lördag 29 augusti 2015

เรื่องราว ชีวิตของคนรากหญ้าที่รักประชาธิปไตย.."เธอ"..ที่ตกเป็น"เหยื่อ" ความขัดแย้งในการแย่งชิงอำนาจของพวกนักการเมือง เศร้าใจกับซะตากรรมของเธอ ได้แต่เป็นกำลังใจให้ "เธอ" .ถามใครรับผิดชอบ?? บทเรียนที่คนไทยต้องคิดถอดถอนอย่าให้เกิดขึ้นอีก...

รูปภาพของ แนวร่วมขบวนการเสรีไทยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ




ชีวิตของคนรากหญ้าที่รักประชาธิปไตย.....
ปัทมา มูลนิล......
ในขณะที่ชนชาวไทยกำลังเริงสราญถ้วนหน้ามหาสงกรานต์กันอยู่ในเดือนเมษายนนี้ ยังมีนักโทษการเมืองที่ยังถูกจองจำอยู่ที่เรือนจำพิเศษหลักสี่จำนวนเป็นร้อย นักโทษหญิงเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งถูกจับในขณะอายุเพียง 23 ปี
ชีวิตของคนรากหญ้าที่รักประชาธิปไตย.....
ปัทมา มูลนิล......
ในขณะที่ชนชาวไทยกำลังเริงสราญถ้วนหน้ามหาสงกรานต์กันอยู่ในเดือนเมษายนนี้ ยังมีนักโทษการเมืองที่ยังถูกจองจำอยู่ที่เรือนจำพิเศษหลักสี่จำนวนเป็นร้อย นักโทษหญิงเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งถูกจับในขณะอายุเพียง 23 ปี
ในขณะที่ชนชาวไทยกำลังเริงสราญถ้วนหน้ามหาสงกรานต์กันอยู่ในเดือนเมษายนนี้ ยังมีนักโทษการเมืองที่ยังถูกจองจำอยู่ที่เรือนจำพิเศษหลักสี่จำนวนเป็นร้อย นักโทษหญิงเพียงหนึ่งเดียวในจำนวนนั้นคือ ปัทมา มูลนิล ซึ่งถูกจับในขณะอายุเพียง 23 ปี เธอเป็นลูกคนสุดท้องของครอบครัวแม่ค้าขายอาหารตามสั่งและกำลังเรียน กศน.ในระดับมัธยมต้น
ปัทมาเคยร่วมอุดมการณ์กับกลุ่ม ‘คนเสื้อเหลือง’ และติดตามข่าวสารผ่านช่องเอเอสทีวีมาโดยตลอด จนกระทั่งมีการยุบพรรคและเลือกตั้งใหม่ เธอเริ่มตั้งคำถาม จากนั้นเธอจึงติดจานดาวเทียมที่มี ‘ช่องเสื้อแดง’ ก่อนที่ความคิดจะค่อยๆ เปลี่ยนไป
ก่อนถูกจับแม่ของเธอได้โทรไปบอกว่ามีหมายจับมา ให้ไปมอบตัว เธอบอกกับแม่ว่า เธอไม่ได้ทำอะไรผิด เธอไม่ได้เผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เธอเข้าไปอย่างเดียว ไม่ได้ทำอะไร แม่ก็บอกว่า “ถ้าไม่ได้ทำอะไร ลูกก็กลับมามอบตัวสู้คดีซะลูก ให้โทรมาบอกอาให้อาพาไปมอบตัว” แต่ในที่สุดเธอก็ถูกตำรวจจับกุมเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 ที่สถานีขนส่ง จ.สุรินทร์
โดยเธอถูกล็อกตัวใส่กุญแจมือโดยถูกจับกดคอลงกับพื้นท่ามกลางสาธารณชน พร้อมทั้งมีปืนจ่อหัว และจับคอเสื้อลากขึ้นรถไปยัง สภ.เมืองสุรินทร์ เพื่อนที่ไปด้วยก็ร้องไห้และถูกบังคับให้เธอรับสารภาพเสีย จะได้ปล่อยเพื่อนไป และขู่จะยัดยาบ้าให้อีกหลายเม็ด และให้เซ็นรับสารภาพแต่โดยดีว่าเผาศาลากลาง เซ็นแล้วก็จะปล่อยตัวเพื่อนไป สุดท้ายเธอจึงยอมเซ็น
ตำรวจนำตัวเธอกลับมาถึงอุบลราชธานีตอนเที่ยงคืนและได้เอารูปภาพประมาณ 400 ภาพ ในวันเกิดเหตุมาให้ดูและถามว่า รู้จักใครบ้าง ให้รีบบอกมา เธอบอกว่า ไม่รู้จัก ตำรวจก็ตบหัวเธอทุกครั้งที่ถาม จนเกือบตี 3 กว่าก็พาเธอลงมาขังไว้ใต้ถุนสถานีตำรวจ
โดยตั้งข้อหาหนักให้เธอ คือ 1) ร่วมกันวางเพลิงเผาศาลากลาง 2) ร่วมกันประทุษร้ายทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ด้วยอาวุธ ไม้, อิฐ, หิน, หนังสะติ๊ก 3) ชุมนุมกันเกิน 10 คน เพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
ตำรวจบอกว่าให้รับไปเถอะ แล้วไปแก้ข้อกล่าวหาเอาที่ศาล จากนั้นก็ส่งตัวเธอไปแถลงข่าว โดยตำรวจบอกว่าให้นั่งก้มหน้าลง อย่าพูดอะไรเป็นอันขาดและมีตำรวจพูดแทนว่า ได้ทำการจับกุมคนเผาศาลากลางจังหวัดได้อีกแล้ว 1 คน คือนางสาวปัทมา มูลนิล คนนี้
ทั้งๆที่เธอบอกว่า หลักฐานที่เจ้าหน้าที่ใช้คือภาพถ่ายของเธอในที่เกิดเหตุ ซึ่งหากเธอทำจริงเธอคงไม่เปิดเผยใบหน้าและไปยืนอยู่นานสองนานให้ถ่ายรูป แต่ในที่สุดเธอถูกคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต และลดโทษให้เหลือจำคุก 33 ปี 4 เดือน ขณะนี้คดีอยู่ในชั้นอุทธรณ์
ต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของบันทึกการให้ถ้อยคำของเธอต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
“อยากกลับบ้าน แค่มาเรียกร้องประชาธิปไตยทำไมต้องทำกับเราขนาดนี้ด้วย แล้วทำไมตำรวจต้องเอาเด็กผู้หญิงอายุแค่ 16 ปีมาข่มขู่เราด้วย ทำถึงขนาดตบหน้าเขา เพียงเพราะอยากได้ตัวเรา อยากให้เรารับสารภาพถึงขนาดจะยัดข้อหาเขา ตำรวจหัวใจเขาทำด้วยอะไร ยังเป็นคนอยู่เหรอ แล้วทำไมจะต้องบอกเพื่อนเราพี่น้องเราด้วยว่าเราซัดทอดคนอื่น ต้องการอะไร อยากได้อะไร เอาเราไปแถลงข่าว เราแค่มาเรียกร้องประชาธิปไตย ทำไมต้องทำเหมือนเราเป็นผู้ร้ายฆ่าคนตาย ขายยาบ้าระดับชาติด้วย พอเข้ามาอยู่ในเรือนจำ
ทุกคนที่นี่เกือบทั้งหมดก็เป็นมิตรดี แต่จะมีบางคนที่คอยหาเรื่อง สงสารคนที่บ้าน พ่อ แม่ พี่ ทุกคนก็ลำบากอยู่ข้างนอก เราก็หาเช้ากินค่ำกัน แต่เรามาอยู่ในนี้ทุกคนก็พลอยลำบากไปด้วย เงินก็ไม่มี เยี่ยมญาติก็มากันลำบาก เพราะไม่มีเงิน อาหารการกินภายในเรือนจำกับข้าวหลวงมีแต่แตงกับมะเขือ อย่าพูดถึงเรื่องรสชาติเลย แค่หน้าตายังดูไม่ได้ เอาให้สุนัขรับประทานยังไม่รู้ว่ามันจะรับประทานไหม มีอาหารขายก็แพงแสนแพง ถ้าไม่ซื้อก็ไม่รู้จะกินอะไร ต้องรอให้อดตายใช่ไหม คงต้องตายในคุกนี้แหละ คิดถึงทุกคนที่บ้าน คิดถึงคนที่รอเราอยู่ข้างนอก คิดถึงบ้าน อยากกลับบ้าน เบื่อหน่ายชีวิต ถ้าคนเสื้อแดงมันผิดเพราะอยากได้ประชาธิปไตยคืนมาก็ให้ฆ่ามันทิ้งซะ แล้วก็เชิญคุณมีอำนาจให้สาสมใจ ภายใต้ กองเลือด น้ำตา ความทุกข์ทรมาน ความยากจน
ก่อนหน้านี้ภูมิใจที่สุด ที่เกิดเป็นคนไทย แต่ตอนนี้เริ่มไม่แน่ใจแล้วว่า เป็นคนไทยควรดีใจหรือไม่ หากมีผู้ที่อยากได้อยากดีอยากมีอำนาจมากถึงขนาดฆ่าคนได้เป็นผักเป็นปลา เห็นชีวิตคนไม่มีค่า หากเป็นเช่นนั้น ก็เอาคนเสื้อแดงที่อยากได้ประชาธิปไตยมาฆ่าให้หมดซิ แล้วก็เชิญครองอำนาจให้สาสมใจ หากขอได้
อยากขอให้ศาลตัดสินประหารชีวิตเลย จะได้ไม่ต้องมาทนทุกข์ทนลำบาก แล้วยังให้คน ทางบ้านลำบากด้วย เพียงเพราะคำว่าอยากได้อยากครองอำนาจของคนไม่กี่คน ช่วยตัดสินให้ตายไป เกิดชาติหน้าชาติไหนขอให้เกิดบนแผ่นดินที่มีแต่ความยุติธรรมและประชาธิปไตย
เรารักประชาธิปไตย เราอยากได้ความยุติธรรม หากไม่มีแล้วก็อย่ามีชีวิตอยู่เลยดีกว่า รักคนเสื้อแดง รักพ่อหลวง ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
อยากให้ช่วยเหลือเรื่องเงินบ้าง เพราะอยู่ข้างในไม่ค่อยมีตังค์ กินใช้จ่ายในนี้อย่างลำบาก
ในขณะที่ถูกจับกุมมีตำรวจประมาณ 10 นายขึ้นไปมาจับกุม ถูกจับกดหัวลงกับพื้น และมีปืนจ่ออยู่ตรงหน้า 1 กระบอก และลากคอเสื้อขึ้นรถทั้งๆ ที่รู้ว่าเราเป็นผู้หญิงแต่กระทำการกับเราเหมือนเป็นผู้ร้ายฆ่าคนตาย และใช้คำพูดเหมือนเราไม่ใช่คน การนำตัวเราไปแถลงข่าวเช่นกัน ก็กระทำเหมือนเราไม่ใช่คน ทั้งเราก็ไม่มีสิทธิไม่ให้เขานำตัวไปก็ไม่ได้ ตอนนี้รู้แล้วว่า เราเป็นพลเมืองชั้นล่างของประเทศไทย”
ในขณะที่ชนชั้นปกครองกำลังเสวยสุขจากการ “เกี้ยเซี้ยะ” บนความทุกข์ของเหยื่อของความขัดแย้งและกำลังถกกันอย่างเอาเป็นเอาตายหลังจากที่ “ติดกับ” กับคำว่า “การปรองดอง” ที่หาคำนิยามที่ชัดเจนไม่ได้ จนบานปลายเป็นความขัดแย้งใหม่ แต่ปัทมาต้องตกนรกทั้งเป็นในสถานะ “เชลยศึก” ที่ถูกลืมจากคู่สงคราม
ผมไม่รู้ว่าหัวจิตหัวใจของผู้มีอำนาจไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองทั้งสองขั้วหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับในกระบวนการยุติธรรมทำด้วยอะไร อย่าลืมนะครับว่าถ้าคนตัวเล็กตัวน้อยเช่นปัทมาอยู่ไม่ได้แล้ว ก็อย่าหวังว่าคนตัวใหญ่ๆทั้งหลายจะอยู่เย็นเป็นสุขเลยครับ


----------------------------
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 18 เมษายน 2555
จาก ประชาไท โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
...


Inga kommentarer:

Skicka en kommentar