดนี้เพราะได้ยินจากข่าวและต้องการ "พิสูจน์" ว่าเนื้อหาในเรื่องจะบิดเบือนเหมือนที่ทางการตั้งคำถามหรือเปล่า
เขาออกตัวตั้งแต่เริ่มให้สัมภาษณ์ว่าไม่ชอบรัฐบาลชุดนี้ และก็ตามสนับสนุนผู้เขียนสองคนในนิทานชุดนี้อย่าง อินทิรา เจริญปุระ หรือ "ทราย" ที่เขียนเรื่อง "แม่หมิมไปไหน ?" และ สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ "บก. ลายจุด" ที่เขียนเรื่อง "แค็ก! แค็ก! มังกรไฟ"
"แค่งงว่าหนังสือแบบนี้มันสามารถเขียนออกมาทำร้ายคนได้ขนาดนั้นเลยเหรอ" วิกรม กล่าว เขาบอกว่าหนังสือทุกเล่มไม่ได้มีการบิดเบือนใด ๆ แต่เป็นข้อเท็จจริงที่เห็นกันตามข่าว
คลิกดูเพิ่ม- นิทานเด็ก “ที่ดี” ต้องเป็นอย่างไร
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar