Thai E-News
ทำไม the establishment ไม่ยอมให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐? ตอบสั้น ๆ คือ: เพราะภารกิจเปลี่ยนผ่านทางการเมืองการปกครองครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยยังไม่สำเร็จ แล้วภารกิจเปลี่ยนผ่านที่สำคัญคืออะไร?
Kasian Tejapira
11h ·
ทำไมระเบียบอำนาจสถาปนา (the establishment) ไม่อนุญาตไม่อาจปล่อยให้แก้รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ได้?
%%%%%%
คำตอบสั้น ๆ คือ: เพราะภารกิจเปลี่ยนผ่านทางการเมืองการปกครองครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยยังไม่สำเร็จ
บิ๊กตู่@คสช.ซึ่งขึ้นมาแบกรับภารกิจดูแลการเปลี่ยนผ่านทางประวัติศาสตร์นี้อาศัยความนิ่งแช่แข็งของอำนาจบนฐานรธน.
๖๐
เป็นเงื่อนไขให้ผลักดันกำกับการเปลี่ยนผ่านนี้ไปในทิศทางที่ตัวเองมุ่งหวัง
ภารกิจเปลี่ยนผ่านนี้ที่สำคัญคืออะไร?
Kasian Tejapira
11h ·
ทำไมระเบียบอำนาจสถาปนา (the establishment) ไม่อนุญาตไม่อาจปล่อยให้แก้รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ได้?
%%%%%%
คำตอบสั้น ๆ คือ: เพราะภารกิจเปลี่ยนผ่านทางการเมืองการปกครองครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยยังไม่สำเร็จ
บิ๊กตู่@คสช.ซึ่งขึ้นมาแบกรับภารกิจดูแลการเปลี่ยนผ่านทางประวัติศาสตร์นี้อาศัยความนิ่งแช่แข็งของอำนาจบนฐานรธน.
๖๐
เป็นเงื่อนไขให้ผลักดันกำกับการเปลี่ยนผ่านนี้ไปในทิศทางที่ตัวเองมุ่งหวัง
ภารกิจเปลี่ยนผ่านนี้ที่สำคัญคืออะไร?
-ในสภาพปราศจากอำนาจนำดังที่เคยมีแต่ก่อน
ภารกิจเปลี่ยนผ่านนี้คือการเปลี่ยนเอารัฐพันลึก (deep/parallel state)
ขึ้นมาเป็นรัฐบนดินทางการอย่างถูกกฎหมายหรืออย่างน้อยถูกธรรมเนียมปฏิบัติปกติ
เพราะมิอาจอาศัยความยินยอมพร้อมใจแบบพันลึกภายใต้อำนาจนำดังเดิมได้
แต่การดันรัฐพันลึกและความผิดเพี้ยนจากหลักนิติรัฐและหลักเสรีประชาธิปไตยทั้งปวงของรัฐดังกล่าวขึ้นมาบนดินอย่างเป็นทางการ
(ขนาดต้องถ่ายทอดออกทีวี และทำเป็นเอกสารราชการ ฯลฯ)
ก็ย่อมทำให้มันใหญ่โตเป็น "ช้าง" ในห้องโถง ตกเป็นเป้าสายตา ถูกมองเห็น
ถูกจับตามอง และเกิดหลักฐานประจักษ์คาหนังคาเขามากขึ้น
ถูกวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบมากขึ้น
-ผลพวงที่ไม่คาดหมายของการดันรัฐพันลึกให้เปลี่ยนผ่านเป็นรัฐบนดินก็คือพลังต่อต้านรัฐพันลึกที่มองเห็นได้กระพือฮือโหมหนักแผ่กว้างอย่างคิดไม่ถึงมาก่อน
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยรธน.ไม่น่ารัก ๖๐ ต่อไป
เพราะภารกิจเปลี่ยนผ่านยังไม่เสร็จสิ้น
-ที่ตลกคือ ภารกิจนี้
(ดันรัฐพันลึกขึ้นมาบนดินให้เป็นรัฐทางการ)
สร้างพลังต่อต้านขึ้นมาในตัวมันเองอย่างไม่สิ้นสุด
ดังนั้นแนวโน้มก็คือการเปลี่ยนผ่านนี้จะขลุกขลัก ไม่สุดสิ้น ไม่มั่นคง
ไม่ยุติอย่างถึงที่สุดได้ กลายเป็นการเปลี่ยนผ่านถาวร ที่ไม่มั่นคงตลอดไป
ในท่ามกลางภาวะสถานการณ์โลก (โควิด-๑๙ เศรษฐกิจช็อกตกต่ำ)
และภาวะสถานการณ์ภูมิภาค (กระแสลุกฮือต้านเผด็จการในพม่า
ฮ่องกงและประเทศแถบนี้อื่น ๆ) ที่พลิกผันไม่นิ่งตลอดเวลา
https://www.bbc.com/thai/thailand-56441126?at_campaign=64...
Kasian Tejapira
12h ·
วิจารณ์ละครแก้รัฐธรรมนูญ
%%%%
อย่างหนึ่งที่ผมเคยเตือนนักศึกษารัฐศาสตร์ที่ผมสอนเสมอคือ ขอทีเถอะ เลิกเสียที ไอ้การเม้นการเมืองประเภทว่า:
"นักการเมืองขาดความจริงใจ", "หากรัฐบาลมีความจริงใจ...." อายเค้าว่ะ คืองี้นะครับ
อย่ามองหา
"ความจริงใจ" ในวงการเมือง เสียเวลาเปล่า วงการเมืองไม่ใช่ที่ทางของมัน
ถ้าอยากหา ไปหาที่อื่น เช่น ในวัด, ในห้องเรียน, ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ
ผลประโยชน์ การต่อรอง
กดดันบังคับหรือเล่นเล่ห์เพทุบายให้อีกฝ่ายทำสิ่งที่ตัวเองอยากให้ทำแต่เขาเองยังไม่อยากทำ
ไม่ต้องจริงใจหรอก แค่ทำอย่างที่กูอยากให้ทำก็พอแล้ว ส่วนจะแถม
"ความจริงใจ" โดยการแสดงลิเก "ความจริงใจ" ออกมา เช่น บีบน้ำตา
กล่าวภาษาซึ้งโลกสวย ก็โอเคนะครับ ทำไปเลย ไม่ว่ากัน แต่เวลาคุณ operate
อย่าเริ่มมอง เริ่มคิด เริ่มหา "ความจริงใจ" ของตัวเอง
คู่ต่อสู้หรือใครเป็นฐานคติ ไม่มีหรอกโรบิ้น เชื่อมานุดค้างคาวเถอะ
ดังนั้น
ผมไม่แปลกใจหรอกนะครับที่การแก้ไขรธน.อีหรอบนี้ของสภาฯกลายเป็นลิเก
โดยมีบางคนเป็นพระเอก (หน้าเก่า) กูว่าแล้วว่าจะลงเอยแบบนี้
สรุป (อีกที) นะครับ การเมืองไทยตึงเครียดขัดแย้งมาก เพราะตกอยู่ในสภาพอิหลักอิเหลื่อที่:
-การเมืองในระบบสถาบัน เป็นแบบปฏิกิริยา (ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง)
-การเมืองบนท้องถนน เป็นแบบปฏิรูป (เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป)
-ส่วนการเมืองวัฒนธรรม เป็นแบบปฏิวัติ (ปักธงทะลุเพดาน)
การเมืองในระบบสถาบันของไทยฝึกวิชา ตระเตรียมมาตรการและอุปกรณ์ทนม็อบชุมนุมยืดเยื้อ (เสื้อเหลือง, เสื้อแดง, นกหวีด หลายต่อหลายรอบ) มาสิบปี ดังนั้นต่อให้ยึดทำเนียบได้ ปลูกข้าว เลี้ยงอาหารอร่อยดี ดนตรีไพเราะเป็นครึ่งปี ก็ล้มรัฐบาลไม่ได้ ครม.ก็ไปประชุมในค่ายทหารก็ได้ สภาไปเปิดประชุมที่กระทรวงต่างประเทศก็ได้ ใครคิดว่าอาศัยวิธีการชุมนุมอย่างเดียวก็จะล้มรัฐบาลได้ แสดงว่าไม่ได้มองการเมืองไทยอย่างสมจริงในรอบสิบปีที่ผ่านมา
แต่การเมืองบนท้องถนนครึ่งปีหลังที่แล้วมีพลังมหาศาล
ไม่ใช่เพราะมันมีโอกาสผลักดันการปฏิรูปให้สำเร็จ (๓ ข้อ ยุบสภา-นายกฯลาออก
แก้ไขรธน. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์) ลำพังการเมืองบนท้องถนน ถ้าไม่
+ตุลาการภิวัตน์ และไม่ +ทหารภิวัตน์ ล้มรัฐบาลไม่ได้หรอกครับ
และฝ่ายประชาชนเยาวชนแฟลชม็อบไม่มีทั้งตุลาการภิวัตน์และทหารภิวัตน์ในกระเป๋า
ทว่าการเมืองบนท้องถนนในครึ่งปีที่แล้ว กลายเป็น anti-state theatre คือโรงละครต่อต้านรัฐสาธารณะ ทางการเมืองวัฒนธรรม มันทำให้พูดได้ (รวมหมู่) ในสิ่งที่คนเดียวพูดไม่ได้ มันทำให้เขียนได้ (รวมหมู่) ในสิ่งที่คนเดียวเขียนไม่ได้ เพราะเงื่อนไขจำกัดทางกฎหมาย และทำให้ปักธงการเมืองวัฒนธรรมแบบทะลุเพดานได้สำเร็จ ("ปักธง" ในความหมายที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์เคยพูดตอนเลือกตั้งปี ๖๒ นั่นแหละ) ความสำเร็จข้อนี้ไม่หาย ไม่ถูกลบล้าง เป็นนวัตกรรมใหม่ทางการเมืองวัฒนธรรมที่น่าทึ่ง น่าอัศจรรย์และน่าศึกษาวิเคราะห์วิจัยทำความเข้าใจต่อไป
แต่การเมืองบนท้องถนนโดยลำพังไม่ใช่และไม่อาจเป็นวิธีบรรลุข้อเรียกร้องทางการเมืองเหล่านั้น
มันมีข้อจำกัดเพราะรัฐไทยสั่งสมความจัดเจนและปรับตัวไปแล้วในรอบสิบปีที่ผ่านมาในการรับมือการเมืองบนท้องถนน
https://www.bbc.com/thai/thailand-56441126?at_campaign=64...
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar