คลิก-matichononline
โดย นฤตย์ เสกธีระ
คลิกอ่าน-รากหญ้าไม่มีเงิน โดย นฤตย์ เสกธีระ
คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12/มติชนรายวัน 15 ก.ย.2558
หลังจาก นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ประกาศเดินหน้าอุ้มรากหญ้า ช่วยเหลือเอสเอ็มอี
อุ้มรากหญ้าด้วยการอัดเงินลงไปยังตำบล เพื่อให้เกิดการจ้างงาน ซ่อมและสร้าง
และเปิดโอกาสให้รากหญ้ากู้เงินผ่านกองทุนหมู่บ้านเพื่อไปลงทุนในอาชีพ
ส่วนเอสเอ็มอีก็ใช้ธนาคารออมสินเป็นฐาน ปล่อยเงินกู้หล่อเลี้ยงธุรกิจขนาดย่อมให้ดำรงอยู่ได้
แต่โจทย์ใหม่ที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้คือ ชาวบ้านยังไม่มีความมั่นใจ
คนนครศรีธรรมราชเกรงว่า พืชผลทางการเกษตรที่ราคาต่ำ จะทำให้การลงทุนไม่คุ้มค่า
กู้มาแม้จะไม่มีดอกเบี้ย แต่ถ้าผลสำเร็จไม่เกิด ก็จะพอกพูนเป็นหนี้
บรรดากรรมการกองทุนหมู่บ้านก็รู้สึกเสี่ยง เกรงว่าลูกบ้านกู้ไปแล้วจะบริหารความเสี่ยงไม่ไหว
เกรงกันว่าเงินกู้กองทุนหมู่บ้านจะเป็นหมัน
เช่นเดียวกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ดีใจเพราะมีเงินมาหล่อเลี้ยงธุรกิจ
แต่สำหรับธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายส่งสัญญาณต่อๆ กันไปว่า ปล่อยให้กู้ไปอาจเสี่ยงหนี้เสีย
เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะคนไม่มีกำลังซื้อ
ผลิตสินค้าออกมาแล้วขายยาก เมื่อขายของไม่ได้ก็ต้องแบกต้นทุน
ขณะเดียวกันเสียงจากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เฝ้าดูระดับน้ำในเขื่อนใหญ่
เขื่อนที่เป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงการชลประทานในภาคกลางมีระดับการกักเก็บต่ำ
คาดว่าการทำนาปรังในฤดูกาลหน้าคงต้องงดอีกครั้ง หลังจากเคยงดมาแล้วหลายครั้ง
ชาวนาไม่ได้ทำนาหลายครั้งจะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย
ชาวสวนปลูกพืชแล้วได้ราคาต่ำ จะเอาเงินที่ไหนมาใช้
ชาวนาบวกกับชาวสวน ไม่มีเงินใช้สอย สินค้าและบริการที่ผลิตออกมาก็ขายได้น้อย
ผลสะเทือนจากรากหญ้าย่อมสะท้อนไปถึงบริษัทห้างร้านและภาคเอกชน
วันนี้จึงรอคอยเงิน 1.3 แสนล้านบาทที่รัฐบาลบอกว่าจะทุ่มลงไปภายในปีนี้
เอาไปจ้างงานรากหญ้าให้มีเงิน
ไอเดียการจ้างงานหากทำได้อย่างที่ทีมนายสมคิดไปหารือกับ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาฯ มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ก็น่าจะดี
คือเอาเงินมาแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ตระเตรียมรับมือการจัดการน้ำ จะลอกคลองหรือจะขุดบ่อ จะสร้างฝายหรือกักเก็บน้ำประการใดก็ว่ากันไป
ขอให้ทำเป็นระบบและทำให้มีผลงอกเงย และสามารถจัดการน้ำได้
หากทำได้ ไม่มีใครอมเงินระหว่างทาง เงิน 1.3 แสนล้านบาทก้อนนี้จะกลายเป็นของรากหญ้า
ทำให้ชาวบ้านชาวนาชาวสวนมีรายได้ขึ้นมาทันที ส่วนฝาย บ่อ บึง คู คลอง ที่ลงแรงดำเนินการ ก็จะเอื้อประโยชน์ทางการเกษตร
ผลิดอกออกผล เป็นเงินเก็บ เงินเหลือ ให้ชาวบ้านนำไปใช้จ่ายต่อไป
ถ้าทำให้รากหญ้ามีปัจจัย 4 มีเงินพอจะใช้จ่ายได้ บรรดาธุรกิจต่างๆ ก็จะแลดูมีน้ำมีนวลขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการโอท็อป หรือแม้แต่บริษัทระดับบิ๊กก็จะเจริญขึ้นไปพร้อมๆ กัน
จึงหวังว่าวิธีการที่รัฐบาลกำลังทำ จะเติมกำลังการซื้อให้แข็งแกร่ง
แต่ถ้าวิธีนี้ยังไม่สำเร็จ เติมเงินไปแล้วหายวูบ กำลังซื้อจากรากหญ้าไม่ขยับ
งานนี้เห็นทีจะเอวัง ตัวใครตัวมันละท่านผู้อ่าน
หลังจาก นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ประกาศเดินหน้าอุ้มรากหญ้า ช่วยเหลือเอสเอ็มอี
อุ้มรากหญ้าด้วยการอัดเงินลงไปยังตำบล เพื่อให้เกิดการจ้างงาน ซ่อมและสร้าง
และเปิดโอกาสให้รากหญ้ากู้เงินผ่านกองทุนหมู่บ้านเพื่อไปลงทุนในอาชีพ
ส่วนเอสเอ็มอีก็ใช้ธนาคารออมสินเป็นฐาน ปล่อยเงินกู้หล่อเลี้ยงธุรกิจขนาดย่อมให้ดำรงอยู่ได้
แต่โจทย์ใหม่ที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้คือ ชาวบ้านยังไม่มีความมั่นใจ
คนนครศรีธรรมราชเกรงว่า พืชผลทางการเกษตรที่ราคาต่ำ จะทำให้การลงทุนไม่คุ้มค่า
กู้มาแม้จะไม่มีดอกเบี้ย แต่ถ้าผลสำเร็จไม่เกิด ก็จะพอกพูนเป็นหนี้
บรรดากรรมการกองทุนหมู่บ้านก็รู้สึกเสี่ยง เกรงว่าลูกบ้านกู้ไปแล้วจะบริหารความเสี่ยงไม่ไหว
เกรงกันว่าเงินกู้กองทุนหมู่บ้านจะเป็นหมัน
เช่นเดียวกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ดีใจเพราะมีเงินมาหล่อเลี้ยงธุรกิจ
แต่สำหรับธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายส่งสัญญาณต่อๆ กันไปว่า ปล่อยให้กู้ไปอาจเสี่ยงหนี้เสีย
เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะคนไม่มีกำลังซื้อ
ผลิตสินค้าออกมาแล้วขายยาก เมื่อขายของไม่ได้ก็ต้องแบกต้นทุน
ขณะเดียวกันเสียงจากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เฝ้าดูระดับน้ำในเขื่อนใหญ่
เขื่อนที่เป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงการชลประทานในภาคกลางมีระดับการกักเก็บต่ำ
คาดว่าการทำนาปรังในฤดูกาลหน้าคงต้องงดอีกครั้ง หลังจากเคยงดมาแล้วหลายครั้ง
ชาวนาไม่ได้ทำนาหลายครั้งจะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย
ชาวสวนปลูกพืชแล้วได้ราคาต่ำ จะเอาเงินที่ไหนมาใช้
ชาวนาบวกกับชาวสวน ไม่มีเงินใช้สอย สินค้าและบริการที่ผลิตออกมาก็ขายได้น้อย
ผลสะเทือนจากรากหญ้าย่อมสะท้อนไปถึงบริษัทห้างร้านและภาคเอกชน
วันนี้จึงรอคอยเงิน 1.3 แสนล้านบาทที่รัฐบาลบอกว่าจะทุ่มลงไปภายในปีนี้
เอาไปจ้างงานรากหญ้าให้มีเงิน
ไอเดียการจ้างงานหากทำได้อย่างที่ทีมนายสมคิดไปหารือกับ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาฯ มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ก็น่าจะดี
คือเอาเงินมาแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ตระเตรียมรับมือการจัดการน้ำ จะลอกคลองหรือจะขุดบ่อ จะสร้างฝายหรือกักเก็บน้ำประการใดก็ว่ากันไป
ขอให้ทำเป็นระบบและทำให้มีผลงอกเงย และสามารถจัดการน้ำได้
หากทำได้ ไม่มีใครอมเงินระหว่างทาง เงิน 1.3 แสนล้านบาทก้อนนี้จะกลายเป็นของรากหญ้า
ทำให้ชาวบ้านชาวนาชาวสวนมีรายได้ขึ้นมาทันที ส่วนฝาย บ่อ บึง คู คลอง ที่ลงแรงดำเนินการ ก็จะเอื้อประโยชน์ทางการเกษตร
ผลิดอกออกผล เป็นเงินเก็บ เงินเหลือ ให้ชาวบ้านนำไปใช้จ่ายต่อไป
ถ้าทำให้รากหญ้ามีปัจจัย 4 มีเงินพอจะใช้จ่ายได้ บรรดาธุรกิจต่างๆ ก็จะแลดูมีน้ำมีนวลขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการโอท็อป หรือแม้แต่บริษัทระดับบิ๊กก็จะเจริญขึ้นไปพร้อมๆ กัน
จึงหวังว่าวิธีการที่รัฐบาลกำลังทำ จะเติมกำลังการซื้อให้แข็งแกร่ง
แต่ถ้าวิธีนี้ยังไม่สำเร็จ เติมเงินไปแล้วหายวูบ กำลังซื้อจากรากหญ้าไม่ขยับ
งานนี้เห็นทีจะเอวัง ตัวใครตัวมันละท่านผู้อ่าน
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar