การเมือง ฮอตฮ้อน นาที แห่ง "รัฐธรรมนูญ" ก่อน "ประชามติ"http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1440393703
พลันที่ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมอบ "ร่างรัฐธรรมนูญ" ให้กับประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
เมื่อเวลา 11.59 น. ของวันที่ 22 สิงหาคม
เป็นอันว่าภารกิจอัน คสช.มอบหมายให้ "คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ" ในฐานะแม่น้ำสายที่ 5 ได้เสร็จเรียบร้อยแล้วโดยพื้นฐาน
ที่ว่าโดย "พื้นฐาน" เพราะยังมีอีกอย่างน้อย 2 ขั้นตอน
ขั้นตอน 1 คือ ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะต้องเข้าสู่การพิจารณาว่าจะ "รับ" หรือว่าจะ "ไม่รับ" ในที่ประชุมของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
หาก "รับ" ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 คือ การลง "ประชามติ"
หาก "ไม่รับ" ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่จะต้องดำเนินการใหม่เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ร่าง" รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
แล้วจึงจะเข้าสู่กระบวนการ "ประชามติ"
จากนี้จึงเห็นได้ว่า ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านหรือไม่ผ่านจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ระยะเวลาที่เรียกว่า "โรดแมป" ก็จะดำเนินไปอย่างยืดหยุ่นและยาวนานออกไปอยู่นั่นเอง กระนั้น ภายใน "รับ" หรือ "ไม่รับ" แต่ละขั้นตอนก็ยังมีเงื่อนแง่งทิ้งเอาไว้
ประเด็นที่ว่าร่างนี้จะผ่านความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หรือไม่ กลับมากด้วยความละเอียดอ่อน เหมือนกับจะไม่มีอะไรที่สลับซับซ้อน
เพราะว่าไม่ว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ล้วนอยู่ใน "แม่น้ำ 5 สาย"
มี "คสช." เป็นผู้ให้กำเนิด "ทำคลอด"
เหมือนที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเสนอ "ความคิด" วิลิศมาหรา เพริศแพร้วพรรณรายด้วยสีสันสักเพียงใด
แต่คำตอบสุดท้ายคือ คำตอบจาก "คสช."
เช่นเดียวกับสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่สำแดงอาการมึงวาพาโวย หรือที่มีการออกข่าวในทำนองว่ามีการล่ารายชื่อตั้งธงล่วงหน้าเอาไว้แล้ว
อาจมีอาการแตกแถวเหมือนกรณี "ปิโตรเลียม"
แต่หากสังเกตจากอาการของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สังเกตจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประเภทมวยหลักจำนวนหนึ่ง ความมั่นใจที่ว่า "วิป" ยังสามารถคุมเสียงหนักแน่นและจริงจัง นั่นก็ขึ้นอยู่กับ คสช.จะเอาอย่างไร
เมื่อเวลา 11.59 น. ของวันที่ 22 สิงหาคม
เป็นอันว่าภารกิจอัน คสช.มอบหมายให้ "คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ" ในฐานะแม่น้ำสายที่ 5 ได้เสร็จเรียบร้อยแล้วโดยพื้นฐาน
ที่ว่าโดย "พื้นฐาน" เพราะยังมีอีกอย่างน้อย 2 ขั้นตอน
ขั้นตอน 1 คือ ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะต้องเข้าสู่การพิจารณาว่าจะ "รับ" หรือว่าจะ "ไม่รับ" ในที่ประชุมของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
หาก "รับ" ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 2 คือ การลง "ประชามติ"
หาก "ไม่รับ" ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่จะต้องดำเนินการใหม่เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ร่าง" รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
แล้วจึงจะเข้าสู่กระบวนการ "ประชามติ"
จากนี้จึงเห็นได้ว่า ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านหรือไม่ผ่านจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ระยะเวลาที่เรียกว่า "โรดแมป" ก็จะดำเนินไปอย่างยืดหยุ่นและยาวนานออกไปอยู่นั่นเอง กระนั้น ภายใน "รับ" หรือ "ไม่รับ" แต่ละขั้นตอนก็ยังมีเงื่อนแง่งทิ้งเอาไว้
ประเด็นที่ว่าร่างนี้จะผ่านความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หรือไม่ กลับมากด้วยความละเอียดอ่อน เหมือนกับจะไม่มีอะไรที่สลับซับซ้อน
เพราะว่าไม่ว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ล้วนอยู่ใน "แม่น้ำ 5 สาย"
มี "คสช." เป็นผู้ให้กำเนิด "ทำคลอด"
เหมือนที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเสนอ "ความคิด" วิลิศมาหรา เพริศแพร้วพรรณรายด้วยสีสันสักเพียงใด
แต่คำตอบสุดท้ายคือ คำตอบจาก "คสช."
เช่นเดียวกับสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่สำแดงอาการมึงวาพาโวย หรือที่มีการออกข่าวในทำนองว่ามีการล่ารายชื่อตั้งธงล่วงหน้าเอาไว้แล้ว
อาจมีอาการแตกแถวเหมือนกรณี "ปิโตรเลียม"
แต่หากสังเกตจากอาการของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สังเกตจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประเภทมวยหลักจำนวนหนึ่ง ความมั่นใจที่ว่า "วิป" ยังสามารถคุมเสียงหนักแน่นและจริงจัง นั่นก็ขึ้นอยู่กับ คสช.จะเอาอย่างไร
นั่นก็คือ จะประเมิน "ประชามติ" แค่ไหน เพียงใด
พรรคการเมืองที่ คสช.และรัฐบาลให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษ มิใช่พรรคประชาธิปัตย์ หากแต่เป็นพรรคเพื่อไทย
กลุ่มการเมืองก็มิใช่ "กปปส." หากแต่เป็น "นปช."
เพราะว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นพันธมิตรในแนวร่วมเดียวกันมาตั้งแต่รัฐประหารเดือนกันยายน 2549 และลงแรงอย่างหนักก่อนรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2553
เพราะว่า "กปปส." คือกองหน้าในการ ปูทางและสร้างเงื่อนไขให้กับ "รัฐประหาร"
จึงเป็นไปได้น้อยมากว่า พรรคประชาธิปัต ย์และ กปปส.จะเล่นบทเป็นฝ่ายตรงกันข้าม
กับ คสช. โดยการไม่ยอมรับ "ร่าง" รัฐธรรมนูญ หาก คสช.มีความมั่นใจกับ กปปส.และพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะเกิดแนวโน้ม
นั่นก็คือ แนวโน้มที่จะเดินไปในทิศทางให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบในที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แล้วลุยไปยังสนาม "ประชามติ"
เพราะ คสช.ย่อมมากด้วยความมั่นใจว่า หากยังสามารถผนึกพลังร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์และ กปปส.ได้อยู่ โอกาสที่จะเอาชนะพรรคเพื่อไทยและ นปช.ในสนาม "ประชามติ" ย่อมมีอยู่เป็นอย่างสูง ขณะเดียวกัน แผนที่จะแยกสลายภายในพรรคเพื่อไทยก็ยังมีความเป็นไปได้
กลุ่มการเมืองก็มิใช่ "กปปส." หากแต่เป็น "นปช."
เพราะว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้นเป็นพันธมิตรในแนวร่วมเดียวกันมาตั้งแต่รัฐประหารเดือนกันยายน 2549 และลงแรงอย่างหนักก่อนรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2553
เพราะว่า "กปปส." คือกองหน้าในการ ปูทางและสร้างเงื่อนไขให้กับ "รัฐประหาร"
จึงเป็นไปได้น้อยมากว่า พรรคประชาธิปัต ย์และ กปปส.จะเล่นบทเป็นฝ่ายตรงกันข้าม
กับ คสช. โดยการไม่ยอมรับ "ร่าง" รัฐธรรมนูญ หาก คสช.มีความมั่นใจกับ กปปส.และพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะเกิดแนวโน้ม
นั่นก็คือ แนวโน้มที่จะเดินไปในทิศทางให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบในที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แล้วลุยไปยังสนาม "ประชามติ"
เพราะ คสช.ย่อมมากด้วยความมั่นใจว่า หากยังสามารถผนึกพลังร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์และ กปปส.ได้อยู่ โอกาสที่จะเอาชนะพรรคเพื่อไทยและ นปช.ในสนาม "ประชามติ" ย่อมมีอยู่เป็นอย่างสูง ขณะเดียวกัน แผนที่จะแยกสลายภายในพรรคเพื่อไทยก็ยังมีความเป็นไปได้
เพราะภายในพรรคเพื่อไทยก็ยังมี "นักเลือกตั้ง" อยู่เป็นจำนวนค่อนข้างสูง
การเมืองจากปลายเดือนสิงหาคมกระทั่งถึงเดือนกันยายน จึงมากด้วยความละเอียดอ่อนอย่างเป็นพิเศษ
เป็นความละเอียดอ่อนที่ คสช.จะเดินเกมร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ เป็นความละเอียดอ่อนที่จะมีการแยกสลายภายในพรรคเพื่อไทยปะทุขึ้นอีกครั้ง
เดิมพันอยู่ที่ "รัฐธรรมนูญ" เดิมพันอยู่ที่ "การเลือกตั้ง"
การเมืองจากปลายเดือนสิงหาคมกระทั่งถึงเดือนกันยายน จึงมากด้วยความละเอียดอ่อนอย่างเป็นพิเศษ
เป็นความละเอียดอ่อนที่ คสช.จะเดินเกมร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ เป็นความละเอียดอ่อนที่จะมีการแยกสลายภายในพรรคเพื่อไทยปะทุขึ้นอีกครั้ง
เดิมพันอยู่ที่ "รัฐธรรมนูญ" เดิมพันอยู่ที่ "การเลือกตั้ง"
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar