torsdag 25 mars 2021

รัฐบาลหุ่น...ไร้อำนาจ ขาดประสิทธิภาพ

นายกฯ เตือนผู้ชุมนุมเสี่ยงติดโรค
.
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวในระหว่างการเป็นประธานในงานสถาปนากระทรวงยุติธรรม ครบรอบ 130 ปี ในวันนี้ (25 ม.ค.) ว่า เขาขอร้องให้ทุกคนช่วยกัน รักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ โดยอย่าลืมว่าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ พระสยามเทวาธิราช และพระแก้วมรกต ทรงดูแลคุ้มครองมาตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมา ส่วนพ่อแม่ก็คือพระในบ้าน สังคมเราต้องเคารพระบบผู้มีอาวุโส พ่อแม่ พี่น้อง ครูบาอาจารย์ ถ้าสิ่งเหล่านี้หายไปก็ไม่ใช่คนไทยและประเทศไทยแล้ว
.
โดยในช่วงท้ายนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังต้องระมัดระวังต่อไป แม้ว่าสถานการณ์ในไทยจะดีกว่าหลายประเทศก็ตาม นอกจากนี้ยังกล่าวเตือนการชุมนุมที่มีคนจำนวนมากว่าจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคได้
.
"อยากจะเตือนใครที่ไปชุมนุมต่าง ๆ ในคนเยอะๆ ผมไม่ได้ขู่นะ แต่มันอันตรายที่สุดนะ กลับไปติดลูกหลาน ติดพ่อแม่และครอบครัวลำบาก...รัฐบาลก็ไม่รู้ทำอย่างไรเหมือนกัน" พล.อ. ประยุทธ์กล่าว

Kan vara en bild av en eller flera personer och text där det står ”สำนักโฆษก สำนักนายกรัฐมนตรี อยากจะเดือนใครที่ไปซุมนูมต่าง อยา ในคนเยอะ ผมไม่ได้ขู่นะ แต่มันอันตรายที่สุดนะ กลับไปติดลูกหลาน ติดพ่อแม่และครอบครัวลำบาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ฐูมนด 25 มี.ค. มี 2564 NEWS ไทย”


น.ส. ปารีณา ไกรคุปต์ เป็นนักการเมืองที่ยึดพาดหัวข่าวของสื่อมวลชนอยู่บ่อย ๆ ในการประชุมสภานัดสำคัญ ๆ ทว่าไม่ใช่เพราะเธอคือผู้อภิปรายหลัก หากแต่บทบาทที่พรรคต้นสังกัดจัดวางไว้ให้เธอคือ “ดาวประท้วง” เพื่อคอยเตะตัดเกมของฝ่ายค้าน โดยทำหน้าที่ร่วมกับเพื่อน ส.ส. ชายของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) อาทิ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม., นายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์
.
เมื่อผสมผสานกับ “วาจาและกิริยาเฉพาะตัว” ทำให้นักการเมืองหญิงวัย 44 ปีทิ้งโวหารไว้มากมายตลอด 1 ปี 10 เดือนของการทำหน้าที่ในสภา ก่อนต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาลฎีกาในวันนี้
.
ดูเส้นทางคดีฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง และบทบาท “ดาวประท้วง” ของ ปารีณา ไกรคุปต์ ได้ที่นี่

ปารีณา ไกรคุปต์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ หลังศาลฎีการับคำร้อง ป.ป.ช. คดีฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง ปมรุกป่าสงวนราชบุรี

ปารีณา

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

น.ส. ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนฯ หลังศาลฎีการับคำร้องของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ขอให้ศาลวินิจฉัยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงของเธอ

การหยุดปฏิบัติหน้าที่ของ น.ส. ปารีณา เป็นผลจากการยึดถือ ครอบครอง และใช้ประโยชน์ที่ป่าสงวน 711 ไร่ ใน จ.ราชบุรี ซึ่ง ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงใน 2 ข้อหาคือ เป็น ส.ส. กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม และเป็น ส.ส. กระทำการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่ง ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ข้อ 11 ข้อ 17 ประกอบข้อ 27 วรรคสอง และให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย

ศาลฎีกา สนามหลวง พิจารณาแล้วเห็นว่า ป.ป.ช. บรรยายพฤติการณ์ที่กล่าวหา พร้อมทั้งชี้ช่องพยานหลักฐานชัดเจนเพียงพอ และดำเนินการครบถ้วนตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2561 จึงมีคำสั่งให้รับคำร้อง

ส่วนที่ผู้คัดค้าน (น.ส. ปารีณา) ยื่นคำร้องขอให้ได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำร้องยังไม่มีเหตุผลเพียงพอให้ศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นหรือมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งรับคำร้องเเล้ว จึงมีคำสั่งให้ น.ส. ปารีณาหยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้มีหนังสือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ โดยนัดพิจารณาครั้งแรก (ไต่สวนพยานผู้ร้อง) ในวันที่ 30 เม.ย. 2563 เวลา 09.30 น.

คดีของ น.ส. ปารีณาถือเป็น "สำนวนแรก" ของ ส.ส. ในการกระทำผิดฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 81 ระบุว่า หากศาลฎีกาฯ พิพากษาว่ามีความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ให้ผู้ต้องคำพิพากษานั้นพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น และจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกิน 10 ปีด้วยหรือไม่ก็ได้ หากผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง จะไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตลอดไป และไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ

ย้อนเส้นทางคดีฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง

ข้อมูลจากการไต่สวนของ ป.ป.ช. ปรากฏว่า น.ส. ปารีณา ได้ร่วมกับนายทวี ไกรคุปต์ บิดา เข้ายึดถือ ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐโดยมิชอบ ในพื้นที่หมู่ที่ 6 ต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี จำนวน 711-2-93 ไร่ เมื่อ 18 ปีก่อน สรุปพฤติการณ์ได้ ดังนี้

  • 2546-2562 ขอใช้ไฟฟ้าต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจอมบึง และชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินต่อ อบต.รางบัว อ.จอมบึง จ.ราชบุรี เพื่อประกอบกิจการปศุสัตว์
  • 2549-2556 ชำระภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท. 5) ทั้ง 29 แปลง ต่อ อบต.รางบัว ซึ่งมีการกระจายการถือครองที่ดิน โดยอาศัยชื่อบุคคลอื่นซึ่งเป็นแรงงานที่อยู่ในฟาร์มมาถือครองที่ดินในเอกสาร ภ.บ.ท. 5 จำนวนหนึ่ง
  • 2555 โอนที่ดินกลับมาเป็นชื่อของ น.ส. ปารีณา ทั้งหมด
  • 2557 อบต.รางบัว ยกเลิกการเก็บภาษีบำรุงท้องที่ แต่ น.ส. ปารีณายังคงยึดถือ ครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ และ ส.ป.ก. แต่อย่างใด
  • 2555-2562 ยื่นขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อ อบต.รางบัว และยื่นขอใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม "เขาสนฟาร์ม" และ "เขาสนฟาร์ม 2" บนที่ดินดังกล่าวต่อกรมปศุสัตว์
  • 2561 ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ปารีณา ไกรคุปต์ จำกัด เพื่อประกอบกิจการ
  • 25 พ.ค. 2562 เข้าปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. โดยยังคงยึดถือ ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐดังกล่าว โดยอ้างเอกสารแบบแสดงรายการที่ดินฯ (ภ.บ.ท. 5) ทั้ง 29 แปลงที่ถูกยกเลิกไปแล้ว และมิได้รับอนุญาต ก่อนถูกตรวจสอบจาก ส.ป.ก. และกรมป่าไม้ ต่อมากรมป่าไม้ร้องทุกข์ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ให้ดำเนินคดีอาญากับ น.ส. ปารีณา ในข้อหาบุกรุกที่ดินของรัฐ เป็นพื้นที่ 711-2-93 ไร่ โดยคำนวณค่าเสียหายเป็นตัวเงินจำนวน 36,224,791 บาท
  • 10 ก.พ. 2564 ป.ป.ช. มีมติว่า น.ส. ปารีณาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาโดยตรงเพื่อวินิจฉัยต่อไป
  • 25 มี.ค. 2564 ศาลฎีกาประทับรับคำร้องคดีนี้
น.ส. ปารีณา ไกรคุปต์ ชูกำปั้นชนกับเพื่อนร่วมพรรค สื่อสัญลักษณ์แสดงความยินดีที่การอภิปรายจบลงด้วยดี

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

น.ส. ปารีณา ไกรคุปต์ ชูกำปั้นชนกับเพื่อนร่วมพรรค สื่อสัญลักษณ์แสดงความยินดีที่การอภิปรายจบลงด้วยดี

วิบากกรรมทางกฎหมายคดีที่เกี่ยวเนื่อง

นอกจากคดีฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง นักการเมืองหญิงวัย 44 ปียังมีวิบากกรรมทางกฎหมายรออยู่อีกหลายคดี ดังนี้

หนึ่ง คดีจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ กรณีไม่แจ้งการครอบครองที่ดิน จ.ราชบุรี ซึ่ง ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหาไปเมื่อ 7 ก.ย. 2563

โทษสูงสุดในคดีนี้คือ จำคุก 6 เดือน ปรับ 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันหยุดปฏิบัติหน้าที่ และถูกให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกิน 10 ปีด้วยหรือไม่ก็ได้

สอง คดีบุกรุกที่ดินป่าสงวน เนื้อที่ 711-2-93 ไร่ โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) แจ้ง 4 ข้อกล่าวหา และเตรียมนำตัว น.ส. ปารีณาส่งพนักงานอัยการ แต่เธอใช้เอกสิทธิ์ความเป็น ส.ส. เลื่อนการเข้าพบพนักงานอัยการมาโดยตลอด

สำหรับ 4 ข้อหา ประกอบด้วย 1) ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 และมาตรา 31 ร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนชาติ โดยได้กระทำเป็นเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่โดยไม่ได้รับอนุญาต 2) ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ร่วมกันก่อสร้าง แผ้วถางหรือเผาป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการทำลายป่าหรือเข้ายึดถือครอบครองป่า เพื่อตนเองหรือผู้อื่น โดยได้กระทำเป็นเนื้อที่เกิน 25 ไร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ 3) ความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน ร่วมกันเข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่อสร้างหรือเผาป่า กระทำด้วยประการใด ให้เป็นการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทราย ในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดิน โดยได้กระทำเป็นเนื้อที่เกินกว่า 50 ไร่ โดยไม่ได้รับอนุญาต และ 4) ความผิดตาม พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ร่วมกันประกอบกิจการน้ำบาดาล ในเขตน้ำบาดาลใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีสิทธิหรือไม่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ในเขตน้ำบาดาลโดยไม่ได้รับอนุญาต

โทษสูงสุดในคดีนี้คือ จำคุก 20 ปี และปรับ 2 ล้านบาท

1 ปี 10 เดือนในสภาของปารีณา

น.ส. ปารีณา หรือเอ๋ เป็นนักการเมืองที่ยึดพาดหัวข่าวของสื่อมวลชนอยู่บ่อย ๆ ในการประชุมสภานัดสำคัญ ๆ ทว่าไม่ใช่เพราะเธอคือผู้อภิปรายหลัก หากแต่บทบาทที่พรรคต้นสังกัดจัดวางไว้ให้เธอคือ "ดาวประท้วง" เพื่อคอยเตะตัดเกมของฝ่ายค้าน โดยทำหน้าที่ร่วมกับเพื่อน ส.ส. ชายของ พปชร. อาทิ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม., นายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ ฯลฯ เมื่อผสมผสานกับ "วาจาและกิริยาเฉพาะตัว" ทำให้นักการเมืองหญิงวัย 44 ปีทิ้งโวหารไว้มากมายตลอด 1 ปี 10 เดือนของการทำหน้าที่ในสภา

โวหารปารีณา

ในระหว่างการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเมื่อ 24-27 ก.พ. 2563 น.ส. ปารีณาเป็นหนึ่งใน ส.ส. ที่ลุกขึ้นประท้วงนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย (พท.) ฐานไม่ยอมเรียกยศ "พล.อ." ของผู้นำรัฐบาล แต่เรียกชื่อเฉย ๆ ว่า "ประยุทธ์" หรือ "คุณประยุทธ์" เมื่อคำประท้วงของเธอไม่เป็นผล เธอจึงหันไปกล่าวในเชิงประชดประชันนายชวน หลีกภัย ประธานสภา

  • ปารีณา: ขออนุญาตให้ "คุณชวน หลีกภัย" พิจารณาคำวินิจฉัยตะกี้ด้วยค่ะ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ หากสมาชิกเรียก "คุณชวน หลีกภัย" จะเป็นอย่างไรคะ
  • ประธานสภา: เขาไม่เรียก "ไอ้" ก็ใช้ได้ครับ ภาษาไทย เข้าใจคำว่าไม่สุภาพ

ในศึกซักฟอกนัดเดียวกัน เธอยังประท้วง นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย หลายครั้งว่าอภิปรายนอกประเด็น และประท้วงประธานให้ควบคุมการประชุม

"ผู้อภิปรายตอนนี้เริ่มมีอาการไบโพลาร์ด้วย ต้องขอให้ประธานช่วยควบคุม"

เช่นเดียวกับการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 16-19 ก.พ. 2564 ซึ่ง ส.ส.หญิงเมืองโพธาราม ยังรับบทเดิมร่วมกับเพื่อนร่วมพรรคหน้าเดิม ๆ เพิ่มเติมคือพวกเขาช่วยกันทำหน้าที่ "องครักษ์พิทักษ์สถาบันฯ" เนื่องจากข้อกล่าวหาตามญัตติของฝ่ายค้านบรรยายพฤติการณ์ของ พล.อ. ประยุทธ์ไว้ว่า " แอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเกราะปิดบังความผิดพลาดล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินของตนเอง" ทำให้เกิดการประท้วงตั้งแต่ผู้นำฝ่ายค้านอ่านญัตติ โดย น.ส.ปารีณาวิจารณ์ประธานว่า "วันนี้ท่านกำลังเปิดสภาให้จาบจ้วงสถาบันฯ"

จากนั้น น.ส. ปารีณายังผนึกกำลังกับนายสิระ เจนจาคะ ประท้วง พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ผู้อภิปรายกรณีปล่อยปละละเลยให้เกิดบ่อนพนัน ซึ่งไปยกผลงานของตัวเองสมัยเป็นจเรตำรวจแห่งชาตินำทีมทลายบุกบ่อนประตูน้ำปี 2547 มา "สอนมวย" รัฐบาล จนนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภา ปฏิบัติหน้าที่ประธาน ต้องเอ่ยปากเตือนให้อภืปรายเข้าประเด็น "เอาแบบหมัดเดียวโป้งเดียวจอด... ส่วนประวัติศาสตร์อันงดงามของท่าน เอาให้พอประมาณ"

  • ปารีณา: ขอประท้วง ประธานวินิจฉัยแล้ว ยังไม่เลิกโฆษณาตัวเอง
  • พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์: ชื่อเสียงผมมีอยู่แล้ว ไม่ต้องโฆษณา มีแต่ชื่อเสียง ไม่มีชื่อเสีย
หลวงพ่อป้อม

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

นายสิระ เจนจาคะ โชว์จี้ทองคำหนัก 2 สลึงที่ทำเป็นเหรียญห้อยคอรูปหน้ารองนายกฯ แต่จงใจจารึกชื่อผิดเป็น "ประวิทย์ วงศ์สุวรรรณ" ให้เพื่อนร่วม "ทีมประท้วง" ดู

นอกจากนี้ในระหว่างการอภิปรายของนายขจิตร ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย น.ส. ปารีณายังขอให้ประธานตรวจสอบแอลกอฮอล์เพื่อนสมาชิก

  • ปารีณา: อยากให้ท่านประธานใช้อำนาจประธานตรวจสอบว่ามีแอลกฮอล์ในเลือดสูงหรือไม่นะคะ
  • ขจิตร: กำลังจะบอกว่าผมเมาใช่ไหม ผมไม่ได้ดื่มนะครับ ผมพูดแบบนี้มาตั้งแต่เกิดแล้ว และผมขอให้ประธานชี้แจงให้เข้าใจด้วย ผมไม่มีแอลกอฮอล์ และไม่ดื่ม
  • รองประธานฯ ศุภชัย : ผมการันตีให้ทานขจิตร ผมเป็น ส.ส. กับท่านขจิตรมายาวนาน บุคลิกท่านเป็นอย่างนี้ อย่าไปต่อล้อต่อเถียงกันเลย
  • ปารีณา: ดิฉันเข้าใจว่าท่านต้องอดทนต่อพฤติกรรมของสมาชิกรัฐสภาที่มีพฤติกรรมคล้ายเมาสุรา

แต่ช่วงที่ น.ส. ปารีณากับพวกต้องทำหน้าที่อย่างหนักคือช่วงที่ ส.ส. พรรคก้าวไกลอภิปราย ทั้งตอนนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร อภิปรายปมจัดหาวัคซีนต้านวิด-19 ซึ่งถูกทีม พปชร. และพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ประท้วงว่าอภิปรายเสียดสี ใส่ร้าย ทั้งนี้ น.ส. ปารีณาแสดงความเป็นห่วงสภาเพราะข้อมูลเยอะมาก แต่ไม่รู้ว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่

"อย่าลืมว่าบิดาของท่านเคยไลฟ์สด จนถูกดำเนินคดีมาตรา 112 มาแล้ว จึงน่าเป็นห่วงว่าใช้เอกสารปลอมหรือไม่" น.ส. ปารีณากล่าว

ไพบูลย์ นิติตะวัน, สิระ เจนจาคะ, ปารีณา ไกรคุปต์ (ซ้ายไปขวา) ถูกวางบทบาทให้เป็น "ตัวเดินเกมในสภา" ระหว่างการประชุมสภานัดสำคัญ ๆ

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

ไพบูลย์ นิติตะวัน, สิระ เจนจาคะ, ปารีณา ไกรคุปต์ (ซ้ายไปขวา) ถูกวางบทบาทให้เป็น "ตัวเดินเกมในสภา" ระหว่างการประชุมสภานัดสำคัญ ๆ

อีกตอนคือระหว่างการอภิปรายปม "ตั๋วตำรวจ" ของนายรังสิมนต์ โรม ซึ่งทีมประท้วง พปชร. พยายามตัดเกมการอภิปรายที่พาดพิงบุคคลภายนอก และประธานก็เอ่ยปากเตือนไม่ให้พูดถึงบุคคลภายนอกหลายครั้ง

  • ปารีณา: ขอให้ไล่ผู้ที่ไม่เชื่อฟังออกจากห้องประชุมไปให้หมด
  • รองประธานฯ ศุภชัย: คุณปารีณาไม่ต้องมาสั่งประธาน

ส.ส. รายนี้ยังลุกขึ้นประท้วงประธานด้วยให้วางตัวเป็นกลาง หลังเพื่อนร่วมพรรคถูกตัดบทขณะลุกขึ้นประท้วงการอภิปรายของนายรังสิมันต์ โดย น.ส.ปารีณาตั้งคำถามว่า "กำลังเอาใจฝ่ายค้านอยู่หรือไม่ ดิฉันประท้วงทีไร ท่านต่อว่านิด ๆ หน่อย ๆ ตลอดเลย ดิฉันจะขึ้นแล้วนะคะ"

ประวิตรบอกปารีณากำลังใจดี

หลังถูกถามถึงคำสั่งศาลฎีกาให้ น.ส. ปารีณาหยุดปฏิบัติหน้าที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม บอกเพียงว่า "ทราบแล้ว"

ขณะที่ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้า พปชร. กล่าวว่า เป็นเรื่องของศาล ไม่ขอก้าวล่วง

"ไม่เป็นไรหรอก เขากำลังใจดีอยู่แล้ว" พล.อ. ประวิตรตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ว่าได้ให้กำลังใจ น.ส.ปารีณา อย่างไร

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar